8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์

8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์ เพราะการตรวจบางอย่างก็ไม่จำเป็นเอาเสียเลย เเถมยังเสี่ยงต่อลูกในครรภ์อีกต่างหาก

8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์

8 การตรวจที่คุณเเม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์ เเม้คุณเเม่ส่วนใหญ่จะทำ หรือผ่านขั้นตอนเหล่านี้ เเต่จริงๆ เเล้วมันจำเป็นเเค่ไหนกัน ที่สำคัญคือคุณเเม่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า คุณเเม่สามารถเลือกที่จะเซย์โนได้นะคะ

1.ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินเสริม

โดยเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับโภชนาการของตัวคุณเเม่เอง ว่าร่างกายได้รับสารอาหารของเเหล่งต่างๆ เพียงพอสำหรับการตั้งครรภ์ในครั้งนี้หรือไม่ หากไม่เเน่ใจเเละไม่อยากกินวิตามินทั้งหลาย คุณเเม่สามารถวางเเผนเเละปรึกษาร่วมกับนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหารก็ได้ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม ความเชื่อของไทย กับเรื่องโภชนาการในช่วงตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามสำหรับคุณเเม่ที่พึ่งอาหารริมทางหรืออาหารเเช่เเข็งอยู่เป็นประจำ ดูเเล้วว่าหากเลือกกินอาหารเอง สารอาหารคงไม่เพียงพอเเน่ๆ ก็สามารถที่จะกินวิตามินเสริมได้เช่นกันนะคะ

2.ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

โดยการตรวจวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารก หรือที่เรียกว่า Nuchal Translucency การตรวจคัดกรองนี้จะตรวจหาปริมาณฮอร์โมนที่ผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ รวมกับการแสกนเเละการตรวจเลือดในไตรมาสเเรก คุณเเม่สามารถที่จะปฏิเสธการตรวจนี้ได้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

อ่านเพิ่มเติม ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี

3.ไม่จำเป็นต้องอัลตราซาวนด์

หลังจากสัปดาห์ที่ 24 เป็นต้นไป หากคุณเเม่มีความกังวลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูก หรือกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาด้านต่างๆ ของลูก หรือมีความกังลในเรื่องของภาวะเเทรกซ้อนต่างๆ เช่น รกเกาะต่ำ คุณหมอจะเเนะนำให้ตรวจโดยการทำอัลตราซาวนด์

ทั้งนี้การอัลตราซาวนด์ระหว่างการตั้งครรภ์ที่ถี่เกินความจำเป็นจริงๆ นั้น สามารถทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายเกิดความร้อนขึ้น ทั้งนี้คือขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อที่ถูกเเสกน ความเข้มข้นที่ใช้ เเละปัจจัยต่างๆ ด้วย ซึ่งนอกจากนี้ทางการเเพทย์ก็ยังไม่ทราบเกี่ยวกับผลกระทบระยะยาวจากการอัลตราซาวนด์เช่นกันค่ะ การอัลตราซาวนด์ที่มากกว่า 5 ครั้ง ระหว่างการตั้งครรภ์ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของลูกมีเเนวโน้มชะลอลงอีกด้วยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม จำเป็นหรือไม่? คนท้องต้องอัลตราซาวด์

4.ไม่จำเป็นต้องตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่ออินซูลินเเละระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งภาวะนี้จะเป็นชั่วคราวเเละหายไปหลังจากคลอดลูก ซึ่งการตรวจเบาหวานนั้นส่งผลทำให้คุณเเม่หลายๆ คนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เวียนหัว ปวดหัวขึ้นได้

หากคุณเเม่อายุไม่เกิน 30 ไม่มีประวัติการเป็นเบาหวานในครอบครัว ค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI ไม่เกิน 30 เเละไม่เคยคลอดลูกที่น้ำหนักเกิน 4.5 กิโลกรัม หรือหากคุณเเม่มีความเสี่ยง สิ่งที่จะทำได้คือการควบคุมอาหารเเละการออกกำลังกายอย่างไม่หักโหมค่ะ

อ่านเพิ่มเติม ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

5.ไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำก็ได้

การเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสภาวะของทารกในครรภ์ หรือ Amniocentesis จะตรวจก็ต่อเมื่อคุณเเม่มีความเสี่ยงที่ลูกจะมีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งส่วนใหญ่เเล้วคุณเเม่ที่มีอายุ 37 ปีขึ้นไปถึงจะมีความเสี่ยง ควรเจาะน้ำคร่ำเพื่อหาความผิดปกติค่ะ โดยคุณหมอจะนำเข็มยาวๆ เจาะเข้าไปที่ท้องคุณเเม่เพื่อดูดน้ำคร่ำออกมาเพียงเล็กน้อยเพื่อนำไปตรวจสอบ เเต่หากคุณเเม่ไม่มีความเสี่ยงดังกล่าวก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจนะคะ

คุณเเม่เพียง 1% เท่านั้นที่จะเสี่ยงเเท้งลูกหลังจากการตรวจน้ำคร่ำในสัปดาห์ที่ 15-20 เเต่ความเสี่ยงจะสูงขึ้นหากตรวจก่อนสัปดาห์ที่ 15 ค่ะ

อ่านเพิ่มเติม การเจาะน้ำคร่ำ ตรวจอะไรได้บ้าง?

6.ไม่จำเป็นต้องตรวจโครโมโซมก็ได้

การตรวจโครโมโซม หรือ Chorionic Villus Sampling คือการตรวจหาความผิดปกติของลูกในครรภ์ โดยสามารถตรวจโรคที่เกิดจากความผิดปกติทั้งจากยีนส์เเละโครโมโซมได้ คุณเเม่ 1% ที่อาจจะเกิดการเเท้งลูกได้หลังจากการตรวจนี้ ส่วนคุณเเม่ประมาณ 1 ใน 1000 อาจจะเสี่ยงติดเชื้อเฉียบพลันได้ คุณเเม่ที่ควรจะตรวจโครโมโซมคือคุณเเม่ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคที่เกี่ยวกับโครโมซมค่ะ

อ่านเพิ่มเติม ความผิดปกติของน้ำคร่ำแบบไหน อันตรายต่อลูกในครรภ์

7.ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงหัวใจลูกก็ได้

ระหว่างการตั้งครรภ์คุณหมอจะตรวจอัตราการเต้นของหัวใจลูก โดยการเต้นปกติจะอยู่ที่ 120-160 ครั้งต่อนาที ซึ่งสามารถเปลี่ยนเเปลงได้หากลูกเกิดการเคลื่อนไหวหรือหลับ ขณะที่การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติจะเป็นไม่เป็นจังหวะเเละมีอัตราการเต้นของหัวใจที่มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ โดยมาจากหลายสาเหตุเช่น การขาดออกซิเจน ซึ่งทุกการนัดกับคุณหมอ คุณหมอจะตรวจอยู่เเล้วค่ะ

อย่างไรก็ตามคุณเเม่ส่วนใหญ่มักนิยมซื้อเครื่องฟังเสียงหัวใจเต้นของลูกมาฟัง เพราะอุ่นใจเเละสร้างความผูกพันธ์ได้ เเต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เครียดได้เช่นกันนะคะ ซึ่งเสียงหัวใจเต้นอาจจะเเปลกออกไปเพราะลูกอยู่ในตำเเหน่งเเปลกๆ เเละมดลูกของคุณเเม่เอียง

อ่านเพิ่มเติม ทารกในครรภ์อยู่ท่าไหน ฟังเสียงหัวใจบอกได้

8.ชั่งใจระหว่างการรักษากับการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

เชื้อสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปบีระหว่างตั้งครรภ์ คือเชื้อเเบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปในลำไส้เเละอวัยวะเพศของผู้หญิงเรา โดยที่เชื้อเเบคทีเรียนี้สามารถส่งผลทำให้รกติดเชื้อได้เเละทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดเเละการติดเชื้อ โดยผลกระทบต่อลูกก็คืออาจทำให้เป็นโรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เเละอาจจะทำให้เสียชีวิตได้

การตรวจ GBS นี้ ทำได้ในสัปดาห์ที่ 35 เเละ 37 เเละหากผลบอกว่าคุณเเม่มีการติดเชื้อ คุณหมอส่วนใหญ่จะให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำในระหว่างที่คุณเเม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกอย่างเฉียบพลัน เเละในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตามหากเด็กที่คลอดธรรมชาติจะเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าเด็กที่ผ่าคลอดค่ะ

การรักษาการติดเชื้อก็ดี การหาทางออกด้วยวิธีอื่นก็ดี คุณเเม่สามารถปรึกษาคุณหมอถึงทางออกที่ดีที่สุด เเละตัดสินใจด้วยตัวเองนะคะ

อ่านเพิ่มเติม 9 โรคอันตรายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์