ภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่คุณขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอที่จะนำออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ภาวะนี้จะเรียกว่าฮีโมโกลบินต่ำอาจทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยและอ่อนแอ โดยมีหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีสาเหตุของตัวเอง ภาวะโลหิตจางอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือระยะยาว และอาจอยู่ในช่วงตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ในกรณีส่วนใหญ่ โรคโลหิตจางมีมากกว่าหนึ่งสาเหตุ หลาย ๆ คนคงสงสัยอาจยังไม่รู้ว่า โลหิตจาง หรือโรคโลหิตจางคืออะไร แล้วมีอาการอย่างไรบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร แล้วมีวิธีรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
โลหิตจาง คืออะไร
โลหิตจางนั้น เป็นภาวะที่สภาพร่างกายนั้น จะมีปริมาณของเม็ดเลือดแดงในเลือดที่น้อยกว่าปกติ นั้นก็หมายความว่าจะทำให้การนำออกซิเจนไปยังเซลล์ และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลงกว่าปกติ เมื่อการนำออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ น้อยลงก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีผิวซีด หรือผิวเหลือง เป็นต้น โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอาจจะมาจากการเสียเลือด เม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น หรือการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง นั้นเอง
อาการโลหิตจาง
อาการของโลหิตจางจะแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุต่าง ๆ ตั้งแต่อาการเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรง หรือในบางครั้งอาจจะไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ เลยจนกว่าภาวะโลหิตจางจะมีอาการที่รุนแรงขึ้นมา ซึ่งอาการผิดปกติเป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจที่หนักขึ้น เพื่อที่จะให้ร่างกายนั้นได้รับออกซิเจนจากเลือดมากยิ่งขึ้น โดยอาการที่พบส่วนใหญ่เลย ได้แก่
- มีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยง่าย ทำอะไรนิดหน่อยก็รู้สึกหน่อยแล้ว
- มีอาการหายใจลำบาก
- มีอาการตัวซีด ตัวเหลือง อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สดชื่น
- มีอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ และมึนงง
- ผิวซีด หรือผิวเหลือง
- มีอาการมือ และเท้าเย็น
- มีอาการเจ็บที่หน้าอก และมีการใจสั่น
- บางคนอาจจะอยู่ในขั้นที่มีอาการที่รุนแรงอาจจะทำให้หัวใจนั้นทำงานหนักจนหัวใจล้มเหลว
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคโลหิตจาง ในคนท้อง หากแม่ท้องขาดธาตุเหล็กเสี่ยงแท้งหรือเปล่า?
สาเหตุของภาวะโลหิตจาง
สาเหตุของภาวะโลหิตจางจะแบ่งตามกลไกการเกิดได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ ๆ เลยคือ
1. การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง
ซึ่งการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลงเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น
- สาเหตุแรกที่การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงเลยคือ การขาดสารอาหารที่จะเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงนั้นเอง ซึ่งสารที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ธาตุเหล็ก กรดโฟลิค วิตามินบี 12
- ภาวะโรคเรื้อรัง หรือการรักษาโรคเรื้อรังบางโรค อาจจะส่งผลกระทบกับการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยการทำลายไขกระดูก เช่น การติดเชื้อ HIV โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งบางชนิด หรือว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
2. การเสียเลือด
การเสียเลือดอาจจะเกิดขึ้นอย่างได้ฉับพลัน เช่น การตกเลือด การเกิดอุบัติเหตุ หรือว่าอาจจะค่อย ๆ เสียเลือดเรื้อรัง ได้แก่ การเสียเลือดประจำเดือนในผู้หญิง การเสียเลือดในทางเดินอาหารในผู้ชาย และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้ป่วยที่ได้เสียเลือดเรื้อรังก็มักที่จะเกิดการขาดธาตุเหล็กตามมาอีกด้วย
3.การทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
เป็นผลที่มาจากการติดเชื้อ หรือโรคในกลุ่มที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก หรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น โรคธาลัสซีเมีย ม้ามเกิดการขยายหรือใหญ่โตขึ้น รูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ การขาดเอนไซม์ และยาบางชนิด หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ปัจจัยเสี่ยงภาวะโลหิตจาง
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางเพิ่มขึ้น:
- อาหารที่ขาดวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 โฟเลต และทองแดงต่ำอย่างสม่ำเสมอจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคโลหิตจาง
- ความผิดปกติของลำไส้ การมีความผิดปกติของลำไส้ที่ส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็กของคุณ เช่น โรคโครห์นและโรคช่องท้อง ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคโลหิตจาง
- ประจำเดือน โดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงที่ยังไม่มีวัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชายและสตรีวัยหมดประจำเดือน การมีประจำเดือนทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงสูญเสียไป
- การตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์และไม่ได้ทานวิตามินรวมที่มีกรดโฟลิก และธาตุเหล็กเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคโลหิตจาง
- ภาวะเรื้อรัง หากคุณเป็นมะเร็ง ไตวาย หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางจากโรคเรื้อรัง ภาวะเหล่านี้อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงขาดแคลนได้การสูญเสียเลือดอย่างช้า ๆ เรื้อรังจากแผลในกระเพาะอาหารหรือแหล่งอื่น ๆ ภายในร่างกายของคุณ อาจทำให้ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายของคุณลดลง นำไปสู่โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- ประวัติครอบครัว หากครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคโลหิตจางที่สืบทอดมา เช่น โรคโลหิตจางชนิดเคียว คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากขึ้น
- ปัจจัยอื่นๆ ประวัติการติดเชื้อบางชนิด โรคเลือด และโรคภูมิต้านทานผิดปกติ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคโลหิตจาง โรคพิษสุราเรื้อรัง การสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ และการใช้ยาบางชนิด อาจส่งผลต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และนำไปสู่โรคโลหิตจาง
- อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางเพิ่มขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคธาลัสซีเมียคนท้อง โลหิตจาง รักษา หรือป้องกันได้อย่างไร ?
การรักษาภาวะโลหิตจาง
การรักษาภาวะโลหิตจาง จะมีลักษณะอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงที่บอกได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดและแน่นอนก่อน การรักษาภาวะโลหิตจางนั้นยังขึ้นอยู่หลากหลายปัจจัย ได้แก่ สาเหตุการเกิด ระดับความรุนแรง หรือประเภทของโลหิตจาง ซึ่งเป้าหลายของการรักษา คือการที่ต้องเพิ่มความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนในร่างกายให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามคุณควรที่จะไปพบแพทย์จะดีกว่า เนื่องจากคุณจะได้รู้ว่าสาเหตุจริง ๆ แล้วเกิดจากอะไร แล้วได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงทีอีกด้วย
โลหิตจาง เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง หากพบว่ามีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือมีอาการซีด ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเจาะเลือดดูปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เพื่อจะได้รักษาอย่างทันท่วงที และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการมือเท้าเย็น ช่วยเตือน! อาจเสี่ยงโลหิตจาง-เส้นเลือดตีบ
เลือดจางระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลอันตรายต่อแม่และลูกในครรภ์สูง
5 เมนู อาหารเพิ่มเม็ดเลือดแดงคนท้อง คนท้องเลือดจางควรกินอะไร?
ที่มา : Mayoclinic, Phyathai, Pobpad