X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

12 เทคนิค ลูกคนเดียวเลี้ยงอย่างไร ไม่ให้มีปัญหา

บทความ 5 นาที
12 เทคนิค ลูกคนเดียวเลี้ยงอย่างไร ไม่ให้มีปัญหา

เพื่อให้การดำเนินชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนเดียวนั้น เป็นไปได้ง่ายขึ้น นี่คือ เทคนิค 12 ข้อ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติ

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนเดียว ไม่ได้มีเวลาว่างเหมือนอย่างที่ใครหลาย ๆ คนคิด นอกจากพวกเขาจะต้องดูแลลูกแล้ว พวกเขายังต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ลูกคนเดียวของเขาต้องกลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเองด้วย เพราะหากลูกถูกตามใจมากเกินไป อนาคตก็คงจะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นลำบาก  ดังนั้น เพื่อให้การดำรงชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนเดียว สามารถดำเนินชีวิตได้ง่ายขึ่น เรามาดูคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกคนเดียวกันเลยค่ะ

ลูกคนเดียว เลี้ยงอย่างไร

เทคนิค 12 ข้อ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนเดียว มีดังนี้

1. ตั้งกฎระเบียบและขอบเขต จริงอยู่ที่การจัดการอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดของลูกคนเดียวนั้นไม่ยากเท่ากับการมีลูก ๆ หลายคน แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่า ลูกคนเดียวจะมีสิทธิพิเศษเหนือใคร ดังนั้น เพื่อสอนให้ลูกเป็นเด็กไม่เอาแต่ใจตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรที่จะตั้งกฎระเบียบและให้ลูกอยู่ในกฎระเบียบนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสอนให้ลูกรู้จักปฏิบัติตามกฎตั้งแต่พวกเขายังเล็ก

2. สอนให้รู้จักมีความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่สามารถสามารถสอนให้ลูกมีความรับผิดชอบได้ตั้งแต่พวกเขายังเล็กค่ะ ยกตัวอย่างเช่น เวลาลูกดื่มนมกล่องเสร็จ ก็ให้ลูกนำเอาไปทิ้งขยะด้วยตัวเอง หรือตื่นมาจะต้องรู้จักพับผ้าห่ม ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ตอนนี้พวกเขาอาจจะยังพับไม่สวย แต่แน่นอนว่า เด็ก ๆ จะต้องรู้ตัวเองว่า ตื่นมานั้นสิ่งที่พวกเขาจะต้องทำเป็นอย่างแรกคืออะไร เป็นต้น

3. สอนอิสรภาพ จริงอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกคนเดียวนั้น สามารถมีเวลาสอนลูกได้อย่างเต็มที่มากกว่า แต่การสอนลูกโดยการที่คุณพ่อคุณแม่ลงมือทำแทน ยกตัวอย่างเช่นการบ้าน หรือสิ่งประดิษฐ์ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควรค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ทำทุกอย่างและเรียนถูกเรียนผิดด้วยตัวเองดีกว่านะคะ

Advertisement

4. ไม่ตามใจลูกมากเกินไป คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากให้ลูกเป็นเด็กที่เอาแต่ใจใช่ไหมคะ เวลาที่ลูกคนเดียวต้องการอะไร ส่วนใหญ่แล้วเพียงแค่เอ่ยปากขอ ก็มักจะได้ จนทำให้ของบางอย่างที่ได้มาง่าย ๆ นั้นดูไม่มีค่า ดังนั้น เรามาเปลี่ยนวิธีกันใหม่ดีกว่าค่ะ ให้ลูก ๆ ได้รู้จักทำงานก่อน แล้วคุณพ่อคุณแม่ค่อยให้รางวัล แต่! พยายามหลีกเลี่ยงที่จะให้ทุกครั้งไปนะคะ มิเช่นนั้น ลูกจะทำทุกอย่างเพราะหวังผลตอบแทน ซึ่งมันจะส่งผลไม่ดีกับลูกในอนาคตได้  ดังนั้นให้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสมจะดีกว่าค่ะ

5. สอนให้รู้จักคุณค่า แน่นอนว่าลูกคนเดียวมักจะมีเสื้อผ้าหรือของเล่นเยอะเป็นพิเศษ ของบางชิ้นอยากได้มาก พอได้มาแล้วกลับไม่สนใจเสียอย่างนั้น บางชิ้นเล่นไปก็เกิดความรู้สึกเบื่อ ไม่เอาเสียให้ดื้อ ๆ ดังนั้น หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักคุณค่าของ ๆ ที่เขามีอยู่ ชิ้นไหนที่ลูกเบื่อไม่ชอบ หรือเสื้อผ้าตัวไหนที่ใส่ไม่ได้ ก็ให้นำไปบริจาคให้กับเด็กคนอื่นได้ใช้ต่อไป แน่นอนว่า แรก ๆ ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจ แต่ของแบบนี้ต้องใช้เวลาค่ะ คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทน และค่อย ๆ อธิบายให้เขาเข้าใจ หรือของชิ้นไหนที่สามารถขายได้ก็ควรบอกลูกว่า “ของชิ้นนี้ แม่/พ่อ เอาไปขายนะ ขายได้เงินมาจะได้เอามาเป็นค่านม ค่าเทอมให้หนูไงละจ๊ะ” รับรองว่าลูกต้องเข้าใจและเผลอ ๆ อาจจะช่วยคุณพ่อคุณแม่เลือกของเสียด้วยซ้ำนะคะ

6. มีเวลาส่วนตัวบ้าง การมีลูกคนเดียว ไม่ได้หมายความว่า คุณพ่อคุณแม่จะต้องเอาเวลาของตัวเราเองไปผูกติดกับลูกตลอดเวลานะคะ เพราะการทำเช่นนั้น จะเท่ากับเป็นการปลูกฝังลูกว่า เวลาเขาจะทำอะไร เขาจะต้องมีคุณพ่อคุณแม่อยู่ด้วยเสมอ เขาถึงจะทำได้ การทำเช่นนี้จะทำให้ลูกขาดความมั่นใจในตนเองเอาเสียได้ง่าย ๆ ค่ะ อีกทั้งการเอาเวลาของเราไปผูกติดกับลูกนั้น จะทำให้เราสูญเสียความส่วนตัวไปด้วยเช่นกัน หาเวลาให้กับตัวเองและสามีหรือภรรยาได้มีเวลาอยู่ด้วยกันสองคนบ้างนะคะ เพื่อชีวิตของครอบครัวที่สมบูรณ์

คลิกเพื่ออ่านเทคนิคเพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
ลูกคนเดียว เลี้ยงอย่างไร
7. คาดหวังบนพื้นฐานของความเป็นจริง คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะตั้งความหวังไว้กับลูกคนเดียวสูงมาก ๆ โดยที่ในบางครั้งก็ลืมไปว่า ลูกของเรานั้นมีความสามารถหรือสนใจในสิ่งที่เราอยากให้เขาเป็นหรือไม่ อย่าลืมนะคะ ลูกจะเก่งและประสบความสำเร็จได้ หากคุณพ่อและคุณแม่ให้การสนับสนุน เพราะฉะนั้นทางที่ดี คุณพ่อคุณแม่ก็ควรสังเกตลูกของเราดูค่ะว่า พวกเขาชอบอะไร และทำอะไรได้ดี หากทราบแล้วก็ลุยเลยค่ะ สนับสนุนในสิ่งที่เขาต้องการอย่างเต็มที่ แล้วเราลองมาดูผลลัพธ์กันดูสิคะว่า ผลที่ได้ออกมานั้นจะดีขนาดไหน รับรองว่าภูมิใจทั้งคุณพ่อคุณแม่และคุณลูกแน่ ๆ

8. ไม่ปลูกฝังแต่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียว คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคะ คุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้ลูกรู้จักแต่ความสำเร็จเพียงอย่างเดียวใช่ไหมคะ แต่ควรสอนให้ลูกรู้ถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จด้วย ทำให้ลูก ๆ เห็นว่ากว่าจะสำเร็จได้นั้น ต้องใช้เวลาและความอดทนมากขนาดไหน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถบอกลูก ๆ ได้นะคะว่า ไม่ว่าลูกจะทำสำเร็จหรือไม่ก็ตาม อยากให้รู้ว่า ถึงอย่างไรคุณพ่อกับคุณแม่ก็รักลูกเสมอไม่เสื่อมคาย

9. ทำทุกอย่างให้เป็นระบบ การปลูกฝังให้ลูกทำทุกอย่างเป็นเวลา ยกตัวอย่างเช่น การเข้านอน การตื่นนอน เวลาไหนควรรับประทานอาหาร เวลาไหนควรเล่น และเวลาไหนควรทำกิจกรรม การสอนเช่นนี้จะช่วยให้ลูกรู้จักที่จะบริหารเวลาตั้งแต่พวกเขายังเล็กค่ะ

10. หาเวลาไปพบปะผู้คนบ้าง อย่าให้การอยู่บ้านเลี้ยงลูกนั้น เป็นการปิดหูปิดตาเราและลูก ๆ ได้ค่ะ พาลูกไปพบปะสังสรรค์ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงมี่อยู่ในวัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกันบ้าง ลูกของเราจะได้รู้จักวิธีการเข้าสังคมแล้วอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

11. ทำตัวเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่จะชอบหรือไม่ก็ตาม การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก คือสิ่งที่พวกเราทุกคนควรปฏิบัติ ทำให้เขาเห็นว่า เราปฏิบัติตัวอย่างไรเวลาที่อยู่กับคนอื่น เราพูดหรือวางตัวอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ทำให้ลูกเห็นว่า เวลาที่อยากจะได้อะไรจากผู้อื่น เราควรที่จะขอเขาดี ๆ ไม่ใช่หยิบหรือแย่งมา โดยที่เจ้าของเขายังไม่อนุญาต เป็นต้น

12. จำไว้ว่าลูกไม่ใช่เพื่อน ปกติเวลาที่เรามีเรื่องทุกข์ร้อนใจอะไร เราก็มักจะคุยกับคนในครอบครัว ยกตัวอย่างเช่น สามีหรือภรรยาเป็นต้น แต่ถ้าหากวันไหนที่คนใดคนหนึ่งไม่อยู่ และในตอนนั้นคุณกำลังมีเรื่องทุกข์ใจอยู่ และคุณก็ได้นำสิ่งเหล่านี้ไปพูดคุยกับลูก ใช่ค่ะ คุณได้ระบายให้ใครสักคนได้รับฟัง แต่อย่าลืมนะคะ ลูกยังเด็ก พวกเขายังไม่มีวุฒิภาวะมากพอที่จะมารับรู้เรื่องพวกนี้ เพราะสิ่งเหล่านี้จะไปทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายใจ และไม่มีความสุขตามไปด้วย

ที่มา: Newagepregnancy

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

รับมือโรคซึมเศร้าในเด็ก

รักลูก อย่าเป็น “พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์”

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 12 เทคนิค ลูกคนเดียวเลี้ยงอย่างไร ไม่ให้มีปัญหา
แชร์ :
  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

    ลูกเกิดมาต้องเลี้ยงพ่อแม่จริงหรือ? ความกตัญญู ต้องมาจากใจ ไม่ใช่แรงบังคับ

  • ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

    ทำความเข้าใจ พฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กเล็ก เกิดจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว