เคล็ดลับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ เสริมพัฒนาการเด็ก 2 เดือน มาดูกันเถอะ!
พัฒนาการทารก 2 เดือน เด็กๆ วัยนี้จะมีพัฒนาการอะไรเพิ่มบ้างน่ะ ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่คงทำความรู้จักกับลูกน้อยมากขึ้นอีกหน่อยแล้ว เริ่มรู้ใจว่าลูกชอบอะไรไม่ชอบอะไร และเริ่มรู้ว่าควรสื่อสารกับลูกแบบไหน คราวนี้มาดูกันดีกว่าว่าทารก 2 เดือน ต้องมีพัฒนาการยังไง และควรทำอย่างไรบ้าง เคล็ดลับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ เสริมพัฒนาการเด็ก 2 เดือน มาดูกันเถอะ!
เคล็ดลับคุณ พ่อและ คุณแม่มือใหม่ เสริม พัฒนา การเด็ก 2 เดือน มาดูกันเถอะ!
พัฒนาการด้านร่างกายของทารก 2 เดือน
-
กล้ามเนื้อคอและศีรษะ
เด็กในวัย 2 เดือนจะเริ่มควบคุมร่างกายได้มากขขึ้น สามารถที่จะเริ่มเงยหน้ามองดูพ่อแม่ได้เล็กน้อย เวลาที่คุณนั่งหรือเดินห่างออกไปที่อื่น รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่ทำได้ดีมากขึ้น
-
กลิ้งไปกลิ้งมาก
พอลูกน้อยเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น คุณต้องระมัดระวังมากขึ้นเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อย หากคุณเปลี่ยนผ้าอ้อมบนโตะ โซฟา หรือบริเวณที่ที่อยู่สูงกว่าพื้น เพราะเจ้าตัวเล็กอาจจะดิ้น กลิ้งไปกลิ้งมาอย่างสนุกสนาน จนเกือบตกได้
-
ดูดนิ้ว
เคล็ดลับคุณ พ่อและ คุณแม่มือใหม่ เสริม พัฒนา การเด็ก 2 เดือน มาดู กันเถอะ!
เด็กวัยนี้บางคนจะเริ่มต้นอมกำปั้นน้อยๆ ของตัวเอง หรือเริ่มดูดนิ้วมือตัวเอง คุณแม่ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะเป็นวิธีปลอบตัวเองทารก และยังทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายด้วยค่ะ
-
น้ำลายไหลยืด
เมื่อต่อมน้ำลายลูกน้อยมากขึ้นการหลั่งน้ำลายก็จะมากขึ้นตาม บางครั้งคุณแม่คุณพ่อคงจะเห็นว่าลูกเล่นอยู่ดีๆ ก็น้ำลายยืด บางทีก็เล่นน้ำลายตัวเองซะงั้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็ก
ทักษะที่ลูกควรทำได้: เมื่อนอนควํ่า ลูกน้อยสามารถยกศีรษะตั้งขึ้นได้ 45 องศา นาน 3 วินาที
อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ: กรุ๋งกริ๋ง
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย:
- จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนควํ่า ข้อศอกงอ
- หยิบของเล่นมาเขย่าตรงหน้าลูกน้อย เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนศีรษะยกขึ้น นับ 1, 2
- ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม
- ทําซํ้าอีกครั้งโดยเขย่าของเล่นตรงหน้าลูกน้อย เมื่อลูกมองที่ของเล่นแล้วก็ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นขึ้นด้านบนห่างจากจุดเดิมเพื่อให้ลูกเงยหน้าจนยกศีรษะขึ้น นับ 1, 2, 3
- ค่อยๆ เคลื่อนของเล่นลงมาอยู่ตรงหน้าลูกเหมือนเดิม
พัฒนาการทางด้านประสาทสัมผัสของทารก 2 เดือน
- สายตา
ตอนนี้ลูกน้อยของคุณจะเริ่มมาองเห็นได้ไกลขึ้นอีกหนน่อย โดยสามารถมองเห็นหน้าคนที่เลี้ยงดูเขาได้ในระยะ 60 ซม. เริ่มแยกเยอะสีที่ต่างกันได้บ้างแล้วน่ะ โดยเฉพาะสิ่งรอบตัวที่มีสีสันสดใส แต่ต้องเป็นสีที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น สีแดง ขาว ดำ และสิ่งของที่มีรูปร่างหนาๆ ได้บ้างแล้วนะ
- การได้ยิน
เคล็ดลับคุณ พ่อและ คุณแม่มือใหม่ เสริม พัฒนา การเด็ก 2 เดือน มาดู กัน เถอะ!
ด้านการได้ยินลูกน้อยก็มีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น คือ เริ่มแยกความแตกต่างในเสียงที่ได้ยินบ่อย เช่น เสียงพ่อ กับเสียงแม่ออกแล้ว ทำให้ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงที่เค้าคุ้นเคย เด็กก็จะมีปฎิกิริยาตอบกลับโดยจะหันศีรษะไปตามต้นทางของเสียงที่ได้ยินทันที ซึ่งเสียงของคุณนี้จะทำให้ลูกรู้สึกถึงความสบายใจและอุ่นใจได้ หากคุณอยากให้ทารกสามาถจดจำเสียงได้ แนะนำให้พูดคุย ร้องเพลง หรือเล่านิทานกับลูกบ่อยๆ นะคะ
ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกสามารถมองตามสิ่งของจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
อุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการ: ลูกบอลผ้าสักหลาดสีแดง
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย:
- จัดให้ลูกอยู่ในท่านอนหงาย
- ถือของเล่นสีสดใสไม่มีเสียงห่างจากหน้าลูก 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด) และอยู่ในตำแหน่งเลยจุดกึ่งกลางของใบหน้าลูกไปทางซ้ายเล็กน้อย
- กระตุ้นให้ลูกสนใจโดยแกว่งของเล่นให้ลูกจ้องมอง แล้วค่อยๆ เคลื่อนของเล่นนั้นให้ผ่านจุดกึ่งกลางใบหน้าลูกไปทางด้านขวาและสลับมาทางด้านซ้าย
หมายเหตุ ถ้าลูกไม่มองตาม ให้ช่วยเหลือโดยการประคองหน้าลูกน้อยเพื่อให้หันมามอง และอาจใช้ใบหน้าแม่กระตุ้นโดยการแสดงสีหน้า ยิ้ม ทำปากพูดคุยแต่ไม่ออกเสียง ให้ลูกมองตาม
พัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจของทารก 2 เดือน
- เริ่มจดจำใบหน้าได้
เคยสังเกตุบ้างไหมว่าลูกน้อยอายุ 2 เดือน จะเริ่มจดจ่อใบหน้าคนที่คุ้นเคยได้ไกลขึ้น เมื่อก่อนต้องเอาหน้าเข้าใกล้ๆ ลูกถึงจะจ้อง แต่คราวนี้แค่เดินเข้าไปใกล้หน่อย หนูน้อยก็เริ่มจ้องหน้าแล้ว หากอยากเล่นกับลูกแนะนำให้เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกค่ะ เด็กๆ จะชอบมาก
2. ยิ้มแฉ่ง
เตรียมหัวใจของคุณให้พร้อม เพราะลูกน้อยพร้อมจะจู่โจมคุณด้วยรอยยิ้มแรกแล้วนะ ถ้าแม่ๆ อยากให้ลูกน้อยยิ้มเ่ง ยิ้มเรื่อยๆ แนะนำให้ทำหน้าตลกๆ แปลกๆ ดูบ้างสิ เดี๋ยวลูกน้อยก็จะเผยรอยยิ้มที่สดใสออกมาเอง
3. ร้องไห้เมื่อเบื่อ
เคล็ดลับคุณ พ่อและ คุณแม่มือใหม่ เสริม พัฒนา การ เด็ก 2 เดือน มา ดู กัน เถอะ!
ในวัย 1 เดือนลูกจะร้องไห้เพราะง่วง หิว ร้อน อับชื้น แต่พอ 2 เดือน ลูกจะเริ่มร้องด้วยสาเหตุอื่นมากขึ้น เช่น ร้องไห้ เพื่อบอกว่าเล่นจนเบื่อแล้วนะ ทำกิจกรรมนี้เบื่อแล้ว หรือรู้สึกแย่ ไม่พอใจ หากลูกเริ่มแสดงพฤติกรรมแบบนี้ แม่ๆ ลองหาวิธีเล่นกับลูกดู ลูกน้อยจะได้มีอะไรเล่นสนุกแก้เบื่อได้
ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกน้อยสามารถมองหน้าคุณแม่ได้นาน 5 วินาที
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย:
- จัดลูกในท่านอนหงาย หรืออุ้มลูกให้หน้าแม่ห่างจากลูกประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
- สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจเช่น ทําตาโต ขยับริมฝีปาก ยิ้ม หัวเราะ
หมายเหตุ สามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก ขณะให้นมลูก ขณะอาบนํ้า
ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกทําเสียงในลำคอ (เสียง “อู” หรือ “อือ”) อย่างชัดเจน
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย:
- จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหาลูกในระยะห่างประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
- คุณแม่สบตาและพูดคุยให้ลูกสนใจ แล้วทําเสียง อู หรือ อือ ในลำคอให้ลูกได้ยิน หยุดฟังเพื่อรอจังหวะ ให้ลูกส่งเสียงตาม
- เมื่อลูกออกเสียง “อู” ได้ ให้ผู้ปกครองเปลี่ยนไปฝึกเสียง “อือ” และรอให้ลูกออกเสียงตาม
พัฒนาการทางด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมของทารก 2 เดือน
เคล็ดลับ คุณ พ่อและ คุณแม่มือใหม่ เสริม พัฒนา การ เด็ก 2 เดือน มา ดู กัน เถอะ!
หนูน้อยวัยนี้จะเริ่มมีเสียงในลำคอ สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทำคือต้องสื่อสาร พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ถึงแม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถพูดด้วยได้ก็ตาม เพียงแต่เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เริ่มต้นพูดคำแรกนั่นเอง หากพ่อแม่ไม่รู้จะพูดคุยกับลูกแบบไหนดี ลองทำตามคำแนะนำนี่ดูนะคะ
- พูดกับกับลูกช้าๆ ให้ชัดเจน เพราะลูกน้อยจะคอยสังเกตรูปปากของคุณขณะที่พูดออกมาค่ะ
- พยายามพูดเลียนแบบลูกน้อย ลูกพูดอะไร พ่อแม่ก็พูดตาม
- ตอบโต้ลูกน้อยเวลาที่เค้าพูดถึงแม้ว่าคุณจะไม่เข้าใจก็ตาม
- สื่อสารกับลูกด้วยท่าทางอื่นๆ เช่น การโบกมือ ปรบมือ เป็นต้น
- เลียนแบบการแสดงสีหน้า ท่าทาง ไม่ว่าลูกจะยิ้มหรือหัวเราะ เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารระหว่างกัน
ทักษะที่ลูกควรทำได้: ลูกน้อยสามารถยิ้มหรือส่งเสียงตอบได้ เมื่อคุณแม่แตะต้องตัวและพูดคุยด้วย
วิธีส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อย:
- จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย คุณแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหาลูก
- สบตาลูกและสัมผัสเบาๆ พร้อมกับพูดคุยกับลูก เป็นคาพูดสั้นๆ ซํ้าๆ ช้าๆ เช่น “ว่าไงจ๊ะ.. (ชื่อลูก)..คนเก่ง” “ยิ้มซิ” “ลูกดี” “.. (ชื่อลูก)..ลูกรัก” “แม่รักลูกนะ”
- หยุดฟังเพื่อรอจังหวะให้ลูกยิ้มหรือส่งเสียงตอบ
หมายเหตุ สามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก โดยให้หน้าลูกอยู่ระดับเดียวกับหน้าแม่ขณะอาบนํ้า หรือขณะนวดสัมผัส
เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ
- ไม่ตอบสนองต่อเสียงดัง เช่น เสียงหมาเห่า เสียงเปิด-ปิดประตูดัง เสียงไซเรนรถพยาบาล เป็นต้น
- ไม่ยิ้มให้กับพ่อแม่ หรือคนที่รู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
- ไม่มีการขยับศีรษะหรือสายตาตามสิ่งที่สนใจ
- ไม่เอามือจับปาก
- ไม่มีการผงกศีรษะขึ้นเล็กน้อย
หากพ่อแม่สังเกตดูแล้วว่า ลูกน้อยวัย 2 เดือนมีอาการไม่ตอบสนองตามที่ระบุไว้ แสดงว่าลูกน้อยอาจมีพัฒนาการที่ผิดปกติ หลังจากลองทำตามวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยแล้ว แนะนำให้ลองปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาวิธีกระตุ้นพัฒนาการเพิ่มเติมค่ะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ฮวงจุ้ยห้องนอน ภรรยาต้องจัดเสริมเสน่ห์ ดึงดูดความรักจากสามีให้อยู่ติดบ้าน
อาหารเป็นพิษ ทั้งครอบครัว หลังกินบะหมี่มรณะ พบแช่ค้างทิ้งในตู้แช่มาเกือบปี
พาลูกขึ้นเครื่องบิน แบบหมดห่วง ด้วยการวางแผนเที่ยวกับลูกน้อย เพื่อการเดินทางอย่างสบายใจ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!