ในบทความนี้เราจะมาต่อกันด้วย EP.2 ไม่อยากให้ลูกขาดสารอาหาร ต้อง เติมเต็มโภชนาการตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จาก นพ.ณัทชวกร นฤคนธ์ สูตินรีแพทย์ แพทย์ด้านมะเร็งนรีเวชและการผ่าตัดผ่านกล้องด้านนรีเวช โรงพยาบาลเจ้าพระยา ซึ่งเป็นสาระดี ๆ ที่คุณแม่ทุกคนไม่ควรพลาด
โรคขาดสารอาหารในเด็ก
โรคขาดสารอาหารในเด็ก คือ ภาวะที่เด็กได้รับสารอาหารอย่างไม่เพียงพอ ต่อ การนำไปใช้ในการเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย ทำให้ร่างกาย กล้ามเนื้อ และ อวัยวะต่าง ๆ ไม่พัฒนาไปตามเกณฑ์ของวัย ส่งผลไปยังพัฒนาการด้านอื่น ๆ และมัก ทำให้ป่วยง่าย เช่น ท้องเดิน ไข้หวัด ปอดอักเสบ หัด ไอกรน เป็นต้น โดยภาวะขาด สารอาหาร สามารถเกิดกับเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้น การดูแลโภชนาการลูกตั้งแต่ คุณแม่ยังตั้งครรภ์ จะช่วยทำให้ลดความเสี่ยงของโรคขาดสารอาหารได้
อาการของเด็กขาดสารอาหาร
น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่ร่าเริง ซึมเศร้า ไม่ค่อยพูด หรือมีภาวะพูดช้า ไม่สนใจสิ่ง แวดล้อม รู้สึกกระสับกระส่าย ผิวหนังแห้ง เหี่ยวย่น แก้มตอบ ขอบตาลึก ตาเหลือง เส้นผมบางและขาดหลุดร่วง
สารอาหารที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันทารกขาดสารอาหาร
อาหารครบ 5 หมู่ อันได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่หรือแร่ธาตุ วิตามิน และ ไขมัน เป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับทุกเพศทุกวัยอยู่แล้ว แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ จำเป็นต้องเพิ่มสารอาหารอื่น ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตให้ กับทารกในครรภ์ โดยเราหยิบยกมาทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้
1. โฟลิค แอซิด (Folic acid)
โฟลิค แอซิด เป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะความผิดปกติ ของหลอดประสาทของทารก (Neural tube defect) ช่วยป้องกันลูกเป็นโรคปาก แหว่งเพดานโหว่ โรคโลหิตจาง ดังนั้นคุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับ โฟลิก แอซิด อย่างน้อย 400 – 500 ไมโครกรัมต่อวัน
2. แคลเซียม (Calcium)
แคลเซียม เป็นสารอาหารที่ช่วยต่อมวลกระดูกและการขยายตัวของกระดูก ซึ่งมีความ จำเป็นอย่างมากสำหรับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่ หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ได้รับ แคลเซียมอย่างเพียงพอ อาจจะส่งผลให้พัฒนาการด้านร่างกายของลูกไม่ดีและอาจ ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรงอีกด้วย
3. แมกนีเซียม (Magnesium)
แมกนีเซียมมีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโต ทั้งนี้แมกนีเซียมยังมีส่วนช่วยในการ ทำงานของแคลเซียม เนื่องจากแมกนีเซียมเป็นตัวช่วยในการนำแคลเซียมไปสู่ เนื้อเยื่อต่าง ๆ ดังนั้น แมกนีเซียมจึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นมากคุณแม่และทารกใน ครรภ์
4. ดีเอชเอ (DHA)
โอเมก้า 3 ชนิดกรดไขมันดีเอชเอ (DHA) เป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบ ประสาท สมอง และสายตา ช่วยพัฒนาการด้านความจำและการมองเห็นของเด็ก พบ ได้มากในน้ำมันปลา ซึ่งหากทารกขาดดีเอชเอ อาจจะผลให้ต่อมามีปัญหาเป็นโรค สมาธิสั้น พัฒนาการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ การมองเห็นของทารกลดลง ดังนั้น หากคุณ แม่ไม่อยากให้ลูกมีความผิดปกติดังกล่าว ควรเริ่มรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ชนิดกรดไขมันดีเอชเอ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จรกระทั่งคลอด และให้นมลูก แต่หากไม่ มั่นใจว่า อาหารที่รับประทานแต่ละวันมีดีเอชเอเพียงพอหรือไม่ อาจเสริมด้วยอาหาร เสริมสำหรับคุณแม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันให้ลูกไม่เป็นเด็กขาดสารอาหารเบื้องต้นได้
5. ไอโอดีน (Iodine)
ไอโอดีน เป็นสารอาหารที่มีส่วนในการพัฒนาเซลล์สมอง หากทารกในครรภ์ – 3 ปี ขาดไอโอดีน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีไอคิวต่ำ เนื่องจากทำให้เซลล์สมอง พัฒนาการได้ไม่ดี ดังนั้น หากคุณแม่ต้องการให้ลูกมี IQ ที่เหมาะสมมีพัฒนาการด้าน สมองสมวัย ในขณะตั้งครรภ์ควรได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ รวมทั้งหลังคลอดที่ต้อง ให้นมลูกด้วย
6. โปรตีน(Protein)
โปรตีน เป็นสารอาหารสำคัญ ที่ช่วยในการเจริญเติบโตและสร้างกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ กระดูกอ่อน กระดูก และอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อย ทั้งยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่ สึกหรอ ดังนั้น คุณแม่ควรเสริมโปรตีนให้ร่างกายอย่างเพียงพอต่อตัวเองและลูกใน ครรภ์ ร่วมกับอาหารประเภทอื่น ๆ ให้ครบ 5 หมู่
วิธีป้องกันลูกน้อยเป็นโรคขาดสารอาหาร
คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องโภชนาการตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ สำคัญต่อพัฒนาการอย่างเต็มที่ตั้งแต่แรกเกิด และเสริมสารอาหารที่ครบถ้วนต่อเนื่อง ในช่วงหลังคลอด เพื่อให้นมลูกต่อไป โดยแนะนำว่าควรให้ลูกได้ดื่มนมแม่อย่างน้อย แรกเกิด – 6 เดือน (ความจริงแล้วสามารถให้ลูกดื่มนมแม่ได้เรื่อย ๆ จนถึง 1 ปี หรือ กว่าน้ำนมแม่จะหมด) หากไม่แน่ใจว่าตัวเองได้รับโภชนาการที่เพียงพอขณะตั้งครรภ์ และขณะให้นมลูก อาจต้องใช้อาหารเสริมที่มีสารอาหารครบถ้วนร่วมด้วย จะช่วยให้ มั่นใจยิ่งขึ้น
เพราะผลลัพธ์ที่สมบูรณ์มาจากการเตรียมความพร้อมที่ดี ขอเคียงข้างว่าที่คุณแม่ทุก ท่าน ก้าวสู่ช่วงเวลา 1000 วันแรก เพื่อของขวัญสุดพิเศษของชีวิต
อ้างอิง:
Paolo Hospital
Tmwa.or.th
Foodnetworksolution.com
Synphaet.co.th
Mahidol.ac.th
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!