X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

7 ความเสี่ยง “มะเร็งรังไข่” โรคร้ายที่พบมากในหญิงไทย

บทความ 3 นาที
7 ความเสี่ยง “มะเร็งรังไข่” โรคร้ายที่พบมากในหญิงไทย

“มะเร็งรังไข่” โรคร้ายที่กลายเป็นภัยเงียบสำหรับผู้หญิงทุกคน เพราะในช่วงระยะแรก ๆ จะไม่มีอาการเฉพาะของโรค แต่หากผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับโรคกระเพาะอาหารทั่วไป เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ หรือมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย อาจมีอาการท้องผูกจากก้อนมะเร็งกดเบียดทับกับลำไส้เล็กกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่และทำให้มาพบแพทย์ในระยะลุกลามแล้ว

โรคมะเร็งรังไข่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทั่วโลกและเป็นโรคร้ายที่พบมากในอันดับต้น ๆ ของหญิงไทย ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่ความเสี่ยงที่หญิงไทยมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งรังไข่ที่คือ

1.มักพบโรคในผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 50 – 55 ปีขึ้นไปหรือมากกว่า

2.ผู้หญิงที่มีแม่ พี่สาว น้องสาว หรือในญาติสายตรงที่เป็นเพศหญิงที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในรังไข่สูงขึ้น

3.สำหรับผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งรังไข่ข้างหนึ่งมาแล้ว หรือเคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสี่ยงในการพัฒนาเกิดเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้อีก

4.สำหรับหญิงที่ไม่มีลูกหรือมีลูกน้อย อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าคนที่มีลูกเยอะ แต่สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่น้อยลง

5.ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน ที่ดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่า อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น

6.อาจเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้จากการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ ที่ช่วยในการกระตุ้นให้เกิดการตั้งครรภ์ เช่น การใช้ยาในภาวะมีบุตรยาก

7.ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาเร็วและผู้หญิงที่หมดประจำเดือนช้า คือช้ากว่าอายุประมาณ 55 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคมะเร็งรังไข่

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ พบว่าผู้ป่วยมักเจออาการผิดปกติช้าและมาพบแพทย์ในระยะลุกลาม ดังนั้นการผ่าตัดก้อนเนื้อมะเร็งให้หมดจึงมักเป็นไปได้ยาก แต่หากถ้าพบเจออาการผิดปกติเร็วและรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยก็สามารถทำการผ่าตัด และรักษาต่อเนื่องด้วยยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีรักษา (คีโม) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุยลพินิจของแพทย์

Credit : haamor.com

อ่านข่าวพิมพ์-พิมพ์มาดา ตรวจเจอมะเร็งรังไข่ระยะแรก ต้องทำคีโม 6 ครั้ง เผยถึงกับช็อกแต่ใช้สติ >>

พิมพ์มาดา

Advertisement

พิมพ์-พิมพ์มาดา อดีตนักร้องวงซาซ่า เปิดเผยอาการ “มะเร็งรังไข้” หลังตรวจพบก้อนเนื้อร้ายในรังไข่เมื่อช่วงเดือน ต.ค.2558 ซึ่งพอรู้ว่าเป็นถึงกับช็อกและตกใจ แต่ใจสู้และยอมรับการรักษาด้วยวิธีการทำคีโมบำบัด 6 ครั้ง เหลือเพียงครั้งเดียวก็จะเสร็จสิ้นการรักษา และแพทย์เผยมีโอกาสหายขาด 90% ซึ่งตอนนี้ก็รอดูอาการ พร้อมมีกำลังใจดี ๆ จากคนรอบข้าง

พิมพ์ได้เปิดเผยว่า ได้ไปตรวจร่างกายหลังรู้สึกมีความผิดปกติ ท้องบวม จึงพบว่ามีก้อนเนื้องอกในรังไข่ และหมอก็ผ่าตัดออกมาพบว่ามีก้อนเนิ้อใหญ่มาก จึงนำไปตรวจอย่างละเอียด และวินิจฉัยว่าอาจพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง จึงให้คำแนะนำว่าควรต้องทำคีโมเพื่อรักษา “สุดท้ายก็ต้องยอมรับและใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งอย่างเข้าใจว่ามันต้องหาย” พิมพ์กล่าว

ซึ่งตอนนี้อาการของพิมพ์ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะพอพบว่ามีโรคแบบนี้อยู่ในร่างกาย เจอเร็วเลยรักษาได้ยังไม่ทันที่จะเป็นมะเร็งและยังไม่ได้กัดกินทำลายร่างกาย สิ่งที่ต้องเจอก็คือการต่อสู้กับการทำคีโมและการแพ้ยา สิ่งที่โชคร้ายในความโชคดีคือ การที่ได้หันมาดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองมากขึ้น ใช้ชีวิตอย่างมีสติและปกติ ส่วนเรื่องการมีบุตรในอนาคตหมอกบอกว่าสามารถมีลูกได้เพราะตัดรังไข่แค่ข้างเดียว

Credit : www.thairath.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อันตราย!!!ทาแป้งฝุ่นให้น้องหนู (จิ๊มิ)เสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่
ระวัง! 9 ของใช้ในบ้าน ตัวการก่อมะเร็ง

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • 7 ความเสี่ยง “มะเร็งรังไข่” โรคร้ายที่พบมากในหญิงไทย
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว