เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อัตราการ กะพริบตา ในทารกแรกเกิด จะกะพริบตาเพียงสองครั้งต่อนาที แต่ถ้ามีอะไแปลกปลอมทำให้ลูกน้อยของคุณไม่สบายตา ก็เป็นสาเหตุของการกะพริบตามากขึ้นได้ การกะพริบตาเป็นเรื่องปกติในการปกป้องดวงตาจากความแห้ง แสงจ้า เป็นการกระทำโดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งต่อนาทีและทำหน้าที่หลักในการเคลือบดวงตาด้วยน้ำตาและขจัดสิ่งสกปรกหรือเศษฝุ่นออกจากพื้นผิวของกระจกตา แต่อัตราการกะพริบของผู้ใหญ่และทารกนั้นต่างกัน

 

ทำไมลูกน้อยจึง กะพริบตา บ่อยกว่าปกติ ?

โดยปกติทารกแรกเกิดจะกะพริบตาเพียงสองครั้งต่อนาที และจะเพิ่มขึ้นเป็น 14-17 ครั้งต่อนาทีสำหรับวัยรุ่นและยังคงกะพริบตาประมาณนี้ไปจนแก่ แต่ถ้ากะพริบตาถี่เกินไปอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับเปลือกตา อาการกระตุก การหักเหของแสง (ต้องใส่แว่น) ตาพร่ามัว หรือเหม่อลอยเป็นระยะ ๆ และความเครียด

 

สาเหตุที่เด็กทารก กะพริบตา บ่อย ๆ

หากลูกน้อยของคุณกะพริบตาถี่ ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องปรึกษากับกุมารแพทย์หรือจักษุแพทย์ทันที นั่นเป็นเพราะว่าการกะพริบตามากเกินไปในทารกอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติทางระบบประสาท กล้ามเนื้อกระตุก ตาติดเชื้อ ภูมิแพ้ การมองเห็นบกพร่อง หรือเปลือกตาอักเสบ

กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก

กล้ามเนื้อกระตุกสร้างปัญหาให้กล้ามเนื้อใบหน้าและรอบดวงตาของทารก นอกจากนี้เด็กที่ขี้หงุดหงิด มักจะมีอาการกระตุกบนใบหน้าเนื่องจากสามารถแสดงออกทางร่างกายได้มากกว่า (เพราะยังพูดสื่อสารไม่ได้)

เด็กมีภาวะ Tics

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะ Tics เป็นโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ด้วยการกะพริบตา หรือยักไหล่ หรือมีอาการเกร็งอื่น ๆ ในร่างกาย และเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กวัยหัดเดินประสบกับอาการนี้ ซึ่งอาจจะทำให้กะพริบตาบ่อยกว่าปกติ ลองสังเกตว่าลูกน้อยของคุณแม่มีความวิตกกังวลเป็นพิเศษหรือไม่ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นสำคัญของภาวะ Tics ในเด็ก

โรคภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้สามารถกระตุ้นปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้ เช่น ตาแดง คัน หรือตาบวม ลูกน้อยของคุณอาจกะพริบตาบ่อยขึ้นเพื่อบรรเทาอาการคัน หากทารกกะพริบตาถี่ ๆ และมีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล อาจเป็นเพราะอาการแพ้ คุณแม่ต้องตรวจสอบว่าเจ้าตัวเล็กไวต่อฝุ่นหรือมีอาการแพ้ทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ หรือไม่ หากมีอาการเช่นนี้ แนะนำให้ทำการทดสอบการแพ้และการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ที่ตามมากับแพทย์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การมองเห็นบกพร่อง

การกะพริบตาของทารกรวมถึงการตาเหล่บ่อยด้วย คุณแม่อาจต้องประเมินการมองเห็นของทารกด้วย บางครั้งการกะพริบตาบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าลูกของคุณต้องใส่แว่นเพื่อรักษาหรือเปล่า อันที่จริง การกะพริบตามากเกินไปอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่กระจกตาหรือสัญญาณเริ่มต้นของอาการตาแดง

ตาแห้งมาก

หากลูกน้อยของคุณตาแห้งมากก็จะทำให้กะพริบตาถี่เกินไปเช่นกัน สามารถป้องกันได้โดยไม่ให้ลูกน้อยขยี้ตา และที่สำคัญที่สุดคือให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาหยอดตาที่บรรเทาอาการระคายเคือง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สายตาสั้น

นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เด็ก ๆ กะพริบตาบ่อย ๆ เป็นไปได้ว่าลูกน้อยของคุณไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดที่อยู่ใกล้เขาและร้องไห้ออกมาเพื่อบ่งบอกถึงสิ่งเดียวกัน แม้ว่าทารกจะมองไม่เห็นทางไกลจริง ๆ จนกระทั่งอายุ 3 เดือนขึ้นไป แต่หากพวกเขายังขยี้ตาแล้วร้องไห้ ก็อาจถึงเวลาที่คุณจะต้องพาลูกน้อยของคุณไปหาจักษุแพทย์แล้วค่ะ

โรคย้ำคิดย้ำทำ

Obsessive Compulsive Disorder (OCD) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งเป็นภาวะทางพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้เด็กกะพริบตามากเกินไป ยิ่งไปกว่านั้น เด็ก ๆ ไม่สามารถควบคุมสิ่งนี้ได้ และการกะพริบตาบ่อย ๆ อาจมาพร้อมกับคำพูดหรือเคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำ ๆ

ความวิตกกังวลหรือความกลัว

ความวิตกกังวลและการกะพริบตาบ่อย ๆ นั้นสัมพันธ์กันในด้านจิตใจ คอยดูลูกของคุณเพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรทำให้ลูกน้อยรู้สึกหนักใจ อาจเป็นเพราะกลัวสิ่งของหรือบุคคลที่ปรากฏอยู่ในสายตาของเด็กน้อยหรือไม่

เบื่อ

บางครั้งลูกของคุณอาจจะกะพริบตาบ่อย ๆ เพราะความเบื่อหน่าย อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณแม่ต้องให้ความบันเทิงกับลูกตลอดทั้งวัน เด็กจะหยุดทำไปเองหลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง

เปลือกตาอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียที่เปลือกตา และมีอาการต่าง ๆ เช่น รอยแดง มีขี้ตา มีตุ่มหรือผดขอบเปลือกตา นี่ก็เป็นอีกสาเหตุให้เด็กเล็กรู้เคืองตา จนทำให้ต้องกะพริบตาบ่อย ๆ ได้เช่นกันค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ตากุ้งยิง เป็นยังไง? ลูกเป็นตากุ้งยิงจะบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ไหม ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการประเมินการกะพริบตาบ่อย ๆ

หากการกะพริบตาอย่างต่อเนื่องทำให้ลูกของคุณหงุดหงิดร้องไห้ คุณแม่อาจต้องพาลูกไปปรึกษาจักษุแพทย์ซึ่งจะคอยตรวจสอบการเคลื่อนไหวของดวงตาและดูว่าจะสามารถรักษาได้อย่างไร ระหว่างการตรวจ จักษุแพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์พิเศษเพื่อดูว่ากระจกตาทำงานเป็นปกติหรือไม่

จักษุแพทย์จะพูดกับคุณแม่เกี่ยวกับอาการของลูก และอาจตรวจสอบด้วยว่าการกะพริบตาเป็นเรื่องปกติหรือเริ่มมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมา หากมีปัญหาที่ขนตาหรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ให้รักษาตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

การรักษาอาการกะพริบตาบ่อยผิดปกติ

การรักษาภาวะกะพริบตาบ่อยขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง หากลูกน้อยของคุณกะพริบตาเนื่องจากติดเชื้อ จะต้องทายาให้ และกะพริบตาบ่อยเนื่องจากปัญหาด้านพฤติกรรม แพทย์จะจัดการให้ตามอาการ

  • อาการแพ้หรือตาแห้ง จักษุแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตา
  • อาการบาดเจ็บที่กระจกตา อาจต้องสวมผ้าปิดตาเหมือนโจรสลัด วิธีนี้จะช่วยลดการกะพริบตาและรักษาบาดแผล นอกจากนี้ ลูกน้อยของคุณอาจได้รับยาหยอดตายาปฏิชีวนะอีกด้วย
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าตา จักษุแพทย์จะเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากดวงตา อาจต้องผ่าตัดหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแต่ละคน
  • ภาวะการหักเหแสงที่ผิดปกติที่ส่งผลต่อการมองเห็น ลูกของคุณจะต้องสวมแว่นตาในกรณีที่สายตาสั้น ในกรณีที่แย่กว่านั้น ลูกของคุณอาจต้องผ่าตัดเพื่อรักษา
  • อาการกระตุก หากการกะพริบตาเกิดขึ้นเนื่องจากอาการกระตุก ไม่จำเป็นต้องกังวล พูดคุยกับกุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงของอาการกระตุกของลูกคุณ ในกรณีของอาการกระตุกของเสียง ลูกของคุณอาจส่งเสียงผิดปกติพร้อมกับกะพริบตาบ่อยมาก และคุณอาจต้องพบนักประสาทวิทยาร่วมด้วยค่ะ

 

คนเป็นพ่อเป็นแม่จะต้องระมัดระวังการเคลื่อนไหวและพฤติกรรมของทารกโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และมันเป็นงานที่ไม่วันหยุด คุณพ่อคุณแม่อาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษหากสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การกะพริบตาถี่เกินไป แน่นอนว่า การรักษาลูกน้อยให้ห่างจากอุปกรณ์ดิจิทัลเป็นก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่มีบางสิ่งที่สามารถลองทำดูเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะสุขภาพตานี้ได้

  • ให้ลูกน้อยของคุณเล่นกับของเล่นจริง ๆ แทนที่จะใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น มือถือหรือแท็บเล็ต
  • จำกัดเวลาอยู่หน้าจอให้น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหากลูกของคุณอายุต่ำกว่าหนึ่งขวบ
  • รวมส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพในมื้ออาหารของลูกน้อย เพิ่มผักใบเขียวบด แคร์รอต ปลาแซลมอนหรือทูน่า ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม และโปรตีน เช่น ถั่วหรือไข่

นอกจากข้อควรระวังเหล่านี้แล้ว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยนอนหลับเพียงพอและเฝ้าติดตามเวลาอยู่หน้าจออย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติได้ไม่ยาก ยิ่งถ้าเป็นเรื่องดวงตาของลูกน้อยแล้ว ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่านี้อีกแล้ว ดังนั้นหากพบเห็นสิ่งผิดปกติ อย่าลืมไปพบแพทย์และรับการรักษาที่เหมาะสมจะดีที่สุดค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกไอ ลูกน้อยไอ ลักษณะอาการไอของทารกที่คุณแม่ควรรู้

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทาอันตรายไหม ฟันตายในเด็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

ตาแดง โรคตาแดงมีอาการเป็นอย่างไร สาเหตุการเกิดโรคตาแดงมาจากอะไร พร้อมวิธีรักษา

ที่มา : theAsianparent SG

บทความโดย

Patteenan