5 สัญญาณอาการคนท้อง ที่ต้องระวัง ควรส่งถึงมือหมอโดยด่วน

หากคุณมีอาการอย่างใดหนึ่งใน 5 อาการต่อไปนี้ อย่าลังเลใจนะครับ
5 สัญญาณอาการคนท้อง ที่ต้องระวัง ควรส่งถึงมือหมอโดยด่วน
อาการคนท้องหากมีสัญญาณอันตรายที่ต้องระวัง หากคุณมีอาการอย่างใดหนึ่งใน 5 สัญญาณอาการคนท้อง ที่ต้องระวัง ควรส่งถึงมือหมอโดยด่วน
1. ลูกดิ้นน้อยลง

คน ท้องทํา ไมต้องนอนตะแคงซ้าย นอน ตะ แคงซ้าย ในคนท้อง
โดยปกติแล้ว คนท้องควรสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์อยู่ตลอด เด็กบางคนก็ดิ้นมากในเวลากลางคืน ในขณะที่เด็กบางคนก็จะเริ่มขยับตัวมากในช่วงเช้า ถ้าลูกน้อยของคุณแม่ดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย คุณแม่ท้องควรไปโรงพยาบาลทันทีนะครับ เพราะเคยมีบางกรณี ที่เด็กเสียชีวิตก่อนคลอดเพียงไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งวิธีเดียวที่จะรู้ได้ก็คือการสังเกตการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ หรือการนับลูกดิ้นครับ
ลูกดิ้น เป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกในท้องยังมีชีวิตอยู่ และบอกได้ว่าลูกในท้องสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ ซึ่งบางครั้งลูกก็จะดิ้นเมื่อพ่อแม่พูดคุยกับลูกในท้องด้วยค่ะ ปกติคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นตอนอายุครรภ์ 18 -20 สัปดาห์ บางคนอาจเร็วกว่านั้น และจะรู้สึกถึงลูกดิ้นมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์ได้ 28-34 สัปดาห์ค่ะ จากนั้นลูกก็จะ ดิ้นน้อยลง ช่วงใกล้คลอด ซึ่งเป็นปกติ
สาเหตุที่ลูกดิ้นน้อยลง
- มาจากภาวะเครียด เช่น ขาดออกซิเจนการไหลเวียนของเลือดที่รกลดลง ทารกจะเคลื่อนไหวน้อยลงก่อนหรือหยุดไป เชื่อว่าเกิดจากการกดระบบประสาท หรืออาจเป็นเพราะร่างกายต้องการลดพลังงานและออกซิเจน เพื่อสงวนไว้ให้อวัยวะที่สำคัญ ๆ เช่น สมองและหัวใจ เป็นต้น แต่ถ้ามีอายุครรภ์ประมาณ 7-8 เดือน หรือช่วงใกล้คลอดลูกดิ้นน้อยลงก็ไม่ต้องเครียดนะคะ เพราะการดิ้นของลูกแสดงว่าลูกน้อยยังคงมีอาการดีอยู่
- เกิดจากโพรงมดลูกคับแคบจนกระทั่งลูกแทบจะเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือว่าเกิดความผิดปกติที่ทำให้อันตรายกับลูกจนลูกไม่มีแรงจะดิ้น ซึ่งความปกตินั้นอาจทำให้ลูกเราเสียชีวิตลงได้ค่ะ คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่า ลูกดิ้นเบา และน้อยลงกว่าปกติในหนึ่งวันเพียงไม่กี่ครั้งหรือไม่ ถ้าใช่ก็ควรไปพบแพทย์ทันที
- เกิดจากรกเสื่อมสภาพไปตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาหารและออกซิเจนที่ส่งผ่านรกไปยังลูกในท้องน้อยลงไปด้วย จนทำให้ลูกดิ้นน้อยลงค่ะ แบบนี้อันตรายแน่ คุณแม่ต้องไปพบหมอในทันที
- ภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังและอยู่ในภาวะอันตราย หากคุณแม่พบว่าทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นเป็นเวลา 12-48 ชั่วโมง ให้รีบพบคุณหมอเพราะลูกอาจจะเสียชีวิตได้
- พื้นที่ในท้องเมื่อเทียบกับตัวลูกก็จะแคบลง ลูกเลยดิ้นได้ไม่เต็มที่ค่ะ
2. มีเลือดออกทางช่องคลอด
หากแม่ท้องมีอาการตกเลือดระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 คุณแม่ท้องจำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้เจ็บปวดรุนแรงและมีเลือดออกมาก ไม่ว่าจะมีเลือดออกทางช่องคลอดมากหรือน้อย ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ไว้ก่อนจะดีที่สุดนะครับ
สามารถแบ่งสาเหตุอย่างง่ายๆ ตามตำแหน่งที่มีเลือดออกได้เป็น 2 ประเภท อาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่มีสาเหตุจากภายในโพรงมดลูก เช่น การแท้งบุตร เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ภาวะการทำงานผิดปกติของฮอร์โมน หรือมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น อาการเลือดออกผิดปติจากช่องคลอดจากการตกเลือดที่อวัยวะสืบพันธ์ตองล่าง โดยตำแหน่งที่เป็นสาเหตุของเลือดที่ออกอยู่บริเวณ ปากมดลูก หรือ ช่องคลอด เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้ออักเสบของปากมดลูก หรือ มีแผลฉีกขาดในช่องคลอด เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักมีปัญหาจากการตกเลือดที่มีสาเหตุมาจากภายในโพรงมดลูกมากกว่านอกโพรงมดลูก และมีสาเหตุจากโรคทางกายอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการมีเลือดออกผิดปกติได้ เช่น โรคเลือด โรคตับ โรคไต โรคต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น
3. น้ำเดิน
ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด (Preterm PROM) สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เคยมีน้ำเดินก่อนกำหนดในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน ถุงน้ำคร่ำอักเสบติดเชื้อ ปากมดลูกสั้น มีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ มีน้ำหนักตัวน้อยหรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน สูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดในระหว่างที่ตั้งครรภ์ เป็นต้น
โดยปกติแล้วเมื่อคุณแม่มีน้ำเดินในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนกำหนดคลอด หรือตั้งแต่หลังสัปดาห์ที่ 34 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป แพทย์มักให้รอดูอาการที่โรงพยาบาลว่าคุณแม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้หรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะคลอดบุตรหลังมีน้ำเดินประมาณ 12 ชั่วโมง แต่หากไม่สามารถคลอดเองได้ แพทย์มักเร่งให้เกิดการคลอดบุตรเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น แต่หากคุณแม่มีน้ำเดินในช่วงสัปดาห์ที่ 24-34 ของการตั้งครรภ์ แพทย์จะยื้อเวลาเพื่อให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์มากที่สุด และคุณแม่อาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมถึงยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของปอดทารกในครรภ์
ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีน้ำเดินก่อนกำหนดอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์ได้ ดังนี้
- เกิดการติดเชื้อในร่างกายของคุณแม่หรือทารกในครรภ์
- เผชิญภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
- มีความผิดปกติของสายสะดือ
- ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหน
4. เจ็บท้องก่อนกำหนดคลอด

อีสุกอีใสใกล้คลอด
อาการเจ็บท้องก่อนกำหนดคลอด หรือที่เรียกกันว่า เจ็บท้องหลอก อาจสังเกตได้ยากหน่อย เพราะอาการ “เจ็บท้องหลอก” อาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ อาการปวดท้องต่อเนื่องก่อนกำหนดคลอด อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน
เวลาท้อง การมีเลือดออกไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะงั้นถ้าคุณแม่มีเลือดออกในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ไม่ว่าจะน้อยหรือเยอะ ให้รีบไปหาคุณหมอด่วนๆ เลย ส่วนคุณแม่บางคนอาจจะมีอาการเจ็บท้องถี่ร่วมด้วย ความรู้สึกมันจะเหมือนปวดอยากเข้าห้องน้ำแต่ถ่ายไม่ออก อาการนี้มันจะเกิดจากการที่มดลูกบีบตัว เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดได้นะ
5. รู้สึกผิดปกติ
บางครั้งคุณแม่ท้องก็อาจต้องเชื่อสัญชาตญาณตัวเอง คุณควรใส่ใจเป็นพิเศษหากคุณรู้สึกถึงความผิดปกติบางอย่าง ไม่ว่าจะก่อนคลอด หรือช่วงใกล้ที่จะคลอดแล้วก็ตาม
คุณแม่หลายๆ คนอาจจะมีอาการมือบวม เท้าบวม ถ้าไม่ได้บวมเยอะมากจนน่าตกใจก็ไม่ได้ผิดปกติอะไรนะ เพราะหลายๆ คนก็เป็นกัน แต่คุณแม่บางคนมีอาการบวมทั้งตัว น้ำหนักขึ้นเร็ว จุกตรงลิ้นปี่ ความดันสูงมากจนอาจจะแตะ 200 เลยก็มี อันนี้คืออาการของคุณแม่ที่ครรภ์เป็นพิษต้องพบคุณหมอโดยเร็ว เพราะว่านอกจากจะอันตรายต่อลูกในท้องแล้วยังอันตรายต่อคุณแม่ด้วย ความดันที่ขึ้นสูงปรี๊ดแบบนี้อาจมีโอกาสทำ
ให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ด้วยนะ ส่วนใหญ่คุณแม่ที่มีอาการแบบนี้จะต้องอยู่ในการดูแลของคุณหมอ หากมีอาการไม่ดีขึ้นอาจจะต้องโดนผ่าคลอดฉุกเฉินเพื่อรักษาชีวิตของคุณแม่และลูกน้อยในท้องไว้ค่พะ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ไม่เป็นแม่ไม่รู้หรอกว่า ร่างกายคนท้อง เปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้
ท้องลด รู้สึกอย่างไร คนท้องท้องลด แสดงว่าใกล้คลอดจริงไหม
ท้องอ่อนๆ ต้องอัลตร้าซาวด์ด้วยเหรอ