ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากอะไร? ฝันร้ายหรือเปล่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ โดยที่พวกเขาไม่ได้ลืมตาตื่น หรือได้เวลาตื่นนอน การกระทำแบบนี้ของพวกเขาหมายความว่าอะไร ลูกของเราฝันร้ายหรือเปล่า? หรือแท้จริงแล้วเป็นแค่ปฏิกิริยาบางอย่างที่เตือนว่าให้คุณกลับมาหาเขา ไปดูกันดีกว่าจริง ๆ แล้วนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร

 

การนอนของทารกและผู้ใหญ่ต่างกัน

ถ้าคุณสังเกตดี ๆ คุณจะพบว่าการนอนของทารกและผู้ใหญ่อย่างเรานั้นมีความแตกต่างกัน โดยทารกสามารถนอนหลับอย่างรวดเร็วกว่า หรือตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า Rapid eyes movement (REM) หรือการหลับที่ยังไม่สนิทได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งหากเข้าสู่สภาวะดังกล่าวทารกก็จะสามารถตื่นได้หากมีเสียงรบกวน หรือเกิดอาการดิ้น และร้องไห้ได้

โดยปกติแล้ว REM จะเกิดขึ้นหลังจากที่เราเข้าสู่ห้วงนิทราไปแล้วประมาณ 90 นาที ซึ่งจะเป็นเหมือนการผ่านด่านต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ ในช่วงแรกอาจใช้เวลานานเพียงแค่ 10 นาที แต่หลังจากนั้นอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง และช่วงสุดท้ายอาจส่งผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจของคุณเร็วขึ้น รวมทั้งการตกอยู่ในสภาวะ REM ยังช่วยกระตุ้นพื้นที่ของสมองในส่วนของการเรียนรู้ และการผลิตโปรตีนในร่างกายของเราได้เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้ทารก หรือเด็กเล็กสามารถใช้เวลานอนการนอนหลับในช่วงสภาวะของ REM ได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และผู้ใหญ่ทำได้เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุให้ทารกนั้นนอนหลับ และตื่นนอนง่ายกว่าผู้ใหญ่นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำอย่างไรหากลูกไม่ยอมนอน เคล็ดลับทำให้ลูกนอนง่าย และไม่ตื่นช่วงกลางคืน

 

 

ทำไมลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ?

สำหรับทารกแรกเกิด หรือเด็กเล็กแล้วอาจการร้องไห้ หรือฮึดฮัดเวลานอนหลับนั้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะว่าร่างของพวกเขายังไม่เข้าวงจรของการนอนหลับแบบปกติ ดังนั้นจังถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างไร หากพวกเขาตื่นบ่อย ๆ หรือส่งเสียงแปลก ๆ ขณะที่หลับอยู่นั่นเอง แต่คุณต้องเช็กให้มั่นใจว่าลูกของคุณไม่มีอาการอื่น หรืออาการเจ็บป่วยร่วมด้วย โดยสามารถแยกสาเหตุของการที่ทารกร้องไห้ขณะหลับได้เป็นประเด็นใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ร้องไห้เพื่อสื่อสารบางอย่างที่เขาต้องการ ซึ่งพบบ่อยมากที่สุดคือการบอกคุณว่าพวกเขากำลังหิว โดยปกติแล้วสำหรับเด็กแรกเกิดพวกเขาจะร้องทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
  • หากพวกเขาเพิ่งได้รับนมจากคุณไป และพวกเขาร้องอีกครั้งนั้นอาจมีสาเหตุมาจากนมที่เพิ่งได้รับไปส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้พวกเขามีอาการปวดท้อง หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
  • ฝันร้าย เด็กที่อยู่ในวัยกำลังพัฒนาของร่างกาย รวมไปถึงจินตนาการของพวกเขาด้วย ซึ่งนอกจากในบางครั้งจะเต็มไปด้วยความตื่นเต้น น่าสนใจ แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่ฝันร้าย และทำให้พวกเขาร้องไห้ออกมากลางดึก หรือระหว่างนอนกลางวันได้

 

รูปแบบการนอนของเด็กแต่ละวัย

การนอนหลับของทารกนั้นไม่มีรูปแบบสักเท่าไหร่ โดยรูปแบบของการนอนของเด็ก ๆ ในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปีนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างกันออกไปของเด็กแต่ละคน นอกจากนี้ปริมาณในการร้องไห้ในช่วงหลับก็ต่างกันออกไปด้วย ซึ่งสามารถแยกออกเป็นช่วงอายุได้ดังต่อไปนี้

 

  • ทารกแรกเดิน (0 ถึง 1 เดือน)

การนอนหลับไม่สามารถคาดเดาได้สำหรับเด็กแรกเกิด เด็กบางคนอาจนอนแค่กลางคืน หรือนอนกลางวัน หรือทั้งนอน ๆ ตื่น ๆ ตลอดทั้งวัน จึงทำให้เรื่องของการร้องไห้ขณะหลับเป็นเรื่องที่ธรรมดามากสำหรับเด็กช่วงอายุนี้ โดยทั่วไปแล้วทารกจะตื่นทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่า

  • ทารกที่มีอายุ 1 ถึง 3 เดือน

ช่วงของการปรับตัวของเด็กทารกที่มีอายุ 1-3 เดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมจริงหลังจากที่พวกเขาอยู่ในท้องของคุณแม่มานานกว่า 9 เดือน การที่จะให้พวกเขานอนหลับตลอดทั้งคืนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กในวัยนี้มักจะนอนได้ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง หรือน้อยกว่า และจะส่งเสียงร้อง หรือร้องไห้ในตอนที่เขาหลับ หรือตื่นขึ้นมาร้องไห้เมื่อพวกเขาหิว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

  • เด็กอายุ 3 ถึง 7 เดือน

ช่วงของวัยที่ต้องการการนอนหลับที่มากขึ้น ในเด็กบางคนสามารถนอนหลับยาวได้ตลอดทั้งคืนเมื่ออายุถึงในช่วงนี้ เด็ก ๆ จะไม่ค่อยร้องขณะหลับ โดยคุณสามารถกำหนดช่วงเวลานอนระหว่างวัน และช่วงกลางคืนของเขาให้กลายเป็นกิจวัตรประจำวันได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เด็กอายุ 7 ถึง 12 เดือน

ส่วนใหญ่แล้วเด็กในช่วงวัยนี้จะหลับยาวตลอดทั้งคืน โดนไม่มีการตื่นมาร้องไห้ หรือตื่นกลางดึกเท่าไหร่ ซึ่งคุณยังสามารถให้พวกเขางีบหลับระหว่างวันได้ หรือหากกลัวว่าพวกเขาจะไม่หลับในเวลากลางคืน คุณควรหากิจกรรมให้พวกเขาทำก่อนนอน เพื่อให้เขาได้หลับตลอดทั้งคืน

บทความที่เกี่ยวข้อง : 15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

 

ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ ทำอย่างไรดี?

ปัญหาโลกแตกสำหรับการร้องของทารกแรกเกิด หรือทารกที่อยู่ในช่วงของ 4 เดือนแรกที่มักจะร้องอยู่แทบจะตลอดเวลาเมื่อเวลาคุณไม่อยู่ หรือที่คุณคิดว่าเขาหลับไปแล้ว ในบางครั้งพวกเขาไม่ได้ตื่นด้วยซ้ำ แต่กลับร้องไห้ออกมา เรามาดูวิธีการว่าควรทำอย่างไร

  • อย่ารีบเข้าไปหาพวกเขาในทันที ในบางครั้งพวกเขาอาจแค่อยู่ในสภาวะ REM ที่อาจมีการดิ้น หรือร้องไห้ในบางครั้งที่เกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่การที่คุณเข้าไปหาและอุ้มพวกเขาในทันที อาจทำให้พวกเขาตื่นได้
  • ลูบท้องของพวกเขาเบา ๆ แทนการอุ้ม หากคุณแน่ใจแล้วว่าพวกเขายังหลับอยู่ แต่อาจมีการดิ้น หรือส่งเสียงร้องเบา ๆ คุณควรทำแค่การลูบไปที่ท้อง หรือศีรษะของเขาอย่างเบามือ เพื่อให้พวกเขาอยู่ในอาการที่สงบ
  • ใช้ผ้าพัน หรือห่มผ้าให้หนาขึ้น ทารกในช่วงแรกเกินจนถึง 2 เดือนที่ร้องไห้ขณะหลับนอกจากสาเหตุที่หิวแล้ว อาจเป็นเพราะพวกเขาได้รับความอบอุ่นไม่เพียงพอ คุณสามารถพันผ้ารอบตัวเขา หรือห่มผ้าเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้พวกได้ แต่อย่าห่อผ้าแน่น หรือห่มผ้าที่มีน้ำหนักมาก หรือหนามากเกินไป เพราะอาจส่งผลทำให้พวกเขาหายใจไม่ออกได้
  • ตรวจสอบอุณหภูมิของห้องนอน หรือบริเวณที่นอน การที่อุณหภูมิร้อนเกินไป หรือหนาวเกินไป จะส่งผลทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว และทำให้พวกเขาร้องไห้ออกมาขณะนอนหลับได้

 

 

ลูกร้องไห้ขณะนอนหลับ ต้องพาไปหาหมอไหม?

ถึงแม้ว่าการร้องไห้ของทารกนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ในบางครั้งก็อาจเป็นเรื่องผิดปกติได้เหมือนกัน หากพวกเขาร้องไห้นานเกิน 1-2 ชั่วโมงคุณควรรีบพาเขาไปพบแพทย์ในทันที เพราะแน่นอนว่าสาเหตุของการร้องไห้คงไม่ได้มาจากการหิว หรือสภาพแวดล้อมรอบข้าง แต่อาจมาจากร่างกายของเด็ก ๆ ที่กำลังเจ็บป่วย หรือกำลังประสบกับอาการบางอย่างที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก

 

สำหรับทารกแล้วการร้องไห้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณ หรือการต้องการสื่อสารบางอย่างกับคุณ คุณควรสังเกตพฤติกรรมการนอน หรือรูปแบบการนอนของลูก ๆ ให้เป็นอย่างดี เพื่อทำการแก้ไขให้เร็วที่สุด เพื่อการนอนหลับพักผ่อนที่ดีของลูกของคุณ เพราะการนอนถือเป็นการพัฒนาการทางด้านร่างกาย และสมองอย่างหนึ่งของเด็กทารกนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่อื่น ๆ น่าสนใจ :

10 ขวดนมป้องกันโคลิคที่ดีที่สุด เพื่อการดูแลลูกน้อย หลับสบายไม่งอแง

ทำไมลูกนอนกรน เด็กนอนกรน เกิดจากสาเหตุอะไร?

ลูกนอนกัดฟัน ทำอย่างไรดี? ทำไมเด็กต้องเคี้ยวฟันตัวเอง แก้ไขได้อย่างไร?

ที่มา : medicalnewstoday, nct, whattoexpect, healthline

บทความโดย

Siriluck Chanakit