มาดูเคล็ดลับ 8 วิธียืดกล้ามเนื้อ สำหรับแม่ท้อง ขณะตั้งครรภ์
มาดูเคล็ดลับ 8 วิธียืดกล้ามเนื้อ สำหรับแม่ท้อง ขณะตั้งครรภ์
การยืดกล้ามเนื้อขณะตั้งครรภ์เป็นการออกกำลังกายเพื่อเตรียมกล้ามเนื้อให้มีการฝึกการยืดขยายของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกและที่สุดมีความมั่นใจในการเผชิญกับปัญหาด้านการคลอดหรือความเจ็บปวดได้
ว่าที่คุณแม่ควรฝึกทุกสัปดาห์ ใน 1 สัปดาห์ ควรฝึกให้ได้ทุกวัน หรือฝึก 4 – 5 วัน และควรฝึกร่วมกับผู้ที่จะเข้ามาดูแลในระยะคลอด เพราะบางท่าของการฝึกเป็นท่าที่ใช้ในระยะเจ็บครรภ์ ที่ต้องมีผู้ดูแลช่วยพยุง หรือช่วยประคอง
ก่อนการฝึก ให้สวมเสื้อผ้าที่สบาย ไม่รัดตรึง แต่ละท่าให้อยู่ในท่านั้นนานเท่าที่ไม่ทรมานกาย ในบางท่าบางรายอาจทำได้เพียง 2 – 3 วินาทีเท่านั้น จากนั้นจึงเพิ่มเวลาให้ได้มากขึ้นจนถึงประมาณ 3 นาทีจึงเปลี่ยนท่าใหม่
ถ้ามีปัญหาเรื่องปวดหลัง การยืดกล้ามเนื้อช่วงบ่ายๆ สัก 10 นาทีอาจช่วยผ่อนคลายความเจ็บปวดลงได้ หลังเสร็จจากการออกกำลังยืดกล้ามเนื้อในแต่ละครั้ง ให้นอนพักผ่อนร่างกายแต่ละส่วนในท่าที่สบาย และผ่อนคลายมากที่สุดจะทำให้หลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น
ท่าฝึกยืดกล้ามเนื้อมีมากมายหลายท่า แต่ละท่ามีประโยชน์ต่างๆ กันไป ในที่นี้กรมอนามัยได้เลือกมาเป็นบางท่า ที่สามารถฝึกได้ง่ายไม่อันตราย
#1 ท่าบริหารกล้ามเนื้อคอ
ยืนตรง แยกขา หรือนั่งพิงพนักในท่าที่ผ่อนคลาย เอียงศีรษะไปด้านซ้ายขวาและก้ม-เงย ศีรษะ
ท่าบริหารกล้ามเนื้อคอ
#2 ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง
– ท่านอนหงายงอเข่าไขว้เท้า
หมุนเท้าที่ไขว้เป็นวงกลมกลับไปมาท่านี้คล้ายกับได้มีการยืดกล้ามเนื้อเชิงกรานส่วนหลัง
– ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังกับผนัง
นอนราบกับพื้น ยกขาทั้ง 2 ข้าง พิงไปกับผนังพักขาตรงสักครู่ จากนั้นแยกขาออกจากกันในมุมที่สบายที่สุดพักสักครู่ จึงกลับมาท่าเดิม
กรณีปวดหลังให้ยืดแขนออกมาทางศีรษะ ผู้ดูแลอาจช่วยดูแลทั้ง 2 ข้างเบาๆ ขณะดึงให้รู้สึกเหมือนสะโพกขยับได้เล็กน้อย จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ถ้ารู้สึกเวียนศีรษะให้หยุดพักท่านี้ก่อน เพราะการนอนหงายน้ำหนักของมดลูกจะกดลงบนเส้นเลือดบริเวณส่วนหลังของผู้คลอด ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง
ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง
#3 ท่านั่งแบบแยกขา อุ้งเท้าชิด และแบบแยกขาเหยียด
เพื่อเพิ่มการยืดขยายของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน นั่งหลังตรงพิงกำแพง ฝ่ามือทั้ง 2 ข้างวางราบยันไว้กับพื้นด้านข้างลำตัว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการยืดตึงของกล้ามเนื้อเกินไป และไม่ให้เมื่อยขา
ท่านั่งแบบแยกขา อุ้งเท้าชิด และแบบแยกขาเหยียด
#4 ท่าส่ายสะโพก
อยู่ในท่าดังภาพ (หลังเหยียดตรง ไม่แอ่นลงหรืองอขึ้น) จากนั้นส่ายหรือบิดสะโพกไปทางซ้าย – ขวา ท่านี้มีผลดีต่อการจัดทรงเด็กและในรายที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง
ท่าส่ายสะโพก
#5 ท่าบริหารข้อเท้า
ท่านี้ทำง่าย ๆ เพียงนั่งยืดเท้า ปลายเท้าชี้ต่ำ แล้วหมุนเท้าไปเรื่อย ๆ
ท่าบริหารข้อเท้า
#6 ท่านั่งคุกเข่า คู้ตัวไปข้างหน้า (คล้ายท่านั่งแบบญี่ปุ่น)
เริ่มด้วยการนั่งไปบนข้างเท้าด้านในและเลื่อนสะโพกมานั่งบนพื้น เข่าทั้ง 2 ข้างแยกจากกันให้กว้างเท่าที่สบายที่สุด โน้มลำตัวมาข้างหน้า (หลังเหยียดตรง ใช้หมอนรองรับเข่า หรือสอดระหว่างเข่าได้) กล้ามเนื้อหลังจะถูกยืดไปด้วย
ท่านั่งคุกเข่า คู้ตัวไปข้างหน้า (คล้ายท่านั่งแบบญี่ปุ่น)
#7 ท่ายืดกล้ามเนื้อขา และการยืดกล้ามเนื้อน่อง
การยืดกล้ามเนื้อขา ให้ยืนหันหลังชิดกำแพง เท้าห่างจากกำแพงประมาณ 1 – 1 ฟุตครึ่ง แยกเท้าออกพอสบายและยืนได้มั่นคง จากนั้นค่อยๆ เลื่อนตัวลงงอขาและเข่าลงเรื่อยๆ จนรู้สึกตึงขา และน่อง นับ 1 – 20 จึงยืดตัวเหยียดขึ้นไปใหม่ทำประมาณ 5 ครั้ง
การยืดกล้ามเนื้อน่อง ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง ให้น้ำหนักตัวทิ้งลงไปที่ขาหลัง (ขาที่เหยียด) ทำประมาณ 5 ครั้ง เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นตะคริวที่ขาและน่อง
ท่ายืดกล้ามเนื้อขา และการยืดกล้ามเนื้อน่อง
#8 ท่านั่งยอง ๆ
นั่งยอง ๆ เข่าแยกจากกัน ฝ่าเท้าวางราบกับพื้น หรือมีเบาะนั่งเตี้ยช่วยพยุงหรือใช้เก้าอี้ช่วยจับพยุงขณะนั่ง เป็นท่าที่ยืดขยายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกล้ามเนื้อฝีเย็บ ท่านี้เป็นท่าหนึ่งที่ใช้เป็นท่าคลอดได้
ท่านั่งยอง ๆ
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้ง ด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่า ควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไร ให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
ที่มา: คู่มือการมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติในการเฝ้าคลอด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ไขข้อสงสัย คนท้องวิ่งได้ไหม คนท้องออกกำลังกายได้ไหม วิ่งแล้วเป็นอะไรไหม?
แม่ท้อง นอนไม่หลับทําไงดี คิดมาก กลัวกระทบลูก ทำยังไงให้หลับเร็ว ๆ
รวม 10 Dry Shampoo ใช้ดี สำหรับคนขี้เกียจสระผม หรือในวันเร่งรีบ แม่ท้องก็ใช้ได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!