X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคใหลตายในทารก ป้องกันได้อย่างไร? นอนท่าไหนที่ปลอดภัยสำหรับทารก

บทความ 5 นาที
โรคใหลตายในทารก ป้องกันได้อย่างไร? นอนท่าไหนที่ปลอดภัยสำหรับทารก

ลูกน้อยเมื่อเกิดมาแล้ว ก็เปรียนเสมือนของขวัญล้ำค่าสำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกคน เรามาทำความรู้จัก โรคไหลตายในทารก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยจากไปโดยไม่คาดคิดกัน

โรคใหลตายในทารก เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกแรกเกิดทุกคน ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่นอนหลับ วันนี้เรามาเรียนรู้กันดีกว่าโรคใหลตายนั้นมีความอันตรายอย่างไรต่อทารกบ้าง เราสามารถบ้างกันทารกไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้หรือไม่ รวมถึงการเรียนรู้ท่านอนที่ปลอดภัย และห่างไกลจากโรคใหลตายของทารกกันดีกว่าค่ะ

 

ใหลตาย คืออะไร? ภัยเงียบที่คร่าชีวิตทารก

โรคใหลตายในทารก ใหลตาย มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) คืออาการหลับไม่ตื่นในทารก สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่าทารกจะมีสุขภาพแข็งแรง ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นบ่อยคือ เที่ยงคืน ถึงสามโมงเช้าของวันใหม่ และมักเกิดขึ้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกเข้านอน แต่ลูกก็หลับไม่ตื่นอีกเลย โรคใหลตายในทารก เป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตเด็กไปมากกว่า 3,000 คนต่อปี โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ทันได้เตรียมใจ และไม่ปรากฏอาการใดมาก่อนที่จะเสียชีวิต โรคใหลตายในทารกจะเกิดกับทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ประมาณร้อยละ 90 โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา อัตราการเกิดโรคใหลตายในทารกจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า หรือมีทารกเสียชีวิตเพราะโรคร้ายนี้ประมาณ 10 คน ในทารกเกิดใหม่ 100 คน

 

โรคไหลตายในทารก 6

 

โรคใหลตายในทารก เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า โรคใหลตายในทารกนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่จากการศึกษาพบว่า โรคใหลตายในทารกเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • พัฒนาการที่ผิดปกติของทารก
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • ได้รับควันบุหรี่
  • ปัจจัยภายนอกร่างกายเช่น การให้ทารกนอนคว่ำ หรืออยู่ในสภาพอากาศร้อน
  • ขาดอากาศหายใจจากการกดทับ ขณะนอนเตียงเดียวกับพ่อแม่
  • อาจมีวัตถุนิ่ม ๆ หรือผ้าไปอุดทางเดินหายใจ เพราะทารกยังไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะได้ดี
  • ภาวะการติดเชื้อโรคทางพันธุกรรม หรือโรคหัวใจ
Advertisement

บทความที่น่าสนใจ : 4 เรื่องที่ห้ามทำกับทารกเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกเสียชีวิตได้

 

โรคใหลตายในทารก ป้องกันได้ ดังนี้

คุณพ่อคุณแม่ต่างก็ไม่อยากให้ลูกตนเองที่เพิ่งลืมตาดูโลกไม่กี่วันนั้นจากไปด้วยโรคต่าง ๆ หรือความผิดพลาดในการนอนหลับ ดังนั้นเรามาลองดูกันดีกว่าค่ะว่า โรคใหลตายในทารกนั้น เราสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง

 

1. ควรให้ลูกนอนหงาย

การที่ให้ลูกนอนหงายนั้นมีเหตุผลมาจากการนอนในท่านี้ จะมีความปลอดภัยมากกว่าการนอนคว่ำถึง 6 เท่า และปลอดภัยมากกว่าการนอนตะแคงถึง 2 เท่า อีกทั้งเป็นการช่วยให้หารกหายใจ นำอากาศเข้าปอดได้สะดวก และช่วยให้เย็นสบาย เมื่อทารกรู้สึกร้อน และป้องกันไม่ให้ผ้าห่ม หรือหมอนไปอุดตันทางเดินหายใจของลูก

 

โรคไหลตายในทารก 3

 

2. ควรแยกที่นอนระหว่างทารกกับคุณพ่อคุณแม่

การที่ทารกแรกเกิดนั้นนอนกับคุณพ่อคุณแม่ อาจเป็นเรื่องดีที่เมื่อทารกเกิดเหตุฉุกเฉินหรือร้องไห้ขึ้นมากลางดึก คุณก็จะได้ช่วย หรือปลอบพวกเขาทันท่วงที แต่ชุดเครื่องนอนของผู้ใหญ่และของทารกนั้นแตกต่างกันอย่างมาก เพราะวัสดุรองนอนของทารกต้องแข็งแรง ไม่อ่อนยวบ เพราะเมื่อวางทารกลงไป ก็อาจเป็นสาเหตุของการอุดทางเดินหายใจ ในระหว่างที่ลูกนอนได้ ดังนั้นทารกสามารถนอนร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ในห้องเดียวกันได้ แต่ไม่ควรนอนร่วมเตียงกัน

 

3. ไม่วางตุ๊กตา หรือของเล่นไว้บนที่นอนของลูก

การวางสิ่งของ หรือตุ๊กตามากมายไว้ที่หัวน้อยของทารกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แล้วยิ่งกับทารกที่เพิ่งแรกเกิดที่อาจไม่มีแรงที่จะปัดตุ๊กตา หรือสิ่งของนั้นออกก็อาจทำให้สิ่งของเหล่านั้นขัดขวางทางเดินหายใจจนทารกนั้นเกิดอาการหายใจติดขัด หรือหายใจไม่ออกได้ นอกจากนี้ควรใช้ผ้าห่มแบบที่สามารถหายใจผ่านได้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคใหลตายได้อีกด้วย

 

4. วัสดุกันขอบเตียง

ในเวลานอนทารกบางคนอาจมีการพลิกตัวไปมา ซึ่งทำให้จำเป็นจะต้องมีการกันของบเตียงขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามนั้นควรใช้ที่กันขอบเตียงเป็นผ้าทอที่สามารถหายใจผ่านได้สะดวก และติดไว้ไม่ให้หลุดลงมาปิดหน้าลูกน้อย ระหว่างขอบเตียง และไม่ควรมีรอยต่อ เพราะเด็กอาจพลิกตัวคว่ำหน้าลงไปในร่องนั้น จนขาดอากาศหายใจได้

 

วัสดุกันขอบเตียง ป้องกันโรคไหลตายในทารก

 

5. อยู่ให้ห่างจากควัน และกลิ่นบุหรี่

มีการศึกษาพบว่าควัน และกลิ่นบุหรี่นั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกหายใจผิดปกติ นอกจากนี้การที่ทารกแรกเกิดนั้นได้รับควัน หรือกลิ่นบุหรี่อาจส่งผลต่อปอดของพวกเขาที่อยู่ในช่วงกำลังพัฒนา และอาจส่งผลด้านปัญหาสุขภาพของพวกเขาได้ในอนาคต และห้องของทารกนั้นไม่ควรที่ร้อน หรือเย็นจนเกินไป โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับทารกคือ 25 – 26 องศาเซลเซียส

 

6. ให้ลูกกินนมแม่

โดยมีการศึกษาวิจัยมาแล้วพบว่า นมแม่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะใหลตายในทารกได้ นอกจากนั้นในน้ำนมแม่ยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและเป็นสายใยรักที่ส่งผ่านจากคุณแม่ไปสู่ลูกน้อยโดยตรงอีกด้วย

 

7. ใช้จุกหลอก

คุณพ่อคุณแม่อาจใช้จุกนมปลอมให้ทารกดูด เพื่อให้เด็กหลับสบายขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถทำให้ทารกหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาจะใช้การหลายใจจากจมูกเป็นหลัก แทนการหายใจเข้าทางปาก ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงที่ทารกจะขาดอากาศหายใจได้

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย

บทความที่น่าสนใจ : จุกนมหลอกเด็ก จุกหลอกทารก ชวนเหล่าคุณพ่อคุณแม่ช้อปปิ้ง

 

โรคไหลตายในทารก 2

 

ข้อเสียของการให้ลูกนอนหงาย มีอะไรบ้าง

ถึงแม้ว่าแพทย์ทั่วโลกเห็นพ้องต้องกันว่าการนอนหงายนั้น เป็นท่านอนที่ดีในการป้องกันโรคใหลตายในเด็ก หรือ SIDS – Sudden Infant Death Syndrome แต่ความจริงแล้วคำแนะนำนี้เกิดขึ้น หลังจากการสนับสนุนให้เด็กนอนคว่ำมาเป็นเวลาหลายปี เพราะฉะนั้นยังคงมีความกังขาเกี่ยวกับการที่ให้เด็กนอนหงายอยู่ โดยท่านอนหงายนั้นมีข้อเสียที่ยังเป็นข้อกังขาสำหรับแพทย์หลาย ๆ ดังต่อไปนี้

 

  • การสำลักของทารก

ยังมีพ่อแม่ที่กังวลเกี่ยวกับการสำลักของลูก เวลาที่จับลูกน้อยนอนหงาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่ชอบพ่นน้ำลาย อย่างไรก็ตาม คุณหมอได้กล่าวว่า เด็กมีสัญชาตญาณที่จะหันหัวกลับหากอาเจียนออกมา แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว ทารกจะมีสัญชาตญาณหันหน้าออกมาเวลาที่หน้าของพวกเขาจมอยู่ใต้ผ้าห่มหรือไม่

 

  • การเจริญเติบโตที่ผิดปกติ

การนอนหงายนั้น ทำให้หัวเด็กแบนได้ในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการเกิด แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นแค่ชั่วคราว และจะลดน้อยลงจนไม่มีเลยหากคุณคอยเปลี่ยนการหันข้างของศีรษะลูกน้อยเวลาที่เอาลูกเข้านอน แต่คุณต้องจำไว้ว่า คุณหันหัวลูกไปทางด้านไหนในแต่ละครั้ง คุณสามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ ด้วยการให้ลูกนอนคว่ำเวลาที่ลูกงีบหลับ โดยที่คุณเองก็สามารถมาตรวจดูลูกคุณได้บ่อย ๆ หรือคุณอาจจับให้ลูกนอนคว่ำในเวลาที่พวกเขาตื่นอยู่

 

  • การพัฒนาการเจริญเติบโต

การนอนหงายอาจขัดขวางการพัฒนากล้ามเนื้อคอ และการชันศีรษะขึ้น ถ้าเด็กนอนหงายบ่อย ๆ ทารกจะไม่ค่อยได้พัฒนากล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงเพื่อยกศีรษะขึ้น และเอียงไปมา แม้กุมารแพทย์มีความเห็นว่า การนอนหงายนั้นปลอดภัย แต่ก็มีผลกระทบทางด้านลบมากมายให้พิจารณา เด็กบางคนอาจจะนอนหลับได้ดี และราบรื่นกว่าในท่านอนหงาย ในขณะที่เด็กบางคนไม่เป็นอย่างนั้น ทางที่ดีคุณควรสังเกตว่าท่านอนไหนเหมาะที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย เพื่อจะได้นอนหลับด้วยท่านั้นได้อย่างสบายตัวและสบายใจ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะป้องกันได้ดีเพียงใด แต่สิ่งที่ทำก็เป็นเพียงการลดปัจจัยเสี่ยงให้น้อยลงเท่านั้น แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเพื่อป้องกันเลยนะครับ

โรคไหลตายในทารก 1

 

ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ดูน่ากลัว แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถป้องกันได้นะคะ อย่าเพิ่งกังวลไป ดังนั้นในช่วงทารกแรกเกิดหรือ 3 เดือนแรกหลังจากการคลอดจะต้องหมั่นดูแล และให้ความสำคัญสำหรับทารกเป็นพิเศษนะคะ เพราะพวกเขาเปราะบางมาก เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่นะคะ

 

บทความน่าสนใจ :

10 เปลเด็ก เปลนอนสำหรับทารก แบบไหนดี และปลอดภัยกับลูกน้อย

ลูกนอนกระตุก ทารกนอนหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร พ่อแม่ต้องกังวลไหม?

วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ทารกแรกเกิดกินน้อย นอนนาน ต้องปลุกไหม

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับโรคใหลตายในทารก ได้ที่นี่!

ใหลตาย ในทารกเกิดจากอะไรคะ แล้วมีวิธีป้องกันรึเปล่าคะ

 

ที่มา : momjunction, pharmacy.mahidol, fhs.gov

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • โรคใหลตายในทารก ป้องกันได้อย่างไร? นอนท่าไหนที่ปลอดภัยสำหรับทารก
แชร์ :
  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว