X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกชอบร้องกลั้น เป็นอันตรายไหม ต้องรับมืออย่างไร?

บทความ 5 นาที
ทารกชอบร้องกลั้น เป็นอันตรายไหม ต้องรับมืออย่างไร?

คุณแม่ท่าไหนหวั่นใจ!!! กันบ้าง ทำไม ทารกชอบร้องกลั้น เป็นอันตรายไหม ต้องรับมืออย่างไร การร้องไห้ของทารกมีหลากหลายแบบเพื่อต้องการให้พ่อแม่ตอบสนองความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น หิว ง่วง ไม่สบายตัว การร้องไห้ คือ การสื่อสารของทารก แต่อาการลูกร้องกลั้นนี่สิ คงทำให้พ่อจ๋าแม่จ๋าหวั่นใจน่าดู มาทำความรู้จักและเข้าใจกับทารกร้องกลั้นกันค่ะ จะรับมือลูกร้องกลั้นอย่างไรดี ติดตามอ่านที่นี่มีคำตอบ!

 

ไขข้อข้องใจ ลูกร้องกลั้นคืออะไร

ทารกชอบร้องกลั้น การร้องกลั้น (breath – holding spell) คือ  อาการร้องไห้หนัก ๆ ของทารก  เป็นช่วงจังหวะที่หายใจออกนั้นยาวนานเหมือนกลั้นหายใจนิ่งไปประมาณ 10 – 20 วินาที คล้าย ๆ กับนิ่งหมดสติไปช่วงระยะเวลาสั้น ๆ  จนบางครั้งอาจทำให้ใบหน้า ปาก และ เล็บเขียว แล้วร้องดังขึ้นมาใหม่ การร้องกลั้นเป็นคนละอย่างกับการชักนะคะ  ในช่วงที่ทารกร้องกลั้นจะมีการตอบสนองของร่างกายอีกอย่างคือหัวใจจะเต้นช้าลง จากนั้นก็จะตื่นขึ้นมาเอง หายใจเป็นปกติ สีผิวกลับมาแดงเหมือนเดิม  จังหวะการร้องกลั้นมักกินเวลาประมาณ 1 นาที

 

ทำไมทารกร้องกลั้น

การร้องกลั้นของทารกและเด็กเล็กนั้น  เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด  ความโกรธ โมโห ถูกขัดใจ หงุดหงิด เป็นต้น   แต่อาการร้องกลั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทารกทุกคนนะคะ  ทางการแพทย์ พบว่า มีลักษณะทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย คือ  ทารกที่มีการร้องกลั้น จำนวนร้อยละ  25 จะพบว่า พ่อหรือแม่ตอนเด็ก ๆ ก็เคยมีอาการร้องกลั้นมาก่อนเหมือนกัน

 

ทารกชอบร้องกลั้นอันตรายหรือไม่

ทารกชอบร้องกลั้น

 

  • การร้องกลั้นนี้เป็นการตอบสนองของร่างกายทารกแบบนอกเหนือการควบคุมของจิตใจ หมายความว่า อาการร้องกลั้นนี้เกิดขึ้นเองโดยที่ทารกไม่ได้ตั้งใจ
  • การร้องกลั้นนั้นไม่มีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือสมองของทารก  สำหรับอาการตัวเขียวที่เกิดจากการร้องกลั้นก็ไม่มีอันตรายร้ายแรงเช่นกัน ยกเว้นในเด็กที่มีโรคหัวใจหรือโรคระบบหลอดเลือด ซึ่งต้องได้รับการดูแลจากคุณหมอต่อไป
  • การร้องกลั้นลักษณะนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึงอายุ 2 – 3 ขวบ หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ หายไปเองโดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขอะไร

 

ลูกร้องกลั้นแบบไหนไม่น่าไว้วางใจ

ทารกร้องกลั้นหรือลูกร้องกลั้นที่ไม่น่าไว้วางใจ  คือ มีประวัติว่าทารกหรือเด็กเล็กนั้นมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือมีความผิดปกติของหัวใจ  ซึ่งอาจมีอาการร้องกลั้นเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ  ดังนั้น  หากอาการร้องกลั้นเกิดขึ้นบ่อยจนคุณแม่เกิดความกังวล ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งจะดีที่สุดค่ะ

กรณีที่ทารกหรือเด็กเล็กเป็นโลหิตจางคุณหมอจะเสริมธาตุเหล็กบำรุงเลือดเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อาจมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบว่า  มีลักษณะของการเต้นของหัวใจผิดจังหวะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการร้องกลั้นนั่นเอง

 

baby breath holding spell

 

ทำยังไงดีนะเมื่อลูกร้องกลั้น

  • เมื่อลูกร้องกลั้น ก่อนอื่นเลยคุณแม่ต้องควบคุมสติอารมณ์ของตนเอง  อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปนะคะ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกตกใจมากขึ้น
  • เมื่อทารกร้องกลั้นให้คุณแม่อุ้มลูกน้อยมาแนบอก เพื่อความแน่ใจสำรวจลูกน้อยและบริเวณใกล้เคียงว่ามีสิ่งใดที่เป็นอันตรายหรือไม่ เช่น  แมลงกัดต่อย เป็นต้น
  • ควรให้ลูกน้อยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพราะอาการขี้วีน โมโหง่าย และร้องไห้อยู่บ่อย ๆ นั้น อาจเกิดจากสาเหตุของการพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นได้ค่ะ
  • เบี่ยงเบนความสนใจของลูก  พาออกไปจากสถานที่ดังกล่าว ออกไปที่อากาศถ่ายเท เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจะทำให้ทารกสงบขึ้นค่ะ
  • ได้ทราบถึงสาเหตุของการร้องกลั้นของทารกน้อยกันแล้วนะคะ  พร้อมกับวิธีการแก้ไขหากลูกร้องกลั้น    สิ่งสำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องควบคุมสติของตนเองก่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ลูกร้องกลั้นและค่อย ๆ แก้ไขสถานการณ์ไปเรื่อย ๆ ที่สำคัญสังเกตว่าการร้องกลั้นของลูกเกิดขึ้นบ่อยจนไม่น่าไว้วางใจหรือไม่  ถ้าเช่นนั้นควรไปพบคุณหมอนะคะ

 

 

ลูกร้องไห้ไม่หยุด พ่อแม่ต้องทำยังไง?

ลูกร้องไห้ไม่หยุด ร้องไห้งอแงบ่อย โดยเฉพาะทารกแรกเกิดจนพ่อแม่อดคิดไม่ได้ว่าลูกร้องทำไมกัน บางทีจะว่าลูกหิวนมก็ไม่ใช่ ง่วงนอนก็ไม่เชิง ทำให้บางครั้งพ่อแม่เดาใจลูกน้อยไม่ถูกเลยจริงๆ สำหรับพ่อแม่คนไหนที่มีปัญหาว่า ลูกน้อยร้องไห้ทำไม อยากจะสื่อสารอะไรกับแม่ ลูกร้องไห้แบบนี้หมายความว่ายังไงกันน่ะ

  • ลูกร้องไห้เพราะหิวนม

ปกติแล้วเวลาที่ลูกร้องพ่อแม่ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าลูกหิว แน่นอนว่ามันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกร้องไห้

พ่อแม่ควรทำอย่างไร: พ่อแม่ต้องดูการตอบสนองของลูกน้องในระหว่างที่น้องร้องไห้ ดูว่าลูกน้อยทำเสียงดูดไหม ดูดนิ้วไปด้วยหรือเปล่า หรือพยายามหาเต้านมแม่ นั่นแหละคืออาการที่บอกว่าลูกหิวนมแล้ว

  • ลูกร้องไห้เพราะอยากเรอ

ทารกบางคนจะรู้ตัวว่าตอนนี้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายเนื้อสบายตัว จากการที่พวกเขากินอากาศเข้าไประหว่างที่ดื่มนมแม่ ทำให้พวกเขาร้องออกมาเพื่อเป็นสัญญาณว่าตอนนี้หนูรู้สึกแน่นท้องน่ะ หรือบอกว่าตอนนี้รู้สึกจุกเสียด

พ่อแม่ควรทำอย่างไร: ทุกครั้งหลังจากที่ลูกน้อยกินนมแม่แล้ว คุณแม่อย่าลืมอุ้มลูกเรอให้ลมที่ผ่านเข้าไปในท้องได้ออกมาด้วย โดยเฉพาะลูกน้อยที่ดื่มนมจากขวด

  • ลูกร้องไห้เพราะรู้สึกแฉะ

เด็กทารกมักจะฉี่บ่อย ทำให้ในแต่ละวันพ่อแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยบ่อยมากๆ แต่สำหรับบางวันลูกน้อยอาจจะฉี่หรือขับถ่ายมากกว่าปกติ ดังนั้น พ่อแม่ก็อย่าลืมหมั่นดูผ้าอ้อมลูกน้อยบ่อยๆ ว่ามีฉี่หรืออึออกมาเยอะหรือเปล่า

พ่อแม่ควรทำอย่างไร: พยายามเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกน้อยบ่อยๆ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเป็นผื่นแดงจากผ้าอ้อมด้วย โดยการสัมผัสดูว่าผ้าอ้อมของลูกแฉะแล้วหรือยัง

ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์   คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ  หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ

 

บทความจากพันธมิตร
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

การร้องไห้ครั้งแรกของทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร

ลูกร้องไห้ไม่หยุดรับมืออย่างไร ? ร้องไห้แบบไหนเข้าข่าย โคลิค

ลูกร้องไห้ไม่หยุด ลูกร้องแบบนี้บอกอะไร พ่อแม่ต้องทำยังไง?

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ทารกชอบร้องกลั้น เป็นอันตรายไหม ต้องรับมืออย่างไร?
แชร์ :
  • ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

    ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

  • 6 วิธีให้นมลูกต่อไปหายห่วง ไร้สะดุดเมื่อ "แม่ต้องกลับไปทำงาน"

    6 วิธีให้นมลูกต่อไปหายห่วง ไร้สะดุดเมื่อ "แม่ต้องกลับไปทำงาน"

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

    ทารกร้องไห้ไม่มีเสียง ทารกชอบร้องกลั้น ลูกร้องไห้ ตัวสั่น ร้องไห้หนักมาก แต่ไม่มีเสียง

  • 6 วิธีให้นมลูกต่อไปหายห่วง ไร้สะดุดเมื่อ "แม่ต้องกลับไปทำงาน"

    6 วิธีให้นมลูกต่อไปหายห่วง ไร้สะดุดเมื่อ "แม่ต้องกลับไปทำงาน"

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ