X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??

บทความ 5 นาที
นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??

"นมแม่หมดประโยชน์แล้วถ้าให้กินเกิน 6 เดือน" เชื่อว่าคุณแม่คงได้ยินคำนี้บ่อย ๆ จากคนรอบตัว หลายคนบอกว่านมแม่ยิ่งนานก็ยิ่งสีไม่ข้น ใสกลายเป็นน้ำ วันนี้เราจะมาไขข้องใจว่าอย่างไหนจะถูกต้องตามหลักความจริงของนมแม่มากกว่ากัน หลัง 6 เดือนนมแม่ยังมีประโยชน์หรือไม่?

นมแม่ไม่มีประโยชน์ ไม่จริงเลยนมแม่เป็นสารอาหารสำหรับลูกที่มีคุณค่าที่สุด และยังสะอาด ประหยัดอีกด้วย นมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกครบถ้วน มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต ทำให้ลูกเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ มีภูมิต้านทานในการต่อต้านเชื้อโรค และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ในลูก เช่นการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ลดภาวะเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ หอบหืด หูอักเสบ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ภาวะหลับไม่ตื่น (sudden infant death syndrome) โรคอ้วน และเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูก เนื่องจากแม่และลูกได้สัมผัสกัน ก่อให้เกิดความผูกพัน เกิดพัฒนาการทางด้านสมองและสติปัญญา เกิดความฉลาดทางอารมณ์ และมีบุคลิกภาพที่ดีในอนาคต

ช่วงหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่สามารถให้นมลูกได้อย่างเต็มที่ แต่คุณแม่หลายท่านมักจะไม่มั่นใจและวิตกกังวลว่าตนเองมีน้ำนมไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกลูกจึงไม่ยอมดูดนมตนเอง ทำให้หันไปพึ่งพาการป้อนนมผสมด้วยขวดมากขึ้น รวมถึงอาจมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ หลายประการที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการให้นมแม่

นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??

ในช่วง 6 – 12 เดือน

เด็กควรได้กินนมแม่เป็นหลัก และทานอาหารเสริมสำหรับทารกควบคู่ไปกับนมแม่เพราะต้องการพลังงานมากขึ้น และการทานอาหารเสริมยังช่วยพัฒนาเด็กในการฝึกทานอาหาร ฝึกด้านการบดเคี้ยว การกลืน การย่อยอาหาร

เมื่ออายุ 1 ปี

ทารกก็จะกินข้าวเป็นหลัก 3 มื้อ นมแม่ก็จะกินเป็นเพียงแค่อาหารเสริมเท่านั้น แต่นมแม่ไม่หมดประโยชน์แต่อย่างใด สารอาหาร คุณประโยชน์ในนมแม่ไม่ได้ลดน้อยลงไปตามอายุของลูก แต่อาจจะน้อยลงตามธรรมชาติร่างกายของแม่และตามความต้องการของลูก แม่บางท่าน อยากให้ลูกได้ทานจนโตไปจนถึง 5 – 6 ปี อยากให้ลูกได้รับไขมันบำรุงสมองและภูมิคุ้มกันจากนมแม่ เพราะฉะนั้นคุณแม่ยังต้องหลอกร่างกายว่าต้องการนม โดยการกระตุ้นปั๊มนมออกทุก ๆ วัน เพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำนมในปริมาณเท่าเดิมเพื่อให้ลูกได้กินนมแม่ได้จนโต

น้ำนมแม่หลัง 1 – 2 ปี

จะมีปริมาณภูมิคุ้มกันบางชนิดมากขึ้นซะอีก โดยข้อมูลของ Iowa State University Extension Service รายงานว่า ในนมแม่ปริมาณ 1 ช้อนชา มีเซลส์ที่ฆ่าเชื้อโรคถึง 3,000,000 เซลส์ เลยทีเดียว


นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??

หลังจาก 1 ปี ในน้ำนมแม่ปริมาณ 15 ออนซ์ ให้สารอาหารกับทารกในสัดส่วนดังนี้

  • 29% ของ พลังงาน ที่ทารกต้องการต่อวัน
  • 43% ของ โปรตีน ที่ทารกต้องการต่อวัน
  • 36% ของ แคลเซียม ที่ทารกต้องการต่อวัน
  • 75% ของ vitamin A ที่ทารกต้องการต่อวัน
  • 76% ของ โฟเลต ที่ทารกต้องการต่อวัน
  • 94% ของ vitamin B12 ที่ทารกต้องการต่อวัน
  • 60% ของ vitamin C ที่ทารกต้องการต่อวัน

ตารางสารอาหารในนมแม่เปรียบเทียบตามระยะเวลา

สารอาหาร ระยะเวลาที่ให้นม
0 – 1 ปี 1 – 2 ปี 2 – 3 ปี
โปรตีน (g/100 ml) 1.27 1.27 1.4
ไขมัน (g/100 ml) 4.57 4.89 4.9
แล็คโตส (meg/100 ml) 6.94 6.93 6.93
วิตามิน A (g/100 ml) 12.46 16.32 13.02

การเลี้ยงลูกด้วย “นมแม่” นั้นมีประโยชน์ทั้งกับสุขภาพของแม่และสุขภาพของลูก

1. ป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากทำให้เกิดการกระตุ้นการหลัง hormone oxytocin ทำให้มดลูกกลับสู่สุขภาพปกติเร็วขึ้น

2. ช่วยการคุมกำเนิด เนื่องจากกดการทำงานของรังไข่ โดยแม่ที่เลี้ยงนมลูกอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะมีโอกาสตั้งครรภ์ในระยะ 6 เดือนแรกหลังคลอดน้อยกว่าร้อยละ 2 แต่หลังจาก 6 เดือนไปแล้วแนะนำให้คุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย

3.ช่วยลดน้ำหนักแม่ในระยะหลังคลอด โดยน้ำหนักจะค่อยๆ ลดประมาณ 0.6 – 0.8 กิโลกรัม/เดือน เนื่องจากมีการเผาผลาญไขมันที่เก็บสะสมไว้ในระยะตั้งครรภ์เพื่อใช้ในการสร้างน้ำนม ทำให้แม่กลับมามีรูปร่างที่สวยงามได้เร็ว มีการศึกษาว่า การให้นมแม่ถึงอายุ 1 ปี แม่จะมีน้ำหนักใกล้เคียงกับเมื่อก่อนตั้งครรภ์

4. ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเฉพาะมารดาที่เป็น GDM ซึ่งกลไกคิดว่าเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวลดลง การเปลี่ยนแปลงสัดส่วน การกระจายของไขมัน และความไวต่อการตอบสนองของอินซูลิน

5. ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง หากเคยเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่นาน 12 เดือนขึ้นไป

6. ลดความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากการสร้างมวลกระดูกจะสูงมากหลังหยุดให้นมแม่ และจะยังมีผลต่อไปอีก 5 – 10 ปี

7. ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว กรณีถ้าให้นานกว่า 18 เดือน (แต่ถ้าให้ระยะสั้น ๆ จะลดโอกาสการเกิดแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม ในสตรีวัยที่มีประจำเดือน ยิ่งให้นมนาน ก็ยิ่งมีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??

ผลดีต่อสุขภาพทารก

1. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยการสร้างจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Microbial colonization) บนผิวหนังของลูกชนิดเดียวกับแม่ มีสาร prebiotics ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของ Bifidobacterium ในลำไส้ทารก นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารนิวคลีโอไทด์หลายชนิด ช่วยทำให้เยื่อบุลำไส้ในลำไส้ทารกเจริญเติบโตเร็ว เพื่อรองรับการสัมผัสกับเชื้อประจำถิ่น การได้รับ sIgA บนบริเวณลานนมซึ่งจะไปดักจับเชื้อโรคบนเยื่อบุผิวลำไส้ และเยื่อบุผิวบนอวัยวะอื่นๆ เช่น ระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมี T-lymphocyte ทำหน้าที่จับกินเชื้อโรคที่มาเกาะเยื่อบุผิว โดยภาพรวม ทำให้ลดอัตราตายของทารกและเด็ก โดยเฉพาะจากโรคติดเชื้อทางระบบหายใจ และโรคอุจจาระร่วง

2. ลดโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ เช่นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ โรคหืด โดยมีการศึกษาว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 3 เดือน ช่วยลดโอกาสการเกิด atopic dermatitis และโรคหืดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(6,7) นอกจากนี้ยังลดโอกาสการเกิดเป็นเบาหวาน

3. เสริมสร้างสมองให้ว่องไวในการเรียนรู้ เพิ่มระดับเชาว์ปัญญา จึงทำให้ทารกเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพที่ดี เติบโตสมวัย ในนมแม่จะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายโมเลกุลยาว ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการเจริญของเนื่อเยื่อประสาทและจอประสาทตาเมื่ออายุ 6 เดือน

นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกตลอดเวลาที่ให้นมบุตร ซึ่งสามารถพัฒนาพฤติกรรมทางสังคม ทารกจะเกิดการเรียนรู้เนื่องจากมีการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าตลอดเวลา โดยการให้ลูกได้ดูดนมแม่ จะทำให้มีการหลั่ง oxytocin ในสมองของมารดา มีผลให้มารดาคลายความกังวล ลดความก้าวร้าวและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมที่เร็วขึ้น

ขอแค่คุณแม่ไม่หวั่นไหว เชื่อมั่นในนมแม่ ไม่สนใจ ไม่กังวลในสิ่งที่มากระทบ แค่นี้คุณแม่ก็จะมีน้ำนมคุณภาพให้ลูกกินไปได้อีกนานเท่านานเลยล่ะ ทุกหยดของน้ำนมแม่มีคุณภาพและคุณค่ามหาศาล น้ำนมถูกดึงจากร่างกายแม่ แม่ทานอาหารเข้าไปจะช่วยบำรุงร่างกายแม่ ไม่ว่าแม่จะจนหรือรวย กินอาหารเสริมแพงหรือไม่ หรือกินแค่อาหารพื้นบ้าน คุณค่าของนมแม่ที่มีให้ลูกยังเป็นเสมือนอาหารระดับภัตตาคาร 5 ดาวเสมอไม่มีวันเปลี่ยน

ที่มา : www.bumrungrad.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

จะรู้ได้ไงว่าลูกอิ่ม กินนมแม่พอหรือไม่พอ คุณแม่เช็คได้นะ

เก็บนมแม่ให้ลูกกินได้นาน นมแม่เก็บอย่างไรไม่ให้เหม็นหืน

ให้นมแม่ต้องรู้! ให้ลูกได้กิน น้ำนมเหลือง หลังคลอดดีสุดๆ!!

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

นภัทร ธนัตกัมพู

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • นมแม่ไม่มีประโยชน์ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??
แชร์ :
  • นมแม่มีประโยชน์แค่ 6 เดือนแรก จริงหรือ?

    นมแม่มีประโยชน์แค่ 6 เดือนแรก จริงหรือ?

  • แม่ให้นมลูกต้องอ่าน ข้อดีของนมแม่ ให้นมลูกเองดีต่อน้ำหนักของลูก

    แม่ให้นมลูกต้องอ่าน ข้อดีของนมแม่ ให้นมลูกเองดีต่อน้ำหนักของลูก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • นมแม่มีประโยชน์แค่ 6 เดือนแรก จริงหรือ?

    นมแม่มีประโยชน์แค่ 6 เดือนแรก จริงหรือ?

  • แม่ให้นมลูกต้องอ่าน ข้อดีของนมแม่ ให้นมลูกเองดีต่อน้ำหนักของลูก

    แม่ให้นมลูกต้องอ่าน ข้อดีของนมแม่ ให้นมลูกเองดีต่อน้ำหนักของลูก

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ