วิจารณ์การเลี้ยงลูก รับมืออย่างไร เมื่อคนอื่นวิจารณ์การเลี้ยงลูกของเรา
วิจารณ์การเลี้ยงลูก รับมืออย่างไรเมื่อคนอื่นวิจารณ์การเลี้ยงลูกของเรา
มีแนวทางไหนบ้าง ควรทำอย่างไรบ้าง เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยค่ะ
1. เปิดใจ เข้าใจ
ในบริบทของเพื่อนหรือครอบครัวอื่น ๆ ที่มีแนวทางการเลี้ยงลูกที่ไม่เหมือนเรา สิ่งแรกที่ผมอยากแนะนำคือให้เราเปิดใจรับฟังก่อน แม้ว่าอาจจะรู้สึกขัดแย้ง แต่การเปิดใจจะช่วยไม่ให้เราปิดโอกาสที่จะเรียนรู้ในมุมมองที่แตกต่างกันซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นเรื่องมีเป็นประโยชน์หรือมีส่วนดีอยู่
2. Blueprint แผนที่ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
แต่ละคนมีแผนที่ชีวิตที่ต่างกัน การมองโลกใบนี้แตกต่างกันจากประสบการณ์ ความเชื่อ ของแต่ละคน ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ให้ทุกคนเข้าใจในสิ่งที่เราทำ หรือคิดเหมือนที่เราคิด เปลี่ยนวิธีคิดให้เข้าใจคนเหล่านั้นใหม่ว่าเขาใช้ Blueprint ของเขาที่คิดว่าสิ่งนี้ดีที่สุดสำหรับเราในตอนนี้ด้วยทรัพยากรที่เขามี รับความปรารถนาดีนั้นไว้ด้วยมิตรไมตรีครับ ความโกรธ ความอึดอัดใจจะเบาบางลง
3. ทบทวน ไตร่ตรอง
เมื่อเรารับฟังในแนวคิดต่าง ๆ ที่เพื่อนให้ ทบทวนแนวคิดการเลี้ยงลูกของเราว่าสิ่งที่เราทำอยู่หรือที่ผ่าน ๆ มาเราได้ผลลัพธ์จากลูกในแบบที่เราและลูกแฮปปี้ดีแล้วหรือไม่ หากมั่นใจว่าแนวทางนี้แหละคือแนวทางที่เราและลูกมีความสุขและไม่เกิดบาดแผลในใจกับลูกและส่งผลในระยะยาวของชีวิต ขอให้มั่นคงในความรู้สึกดีที่เราเลือกแนวทางนี้กับ ใครจะพูดอย่างไรหรือตัดสินลูกเราอย่างไรนั้นเราเท่านั้นที่จะรู้ดีที่สุดครับ
วิจารณ์ การเลี้ยงลูก
4. ให้ข้อมูลเท่าที่เขาจะพร้อมเรียนรู้ในขณะนั้น
โดยส่วนมากปัญหาที่คล้ายกันคือเราอยากอธิบายในเหตุผลที่มาในแนวคิดของเราแต่บางทีเขาก็ไม่เข้าใจและไม่รับฟังเอาเสียเลย บางคนไม่พร้อมเป็นผู้ฟังหรือพร้อมเปิดใจในขณะนั้นแต่อาจไม่ได้หมายความว่าเขาจะปิดใจไปเสียทั้งหมด ดูช่วงจังหวะว่าเขาพร้อมฟังเรามากน้อยแค่ไหน ถ้าดูว่าพอ รับฟังกันก็อธิบายที่มาที่ไปให้เขาทราบ แต่อย่าคาดหวังผลให้เค้าเกิดความเชื่อเหมือนเรา เราเพียงต้องการให้เขาเข้าใจว่าเรามีแนวทางที่เราศึกษาและเหมาะสมกับลูกของเราแล้ว
5. มองหาสิ่งที่ยังพัฒนาตัวเองได้อีกเพื่อลูก
ในบางบ้านอาจเจอเหตุการณ์ที่ถูกตัดสินวิพากษ์ลูก ๆ ของเราจากคนอื่น ๆ ว่า ไม่น่ารัก เกเร ซน ดื้อ ร้าย เฮี้ยว..ผมอยากชวนเราคิดว่า ไม่มีคำว่าล้มเหลวมีแต่คำว่าเรียนรู้และ feedback อย่ารู้สึกล้มเหลวถ้าเราไม่มั่นใจในวิถีทางที่เราปฎิบัติอยู่ ถ้าทำแล้วไม่ดีสำหรับเราและลูกให้ลองศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมว่าเรายังทำอะไรได้ดีขึ้นอีก
สุดท้ายการเลี้ยงดูแลลูกนั้น มีหลายศาสตร์หลายความเชื่อ ขึ้นอยู่กับบริบทของครอบครัวและสังคม บางศาสตร์บางความเชื่ออาจจะเหมาะสมกับสภาพสังคมในอดีต จึงเป็นหน้าที่ของพ่อ แม่อย่างเราที่ต้อง update และ upgrade ความรู้และศาสตร์ใหม่ๆเพื่อมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของครัวและปรับใช้ให้เข้ากับลูกของเราอย่างสมดุล และทางสายกลางครับ มนุษย์เกิดมาบนโลกใบนี้มีความเป็นตัวตนและจิตวิณญาณที่แตกต่าง แบบแผนแนวคิดที่ดีแบบหนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้กับอีกมนุษย์คนหนึ่ง เด็ก ๆ ก็เช่นกันครับ
วิจารณ์ การเลี้ยงลูก0
เราไม่ควรวิจารณ์การเลี้ยงลูกของใคร หากเรายังไม่รู้จักเขาดีพอ
อาจเปรียบเทียบได้ว่า นิ้วมือของเราไม่เท่ากันฉันใด นิสัยใจคอของทุกคนย่อมแตกต่างกันฉันนั้น
ไม่ต่างอะไรกันกับเด็กๆ ที่มีที่มาต่างกัน ต่างครอบครัว ลูกเราอาจไม่เหมือนใคร และลูกของใครอาจไม่เหมือนเรา
ความแตกต่าง ไม่ได้ทำให้ใครผิด ความเหมือน ไม่ได้หมายความว่าถูก
อย่าคิดว่าตัวเองนั้นเลี้ยงลูกถูกวิธี เพราะแท้จริงแล้ว การเลี้ยงลูกนั้นอาจไม่มีวิธีที่ตายตัวแน่นอน
อย่าคิดว่าคนอื่นเลี้ยงลูกผิดแปลก หากว่าตัวของเรายังคิดแปลกแยก ไม่เปิดใจ
อย่าเอาวิธีเลี้ยงลูกของเราไปตัดสินคนอื่น ทั้งที่เรานั้นยังไม่รู้จักเขาดีพอ
การเป็นพ่อแม่ ไม่มีกฎ ไม่มีข้อกำหนด ไม่มีถูก ไม่มีคำว่าผิด
พ่อแม่ทุกคน ย่อมผ่านความสุข ทุกข์ สมหวัง ผิดหวัง และร้องไห้มาด้วยกันทั้งนั้น
ลูกของเขาเป็นเด็กดื้อ เรียนไม่เก่ง ไม่ใช่ว่าเขาจะเป็นพ่อแม่ที่แย่ พ่ายแพ้
หากลูก เปรียบดัง ผลไม้ที่งอกงามจากการรดน้ำพรวนดิน
ผลไม้นั้น อาจมี มีรสหวาน รสเปรี้ยว รสขมบ้าง ก็ใช่ว่า ผลไม้นั้นๆ จะเน่าเสีย ไม่สร้างประโยชน์ใดๆ เลย
เพราะความแตกต่าง ความโดนเด่นของลูกไม้ที่มี ย่อมส่งรสดีที่แตกต่างกันออกไป
จงใช้เวลาที่มี เดินออกจากอคติ ที่จับผิดใครๆ แล้วหันมาใส่ใจครอบครัว ตัวลูกของเรา
อย่าใจแคบให้มุมมองของเราเพียงคนเดียว ทำลายความตั้งใจในการทำหน้าที่พ่อแม่ของผู้อื่น
จงหยิบยื่น เปิดใจ เห็นใจ เข้าใจ เพราะไม่ว่า ทุกคนจะมีที่มาต่างกันแค่ไหน
ย่อมอยากเป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุด เพื่อลูกของเราด้วยกันทั้งนั้นครับ
วิจารณ์การเลี้ยง ลูก2
คุณเคยไม่กล้าทำอะไรสักอย่างเพียงเพราะกลัวคนอื่นจะมองไม่ดีหรือไม่ครับ ?
มนุษย์ทุกคนเกิดมาด้วยความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน เพื่อทำประโยชน์บางอย่างให้กับโลกใบนี้ หากเรารู้สึกตัวเองมากพอ เป็นตัวของตัวเอง และนำศักยภาพที่มีติดตัวเฉพาะตัวเราออกมาใช้อย่างเต็มที่ เราจะรู้สึกว่าชีวิตของเราก้าวไปข้างหน้า และเราจะมีความสุขกับชีวิตของเรามาก
การกลัวความคิดเห็นในด้านลบของคนอื่นต่อการทำบางสิ่งบางอย่างของเรา นักจิตวิทยาเรียกมันว่า “The fear of other people’s opinions” หรือ “FOPO” ซึ่งเป็นความกลัวระดับปกติที่พบได้ในมนุษย์ทุกคน เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม และต้องการการยอมรับจากกลุ่มของตน เรื่องราวนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ที่มนุษย์จะต้องออกไปล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร และนำกลับมายังกลุ่มของตัวเอง ซึ่งในอดีต หากใครไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ก็จะมีผลต่อตำแหน่งในกลุ่ม หรือ ชนเผ่าของพวกเขาเหล่านั้น ดังนั้น ความกลัวไม่ได้รับการยอมรับ จึงถูกส่งมายังรุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเราปล่อยให้ความกลัวนี้มีอิทธิพลกับเรามากเกินไป ก็จะส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพที่เรามีอยู่ ตัวอย่างเช่น เราไม่กล้าที่จะยกมือถามคำถามในห้องเรียน หรือห้องประชุม เพราะกลัวคนอื่นจะไม่ชอบ การกลัวในการพูดต่อหน้าสาธารณะขน เพราะกลัวความผิดพลาด และคนอื่นจะวิพากวิจารณ์ในทางลบ หรือแม้แต่การกลัวที่จะแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตัวเอง เพราะกลัวจะไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มของตนเอง
วิธีในการจัดการกับความกลัวว่าคนอื่นจะคิดกับเราอย่างไร สามารถทำได้โดย การทำความรู้จักกับตัวเอง
หรือนักจิตวิทยาเรียกมันว่า “Self awareness” นั่นเอง
“Self awareness” คือ ความสามารถในการรู้เท่าทันความรู้สึก และความคิดของตัวเอง ทำให้สามารถรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง โดยการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกหรือความต้องการต่างๆ ของตัวเองได้ เมื่อเราสามารถรู้จักตัวเองได้อย่างแท้จริงแล้ว ก็จะทำให้เราทำสิ่งต่างๆ ที่เราต้องการอย่างแท้จริงได้ และมีชีวิตอย่างมีความสุข
บ่อยครั้งที่เราใช้ชีวิตไปวันๆ แล้วแต่โชคชะตาหรือสิ่งรอบข้างจะนำพาไป แต่หากเราต้องการที่จะเป็นตัวของเราเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องกลัว หรือให้ความคิดของคนอื่นมามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของเรามากเกินไป เราจะต้องกลับมาสำรวจโลกภายใน นั่นก็คือ ตัวของเราเอง
วิจารณ์การเลี้ยง ลูก3
การพัฒนา Self awareness สามารถทำได้ ดังต่อไปนี้
1. ทำความเข้าใจและเรียนรู้ชีวิตของตัวเอง
ตัวเราเองเป็นคนตีความเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา ถ้าเราเลือกที่จะตีความในเชิงประสบการณ์ และบทเรียนที่ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้น เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดในชีวิต ก็จะเป็นประโยชน์กับเรา ชีวิตของเราในวันนี้ เป็นผลของการตัดสินใจในอดีตของเรา และการตัดสินใจของเรา ก็เกิดขึ้นจากประสบการณ์ และข้อมูลที่เรามีในเวลานั้นๆ ดังนั้น การกลับไปย้อนทบทวนถึงสาเหตุของการตัดสินใจครั้งสำคัญในอดีต ก็จะทำให้เราเข้าใจแรงผลักดัน และสิ่งที่หล่อหลอมให้เราเป็นตัวเราในวันนี้มากยิ่งขึ้น
2. สร้างอุปนิสัยในการสะท้อนตัวเองในทุกๆ วัน
ในแต่ละวันเราทำสิ่งต่างๆ มากมาย เราให้เวลากับงาน เพื่อน ครอบครัว แต่คนหนึ่งที่เรามักจะหลงลืมก็คือตัวของเราเอง เราควรกำหนดเวลาอย่างน้อยวันละ 20 นาที ในการอยู่กับตัวเอง ฟังเสียงของหัวใจตัวเอง ทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธีตามความถนัดของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันทึก การนั่งสมาธิ การออกไปเดินหรือวิ่ง ก็สามารถทำให้เราได้อยู่กับตัวเองเงียบๆ เพื่อทบทวนเรื่องราวต่างๆ ได้เช่นกัน
3. เปิดรับฟังคำวิพากวิจารณ์ที่จริงใจ
เราไม่สามารถที่จะมองตัวเองได้แบบ 360 องศา ดังนั้น การมีคนที่รักเราและเราไว้ใจ คอยช่วยแนะนำ หรือตักเตือน เป็นเรื่องที่ดี การรับคำวิพากวิจารณ์อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเราเปิดใจ และนำคำวิพากวิจารณ์ที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาตัวเราเองให้เป็นคนที่ดีขึ้น ก็จะทำให้เราเติบโต และเข้มแข็งได้อย่างต่อเนื่อง
Asian baby crying while mother scolding on white background isolated
ที่มา : istrong.co
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ทำความรู้จักวิธีเลี้ยงลูกในยุค เจน อัลฟ่า (Gen Alpha)
9 วิธี เลี้ยงลูกแบบไหนให้โตมาไม่ก้าวร้าว
วิธีเสริมสร้าง Self-Esteem คืออะไร ควรปลูกฝังลูก ๆ ตอนไหนและประโยชน์ของมัน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!