8 พฤติกรรมพ่อแม่ที่เลี้ยงลูก แบบ “เกินไป”
พ่อแม่แทบทุกคนต้องเจอกับปัญหาในการเลี้ยงลูกแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นการที่ลูกไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือทำเป็นไม่ได้ยินในสิ่งที่พ่อแม่กำลังว่ากล่าวตักเตือน มีนิสัยก้าวร้าว เอาแต่ใจต้องการในสิ่งที่ตัวเองอยากจะได้ในเวลานั้น ฯลฯ พฤติกรรมของลูกแบบนี้ อาจเริ่มต้นมาจาก พฤติกรรมพ่อแม่ที่เลี้ยงลูก “แบบเกินไป” มาตั้งแต่แรกหรือเปล่า อะไรที่มากเกินไป มักจะได้ผลที่ไม่ดีกลับมาได้เสมอ
#1 แสดงพฤติกรรมแย่เกินไปให้ลูกเห็น
ผลของการแสดงพฤติกรรม ที่ไม่ดีให้ลูกเห็น อาจจะทำให้เด็กเกิดการเลียนแบบ สิ่งที่ไม่ดีของพ่อแม่ไป ดังนั้น อย่าไปลืมไปว่าตอนนี้พวกคุณได้เป็นพ่อแม่คนแล้ว จึงควรที่จะมัดระวังคำพูด อารมณ์ที่แสดงออก และพยายามใช้ความอดทนต่อการเลี้ยงลูก เวลาที่ได้อยู่ต่อหน้าลูกกันนะคะ
#2มีความเข้มงวดมากเกินไป
การเลี้ยงลูกจำเป็นต้องมีกฏกติกาประจำบ้านก็จริง แต่อะไรที่มันเกินไป อาจจะได้ผลไม่ดีกลับมา หากพ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยความเข้มงวดมากเกินไป ก็จะทำให้ลูกกลายเป็นคนขี้กลัว ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือ อาจกลายเป็นเด็กต่อต้าน เมื่อถูกพ่อแม่บังคับจนเกินไป เมื่อไม่อยากให้ลูกมีปัญหา ลองปล่อยให้ลูกได้ตัดสินใจหรือได้ทำอะไรด้วยตัวเอง ยืดหยุ่นกับความเข้มงวดลงบ้างนะคะ
#3ปล่อยลูกมากเกินไปจะสายเกินแก้
การยอมตามใจปล่อยให้ลูกได้ทำอะไร ทั้ง ๆ ที่บ้างทีก็รู้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี แต่ก็ไม่เคยตักเตือนบอกกล่าวลูก โดยคิดว่าวันหนึ่งลูกอาจจะเรียนรู้และเข้าใจด้วยตัวเองได้ แต่เด็กก็คือเด็ก ที่ยังไม่รู้หรือแยกแยะเหตุผลที่ถูกผิด และยังต้องการพ่อแม่ที่จะมาคอยสั่งสอน อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยที่ไม่เคยสอนอะไรลูกเลยก่อนสายเกินแก้นะคะ
#4 พูดมากจนเกินไป
ถึงแม้พ่อแม่จะมีเหตุผลมาอธิบายร้อยแปดในสิ่งที่จะสอนลูก แต่ก็ควรเข้าใจว่าเด็ก ๆ ยังไม่มีสมาธิที่พอจะรับฟังอะไรยาว ๆ หรือสิ่งที่เข้าใจยากจนกว่าจะถึงวัยที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นเลี้ยงลูกควรพูดตามวัย เด็กเล็กก็ควรจะใช้คำพูดสั้น ๆ กระชับ ที่เข้าใจง่าย มาสอนลูกนะคะ
#5 ใช้วิธีลงโทษลูกหนักเกินไป
พ่อแม่ควรหาวิธีลงโทษลูก ให้เหมาะสมกับวัย และตามความผิดที่ลูกทำ เช่น ถ้าเจ้าตัวเล็กทำผิดในสิ่งที่ลูกไม่รู้ หรือ เผลอทำอะไรลงไปแบบที่พ่อแม่ไม่ทันเห็น ก็ไม่ควรที่จะลงโทษลูกทันที แต่ควรเปิดโอกาสให้ลูกอธิบาย หลังจากนั้น ก็ให้พิจารณาว่า ลูกผิดจริงหรือไม่ และว่ากล่าวตักเตือน หรืออธิบายถึง เหตุผลที่จะทำโทษลูกเมื่อลูกทำผิด มากกว่าการดุด่าว่ากล่าว ส่งเสียงดัง หรือลงไม้ลงมือในทันที
#6 ออกคำสั่งมากเกินไป
การใช้แต่คำสั่ง บอกให้ลูกทำนู่นทำนี่ ตลอดเวลา คล้ายลูกเป็นหุ่นยนต์ โดยไม่อธิบายถึงเหตุผลว่า ทำไมลูกถึงต้องทำ การให้ลูกได้ทำ แล้วลูกจะได้ผลลัพธ์อะไร การออกคำสั่งอย่างเดียว จะทำให้ลูกคิดไม่เป็น หรือไม่กล้าตัดสินใจ เพราะ ต้องรอคอยฟังคำสั่งจากพ่อแม่ หรือกลัวว่า ถ้าทำอะไรมากเกินกว่านั้น จะถูกดุ
#7 ใส่อารมณ์มากเกินไป
พ่อแม่อาจจะเครียด เรื่องงาน ทำงานบ้านเหนื่อย โมโหหิว ทะเลาะกัน ก็ควรเก็บอารมณ์ ที่เกิดขึ้น เมื่อเจอหน้าลูก เพราะเด็ก ๆ ไม่รู้เรื่องปัญหา ที่ยิ่งใหญ่ของพ่อแม่หรอก ดังนั้น เมื่ออยู่กับพวกเขา เราควรจะเก็บอารมณ์ หรือจัดการอารมณ์เหล่านั้น ออกไปเสีย และมีความสุขส่งเสียงหัวเราะ ไปพร้อมกับลูกดีกว่า
#8 มีระยะห่างกับลูกมากเกินไป
การไม่แบ่งเวลา ให้กับลูก หรือทำตัวเมินเฉย ไม่สนใจ หรือ ไม่ใส่ใจในคำพูดของลูก เมื่อเวลา เขาเข้ามาคุยกับพ่อแม่ นอกจากพฤติกรรมแบบนี้ ของพ่อแม่ จะส่งผลให้เกิดระยะห่าง และความสัมพันธ์ที่ไม่ดี ระหว่างพวกคุณกับลูกแล้ว ลูกอาจจะได้กลายเป็นเด็กที่เก็บกด ชอบอยู่คนเดียวมากเกินไป และกลัวที่จะเข้ากับ สังคมภายนอก ซึ่งไม่เป็นผลดี ต่อลูกในอนาคตเลย
อ้างอิงข้อมูลจาก : www..kapook.com
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุด ในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัว อย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
การเลี้ยงลูกแบบผิดๆ ที่คุณอาจทำร้ายลูก โดยไม่รู้ตัว..ดูคลิปแล้วจะรู้
14 ข้อที่จะบอกว่า คุณเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน” กันหรือเปล่า
เลี้ยงลูกไม่เครียด แม่มือใหม่ เลี้ยงลูกอย่างไร ให้ไม่ปวดหัว เป็นซึมเศร้า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!