ประโยชน์ของการเล่นของเด็ก ช่วยพัฒนาทักษะอะไรกันบ้าง มาดูกัน
ประโยชน์ของการเล่นของเด็ก
แม้ว่าการเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็ไม่เห็นความสำคัญเรื่องนี้ และ มองข้ามจุดนี้ไป อีกทั้ง มักให้ลูกมุ่งแต่เรียนเมื่อพวกเขาเริ่มโต คุณรู้หรือไม่ว่า การเล่นมีประโยชน์มากมาย ดังต่อไปนี้
เป็นการออกกำลัง
เช่น การเล่นกีฬา หรือ บางครั้ง การเล่นในสนามเด็กเล่น เป็นการออกกำลังที่ดีสำหรับเด็ก ๆ ได้ขยับแขน ขา อย่างเต็มที่ และ ยังเป็นเวลาที่พวกเขาจะได้พักผ่อนจากตารางเรียนแน่นเอี๊ยดอีกด้วย นอกจากการเล่นในลักษณะนี้ จะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้จิตใจปลอดโปร่งแจ่มใส เพราะเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้สมอง และ ทำให้เด็กตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ในระยะยาว ลูกคุณจะมีสุขภาพที่แข็งแรงอีกด้วย
นอกจากห้างสรรพสินค้า ลองเปลี่ยนบรรยากาศ พาลูกไปเดินเล่น หรือ วิ่งไล่จับ ในสวนสาธารณะบ้างก็ได้
เล่นกระตุ้นสมอง
การเล่นทุกชนิด ล้วนช่วยพัฒนาการทำงานสมองของลูกน้อย
เช่น เกมคอมพิวเตอร์ สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ และ ฝึกสมองให้คิดได้เร็วขึ้น เกมส่วนใหญ่มักให้ผู้เล่นคิดหาวิธีแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ตราบใดที่คุณให้ลูกเล่นอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม เกมคอมพิวเตอร์ ก็จะให้ประโยชน์มากกว่าโทษ
เล่นสร้างสรรค์
ให้ลูกได้ลองเล่นกล้อง ก็ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พร้อมไปกับทักษะใหม่ๆ ด้วย
เช่น วาดรูป ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน เป็นต้น ปาโบล ปิกัสโซ ศิลปินชาวสเปนเคยกล่าวไว้ว่า “ เด็กทุกคนล้วนเป็นศิลปิน ปัญหาคือ จะทำยังไงให้ความเป็นศิลปินคงอยู่เมื่อเขาโตขึ้น ” ถ้าเราปล่อยได้เด็กได้แสดงตัวตนออกมาผ่านศิลปะ เราก็จะสามารถเห็นจินตนาการของพวกเขาได้จากงานศิลปะของพวกเขา
แม้ว่าการเล่น จะมีหลายแบบ แต่เด็กเล็กก็มักจะเล่นได้ไม่กี่อย่าง นอกจากคุณจะเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย
เด็กบางคนอาจจะสนุกมากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ เข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นด้วย
เกมจ๊ะเอ๋ คือ หนึ่งในเกมโปรดตลอดกาลของเด็กเล็ก และ คุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเป็นเกมที่สื่อให้เด็กเห็นว่า คุณไม่ได้ “ อันตธานหายไป ” แค่มองไม่เห็นคุณชั่วคราวเท่านั้น นี่จะทำให้ลูกน้อยของคุณปรับตัวได้ดีเมื่อต้องอยู่ห่างจากคุณ เมื่อเขาโตชึ้น คุณก็จะสามารถส่งเสียงปลอบประโลมเขาได้จากห้องข้าง ๆ แทนที่จะต้องหยุดกิจกรรมทุกอย่างที่ทำอยู่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพื่อมาอุ้มเขา
นอกจากการเล่นจะมีประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว การเล่นเหล่านี้ ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กอีกด้วย จะทำให้คุณกับลูกสนิทกันแม้ว่า คุณอาจต้องทำงานตลอดทั้งวันโดยไม่ได้เจอหน้าลูก
เล่นในแบบของฉัน
เมื่อลูกของคุณโตพอที่จะลองเล่นของเล่นนับล้านที่วางขายอยู่ในท้องตลาด เขาอาจตื่นตาตื่นใจจนลืมคุณไปสักพัก จำไว้ว่า สิ่งสำคัญคือ อย่าทิ้งให้ลูกอยู่กับของเล่นตลอดเวลา และ อย่ากำหนดวิธีการเล่นของเล่นของเขา
เด็กแต่ละคน อาจจะมีวิธีเล่นของเล่นไม่เหมือนกัน แต่งต่างกันออกไป
ตอนลูกชายของฉันอายุครบหกเดือน เราซื้อของเล่นรูปเรขาคณิตให้เขา โดยหวังให้เขารู้จักจดจำรูปร่างต่าง ๆ และ ทำให้เราภูมิใจโดยการใส่แท่งไม้รูปต่าง ๆ ให้ตรงช่อง
ฉันผิดหวังมากเมื่อเห็นเขาไม่เล่นมันอย่างที่เขาควรจะเล่น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ฉันก็เริ่มเข้าใจว่า เขามีวีธีการเล่นในแบบของตัวเอง
เขาจะเคาะแท่งไม้เข้าด้วยกัน เรียงตั้งมันขึ้น และ โยนมันไปรอบ ๆ ให้แมวไปคาบเล่น คว่ำกล่องซ่อนแท่งไม้ไว้ เหมือนกับจะเล่นซ่อนแอบกับมัน สรุปคือ เล่นทุกอย่าง ยกเว้น ใส่แท่งไม้ลงในช่อง ซึ่งในความเป็นจริง มันไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด ยังไงเขาก็ยังเป็นเด็กน้อยที่ไม่ชอบทำตามกฎเข้มงวดเมื่อลงมือเล่น และ เหตุการณ์นี้เอง ก็ทำให้ฉันเข้าใจว่า ทำไมผู้ใหญ่จึงไม่ควรกำหนดวิธีการเล่นของเด็ก ๆ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “ พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง ”
source หรือ บทความอ้างอิง : pediatrics.aappublications.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก
เมื่อลูกติดเกม
ลูกชอบเล่นคนเดียว
ของเล่นลูกที่เหมาะสมกับวัย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!