ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ ลูกเป็นอะไรกันแน่?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าลูกมีอาการแหวะนม แต่ความจริงแล้วการที่ลูกอ้วกโดยไม่มีไข้ อาจไม่ใช่อาการแหวะนมแต่อย่างใด แต่อาจเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพของลูกน้อยได้ วันนี้ theAsianparent จะพาคุณแม่มาดูกันว่า ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย เกิดจากอะไร อาการอ้วกแบบไหนที่เป็นอันตรายต่อลูก พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกอ้วกบ่อย ไปติดตามกันค่ะ

 

ทารกอ้วก กับแหวะนมต่างกันอย่างไร

เมื่อลูกอ้วก คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเข้าใจว่าลูกมีอาการแหวะนม แต่ความจริงแล้วทั้งสองอาการนี้ ค่อนข้างมีความแตกต่างกัน โดยอาการแหวะนมอาจเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยเฉพาะในทารก แต่หากลูกมีอาการอาเจียน ก็จะเกิดขึ้นเมื่อลูกมีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร หรืออาการป่วยอื่น ๆ เท่านั้น โดยคุณพ่อคุณแม่อาจแยกความแตกต่างได้ดังนี้

  • อาการแหวะนม คือ อาการเรอเอานมหรือสำรอกนมออกทางปาก บางครั้งก็ไหลย้อนออกมาทางจมูกได้ จึงควรระวังสำลัก เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของทารกยังเจริญไม่เต็มที่
  • อ้วกหรืออาเจียน คือ ลักษณะอาการขย้อนอาหารย้อนกลับออกทางปากอย่างรุนแรง ถ้าอาเจียนรุนแรงจนอาหารและน้ำพุ่งออกปากและจมูก จะเรียกว่าอาเจียนพุ่ง

 

ทารกอ้วก เกิดจากอะไร

  • เป็นหวัด เด็กเล็กสามารถเป็นหวัดได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็ง ซึ่งหากลูกมีอาการไข้หวัด ก็อาจทำให้เขาอาเจียนออกมา ร่วมกับอาการอื่น ๆ
  • ไวรัสลงกระเพาะอาหาร หากลูกมีอาการติดเชื้อไวรัสในทางเดินอาหาร ก็อาจทำให้ลูกมีอาการอ้วกหรือท้องเสียได้ โดยอาการนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วง 12-24 ชั่วโมง หลังได้รับเชื้อโรค เช่น โนโรไวรัส
  • กรดไหลย้อน ทารกสามารถเป็นกรดไหลย้อนได้เหมือนผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่นั้น เมื่อลูกมีอาการกรดไหลย้อน จะมีอาการงอแง กระสับกระส่าย หลังกินนม ก็จะทำให้เขาอาเจียนออกมาหลังจากกินนมไปไม่นาน
  • ไออย่างรุนแรง หากลูกน้อยมีอาการไอเรื้อรัง และไออย่างต่อเนื่อง เช่น จากโรคหลอดลมอักเสบหรือหอบหืด ก็อาจทำให้เด็กทารกอาเจียนได้ 
  • อากาศร้อน คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจไม่รู้ว่า อากาศร้อน ๆ อาจส่งผลให้ลูกอาเจียนได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายของลูกยังไม่สามารถขับเหงื่อได้ดี การระบายความร้อนลดลง หากลูกอยู่ในสภาพอากาศร้อน ๆ เกิดภาวะ Heat Stroke มีอาเจียนและทำให้เกิดภาวะขาดน้ำตามมาอีกด้วย
  • การติดเชื้อ การที่ลูกมีอาการอาเจียนบ่อย ๆ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไข้ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณที่แสดงว่าลูกอาจมีภาวะติดเชื้อในร่างกายได้ โดยการติดเชื้อที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคปอดบวม และโรคไข้เลือดออก เป็นต้น

 

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกอาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อยถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกอาเจียน โดยเฉพาะทารกในช่วงเดือนแรก ๆ อาการนี้มักเกิดจากปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น เกิดจากการท้องอืด ท้องผูก กรดไหลย้อน โคลิก แพ้นมวัว หรือภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง เป็นต้น ซึ่งหากลูกมีอาการดังกล่าวก็อาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อยจนทำให้เกิดอาเจียนออกมา

คุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของลูกเมื่ออาหารไม่ย่อย โดยอาจพิจารณาจากลักษณะอุจจาระที่แข็งกว่าปกติ จนทำให้ลูกน้อยเจ็บขณะขับถ่าย พฤติกรรมในการนอนหลับของลูก การที่ทารกไม่ยอมดื่มนม และร้องไห้มากกว่าปกติ ความผิดปกติดังกล่าวนี้อาจบ่งบอกถึงอาการทารกอาหารไม่ย่อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรทำเมื่อทารกอาหารไม่ย่อย

การรับประทานอาหารของทารก คือปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกอาหารไม่ย่อย ดังนั้นคุณแม่ควรปรับวิธีการให้อาหารลูก เพื่อช่วยให้เข้าสบายท้องมากยิ่งขึ้น โดยอาจใช้วิธีดูแลเบื้องต้นดังนี้

  • หากคุณแม่ให้นมลูกเอง ควรงดการรับประทานอาหารที่มีคาเฟอีน อาหารประเภทนม และอาหารรสจัด แล้วล้องดูการเปลี่ยนแปลงการย่อยอาหารของลูก หากลูกน้อยมีอาการเหมือนเดิมแม้ว่าจะลองปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้ว ก็อาจจะไม่เกี่ยวข้องกัน
  • หากคุณแม่ให้กินนมผง ให้ลองลดปริมาณนมผงในการชงดู แต่ลองป้อนนมให้บ่อยขึ้น หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการเลือกนมย่อยง่ายที่ตรงกับความต้องการของลูกโดยแพทย์อาจจะแนะนำนมที่มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน หรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ควบคู่กับสารอาหารอื่นๆ ที่พบในนมแม่ เช่น MFGM และ DHA เป็นต้น
  • หลังจากให้ลูกกินนมแล้ว ควรอุ้มแล้วลูบหลังให้ลูกเรอออกมา
  • นวดท้องหรือจับเท้าของลูกให้ทำท่าปั่นจักรยาน โดยควรทำหลังจากให้ลูกกินนมเรียบร้อยแล้ว
  • หากลูกรับประทานอาหารได้แล้ว คุณแม่อาจเพิ่มผลไม้ในอาหาร เพื่อช่วยป้องกันอาการท้องผูก โดยควรเลือกผลไม้ที่หวานน้อย เนื้อนิ่ม และไม่มีกรด
  • ในช่วงการป้อนอาหาร ควรให้ลูกนั่งตัวตรง และหลังจากป้อนเสร็จแล้ว ก็ควรให้ลูกนั่งต่ออย่างน้อย 15-30 นาที ไม่ควรจับนอนทันที
  • งดการป้อนอาหารที่มีลักษณะแข็ง เหนียว หรือเป็นอาหารที่มีกรดสูง อาหารทอด รวมถึงอาหารที่มีคาเฟอีน เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้ลำไส้ลูกทำงานหนัก จนส่งผลให้มีอาการอาหารไม่ย่อยอย่างรุนแรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5 อาหารที่ดีต่อระบบย่อยอาหารลูก

การรับประทานอาหารมีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารของลูกทำงานได้ปกติ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจเรื่องอาหารการกินของลูกเป็นพิเศษ เพราะการรับประทานอาหารที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงของอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสีย และอาเจียนได้ 

 

1. โภชนาการย่อยง่าย

อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะในน้ำนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด อีกทั้งยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM DHA ซึ่งช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย กรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้และมีความจำเป็นต้องให้นมผง คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่ย่อยง่ายให้กับลูกน้อย โดยแพทย์ก็อาจจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย สามารถดูดซึมได้ดี เหมาะสมกับระบบย่อยอาหารของลูก 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ผลไม้

ผลไม้เป็นอาหารที่ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกรับประทานผลไม้เหล่านี้ เพราะมีสรรพคุณที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบย่อยอาหารนั่นเอง

 

3. ผักใบเขียว

ผักใบเขียวที่ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ได้แก่ ผักเคล ผักโขม คะน้า ถั่วลันเตา และถั่วฝักยาว เป็นต้น ผักเหล่านี้เป็นแหล่งของสารอาหารหลายอย่าง เช่น โฟเลต ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี และแมกนีเซียม หากให้ลูกกินผักใบเขียวเป็นประจำ ก็จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้และบำรุงระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี

 

4. โปรตีนและไขมันดี

อาหารประเภทโปรตีน เช่น ไข่ ปลาแซลมอน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อัลมอนด์ และเต้าหู้ อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร และรักษาสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้

 

5. ธัญพืช

ธัญพืชที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยรับประทาน ควรเป็นธัญพืชเต็มเมล็ด ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ควินัว และขนมปังโฮลวีต เพราะธัญพืชชิดนี้จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยป้องกันท้องผูก และทำให้ลูกสบายท้อง

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีรับมือเมื่อลูกอ้วกบ่อย

ถ้าลูกอาเจียนเป็นครั้งคราวอาจไม่มีอะไรที่ผิดปกติ แต่หากลูกมีอาการอาเจียนแบบพุ่ง มีสิ่งเจือปน และอาเจียนแบบต่าง ๆ ข้างต้น ควรสังเกตลักษณะอาเจียนเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น หากลูกมีการอ้วกบ่อย ๆ คุณแม่ควรปฏิบัติตนดังนี้

  • หากลูกอ้วก ยังไม่มีอาการขาดน้ำ ถ้าลูกยังกินนมให้กินต่อไปโดยการให้นมแม่ อาจให้ลูกดูดนมทุกๆ 30 นาที นานประมาณ 5 นาที จนอาการอาเจียนดีขึ้น เพราะการหยุดให้นม อาจทำให้ขาดน้ำและสารอาหารได้ แต่ถ้าเริ่มมีอาการขาดน้ำควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) ร่วมด้วย
  • หากทารกกินนม มีอาการอาเจียนทางปากและจมูก อาจทำให้มีอาการหายใจครืดคราดเหมือนเป็นหวัดได้
  • ถ้าทารกอาเจียนแล้วมีสำลักนมให้จับนอนตะแคง จัดศีรษะต่ำลงเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการไหลลงปอด
  • ควรให้เด็กกินนมท่าศีรษะสูง อุ้มเรอหรือนั่งให้เรอหลังกินนมเสร็จ เพื่อป้องกันอาเจียน
  • หากทารกอาเจียนถี่ และอาเจียนบ่อยอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 ชั่วโมง หรืออาการอาเจียนไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
  • เลือกใช้นมสูตรย่อยง่าย เพื่อช่วยในการย่อยอาหารของลูกน้อย ลดอาการไม่สบายท้อง และทำให้ลูกขับถ่ายง่ายขึ้น

 

โดยทั่วไปแล้ว หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าทารกอาเจียน ก็อาจเป็นอาการทั่วไปที่ไม่เป็นอันตรายอย่างที่คิด แต่หากทารกมีการอาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจแสดงว่าลูกมีอาการติดเชื้อหรือเจ็บป่วยอื่น ๆ ทางที่ดีควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค่ะ

หากคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการอ้วกและวิธีป้องกันอาการไม่สบายท้องของทารก ก็สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีจับลูกเรอ ให้ได้ผลชะงัด ทำไมต้องทำให้ลูกเรอ? มาดูกัน!

ไขข้อข้องใจ! ลูกอาเจียนบ่อย เป็นเรื่องปกติไหม? สงสารลูกน้อย

ลูกมี แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ทำอย่างไรดี? อาหารอะไรที่ทำให้เกิดแก๊ส

ที่มา :  enfababy, salehere, pobpadpobpad

บทความโดย

Sittikorn Klanarong