ลูกชอบดูดนิ้วมือ ไม่ว่าจะเป็นนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า อาการนี้บ่งบอกถึงพฤติกรรมที่ต่อเนื่องมาจากในครรภ์ของคุณแม่ พอทารกที่อายุได้ไม่กี่สัปดาห์เด็กหลายคนก็เริ่มที่จะอมนิ้วมือหลังจากที่เริ่มควบคุมแขนและมือได้ แต่ก็ยังมีเด็กอีกหลายคนที่จะเริ่มอมนิ้วหรือดูดนิ้วมือเมื่อมีอายุได้ประมาณ 2-3 เดือน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของทารกแต่ละคนนั้นเองซึ่งทารกแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันแตกต่างกันออกไป
พ่อแม่คงจะเป็นกังวลใช่ไหม กลัวว่าถ้า ลูกชอบดูดนิ้วมือ ชอบดูดปากจะทำอย่างไร หากทำเป็นนิสัยอาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีฟันเหยินบ้าง เสียบุคลิกบ้าง หรือ แม้แต่ติดเชื้อโรคผ่านทางนิ้วมือ แบบนี้ควรจะปล่อยให้ลูกอมนิ้วมือหรือไม่ หรือ ควรจะไม่ให้อมนิ้วมือดีเรามาดูข้อดีข้อเสียกันค่ะว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อปล่อยให้ลูกดูดนิ้วมือต่อไป
ทำไมทารกชอบดูดนิ้วมือ หรือ อมนิ้วมือ
ลูก ดูดปากทำอย่างไร และสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ทารกมักจะชอบดูดนิ้วหรืออมนิ้วมือนั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะว่า เด็ก ๆ รู้สึกเบื่อหรือต้องการความสะดวกสบายอะไรบางอย่าง จึงเอานิ้วมือของตัวเองมาดูด เนื่องจากสิ่งนี้จะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุกสนานในแบบของทารกเองและจินตนาการไปในแบบของตัวเอง
พฤติกรรมการดูดนิ้วของทารกถือว่าเป็นเรื่องปกติ เด็กจะดูดนิ้วมือของตัวเองไปจนถึงอายุประมาณ 1 ปี เพื่อเป็นการปลอบใจตัวเอง บางคนอาจจะดูดนิ้วตัวเองถึงแค่ 6 เดือนเท่านั้น แต่สำหรับบ้านไหนที่ลูกดูดนิ้วจนถึงอายุ 5 ขวบ แสดงว่าเด็กเริ่มมีความ วิตก กังวล ในชีวิต การตอบสนองทางด้านอารมณ์หยุดชะงัก เด็กจึงต้องดูดนิ้วมือตัวเองเพื่อปลอบใจตัวเองอยู่ก็อาจจะเป็นไปได้แต่ก็ต้องดูเป็นบางกรณีไป
ทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยดูดนิ้วมือ ?
- เข้าใจว่าการดูดนิ้วหรือการอมนิ้ว คือความสุขของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ต้องศึกษาข้อมูล และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “การดูดนิ้ว” ของลูกให้มาก ๆ เพราะบางครั้งมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดร้ายแรงอะไร แต่ต้องดูดให้พอเหมาะ ไม่มากเกินไปเท่านั้นเอง เพราะว่าการดูดนิ้วหรือการอมนิ้ว มันคือความสุขของลูกน้อยนั่นเอง
- อย่าดุ หรืออารมณ์เสียใส่ลูกเรื่องดูดนิ้วมือเด็ดขาด!! อย่าอารมณ์เสียใส่ลูกด้วยเรื่องการดูดนิ้วหรืออมนิ้วมือ เด็ดขาด เพราะว่าพวกเขาเด็กเกินกว่าที่จะรู้เรื่องว่าอะไรดี หรือ ไม่ดี แต่ควรพูดให้ลูกฟังด้วยเหตุผลมากกว่า
- เบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อย เมื่อเห็นว่าลูกกำลังจะดูดนิ้ว คุณพ่อ คุณแม่ ต้องพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของเจ้าตัวน้อยให้ไปทำอย่างอื่นแทน เช่น พาไปเล่นของเล่น หรือ เล่นกับคุณพ่อคุณแม่ หรือ จะพาไปทานอาหารก็ได้เช่นกัน ให้ลูกอิ่มอาหารย่อมดีกว่าให้ลูกอิ่มรสชาติของนิ้วมือใช่ไหม
- ทำเป็นไม่สนใจ เมื่อลูกดูดนิ้ว บางครั้งที่เด็กดูดนิ้วก็คงเป็นเพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนเป็นพ่อเป็นแม่ ดังนั้น เราลองทำเป็นไม่ต้องสนใจ เมื่อเขาดูดนิ้ว แต่ต้องให้เวลากับลูก เล่นกับลูก ใส่ใจลูกให้มากขึ้น เพื่อให้พวกเขาไม่รู้สึกขาด และจะได้ไม่ต้องเรียกร้องความสนใจด้วยการดูดนิ้วมือนั่นเอง
- พูดกับลูกให้รู้เรื่อง และเข้าใจถึงผลเสียของการดูดนิ้วมือตอนโต บอกถึงผลเสียของการดูดนิ้วมือให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผล และอย่าใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง
- ทาครีมที่มือ ลองทาครีมเหนอะ ๆ ที่มือลูก แล้วบอกลูกว่าห้ามอมนิ้วนะ เพราะนั่นหมายถึงว่า ลูกได้กินครีมเข้าไปแล้วนั่นเอง
- ให้รางวัล เมื่อเลิกดูดนิ้วได้ ถ้าหากลูกโตแล้ว แต่ยังไม่สามารถเลิกดูดนิ้วมือหรืออมนิ้วมือได้ ลองให้รางวัลในความพยายามของพวกเขาดูสิ ไม่แน่นะ อาจจะเลิกได้เร็วกว่าที่เราคิดด้วยซ้ำเพราะจะทำให้เด็กคิดว่ามีรางวัลรออยู่เพื่อเป็นแรงกระตุ้นเขาอีกวิธีหนึ่งก็ได้
สุดท้ายนี้ อยากให้ คุณพ่อ คุณแม่ คิดว่าการที่ลูกดูดนิ้วนั้น ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร จึงไม่ควรทำโทษกับเจ้าตัวเล็กที่ชอบดูดนิ้ว และเมื่อผ่านช่วงอายุไปสักพัก เด็ก ๆ ก็จะเลิกดูดนิ้วมือเอง แต่สิ่งที่เราควรใส่ใจเมื่อลูกอมนิ้ว นั่นก็คือ เรื่องความสะอาดของนิ้วมือ ควรหมั่นล้างมือลูกบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรค และ สิ่งสกปรกเข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยนั้นเอง
ระหว่างให้ลูกดูดนิ้วตัวเอง Vs จุกนมหลอก แบบไหนดีกว่ากัน
สำหรับจุกนมหลอก ข้อดี คือ ช่วยให้พ่อแม่สามารถควบคุมเวลาในการให้ลูกดูดนิ้วได้ ซึ่งงานวิจัยจำนวนมากได้กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้จุกนมหลอกในทิศทางเดียวกันว่า การใช้จุกนมหลอกกับทารกแรกเกิดจะช่วยให้เด็กสามารถสงบลงได้ และ ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลับไม่ตื่นในทารก (SIDS)
ส่วนการดูดนิ้วมือนั้น ข้อดีคือ ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอุ่นใจ สงบลงได้เมื่อรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้สึกไม่ดี กระสับกระส่าย ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้เด็กรู้สึกดีได้ และ สามารถนำมาใช้ได้ทันทีก็คือนิ้วมือของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น การที่ทารกดูดนิ้วมือจะช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายกว่าและ นอนหลับได้เร็วยิ่งขึ้น สรุปแล้วทั้งสองดีกันคนละแบบ แต่ถ้าถึงระยะเวลาหนึ่ง คุณพ่อ คุณแม่ ก็ควรให้ลูกเลิกดูดนิ้วมือจะดีกว่า ก่อนที่ลูกจะติดเป็นนิสัย
ลูกชอบทำปากเหมือนดูดนมปกติไหม ?
พ่อแม่คงเคยสังเกตเห็นว่าบางครั้งเวลาที่ลูกนอน หรือ อยู่เฉย ๆ ก็มักจะทำปากเหมือนดูดนมอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้เป็นการกระทำตามธรรมชาติของเด็ก ๆ เนื่องจากทารกจะรู้สึกอบอุ่น และ สบายถ้าได้ดูดอะไรสักอย่าง ทำให้เด็กมักจะทำปากเหมือนดูดอะไรตลอดเวลานั้นเอง ถึงแม้ว่าคุณแม่จะเพิ่งให้นมลูกไปแล้วก็ตาม
การทำท่าดูดของทารกยังทำให้หนูน้อยรู้สึกสงบลงด้วยเช่นกัน เหมือนกับการดูดนิ้วมือ การที่ลูกทำปากเหมือนดูดนมไม่ได้หมายความว่าเด็กต้องการจะดูดนมแม่เพิ่มเสมอไปนะ แต่เด็กแค่รู้สึกสนุกกับการดูดปากเล่นมากกว่า
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : การถดถอยของการนอนหลับ อาการของทารก ที่คุณแม่แทบอยากร้องกรี๊ด
วิธีให้ลูกเลิกดูดนิ้วมือ หรือ ดูดปากทำอย่างไร
พอลูกน้อยอายุ 1 ขวบ ขึ้นไป พ่อแม่ต้องพยายามให้ลูกเลิกดูดนิ้วมืออย่างเด็ดขาด เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก แต่ถ้าลูกอายุ 3 ขวบแล้ว ลูกยังคงดูดนิ้วอยู่แนะนำให้พ่อแม่ขอคำปรึกษาจากคุณหมอจะดีกว่าเพราะคุณหมออาจจะมีวิธีช่วยแบบอย่างอื่นบ้าง
สำหรับวิธีการให้ลูกดูดนิ้วมือ เริ่มจากการเอาผ้าหรือถุงมือมาพันรอบนิ้วหัวแม่มือ เอาพันแบบหลวม เพื่อไม่ให้ลูกอมนิ้วมือได้สะดวก โดยอาจทำเป็นกิจกรรมร่วมกับลูก เช่น บอกลูกว่าถ้าวันนี้ลูกไม่อมนิ้วมือ แม่จะให้สติกเกอร์นะ ถ้าสะสมครบ 10 อัน แม่จะซื้อของให้ จากนั้นคุณแม่ก็ติดสติกเกอร์ลงปฏิทินให้ลูกเห็น เมื่อครั้งแรกสำเร็จ ครั้งต่อไปคุณแม่ก็ต้องขยายระยะเวลาให้นานขึ้น อาจเป็น 20 วัน 30 วัน ก็แล้วแต่ละคน
สิ่งสำคัญคือ ถ้าเห็นว่าลูกดูดนิ้ว พ่อแม่อย่าลงโทษลูก เพราะจะทำให้เด็กผิดหวังมากขึ้น ทางที่ดีแนะนำให้พ่อแม่ใช้วิธีการสนับสนุนให้ลูกเลิกนิสัยดูดนิ้วมือจะดีกว่า
พฤติกรรมการดูดนิ้ว ส่งผลต่อฟันของเด็ก ๆ อย่างไร?
ในการสบฟันตามปกติฟันกรามบนจะเติบโตคาบเกี่ยวกับฟันล่าง แต่ในกรณีที่มีแรงดันจากนิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้ หรือจุกนม มันจะรบกวนการเจริญเติบโตของฟันและเหงือก แม้กระทั่งขากรรไกร ในบางรายอาจพบว่ามีปัญหา “ฟันสบเปิด” ซึ่งหมายถึงอาการที่ฟันของเด็กไม่สบกันตามปกติ แต่เกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟันบนและฟันล่าง นั่นคือเหตุผลที่การดูดนิ้วเป็นสิ่งที่เราควรระวัง แต่เรายังไม่ต้องกังวลมากเกินไปนัก
ความบ่อยครั้งในการดูดนิ้ว เป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดผลต่อปัญหาทางทันตกรรมของเด็ก หากเด็ก ๆ เพียงแค่วางนิ้วในปากพวกเขาเฉย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีน้อยกว่าเด็กที่ชอบดูดนิ้วแรง ๆ นอกจากนี้ เด็กที่ชอบดูดนิ้วแรง ๆ อาจพบปัญหาตั้งแต่การเจริญเติบโตของฟันน้ำนม
เมื่อไรที่เด็ก ๆ จะหยุดพฤติกรรมดูดนิ้ว?
เด็กมักจะหยุดดูดนิ้ว ในช่วงอายุระหว่าง 2-4 ขวบ หรือเมื่อฟันหน้าของเด็กได้โผล่ออกมาจากเหงือกเรียบร้อย ถ้าคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของฟันน้ำนมของเด็ก ๆ หรือกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูดนิ้วของเด็ก กรุณาปรึกษากับทันตแพทย์ทันที
จะช่วยให้เด็ก ๆ หยุดพฤติกรรมดูดนิ้ว ดูดปาก ทำอย่างไรดี ?
หากลูกของคุณไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร การกระทำในเชิงบวก ดูจะส่งผลดีกว่าการกระทำในเชิงลบ (เช่น ป้ายของขม ๆ ลงบนนิ้วของเด็ก) และนี่คือสิ่งที่คุณควรลองทำ:
- การชื่นชมและให้รางวัล อธิบายกับบุตรหลานของคุณว่าเหตุใดจึงไม่ควรดูดนิ้วและคิดหาหนทางที่จะให้รางวัลแก่พวกเขา เมื่อพวกเขาสามารถทำสำเร็จ แต่จะต้องไม่ใช่ขนมหรือของหวานที่เป็นอันตรายต่อฟัน!
- ความให้สบายและแยกแยะ เด็ก ๆ แต่ละคนจะมีการกระตุ้นการดูดนิ้วที่แตกต่างกันไป ลูก ๆ ของคุณมีแนวโน้มที่ดูดนิ้วเมื่อกังวลหรือเบื่อใช่ไหม? หากเป็นเช่นนั้น การกอดบ่อย ๆ สามารถช่วยได้ หรือหากิจกรรมที่ต้องใช้มืออยู่ตลอดเวลาให้เด็ก ๆ ทำก็ได้
- ใช้ความคิดสร้างสรรค์ คุณรู้จักลูกของคุณดีที่สุด บางทีคุณอาจจะมีวิธีการของตัวเอง ที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับเขา ตัวอย่างเช่นคุณอาจจะผูกจุกนมกับลูกโป่งฮีเลียม แล้วส่งมันไปหานางฟ้าฟันน้ำนม เมื่อเธอได้รับมัน เธอก็จะส่งของขวัญสุดพิเศษกลับมาไว้ใต้หมอน
- ทันตแพทย์ สามารถให้กำลังใจบุตรหลานของคุณและ อธิบายถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับฟันได้หากไม่หยุดดูดนิ้วหรืออาจจะอธิบายยกตัวอย่างให้เขาฟังดูเขาอาจจะเข้าใจก็ได้
การดูดนิ้วเป็นเพียงหนึ่งในเหตุผลว่า ทำไมการตรวจสุขภาพฟันประจำปีแก่บุตรหลานจึงมีความสำคัญต่อบุตรหลานของคุณ การดูแลควรเริ่มตั้งแต่อายุ 1 ขวบ ซึ่งทันตแพทย์จะแนะนำคุณ และ เด็ก ๆ ในการทำความสะอาดฟันที่ถูกวิธี ซึ่งจะช่วยลดการเกิดฟันผุ อีกทั้งสามารถติดตามการเจริญเติบโต และ พัฒนาการของฟันตามปกติได้อีกด้วย อย่าลืมว่าสุขภาพฟันของเด็ก ก็สำคัญไม่แพ้กับด้านอื่นเลย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
ตารางอาหารทารกและเด็กเล็ก ในแต่ละช่วงวัย พ่อแม่ควรดูแลอาหารการกินลูกอย่างไร
ทารกติดโรค จากผู้ใหญ่ ทารกป่วยบ่อย ติดเชื้อจากพ่อแม่ ครอบครัว คนป่วยต้องอยู่ให้ห่างลูก
12 วิธีกระตุ้นการเคลื่อนไหวของทารก เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยวัยขวบปีแรก
ที่มา : dentalworldchiangmai
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!