X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกติดแม่มาก เรื่องธรรมดา หรือปัญหาพฤติกรรม รับมือยังไงให้ถูกวิธี

บทความ 5 นาที
ลูกติดแม่มาก เรื่องธรรมดา หรือปัญหาพฤติกรรม รับมือยังไงให้ถูกวิธี

ลูกติดแม่ หลายบ้านมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางครอบครัวก็กังวลว่า ลูกติดแม่มาก จะเป็นปัญหาพฤติกรรม เอาเป็นว่ามาทำความเข้าใจและรับมือไปพร้อมกันค่ะ

เสียงร้องของลูกน้อยที่ดังขึ้นทันทีเมื่อเห็นคุณแม่ขยับตัวออกจากห้อง มักจะเรียกร้องหาไม่ว่าคุณแม่จะทำอะไร อยู่ตรงไหนของบ้าน หากลูกไม่เห็นแม่อยู่ในสายตาก็จะร้องไห้งอแงทันที สถานการณ์เหล่านี้อาจเป็นภาพคุ้นตาสำหรับหลายๆ ครอบครัวที่กำลังเผชิญกับภาวะ “ลูกติดแม่” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยแสดงออกว่าต้องการความใกล้ชิด อยากจะอยู่กับคุณแม่ตลอดเวลา จนบางครั้งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่า ลูกติดแม่มาก เป็นแค่เรื่องธรรมดาของพัฒนาการตามช่วงวัย หรือปัญหาพฤติกรรม ที่ต้องแก้ไขกันแน่ แล้วจะรับมือยังไงให้ถูกวิธี บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจกันค่ะ

ลูกติดแม่มาก

▲▼สารบัญ

  • ทำความเข้าใจ ภาวะ “ลูกติดแม่”
  • ลูกติดแม่ ในช่วงวัยทารก
  • ลูกติดแม่ ในช่วงวัย 1-3 ปี
  • สาเหตุที่ทำให้ ลูกติดแม่มาก
  • การเลี้ยงดูที่ตามใจ
  • คุณแม่ชอบแวบ
  • คุณแม่ที่ไม่เชื่อใจใครเลย
  • แม่ที่ให้ลูกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
  • สังเกตอาการ ลูกติดแม่ “ปกติ” VS ลูกติดแม่มาก
  • ลูกติดแม่มาก รับมืออย่างไรให้ถูกวิธี
  • สร้างความมั่นคงทางใจ ไม่ดุด่า
  • ฝึกให้ลูกอยู่คนเดียวบ้าง
  • ส่งเสริมให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ให้ลูกได้ใช้เวลากับเพื่อนวัยเดียวกัน

ทำความเข้าใจ ภาวะ “ลูกติดแม่”

Advertisement

คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า พฤติกรรม “ลูกติดแม่” เป็นเรื่องปกติที่พบได้ในช่วงที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาความผูกพัน (Attachment) กับบุคคลใกล้ชิดอย่าง “คุณแม่” ซึ่งเป็นศูนย์รวมความรัก ความอบอุ่น และความปลอดภัยของลูก โดยเริ่มตั้งแต่ลูกเข้าใจความรู้สึกที่ว่า “แม่มีอยู่จริง” ตั้งแต่หลังอายุ 6 ดือน ไปจนถึงจุดที่ลูกเริ่มรู้จัก “การพลัดพราก” (Separation Anxiety) ซึ่งอาการจะมากน้อยต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเป็นมากขึ้นจนอายุ 1-3 ปี และค่อยๆ ดีขึ้นตามพัฒนาการ และมักไม่ติดแม่อีกแล้วหลังวัย 5-7 ปี

 

  • ลูกติดแม่ ในช่วงวัยทารก

ตั้งแต่หลังคลอดจนถึง 9 เดือน คือช่วงวัยที่ ลูกติดแม่ ตามธรรมชาติค่ะ เนื่องจากวัยนี้สามารถจำกลิ่นของคุณแม่ได้อย่างแม่นยำ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมลูกจึงร้องไห้เมื่อเปลี่ยนคนอุ้ม หรือเมื่อคุณแม่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆ เพราะไม่ได้กลิ่นที่คุ้นเคยที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยและสบายใจนั่นเอง นอกจากนี้ในช่วงวัย 6-8 เดือน ลูกจะสามารถจดจำใบหน้าของคนที่คุ้นเคยได้ หากคุณพ่อคุณแม่สร้างความคุ้นเคยให้ลูกได้เจอคนอื่นในครอบครัวบ่อยๆ ก็จะช่วยให้ลูกเกิดความรู้สึกปลอดภัยและสามารถอยู่กับคนอื่นได้ดีขึ้น ช่วยให้ภาวะ ลูกติดแม่มาก ในอนาคตลดลงได้ค่ะ

 

  • ลูกติดแม่ ในช่วงวัย 1-3 ปี

ลูกน้อยวัย 1-3 ปี จะเริ่มปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมหรือผู้คนอื่นๆ ได้ จึงจะไม่ติดแม่อยู่ตลอดเวลาเหมือนวัยทารก แต่อย่างไรก็ตามลูกจะยังมีอาการติดแม่ให้เห็นอยู่บ้าง เช่น เมื่อเห็นแม่ใส่รองเท้าเพื่อออกจากบ้าน ลูกจะร้องไห้เพราะรู้สึกกังวลและไม่สบายใจที่คนคุ้นเคยกำลังจากไป แต่ถ้ายังมีคนคุ้นเคยอื่นอยู่รอบตัว เช่น คุณพ่อ พี่เลี้ยง ฯลฯ อาจทำให้ลูกสบายใจขึ้นและไม่รู้สึกกังวลมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงอายุ 1-3 ปีนั้น เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มต้นเรียนรู้โลก ในกรณีถ้า ลูกติดแม่มาก ก็อาจทำให้การเรียนรู้ของลูกถูกขัดขวางได้นะคะ

ทำไม ลูกติดแม่

สาเหตุที่ทำให้ ลูกติดแม่มาก

อย่างที่บอกไปค่ะว่าการที่ “ลูกติดแม่ตามธรรมดา” นั้นก็เป็นไปเพราะพัฒนาการตามช่วงวัย ซึ่งเด็กเล็กจะยังไม่เข้าใจความหมายของ “การแยกจาก” ทำให้รู้สึกกังวล กลัว และไม่มั่นคงเมื่อต้องห่างจากแม่ รวมถึงสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดที่รู้สึกว่าการอยู่ใกล้แม่ทำให้ปลอดภัย ได้รับการปกป้อง และมีชีวิตรอด หรือลูกเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการพลัดหลง เจ็บป่วย หรือถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว ต้องไปโรงเรียนเป็นครั้งแรก มีน้องเกิดใหม่ อาจทำให้ลูกติดแม่มากขึ้น

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ “ลูกติดแม่มาก” เกิดจากหลายปัจจัยเลยค่ะ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยว “การเลี้ยงดู” และ “พฤติกรรม” ของตัวคุณแม่เอง อาทิ

  • การเลี้ยงดูที่ตามใจ

คือคุณแม่ที่โอ๋ ทนฟังเสียงร้องของลูกไม่ได้เลย หรือไม่ให้ลูกได้มีโอกาสฝึกฝนการอยู่คนเดียว ได้ยินลูกร้องปุ๊บ ถึงตัวปั๊บ เกิดความเครียดและวิตกกังวลทันทีเมื่อลูกร้องไห้ ส่งผลให้ไม่กล้าสอนลูกให้รู้จักการรอคอย ในวันที่ลูกน้อยควรเริ่มรอคอยได้แล้ว อาจยิ่งส่งผลให้ลูกติดแม่มากขึ้น

  • คุณแม่ชอบแวบ

มีหลายบ้านค่ะที่คุณแม่ชอบแวบไปมา ลูกเผลอแวบเดียวคุณแม่หายไปจากสายตาเสียแล้ว ก็ยิ่งสร้างความหวาดกลัวการอยู่คนเดียวให้ลูกค่ะ รวมถึงคุณแม่ที่มักผิดคำพูด อาจโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น บอกว่าแม่ไปตรงนั้นแป๊บเดียวเดี๋ยวกลับมา กลายเป็นว่าจนลูกนอนหลับแล้วตื่น คุณแม่ก็ยังไม่มาอยู่ข้างๆ เป็นต้น

  • คุณแม่ที่ไม่เชื่อใจใครเลย

คือ ไม่คิดวางใจให้ใครดูแลลูกทั้งสิ้นแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ 5 นาที 10 นาที ไม่ยอมฝากลูกไว้ให้คนอื่นช่วยดูแล แม้กระทั่งพ่อของลูก กระเตงลูกไปด้วยทุกที่ทั่วบ้าน ใกล้ชิดแนบสนิทตลอดเวลาขนาดนี้ลูกน้อยย่อมติดแม่มากอยู่แล้วค่ะ

  • แม่ที่ให้ลูกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

ลูกมีอำนาจขึ้นมาทันทีเมื่อแผดเสียงร้อง ซึ่งสามารถควบคุมคุณแม่ได้ทุกอย่าง เช่น ลูกติดเต้า ร้องไห้ คุณแม่ก็ให้กินนมไปเรื่อยๆ จนการกินของลูกไม่ถูกแบ่งเป็นมื้อตามที่ควรจะเป็น ทำลายกิจวัตรและอาหารมื้อหลักทั้งหมด หรือบางกรณีลูกร้องไห้หนักมากเพราะไม่อยากนั่งคาร์ซีท ก็ยอมตามใจลูก เป็นต้น กรณีเหล่านี้ทำให้คุณแม่อยู่ภายใต้การควบคุมของลูก การปรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ใดๆ จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยค่ะ

 

สังเกตอาการ ลูกติดแม่ “ปกติ” VS ลูกติดแม่มาก

ลูกติดแม่ “ปกติ” ลูกติดแม่มาก
  • ลูกแสดงความรัก ความต้องการใกล้ชิดกับแม่ เช่น กอด หอม อ้อน
  • ร้องไห้ งอแง เมื่อแม่ไม่อยู่ แต่สามารถสงบลงได้เมื่อแม่กลับมา หรือมีคนอื่นปลอบโยน
  • กล้าที่จะเล่น สำรวจ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เมื่อมีคุณแม่อยู่ใกล้ๆ
สัญญาณเตือน ลูกติดแม่มาก และเป็นปัญหา ได้แก่
  • ลูกวิตกกังวล หวาดกลัวอย่างรุนแรง เมื่อต้องแยกจากคุณแม่ แม้ช่วงเวลาสั้นๆ
  • ร้องไห้โวยวายไม่ยอมหยุด แม้แม่จะกลับมาแล้ว หรือมีคนอื่นปลอบโยน
  • ไม่กล้าเล่น สำรวจ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แม้จะมีแม่อยู่ใกล้ๆ
  • พฤติกรรมถดถอย เช่น ปัสสาวะรดที่นอน ดูดนิ้ว
  • มีปัญหาในการนอน เช่น นอนไม่หลับ ฝันร้าย ตื่นกลางดึกบ่อยๆ

วิธีรับมือ ลูกติดแม่มาก

ลูกติดแม่มาก รับมืออย่างไรให้ถูกวิธี

แม้หลายคนจะมองว่าการที่ลูกติดแม่แสดงให้เห็นถึงความรักความน่าเอ็นดู แต่ถ้าลูกติดแม่มากแม้จะเข้าสู่ช่วงวัยหลัง 3 ขวบไปแล้ว จนคุณแม่ไม่มีเวลาส่วนตัวเลยถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรม จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนและแก้ไข มาดูวิธีรับมือกันค่ะ

  1. สร้างความมั่นคงทางใจ ไม่ดุด่า

อย่าดุที่ลูกติดแม่หนึบ เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยลูกจึงติดแม่ การที่แม่ดุในยามที่ลูกต้องการเรา มีแต่จะเสียใจทั้งสองฝ่ายค่ะ สิ่งที่คุณแม่ควรทำ คือ อยู่กับลูก สร้างความมั่นใจว่าเราอยู่ข้างๆ พูดคุยกับลูกให้มั่นใจว่าคุณแม่ไม่ได้ไปไหน คือ พูดให้ชัดและให้ลูกคาดเดาได้ว่าแม่อยู่ไหน บอกเสมอว่าจะไปไหน และกลับมาให้ตรงเวลา

  1. ฝึกให้ลูกอยู่คนเดียวบ้าง

โดยอาจเริ่มจากช่วงเวลาสั้นๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น เช่น ให้ลูกเล่นในห้องคนเดียวขณะที่แม่ทำอาหารอยู่ในครัว เป็นต้น ที่สำคัญคือ สร้างความภาคภูมิใจและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองให้ลูกเสมอ เพื่อลดการพึ่งพาคุณแม่ เช่น ทำกิจวัตรประจำวันของตนเองได้ กินข้าวได้เอง ไม่ใช่รอคุณแม่ป้อนทุกครั้ง หากลูกโตขึ้น กิจกรรมใดหรืองานบ้านอะไรที่ลูกช่วยทำได้ ลองพาลูกทำด้วยเสมอ เพื่อฝึกงานบ้านไปในตัว เช่น ช่วยแขวนผ้า ช่วยหนีบเสื้อ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งนอกจากกระตุ้นพัฒนาการแล้วยังได้ฝึกความรับผิดชอบให้ลูกน้อยไปในตัวด้วย

ฝึกลูกอยู่คนเดียวบ้าง

  1. ส่งเสริมให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

เรียนรู้ที่จะไว้ใจคนอื่นให้ผลัดมือดูลูกบ้างในช่วงสั้นๆ ก็ยังดี หรือพาลูกไปพบปะผู้คน เล่นกับเพื่อน เพื่อให้ลูกเรียนรู้การเข้าสังคม เนื่องจากหากลูกมีคนที่คุ้นเคย หรือคุ้นหน้า ก็จะรู้สึกปลอดภัยและติดแม่น้อยลง โดยอาจเริ่มจากให้ลูกลองอยู่กับสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ โดยที่มีคุณแม่อยู่ใกล้ๆ เพื่อให้ลูกค่อยๆ ปรับตัวก็ได้ค่ะ 

  1. ให้ลูกได้ใช้เวลากับเพื่อนวัยเดียวกัน

การที่ลูกน้อยได้เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน แทนที่จะเล่นกับพ่อแม่ในบ้านอย่างเดียว จะทำให้ลูกติดแม่น้อยลงได้ค่ะ อีกทั้งการได้เจอเพื่อใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ๆ ยังช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคมให้ลูกได้ด้วย

ให้ลูกช่วยงานบ้าน

การปรับพฤติกรรมของลูกน้อยจำเป็นต้องอาศัยเวลา และความสม่ำเสมอของคุณพ่อคุณแม่นะคะ เมื่อลูกค่อยๆ เรียนรู้และสามารถปรับตัวได้ ลูกก็จะติดแม่น้อยลงอย่างเป็นธรรมชาติตามช่วงวัยและพัฒนาการค่ะ อย่าคิดว่าลูกติดแม่เป็นเรื่องผิด แต่ให้มองว่านี่เป็นโอกาสที่คุณพ่อคุณแม่จะได้แสดงความรัก ความเข้าใจ และช่วยลูกน้อยพัฒนาความมั่นคงทางใจ เพื่อเติบโตเป็นเด็กที่มีความสุข และพร้อมที่จะเผชิญโลกกว้างอย่างมั่นใจไปด้วยกัน

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

 

 

ที่มา : www.brainfit.co.th , เลี้ยงลูกตามใจหมอ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เจ้าหนูจำไม ถามเก่ง ถามไม่หยุด พ่อแม่ควรรับมือยังไงดี

ลูกติดเต้า ไม่เอาขวด ทำไงดี? เมื่อ คุณแม่มีความจำเป็นต้องเลิกเต้า

Should do! สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ วิธีสอนลูก เมื่อลูกทำผิด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

จันทนา ชัยมี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกติดแม่มาก เรื่องธรรมดา หรือปัญหาพฤติกรรม รับมือยังไงให้ถูกวิธี
แชร์ :
  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  • สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

    สอนลูกให้สู้คน เผชิญหน้าอย่างมั่นใจโดยไม่ใช้ความรุนแรง

  • ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

    ชีวิตที่มีลูก เข้าแล้วออกไม่ได้ : บริหารเวลายังไง ให้ชีวิตแม่มีความสุข

  • อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

    อาถรรพ์ 7 ปี ทำไมคู่รักมักเลิกกัน: อาถรรพ์ ความเชื่อ หรือแค่การเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว