X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

9 สัญญาณเตือน คุณเป็นแม่ที่ปกป้องลูกมากเกินไป

บทความ 3 นาที
9 สัญญาณเตือน คุณเป็นแม่ที่ปกป้องลูกมากเกินไป

ลองสำรวจพฤติกรรมของคุณเอง ว่าคุณเป็นแม่ที่ละเอียด จู้จี้ และคอยปกป้องลูกไปซะทุกเรื่อง จนคุณเองก็เครียดและยังสร้างความอึดอัดใจให้กับลูก ๆ และคนรอบข้างอีกด้วยใช่หรือไม่ ด้วย 9 สัญญาณเตือนนี้!

ก่อนจะได้มาเป็นแม่ คุณเคยเห็นอาการรักลูกมาก ๆ ของคุณแม่คนอื่น ๆ มาบ้างหรือไม่ เช่น พี่หรือน้อง ญาติสนิท เพื่อน ๆ หรือคนรอบตัว แล้วเคยรู้สึกไหมว่า ทำไมพวกเขาช่างเป็นแม่ที่จู้จี้และละเอียดไปซะทุกเรื่อง แถมยังออกอาการรักและปกป้องลูกอย่างมากมาย และคุณเองก็ไม่เคยเข้าใจพวกเขาเสียเลย

แต่วันหนึ่งเมื่อคุณได้มาเป็นแม่คน คุณปฏิเสธไม่ได้ใช่ไหมคะ ว่าตอนนี้คุณกำลังเป็นแม่คนหนึ่งที่รักลูกมาก และบางครั้งตัวเองก็ยังออกอาการปกป้องลูกมากเกินไปอีก หากยังไม่แน่ใจ ลองเช็คพฤติกรรมของคุณด้วย 9 สัญญาณเตือน คุณเป็นแม่ที่ปกป้องลูกมากเกินไป นี้ดูค่ะ

1.คุณใช้กูเกิลสืบเสาะหาประวัติผู้ปกครองหรือพ่อแม่ของเพื่อนร่วมห้องของลูก

ถึงแม้จะมีเพื่อนร่วมชั้นแค่ไม่กี่คน และทุกคนก็ดูรู้จักเป็นกันเองดี แค่คุณก็ไม่วายอยากสืบเสาะหาประวัติของพ่อแม่เด็ก ๆ คนอื่น ๆ คุณก็แค่คงจะอยากรู้ว่าใครเป็นอะไร ยังไง แต่บางทีนั่นก็อาจมากเกินไป

2.คุณมีกระดาษทิชชูเปียกติดตัวอยู่เสมอ

คุณเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง แม้คุณจะล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน น้ำยาล้างประเภทออร์แกนิค หรือที่ปราศจากน้ำหอมแล้วก็ตาม คุณคิดว่าคุณจะไม่ระแวดระวังขนาดนี้กับลูกคนที่ 2 แต่ก็เป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะลูกกี่คน คุณจะไม่ยอมให้เชื้อโรคตัวใดจะหลุดรอดสายตาคุณไปได้!

3.คุณปล่อยให้ลูกชายอายุ 10 ขวบเดินไปเล่นบ้านเพื่อนเองได้

แต่นั่นเป็นเพราะว่าคุณจะได้มองลูกจากข้างหลังอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ก้าวที่ลูกเดินออกจากบ้านไป เพราะคุณเป็นห่วงลูกมากเหลือเกิน

4.คุณทำรายการในสิ่งที่ต้องทำยาวเหยียดตั้งแต่ลูกตื่นนอนจนเข้านอน

คุณเขียนกิจกรรมทุกอย่างที่ลูกต้องทำตามเวลา ตั้งแต่ลูกตื่นนอนตอนเช้า จนเข้านอนในเวลากลางคืน  และให้พี่เลี้ยงลูกของคุณทำตามรายการที่คุณเขียนขณะคุณไม่อยู่ ถึงแม้คุณจะไม่รู้ว่า ระหว่างวันพี่เลี้ยงจะทำตามหรือไม่ หรือมีอะไรเกิดขึ้นนอกเหนือจากนี้ คุณก็ยังคงทำรายการสิ่งเหล่านี้ให้ลูก ๆ อยู่ทุกวัน

5.คุณติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ในบ้าน

Advertisement

นอกจากจะเช็คข้อมูลประวัติ เบื้องลึกเบื้องหลังของพี่เลี้ยงแล้ว คุณยังติดกล้องวงจรปิดไว้ที่บ้าน เพื่อคอยสอดส่องและตรวจตรา ถึงแม้ว่าพี่เลี้ยงเด็กคนนี้จะได้รับการรับรองมาอย่างดี เช่น เรื่องการปฐมพยาบาลทำ CPR หรือ ลูก ๆ ของคุณก็รักพี่เลี้ยงคนนี้ดี แต่คุณรู้สึกว่าคุณยังคงต้องทำสิ่งเหล่านี้อยู่ตลอดเพื่อความปลอดภัยของลูก

6.คุณไม่ไว้ใจที่จะทิ้งลูกไว้ให้พ่อแม่ของคุณดูแล

คุณคิดว่าพ่อแม่ของคุณเคยเลี้ยงลูก ๆ มาแล้วก็จริง แต่นั้นก็หลาย 10 ปีมาแล้ว คุณไม่ไว้ใจที่จะปล่อยลูกไว้ตามลำพังกับพ่อแม่  คุณอาจจะอนุญาตให้ท่านมาช่วยเลี้ยงหรืออยู่ด้วยยามคุณเหงาหรือเหนื่อยล้าเต็มทีแค่นั้นเอง ยิ่งถ้าเป็นญาติ ๆ หรือใครที่แค่เกี่ยวดองกันก็ยิ่งหมดสิทธิ์ที่จะได้เลี้ยงดูลุกคุณ

7.คุณวางแผนไปเที่ยวทะเลแบบไปเช้า-เย็นกลับกับลูก ๆ แต่ทำเหมือนว่าได้หยุดยาวไปเที่ยวหลาย ๆ วัน

ครีมกันแดด SPF 50++ ขนมผลไม้แบบออร์แกนิค ผ้าเช็ดตัว หมวกปีกบังแดด เต็นท์สำหรับกางริมชายหาด แป้งสำหรับล้างทราย น้ำหลาย ๆ แพค น้ำมันรถ และเงินสด พร้อม! นี่คุณแม่ ถ้าจะจัดเต็มขนาดนี้  ปล่อยลูก ๆ วิ่งเล่นที่สวนหลังบ้านพอมั๊ยคะ?  อิอิ

8.คุณเลิกดูซีรีย์แนวสืบสวนสอบสวนหรือเรื่องอะไรที่เครียด ๆ ตอนท้อง

เป็นเพราะคุณอ่อนไหวและรู้สึกว่ามันจะทำให้คุณเครียดเกินไป และคุณกังวลกลัวว่าลูกน้อยในท้องจะเครียดตามไปด้วย คุณเลยเลือกที่จะไม่ดูซะดีกว่า

9.คุณสามารถคุยถูกคอกับเพื่อนของแม่คุณได้

คุณสามารถคุยกันเรื่องชื้อโรค วิธีปกป้องการถูกคุกคามทางเพศ แบบผมลูกรัก ภาวะฉุกเฉิน กาให้นมแม่กับการดื่มแอลกอฮอลล์ ผื่นคัน การกัดเล็บ และอื่น ๆ อีกหลาย ๆ เรื่อง ที่คุณสามารถคุยได้ นั่นเพาะคุณอยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ ๆ  และเป็นเพราะคุณอินกับการดูแลปกป้องลูกทุกเรื่องรอบด้านนั่นเอง

 

เราต่างเป็นแม่ที่รักลูก แต่ในบางครั้งบางสิ่งบางอย่างก็ควรตั้งอยู่ในความพอดี ไม่ตึงจนตัวคุณต้องเครียดหรือพะวงไปซะทุกเรื่อง หรือมิหนำซ้ำยังทำให้คนรอบข้างของคุณหรือแม้แต่ลูก ๆ รู้สึกเครียดและอึดอัดตามไปกับความเยอะของการเป็นแม่ที่ปกป้องลูกมากเกินไปซะอีก

เพียงรักและดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างเหมาะสม ก็สามารถสร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นได้ในครอบครัวแล้วค่ะ

 

ที่มาจาก www.momtastic.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

12 เทคนิค ลูกคนเดียวเลี้ยงอย่างไร ไม่ให้มีปัญหา

5 เหตุผลที่พ่อแม่ควรสร้างอารมณ์ขันในบ้าน

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 9 สัญญาณเตือน คุณเป็นแม่ที่ปกป้องลูกมากเกินไป
แชร์ :
  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว