X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ย้อนคดีลักเด็ก 4 ขวบ ทำอย่างไรเมื่อแม่แท้ๆ กลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับลูก

บทความ 3 นาที
ย้อนคดีลักเด็ก 4 ขวบ ทำอย่างไรเมื่อแม่แท้ๆ กลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับลูก

ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา คงได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับคดีลักพาตัวเด็กเมื่อ 4 ปีก่อน และได้รับการคลี่คลายลงไปแล้ว คุณแม่ที่แท้จริงที่มีโอกาสได้พบลูกของตัวเอง  เหมือนลูกได้เกิดใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับคุณแม่และครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ความยากลำบากก็เกิดขึ้นตามมา เมื่อเด็กจะได้กลับสู่อ้อมกอดแม่ที่แท้จริง แต่จะทำอย่างไรดี ในเมื่อแม่แท้ๆ ในตอนนี้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับลูก

ตลอด 4 ปี เด็กน้อยได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี จากครอบครัวของแม่ที่ขโมยเด็กมา จนเกิดความรักความผูกพันกับแม่ตัวปลอมและคุณปู่อุปถัมภ์ จากกรณีดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ความรักและความผูกพัน (attachment) ของเด็กต่อบุคคลรอบข้าง เป็นสิ่งที่ค่อยๆ สร้างในระยะหลังเกิด ไม่ได้เกิดขึ้นเองอัตโนมัติโดยสายเลือด ดังนั้น การดูแลเด็กในช่วงแรกของชีวิต โดยเฉพาะขวบปีแรก มีความสำคัญมากต่อการสร้าง ภาวะผูกพัน ที่มั่นคงของเด็ก

การเลี้ยงดูเด็กที่จะพัฒนาให้เกิดภาวะผูกพันที่มั่นคง ได้แก่ การดูแลใกล้ชิด มีการสัมผัสโอบกอด พูดคุย แม้ว่าเด็กยังพูดไม่ได้ แต่เด็กรับรู้ได้จาก น้ำเสียง สีหน้า แววตา ที่นุ่มนวล อบอุ่น รวมทั้งการที่ผู้ดูแลให้การตอบสนองความต้องการของเด็กได้ ถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว เช่น เมื่อเด็กร้อง เพราะเปียกแฉะ เด็กก็รับรู้ได้ว่า มีคนมาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ ไม่ปล่อยให้ร้องนาน หรือหิว ก็ได้กินนม เป็นต้น

เมื่อเด็กสร้างความผูกพันมั่นคงกับครอบครัวแรกดังนี้แล้ว การจะแยกเด็กออกจากครอบครัวเดิมทันทีย่อมเป็นเรื่องยาก เด็กจะเกิดภาวะวิตกกังวลจากการแยกจากบุคคลที่ตนเองผูกพัน ในเด็กเล็กอาจมีการเข้าใจผิดเพราะกระบวนการคิดตามวัย เช่น เข้าใจว่า ตัวเองดื้อ ครอบครัวเดิมจึงไม่ต้องการ ทิ้ง ให้ไปอยู่กับครอบครัวใหม่

ดังนั้นการจะแยกจากครอบครัวเดิมกลับไปสู่ครอบครัวผู้ให้กำเนิด ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และควรอธิบายให้เด็กฟังอย่างง่ายๆ ถึงเหตุผลที่ต้องย้ายจากครอบครัวเดิม เช่น กล่าวว่าแม่ในครอบครัวใหม่ เป็นแม่ที่ท้องและคลอดหนูออกมา แม่แท้ๆ รักหนูมากไม่ได้ทิ้งไปไหนตั้งแต่ต้น ควรเน้นว่า ครอบครัวเดิมที่เลี้ยงมาก็ยังรักหนู หนูโชคดีมากที่มีคนรักหนูมากมาย ทำให้เด็กรู้สึกตัวเองมีคุณค่า ไม่ใช่ถูกปฏิเสธจากครอบครัวเดิม

หลังจากนั้น ให้เด็กค่อยๆ สร้างความผูกพันใหม่กับครอบครัวผู้ให้กำเนิด หลังจากไปอยู่บ้านแม่แท้ๆ แล้ว ไม่ควรตัดการติดต่อจากครอบครัวเดิม เด็กควรได้รับโอกาสให้ติดต่อ พูดคุย และเยี่ยมเป็นระยะ โดยไม่กีดกันจากครอบครัวที่แท้จริง ที่สำคัญครอบครัวทั้งสองไม่ควรกล่าวโทษกันให้เด็กได้ยิน และควรมีความสัมพันธ์ที่ดีในการร่วมมือกันดูแลเด็ก เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ตัวเด็ก

เด็กที่มีภาวะผูกพันที่มั่นคง ในระยะยาว พบว่าเป็นเด็กที่รู้สึกตัวเองมีคุณค่า มีความมั่นใจในตนเอง สามารถรักคนอื่นเป็น สามารถรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้างได้ดี ซึ่งส่งผลให้เป็นคนที่มีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ครอบครัวร่วมระลึกถึงการจากไปของหนูน้อยวัย 6 เดือน แม่ยังเชื่อว่าเป็นเพราะฉีดวัคซีน 13 ชนิดในคราวเดียว
แม่ฟ้องหมอ!! หลังจับได้ว่าสับเปลี่ยนทารกแรกเกิดเพื่อการค้ามนุษย์!!

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

พญ.โสรยา ชัชวาลานนท์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ย้อนคดีลักเด็ก 4 ขวบ ทำอย่างไรเมื่อแม่แท้ๆ กลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับลูก
แชร์ :
  • ทำอย่างไรเมื่อแม่ให้นม "หัวนมบอด"

    ทำอย่างไรเมื่อแม่ให้นม "หัวนมบอด"

  • เรื่องจริงผ่านการ์ตูน : เกิดเป็น ‘แม่’ แท้จริงแสนลำบาก

    เรื่องจริงผ่านการ์ตูน : เกิดเป็น ‘แม่’ แท้จริงแสนลำบาก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ทำอย่างไรเมื่อแม่ให้นม "หัวนมบอด"

    ทำอย่างไรเมื่อแม่ให้นม "หัวนมบอด"

  • เรื่องจริงผ่านการ์ตูน : เกิดเป็น ‘แม่’ แท้จริงแสนลำบาก

    เรื่องจริงผ่านการ์ตูน : เกิดเป็น ‘แม่’ แท้จริงแสนลำบาก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ