วิธีรักษาเเละบรรเทาอาการคันจาก ยุงกัด ตามธรรมชาติ
เมื่อทารกถูก ยุงกัด ใช้ของที่หาง่ายๆ ในครัวเรือนนี่เเหละค่ะ ทั้งปลอดภัยเเละหายคันได้อีกด้วย
- ใช้น้ำส้มสายชูหมักทาบาง ๆ บริเวณตุ่มยุง จากนั้นให้ผสมน้ำส้มสายชูหมัก 2-3 ช้อนชาลงในน้ำที่ลูกอาบเพิ่มผลลัพที่ดีขึ้นค่ะ
- เอาสบู่ก้อนมาถูบริเวณตุ่มยุงให้เร็วที่สุดโดยไม่ต้องผสมน้ำ จะช่วยไม่ให้คันบริเวณนั้นชั่วคราวได้
- ใช้ยาสีฟันสะระเเหน่หรือสะเดาทาบริเวณที่ยุงกัด ปล่อยให้เเห้งก่อนจะล้างออก
- ใช้น้ำผึ้งดิบทาบริเวณที่ยุงกัด เพื่อกำจัดน้ำลายของยุง เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
- ใช้น้ำเกลือละลายน้ำทาบริเวณที่ยุงกัดจะช่วยเเก้คันได้
- ใช้เจลใสๆ จากต้นว่านหางจระเข้ทาบริเวณที่ยุงกัด เนื่องจากช่วยรักษาตุ่มยุงให้หายเร็วขึ้นได้ค่ะ
- ล้างหัวหอมรอบนึงก่อนจะเอามาทาบริเวณที่โดนยุงกัด ช่วยล้างน้ำลายยุงที่ทำให้คันได้
- น้ำมะนาวหรือน้ำเลมอนทาบางๆ บริเวณที่ยุงกัดก็ช่วยได้เช่นกัน เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นกรดเเละมีวิตามินซี
รู้ได้อย่างไรว่าแพ้น้ำลายยุง
สาเหตุของการคันคือ น้ำลายของยุง โดยที่ ยุงกัด จะฉีดน้ำลายลงไปในบริเวณที่เจาะดูดเลือด เพื่อ
ทำให้เลือดเจือจางลง จะได้ดูดขึ้นไปได้ง่าย น้ำลายของยุงทำให้คนเราเกิดอาการแพ้ต่างๆ กัน บางคนแค่มีอาการคัน แต่บางคนแพ้มากเกาจนเป็นแผลลุกลาม ติดเชื้อได้ง่าย จริงๆ แล้วยุงไม่ได้กัดเราหรอกแต่ใช้ปากแหลมๆ ของมันแทงลงไปใต้ผิวหนังเพื่อดูดเลือดขึ้นมา 1-2 หยด โดยระหว่างการดูดนั้นยุงจะปล่อยของเหลวในปากออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว และเพื่อให้เลือดเจือจางจะได้ดูดขึ้นได้ง่าย ในน้ำลายของยุงมีโปรตีนบางอย่างที่ซึ่งจะติดค้างอยู่รอยที่มันเจาะ ทำให้ร่างกายของเราหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) ออกมาบริเวณผิวหนังตรงนั้น ฮีสตามีนจะไปกระตุ้นประสาท ทำให้สมองสั่งว่าคัน อาการคันจึงเกิดหลังจากที่ถูกยุงกัดซึ่งมักเรียกว่า แพ้น้ำลายยุงปฏิกิริยานี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคนที่มีต่อน้ำลายยุงโดยปฏิกิริยานี้ไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคน อาจพบเพียงคนเดียวในขณะที่คนอื่นถูกยุงกัดพร้อมๆ กันไม่ได้รู้สึกคันอะไรมากมาย น้ำลายยุงยังอาจเป็นตัวนำพาโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เชื้อไวรัสแดงกี ไวรัสเจอี เชื้อสปอร์โรชัว หรือหนอนพยาธิ ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคมาลาเรีย โรคฟิลาเรียหรือโรคเท้าช้าง เป็นต้น โปรตีนในน้ำลายยุงจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้บริเวณที่โดนกัดอาการบวมแดง เป็นผื่น บางครั้งก็เป็นตุ่มน้ำ แม้ว่าอาการบวมแดงจะหายไป แต่อาการคันจะยังอยู่เรื่อยๆ จนกว่าภูมิคุ้มกันของเราจะกัดโปรตีนนั้นให้สลายไปหมด บางคนอาจมีอาการคัดและมีผื่นอยู่ได้นานถึงสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือนเลยก็มี คนที่ไม่แพ้เมื่อโดนยุงกัดจะมีตุ่มนูนแดง คัน สักประมาณ 20-30 นาทีก็จะค่อยๆ ยุบและหายคัน ซึ่งอาการนี้ไม่ถือว่าเป็นอาการแพ้ เพียงแต่เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายมีต่อน้ำลายยุงเท่านั้น ส่วนคนที่แพ้จริงๆ จะเป็นตุ่มนูนแดงหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ ตุ่มแดงที่ว่าจะนูนและใหญ่กว่า บางครั้งใหญ่กว่า 5 ซม. เป็นตุ่มน้ำ มีอาการช้ำเป็นจ้ำๆ ตรงที่โดนกัด บางคนอาจมีลมพิษขึ้นลามทั้งตัว หากไม่แน่ใจว่าแพ้น้ำลายหรือไม่ อาจทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง (Skin Prick Test) โดยแพทย์ผู้ตรวจจะใช้สารที่สกัดจากน้ำลายยุงมาสะกิดที่ผิวหนังบริเวณท้องแขนหรือหลัง แล้วสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ซึ่งการตรวจวิธีนี้ไม่ได้เจ็บปวดอะไร หรือจะตรวจแบบวิธีเจาะเลือกเพื่อดูค่าภูมิคุ้มกันต่อยุง (Specific lge) ก็ได้ครับถ้าไม่กล้วเข็ม
ผื่่นแพ้ยุง รักษา หรือ ป้องกันอยางไร
ช่วงน้ำท่วมเช่นนี้ หลายคนคงมีปัญหารบกวนจากกองทัพยุงเป็นแน่ ยุงที่กัดส่วนใหญ่ในบ้านเราคือ ยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) เป็นยุงเพศเมียเพราะต้องการเลือดในการสร้างไข่ เมื่อยุงกัดจะปล่อยน้ำลายออกมาซึ่งในน้ำลายนี้เองมีสารโปรตีนที่เป็นสาเหตุของผื่นคันและการแพ้
ผื่นยุงกัดลักษณะเป็นอย่างไร
ผื่นยุงกัดมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ และอาการขึ้นกับปริมาณยุงที่กัดด้วย ส่วนใหญ่เมื่อโดนกัดซ้ำหลายๆครั้ง อาการมักจะน้อยลง โดยทั่วไปจะเห็นเป็นตุ่มนูน แดง คัน ขึ้นอยู่นานประมาณ 20 นาที และค่อยๆยุบไปได้เอง ตำแหน่งที่พบบ่อยคือบริเวณขา ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นการแพ้ แต่เป็นปฏิกริยาต่อน้ำลายยุงเท่านั้น ส่วนในคนที่แพ้ยุงจริงๆนั้นหลังถูกกัดจะพบตุ่มนูนแดงคงอยู่นานหลายวัน หรือพบตุ่มนูนแดงขนาดใหญ่ (บางครั้งใหญ่เกิน 5 เซนติเมตร) ตุ่มน้ำพอง จ้ำเลือด ในบริเวณที่โดนกัด ในบางรายมีผื่นลมพิษทั่วตัวหรือลมพิษชนิดลึกร่วมกับมีอาการหมดสติได้ ซึ่งในกลุ่มนี้มักมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจากการแกะเกาและมีรอยดำตามมาได้บ่อย
ใครคือบุคคลที่เสี่ยงต่อการแพ้ยุง
– เด็กเล็กซึ่งยังไม่เคยโดนยุงกัดมาก่อนเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อยุงน้อย จะสังเกตเห็นว่าเด็กมักมีผื่นยุงกัดมากกว่าผู้ใหญ่ หรือนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยสัมผัสกับยุงในสถานที่นั้นๆมาก่อน
– คนที่มีโรคเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันเช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็งเม็ดเลือดบางชนิด
– คนที่ใช้ชีวิตหรือทำงานนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่
วินิจฉัยได้อย่างไรว่าเราแพ้ยุง
อาศัยทั้งจากประวัติ ลักษณะตุ่มที่โดนกัดว่ารุนแรงกว่าคนทั่วไป นอกจากนั้นอาจทำการตรวจเพิ่มเติมเช่นทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังที่เรียกว่า skin prick test โดยใช้สารสกัดจากน้ำลายยุงมาสะกิดผิวหนังในบริเวณท้องแขนและดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ในรายที่มีประวัติแพ้รุนแรงมาก อาจใช้วิธีเจาะเลือดดูค่าภูมิคุ้มกันต่อยุงได้ (specific IgE)
การรักษา
ในรายเป็นตุ่มยุงกัดธรรมดา อาจใช้ยาทากลุ่ม calamine หรือ menthol เพื่อให้รู้สึกเย็นสบาย ลดอาการคัน หรือยาทากลุ่ม สเตียรอยด์ ส่วนในรายที่เป็นตุ่มขนาดใหญ่ อาจใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ โดยเลือกความเข้มข้นให้เหมาะสม เช่นในเด็กควรใช้ยาที่มีความแรงอ่อนเช่น ไฮโดรคอร์ติโซน (hydrocortisone) ร่วมกับรับประทานยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine, cetirizine บางครั้งถ้ามีอาการรุนแรงมากอาจจำเป็นต้องรับประทานยาสเตียรอยด์ร่วมด้วยซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
ยุงกัดจนแขนขาลาย รักษาอย่างไรดี
รอยดำจากยุงกัด เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยกังวลมาก เนื่องจากเป็นเรื่องของความสวยงาม ซึ่งการรักษา แพทย์อาจใช้ยาทาที่ช่วยลดการสร้างเม็ดสีและที่สำคัญต้องป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้มีรอยโรคจากยุงกัดเพิ่ม
การป้องกัน
นอกจากการใส่เสื้อผ้าปกปิด หลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงชุม รวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ใช้ยาจุดกันยุงแล้ว บางครั้งอาจจำเป็นต้องยาทากันยุง (insect repellants) บริเวณผิวหนังร่วมด้วย ปัจจุบันสารเหล่านี้เริ่มใช้กันแพร่หลาย มีหลายยี่ห้อในท้องตลาด ทั้งครีม โลชั่น สเปรย์ แป้งและแผ่นอาบน้ำยา ซึ่งสารเหล่านี้จะระเหยเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบทำให้ยุงเข้ามากัดเราน้อยลง สารที่นิยมใช้มีดังนี้
1. DEET (N,N-diethyl-3-methylbenzamide) สามารถทาที่ผิวหนังโดยตรงหรือใช้พ่นที่เสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ต่างๆได้ ระยะเวลาป้องกันยุงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสาร โดยถ้าความเข้มข้นน้อยกว่า 10% จะป้องกันยุงได้ประมาณ 1-3 ชั่วโมง ถ้าความเข้มข้น 10-30% ป้องกันยุงได้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรทาบริเวณใกล้ตาหรือผิวหนังที่เป็นแผล ในเด็กเล็กควรใช้สารนี้เมื่ออายุมากกว่า 2 เดือนเพื่อป้องกันผลข้างเคียงต่อระบบประสาทและเลือกใช้ความเข้มข้นที่น้อยกว่า 10%
2. ตะไคร้หอม สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย citronella oil และ geraniol ข้อดีคือเป็นสารสกัดจากพืชธรรมชาติ แต่ป้องกันยุงได้ในช่วงสั้นประมาณ 20-30 นาที
3. น้ำมันยูคาลิปตัส (lemon eucalyptus oil) เป็นสารสกัดจากธรรมชาติเช่นกัน ป้องกันยุงได้ในช่วงประมาณ 2-5 ชั่วโมง
4. Permethrin นิยมใช้ฉีดพ่นที่ข้าวของเครื่องใช้เช่นเสื้อผ้า รองเท้า มุ้ง สามารถติดทนแม้จะทำการซักไปแล้วหลายครั้ง
5. Picaridin เป็นสารตัวใหม่ที่นิยมใช้ในต่างประเทศ มีประสิทธิภาพดี ไม่มีกลิ่นและระคายเคืองต่อผิวหนังน้อยกว่า DEET
ผู้ป่วยที่แพ้ยุงนั้นพบได้ไม่บ่อยแต่มักทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิต รวมถึงผลข้างเคียงในด้านความสวยงาม นอกจากนั้น ยุงยังเป็นพาหะของโรคต่างๆอีกหลายโรค ดังนั้นทุกคนที่แพ้หรือไม่แพ้ยุงจึงควรหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้โดนยุงกัดเช่นกัน
ที่มา Momjunction
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
“พืชสมุนไพรไล่ยุง” ติดบ้านไว้ปลอดยุงกวนใจปลอดภัยลูกน้อย
หน้าฝน น้ำท่วม น้ำขัง ต้องระวัง! 3 โรคร้ายทำร้ายลูก
ใช้ดีจึงบอกต่อ White Papel จบปัญหา รอยดำจากยุงกัด แผลฟกช้ำ ลูกผิวแห้ง คืนผิวนุ่มชุ่มชื่นให้เบบี๋
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!