คนท้องกินอะไรดี ทำให้ลูกฉลาด แต่ละไตรมาสบำรุงอะไรบ้าง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เกิดคำถาม คนท้องกินอะไรดี ? ในแต่ละไตรมาส เพราะสารอาหารคือสิ่งสำคัญสำหรับแม่ท้อง อาหารบำรุงครรภ์ นอกจากจะบำรุงร่างกายตนเองแล้ว ยังมีส่วนเสริมสร้างให้ร่างกายลูกแข็งแรง และบำรุงสมองช่วยให้ลูกฉลาด ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์อยากให้ลูกฉลาด สุขภาพดี ผิวพรรณดี อาหารบำรุงครรภ์ ต้องกินอะไรบ้าง

 

คนท้องกินอะไรดี ที่จะช่วยบำรุงสมองให้ลูกฉลาด

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงที่สุดสำหรับการตั้งครรภ์ คือการหาว่า คนท้องกินอะไรดี อาหารบำรุงครรภ์ ในช่วงแต่ละไตรมาสที่จะช่วยบำรุงสมองให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นอย่างชาญฉลาด และบำรุงร่างกายให้แข็งแรงอุดมสมบูรณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง: 10 อาหารโฟเลตสูง ที่คนท้องบำรุงได้ทันทีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

 

วิดีโอจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

 

ไตรมาสแรก  ควรเลือกอาหารบำรุงครรภ์ประเภทใดบ้าง

อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต

ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คนท้องควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต เพราะโฟเลตสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองของทารก สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • ข้าวโพด
  • บรอกโคลี
  • อะโวคาโด
  • ดอกกะหล่ำ
  • แครอท
  • ผักโขม
  • คะน้า
  • ผักกาดหอม
  • กะหล่ำปลี
  • และ มะเขือเทศ เป็นต้น

 

อาหารบำรุงครรภ์ อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

ไม่ใช่แค่อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตเท่านั้น อาหารที่มีธาตุเหล็กก็สำคัญอย่างมาก สำหรับตัวอย่างอาหารบำรุงครรภ์ที่มีธาตุเหล็ก เช่น

 

  • บีทรูท
  • ข้าวโอ๊ต
  • ถั่วต่าง ๆ
  • ธัญพืช
  • และผลไม้อบแห้ง เป็นต้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความสำคัญของธาตุเหล็ก คือ ช่วยรักษาระดับการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะทารกในครรภ์ เพราะลูกน้อยต้องการธาตุเหล็ก เพื่อช่วยในการหลอมรวมของออกซิเจนและสารอาหาร จากนั้นจะส่งเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายของเขา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน อาหารบำรุงลูกในครรภ์

โปรตีนมีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งต้องเลือกรับประทานอย่างระมัดระวังและปรุงอย่างถูกวิธี

 

  • เนื้อสัตว์ปรุงสุก เพราะเนื้อสัตว์ที่สุก ๆ ดิบ ๆ อาจเป็นเหตุให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย หรือมีพยาธิอยู่ในอาหารซึ่งเป็นอันตรายแก่คุณแม่และลูกน้อย
  • ผลิตภัณฑ์จากนม แหล่งสารอาหารทั้ง โปรตีน วิตามิน แคลเซียม ไขมันดี กรดโฟลิก และวิตามินดี โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ได้แก่ นมวัว โยเกิร์ต
  • ไข่และถั่วต่าง ๆ มีโปรตีนที่ดี แต่ก็เป็นหนึ่งในอาหารกลุ่มเสี่ยง หากรับประทานมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคภูมิแพ้ของลูก จึงควรบริโภคในปริมาณที่พอดี เช่น คนท้องกินไข่วันละ 1-2 ฟอง หรือดื่มน้ำเต้าหู้วันละ 1 แก้ว

 

ตารางน้ำหนักคุณแม่ตั้งครรภ์

 น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ (ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นช่วงในไตรมาสแรก น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่ละสัปดาห์ในช่วงไตรมาสที่สองและสาม
 น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (<18.5) 12.5 – 18กิโลกรัม 2.3 กิโลกรัม 0.5 กิโลกรัม
 น้ำหนักปกติ (18.5-24.9) 11.5 – 16 กิโลกรัม 1.6 กิโลกรัม 0.4 กิโลกรัม
น้ำหนักตัวเกิน (25-29.9)  7 – 11.5 กิโลกรัม  0.9 กิโลกรัม 0.3 กิโลกรัม
อ้วน (≥30) 5 – 9 กิโลกรัม 0.2กิโลกรัม

 

น้ำหนักคนท้องไตรมาสแรก

คุณแม่ตั้งครรภ์ อาจมีอาการแพ้ท้องรุนแรง กินอะไรไม่ค่อยลง หากกังวลว่าจะกระทบต่อลูกในท้องหรือไม่ ซึ่งจริง ๆ แล้วตัวอ่อนจะมีอาหารอยู่ในถุงไข่แดง ยังไม่ได้ทานอาหารผ่านแม่ สำหรับน้ำหนักคนท้องไตรมาสแรก อาจอยู่ราว ๆ 2 กิโลกรัม

 

ไตรมาสที่ 2 อาหารบำรุงลูกในครรภ์ ควรเลือกอาหารประเภทใดบ้าง

บำรุงร่างกายให้ครบ 5 หมู่

  • ข้าวกล้องหรือข้าวไม่ขัดสี เพราะอุดมด้วยวิตามินบีหลากชนิดช่วยบำรุงสมองและความจำของลูก
  • เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ปรุงสุก อย่าง เนื้อไก่ และ เนื้อปลา เพราะหากเป็นเนื้อแดง อาจทำให้กระเพาะทำงานหนักเกินไป
  • ผักสีต่าง ๆ เน้นไปที่ผักใบเขียวเข้ม ที่ผ่านการปรุงสุกในทุกมื้ออาหาร และผลไม้ที่มีรสไม่หวานเป็นมื้อระหว่างวัน
  • ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ลูกเดือย ถั่วแดง เม็ดบัว ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด และข้าวเหนียวดำ ข้อควรระวังคือ แม่ท้องกินถั่วอาจทำให้คนท้องผายลมบ่อย จึงต้องกินในปริมาณที่พอดี
  • อย่าลืมกินโปรตีน เช่น ดื่มนมวันละ 2 แก้ว หรือกินไข่วันละ 2 ฟอง

 

สิ่งที่ควรระวังการกินในไตรมาสที่ 2

อย่าลืมสำรวจตัวเองว่าแพ้อาหารอะไร และอาหารประเภทใดรับประทานมากไปไม่ดี เช่น นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี และอาหารทะเล ถ้าคุณแม่ไม่ได้แพ้อาหารเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารกลุ่มเสี่ยง แต่ไม่ควรรับประทานอาหารกลุ่มเสี่ยงต่อการแพ้ ในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ เพราะนอกจากจะทำให้คุณแม่น้ำหนักขึ้นเยอะเกินไป แล้วยังจะเพิ่มความเสี่ยงของการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ ให้แก่ลูก

 

น้ำหนักคนท้องไตรมาสที่ 2

คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกว่าตนเองเจริญอาหารมาก พอหมดอาการแพ้ท้องก็อยากกินโน่นกินนี่ หิวบ่อย แต่โดยทั่วไปแล้ว น้ำหนักคนท้องช่วง 4-6 เดือน จะค่อย ๆ ขึ้นอยู่ที่ 4-5 กิโลกรัม

  

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ไตรมาสที่ 3  ควรเลือกอาหารประเภทใดบ้าง

ช่วงอายุครรภ์ 24-42 สัปดาห์หรือ โค้งสุดท้ายก่อนคลอด สารอาหารมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองลูก หากรับประทานน้อยเกินไป การสร้างสมองส่วนต่าง ๆ ของลูกก็อาจไม่สมบูรณ์ ถ้าอยากให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในท้อง แม่ต้องกินอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทและการพัฒนา เช่น โปรตีน เหล็ก สังกะสี ซีลีเนียม ไอโอดีน โฟเลต

 

อาหารบำรุงน้ำนม

ช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ต้องใส่ใจกับอาหารบำรุงน้ำนมร่วมกับการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อบำรุงร่างกายควบคู่ไปด้วย เช่น

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อให้มีเม็ดเลือดแดงมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากแม่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งธาตุเหล็กยังสำคัญต่อการเลี้ยงเซลล์ที่ผลิตน้ำนมบริเวณเต้านมของคุณแม่อีกด้วย
  • แคลเซียม คือสารอาหารสร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อย และเป็นส่วนประกอบในน้ำนมที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารก
  • วิตามินซีและวิตามินดี ช่วยให้แม่และลูกน้อยมีภูมิต้านทานสูง ซึ่งวิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้ เสริมสร้างเนื้อเยื่อและสร้างกระดูกของทารก ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย นอกจากนี้ วิตามินที่คุณแม่ดังกล่าว จำเป็นต่อการเสริมสร้างเซลล์ในบริเวณเต้านม ทำให้ผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น มีน้ำนมมากพอเพื่อทารก ซึ่งแหล่งอาหารที่มีวิตามินซีจากธรรมชาติคือในผักหรือผลไม้ เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ ผักสด ฯลฯ และวิตามินดี เช่น ปลา ไข่แดง เนื้อสัตว์ ธัญพืช และนม

 

น้ำหนักคนท้องไตรมาสที่ 3

คนท้อง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด น้ำหนักของแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 5-6 กิโลกรัมตลอด 3 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิตามินคนท้อง ควรกินแบบไหน วิตามินอะไรบ้างที่ห้ามกิน

 

คนท้องกินอะไรดี คุณแม่ท้องควรบำรุงร่างกายด้วยวิตามิน

ปกติแล้ว คุณหมอจะจัดวิตามินเสริมให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เช่น แคลเซียมและยาบำรุงเลือด (ธาตุเหล็ก) ซึ่งควรรับประทานห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง หรือแยกมื้อกันไปเลย เช่น

 

  • ถ้าคุณแม่ลองกินยาเสริมธาตุเหล็กก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วไม่คลื่นไส้ ก็ให้กินก่อนอาหารมื้อเช้า เพราะธาตุเหล็กจะดูดซึมดีที่สุดตอนท้องว่าง แต่ถ้าคลื่นไส้ก็เปลี่ยนไปกินหลังอาหารจะช่วยได้
  • หลังเสริมวิตามิน ควรกินผลไม้ตาม เช่น ส้ม เพราะวิตามินซี จะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก แล้วคุณแม่ก็ค่อยกินแคลเซียมพร้อมหรือหลังอาหารมื้อกลางวันหรือเย็น
  • ควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพราะจะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องผูก จากแคลเซียม

 

 

คนท้องกินอะไรดี คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงวิตามินอะไร

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ไม่ควรรับประทานวิตามินเอ มากกว่า 25,000 IU ต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก เพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะแท้งบุตร หรืออาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ หลังจากไตรมาสแรก  คุณแม่ท้องสามารถรับประทานวิตามินเอได้ ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น

 

  • ผู้หญิงไม่ตั้งครรภ์ สามารถกินวิตามินเอได้ 2,600 IU ต่อวัน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถกินวิตามินเอได้ 3,300 IU ต่อวัน
  • คุณแม่ให้นมบุตร สามารถกินวิตามินเอได้ 4,000 IU ต่อวัน

 

อย่างที่พวกเราทราบกัน ว่าวิธีบำรุงคนท้องที่ดีที่สุดคือ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแม่และลูก กินดี อย่างพอดี กินให้ลงลูกไม่ใช่กินเผื่อลูก สำหรับวิตามินอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแม่ท้องเป็นสำคัญ โดยคุณหมอจะเสริมวิตามินให้กับแม่แต่ละคนตามความเหมาะสมของร่างกาย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

15 อาหารที่คนท้องควรกิน อาหารเหล่านี้ คนท้องกินสิดีต่อลูกน้อยในครรภ์

เมนูคนท้องกินแล้วไม่อ้วน สุดฮิตของคุณแม่ตั้งครรภ์ กินอย่างไรไม่ให้อ้วน

คนท้องกินอะไรได้บ้าง ในแต่ละไตรมาส ต้องกินอะไร? กินอะไรแล้วดี

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวอยากให้ลูกฉลาด คนท้องต้องกินอะไร ได้ที่นี่ !

คนท้องกินอะไรดี อยากให้ลูกเป็นเด็กฉลาด ต้องกินอะไรดีคะ

ที่มา : petcharavejhospital, paolohospital

บทความโดย

Tulya