X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 เหตุผลที่ชี้ว่าการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่อาจเป็นปัญหาขั้นวิกฤต

บทความ 3 นาที
5 เหตุผลที่ชี้ว่าการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่อาจเป็นปัญหาขั้นวิกฤต

ประสบการณ์ตรงของ Emma Jenner ผู้เขียนจาก Keep Calm and Parent On ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทำงานกับพ่อแม่และเด็กหลายครอบครัวเป็นระยะเวลามากกว่า 2 ทศวรรษใน 2 ทวีปซึ่งมากด้วยประสบการณ์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวปัญหาของการเลี้ยงลูกในยุคสมัยปัจจุบัน ที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ให้พวกเราได้อ่านกันค่ะ

ผู้เขียนกล่าวไว้ว่า 5 ปัญหาหลัก ๆ ต่อไปนี้คือสิ่งที่เธอเห็นและคิดว่าไม่ใช่ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกต่อไปแล้ว ซึ่งมีดังต่อไปนี้

ลูกเอาแต่ใจ เป็นเด็กสปอยล์

1. ความกลัวที่มีต่อลูก

ยกตัวอย่างเช่น “ปัญหาจากแก้วหัดดื่ม” เป็นหนึ่งในปัญหาที่เห็นได้ชัด เด็ก ๆ หลาย ๆ คนหัดดื่มนมในตอนเช้าด้วยแก้วหัดดื่ม โดยส่วนใหญ่เด็กจะเป็นผู้เลือกแก้วหัดดื่มถึงแม้ว่าแม่จะเทนมใส่ในอีกแก้วให้แล้วก็ตาม เช่น “หนูอยากได้แก้วสีชมพู ไม่เอาสีฟ้า!” ผู้เขียนได้ลองสังเกตพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่หลายท่านหลังจากที่ลูกร้องขอ ก็พบว่าส่วนใหญ่และบ่อยครั้งที่แม่จะรีบเปลี่ยนแก้วให้เป็นแก้วที่ลูกต้องการโดยทันที ก่อนที่ลูกจะเกิดอาการฉุนเฉียวและไม่พอใจ นี่แหละปัญหาค่ะ!

หากมาคิดดูดี ๆ อีกครั้ง “อะไรคือสิ่งที่คุณแม่ต้องกลัว?” “ใครคือผู้ที่ออกคำสั่งที่แท้จริงในสถานการณ์เช่นนั้น?” คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกมีอาการฉุนเฉียวบ้าง และหากรับไม่ได้ที่ลูกเป็นเช่นนั้นก็ใช้วิธีเดินจากห้องนั้นไปเพื่อให้ลูกได้สงบนิ่งขึ้นแทน แต่อย่าเอาใจลูกโดยการให้ในสิ่งที่ลูกขอทุก ๆ ครั้ง เพียงแค่เพราะลูกอยากจะได้สิ่งนั้น และใช้อารมณ์มาเป็นเครื่องมือขู่

2. การลดมาตรฐาน

เวลาที่ลูกของเราประพฤติตัวไม่ดี ไม่น่ารัก ดื้อหรือไม่เชื่อฟังในที่สาธารณะหรือแม้แต่ในบ้านเอง หลาย ๆ ครั้งพ่อแม่จะพูดกับตัวเองว่า “ที่ลูกเป็นแบบนี้ ก็เพราะลูกยังเด็ก” จริง ๆ แล้วนั่นคือการลดมาตรฐานค่ะ เด็กสามารถเรียนรู้และปฏิบัติตามในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการให้เขาเป็นได้มากกว่าที่พ่อแม่คาดหวังไว้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมารยาท การเชื่อฟัง เคารพผู้ใหญ่ การทำงานบ้าน ความมีน้ำใจ หรือแม้แต่การควบคุมตนเอง หากคุณคิดว่าลูกไม่สามารถนั่งดี ๆ ได้ในร้านอาหาร คุณแม่คิดผิดแล้วค่ะ หรือหากคุณแม่คิดว่าลูกไม่สามารถช่วยเก็บจานหลังทานข้าวได้ นั่นก็คิดผิดอีกเช่นกัน เหตุผลเดียวที่ลูกจะไม่ทำคือ พ่อแม่ไม่ได้หวังให้ลูกต้องทำและไม่ได้สอนลูกว่าควรทำอย่างไร เท่านั้นเองค่ะ ลองพยายามยกระดับความคาดหวังที่มีต่อลูก ขอลูกให้ช่วยมากขึ้น ลองสอนลูกดูนะคะ

3. เรากำลังสูญเสียผู้หวังดี

ในยุคสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถเมล์ ครู คนขายของตามร้านต่าง ๆ หรือพ่อแม่ท่านอื่นต่างก็มีอิสระและรู้สึกดีที่ได้ช่วยสอนและเตือนเด็กที่ทำตัวไม่ดี ถึงแม้เด็กเหล่านั้นไม่ใช่ลูกหลานพวกเขา พวกเขาจะทำตัวเปรียบเสมือนเป็นพ่อแม่ของเด็กเองและตักเตือนเวลาเจอเด็กที่ทำไม่ถูกต้องด้วยความหวังดี ทุก ๆ คนจะร่วมมือร่วมใจสอนและพัฒนาเยาวชนให้เติบโตมาเป็นคนดีด้วยกัน แต่ในยุคสมัยนี้ หากมีผู้ใหญ่ท่านไหนมาสอนลูกของตน พ่อแม่จะไม่พอใจเป็นอย่างมาก พ่อแม่สมัยนี้แค่ต้องการให้ลูกออกมาดูดีเพอร์เฟคที่สุดในสายตาผู้อื่น และหลาย ๆ ครั้งพ่อแม่ก็รับไม่ได้กับคำติเตือนลูกจากคุณครูที่โรงเรียน พ่อแม่หลายท่านจะรีบวิ่งไปหาครูเพื่อต่อว่าหากตนได้รับรายงานจากคุณครูเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกในทางที่ไม่ดี แทนที่จะนำคำเตือนเหล่านั้นมาสอนและฝึกลูกให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น

พ่อแม่สมัยนี้มีความต้องการให้ลูกดูดีที่สุดในสายตาของคนอื่น และบ่อยครั้งที่ชอบติเตียนพ่อแม่ท่านอื่นเมื่อพบว่าลูกของพวกเขาดื้องอแงและพ่อแม่ไม่รีบทำให้เด็กสงบเงียบ หลาย ๆ ครั้งที่สายตาเหล่านั้นจับจ้องมาที่พ่อแม่อย่างตำหนิติเตียน ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วผู้ที่พบเห็นควรคิดและชมให้กำลังใจพ่อแม่เหล่านั้นว่า “ดีแล้วที่พ่อแม่ไม่ตามใจลูก ไม่ปลอบลูกง่าย ๆ เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสอนลูกให้รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ขอมากเกินไป อะไรคือพอแล้ว”

อ่านต่อหน้าถัดไป >>>


เลี้ยงลูกสปอยด์

4. หวังพึ่งตัวช่วยมากเกินไป

ยุคสมัยนี้มีเทคโนโลยี วิวัฒนาการหลายอย่างเข้ามาช่วยในชีวิตประจำวันมากขึ้นเยอะ ไม่ว่าจะเป็นจอดูหนังดูการ์ตูนบนเครื่องบิน หรือ การรอต่อคิวตามสถานที่ต่าง ๆ ด้วยเครื่องบัตรคิว แม้กระทั่งการสั่งซื้อของออนไลน์ หรืออุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟที่แสนจะรวดเร็ว ประกอบกับพ่อแม่ที่ยุ่งจนแทบเรียกว่าไม่มีเวลาเลย สิ่งเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น แต่บางครั้งสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป ลูก ๆ ควรได้รับการเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือตัวเอง และยอมรับได้หากทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด เช่นหากไม่มีของเล่น ก็ควรเรียนรู้ที่จะนั่งนิ่ง ๆ ได้ ควรเรียนรู้ที่จะเล่นกับตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือของเล่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรเรียนรู้ว่าบางทีอาหารก็ไม่ได้เสิร์ฟร้อนตลอดเวลา ควรเรียนรู้ว่าบางทีก็ต้องรอมากกว่า 3 นาทีกว่าจะได้ทานข้าว

แม้กระทั่งเด็กทารก ที่ควรเริ่มเรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองให้หลับได้โดยที่ไม่ต้องพี่งเปลไกว และเด็กวัยหัดเดินที่ควรเรียนรู้ที่จะลุกขึ้นเองได้เวลาล้มแทนที่จะอ้าแขนขอให้พ่อแม่ช่วยอุ้ม ลองสอนลูกให้ทราบถึงประโยชน์ของสิ่งอำนวยความสะดวกและหากไม่มีสิ่งเหล่านั้นลูก ๆ ก็สามารถมีความสุขได้

5. พ่อแม่ตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกต้องการเหนือกว่าสิ่งอื่นใด

โดยธรรมชาติแล้วพ่อแม่ถูกสร้างมาให้ตอบสนองความต้องการของลูกก่อนตนเองเสมอ เช่น ต้องให้อาหารลูกและดูแลเรื่องเสื้อผ้าให้ลูกก่อน เป็นต้น แต่พ่อแม่ในยุคสมัยนี้บางครั้งก็ให้ความสำคัญในสิ่งที่ลูกต้องการจนเกินไป จนสิ่งที่ทำเพื่อลูกกลับมาทำร้ายสุขภาพกายและจิตใจของพ่อแม่เอง เช่น พ่อต้องทิ้งทุกอย่างที่ทำอยู่และวิ่งข้ามจากฝั่งนึงไปยังฝั่งนึงที่สวนสัตว์เพื่อซื้อน้ำให้ลูกเพียงเพราะลูกหิวน้ำ แทนที่จะบอกกับลูกว่า ‘รอก่อนนะครับไว้เราผ่านร้านขายน้ำแล้วพ่อจะซื้อให้’ หรือบางครั้งที่คุณแม่จะต้องลุกขึ้นมากลางดึกหลาย ๆ ครั้งเพียงเพราะลูกกลับตัวไปมา พลิกตัวส่งเสียงอ้อแอ้ ซึ่งจริง ๆ แล้วหากปล่อยลูกไว้ ลูกก็ไม่เป็นอะไร ลูกอาจตื่นขึ้นมาบ้างและหากพบว่าไม่มีใครสนใจ สุดท้ายจะชินและหลับไปได้เองในที่สุด

ผู้เขียนคิดว่า 5 ปัญหาข้างต้นนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวต่อสังคมในอนาคตหากยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี เด็ก ๆ เหล่านี้อาจโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจ มีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความอดทน และเป็นปัญหาสังคมในที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ความผิดพวกเค้าที่เป็นแบบนั้น หากแต่เป็นความผิดของผู้เป็นพ่อแมที่ปล่อยให้ลูกประพฤติตามใจ จนชินกับนิสัยพฤติกรรมเหล่านี้ ดังนั้นการหวังมากขึ้น การขอมากขึ้น การให้น้อยลง จะช่วยทำให้ลูกแข็งแกร่งและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จในโลกแห่งความจริง ไม่ใช่เพียงแค่ในโลกที่เราสร้างให้ลูกนะคะ

ที่มา: Huffington Post

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกเป็นเด็กสปอยล์และวิธีแก้

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สินิธฐ์ธรา ชื่นชูจิตต์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 5 เหตุผลที่ชี้ว่าการเลี้ยงลูกในยุคสมัยใหม่อาจเป็นปัญหาขั้นวิกฤต
แชร์ :
  • ทำความรู้จักวิธีเลี้ยงลูกในยุค เจน อัลฟ่า (Gen Alpha) เลี้ยงยังไงให้ได้ผลดี

    ทำความรู้จักวิธีเลี้ยงลูกในยุค เจน อัลฟ่า (Gen Alpha) เลี้ยงยังไงให้ได้ผลดี

  • พ่อแม่ยุคใหม่ควรรู้! เลี้ยงลูกในยุคดิจิตอล อย่างไรให้ปลอดภัยจากสื่อออนไลน์

    พ่อแม่ยุคใหม่ควรรู้! เลี้ยงลูกในยุคดิจิตอล อย่างไรให้ปลอดภัยจากสื่อออนไลน์

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ทำความรู้จักวิธีเลี้ยงลูกในยุค เจน อัลฟ่า (Gen Alpha) เลี้ยงยังไงให้ได้ผลดี

    ทำความรู้จักวิธีเลี้ยงลูกในยุค เจน อัลฟ่า (Gen Alpha) เลี้ยงยังไงให้ได้ผลดี

  • พ่อแม่ยุคใหม่ควรรู้! เลี้ยงลูกในยุคดิจิตอล อย่างไรให้ปลอดภัยจากสื่อออนไลน์

    พ่อแม่ยุคใหม่ควรรู้! เลี้ยงลูกในยุคดิจิตอล อย่างไรให้ปลอดภัยจากสื่อออนไลน์

  • อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

    อยากให้ลูกสูง 180 เป็นไปได้ไหมถ้าพ่อแม่ไม่สูง พร้อมสูตรทำนายส่วนสูงลูก

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ