X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 พฤติกรรมลูกคนโตที่ต้องสังเกต เมื่อมีน้องคนใหม่

8 Nov, 2015
5 พฤติกรรมเปลี่ยนไป เมื่อมีน้องคนใหม่เข้ามาในบ้าน

5 พฤติกรรมเปลี่ยนไป เมื่อมีน้องคนใหม่เข้ามาในบ้าน

เมื่อที่บ้านมีสมาชิกใหม่เป็น “น้องเล็ก” ตัวน้อยน่าทะนุถนอมเข้ามา แน่นอนว่าทุกคนย่อมตื่นเต้น ดีใจกับเรื่องน่ายินดีนี้ โดยลืมไปว่า ยังมีหัวใจดวงน้อยๆ ของผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็น “พี่คนโต” อาจไม่ตื่นเต้นยินดีด้วย และพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมแปลกใหม่เรียกร้องความสนใจอยู่เสมอ มาดูสิว่า พฤติกรรมลูกคนโตที่เปลี่ยนไปจะมีเรื่องอะไรกันบ้าง
1. ขี้อ้อนมากขึ้น

1. ขี้อ้อนมากขึ้น

เด็กบางคนเมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังจะมีน้อง ก็จะแสดงพฤติกรรมการอ้อนแม่มากกว่าปกติ อยากให้แม่ช่วยเหลือในสิ่งที่ตนเคยทำได้ เช่น อยากให้แม่ป้อนข้าวให้ ใส่เสื้อผ้าให้ หรือบางคนถึงขนาดไม่สามารถควบคุมการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะได้ ต้องให้แม่มาคอยดูแลเหมือนเด็กเล็ก จนบางครั้งแม่เองอาจฉงนใจว่า ทำไมลูกถึงไม่สามารถทำเองได้ ทั้งๆ ที่เคยทำได้มาตลอด
2. เอาแต่ใจ ไม่มีเหตุผล

2. เอาแต่ใจ ไม่มีเหตุผล

พฤติกรรมนี้มักจะเกิดขึ้นเสมอสำหรับลูกที่กำลังจะเป็นพี่คนใหม่ เช่น ขณะที่แม่กำลังให้นมน้องอยู่ หากต้องการอะไรก็จะให้แม่ทำให้ทันทีเดี๋ยวนั้น ไม่สามารถรอคอยได้ ไม่ว่าแม่จะอธิบายเหตุผลอย่างไรก็ตาม แต่พฤติกรรมนี้จะหายไปได้เองภายใน 2-3 เดือน หากพ่อแม่เข้าใจ เอาใจใส่ และให้เวลากับลูกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเด็กกำลังปรับตัวกับสถานะใหม่ จากเคยเป็นที่หนึ่งของบ้าน ต้องกลายเป็นพี่ที่ต้องมีความเสียสละให้แก่น้องนั่นเอง
3. อ่อนไหวง่าย

3. อ่อนไหวง่าย

เด็กบางคนจะมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย เช่น เมื่อถูกแม่ว่ากล่าวตักเตือน หรือดุเพียงเล็กน้อย อาจร้องไห้เสียใจอย่างหนัก ไม่มีใครสามารถปลอบให้หายได้นอกจากแม่คนเดียวเท่านั้น หรือบางคนต้องใช้เวลาในการปลอบมากกว่าปกติ ซึ่งพฤติกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของความกลัว ความน้อยใจว่าแม่จะรักตนน้อยลงไปจากเดิม
4. หงอยเหงา ไม่พูดคุย

4. หงอยเหงา ไม่พูดคุย

เมื่อมีน้องเข้ามาเป็นสมาชิกคนใหม่ แน่นอนว่า ทุกคนในบ้านย่อมให้ความสนใจไปที่น้องเป็นพิเศษ ซึ่งทำให้ลูกบางคนคิดและรู้สึกไปเองว่า ตนไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นคนสำคัญของพ่อแม่อีกต่อไปแล้ว ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากที่เคยเป็นเด็กร่าเริง สดใส พูดคุยเก่ง และสนุกสนาน กลับกลายเป็นเด็กเงียบ เก็บตัว ซึมเศร้า ไม่ยอมคุยกับใคร หรือคุยน้อยลงไปอย่างผิดสังเกต
5. อิจฉาน้อง เรียกร้องความสนใจอย่างรุนแรง

5. อิจฉาน้อง เรียกร้องความสนใจอย่างรุนแรง

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อกับเด็กที่เคยได้รับการตามใจจากพ่อแม่ หรือญาติๆ อย่างเต็มที่ เมื่อมีน้องคนใหม่เข้ามาในบ้าน อาจแสดงพฤติกรรมอิจฉาน้องอย่างเห็นได้ชัด ไม่อยากให้ใครมาดูแลน้องมากไปกว่าตน ไม่ชอบเห็นใครซื้อของชิ้นใหม่ให้น้อง มีการแสดงออกทางอารมณ์หรือคำพูดถึงความไม่ชอบน้อง บางคนอาจแสดงออกด้วยการทำลายข้าวของ ตีอกชกตัว ทำร้ายร่างกายคนรอบข้าง หรือถึงขั้นแอบทำร้ายน้องก็มี
Tips สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกคนโต

Tips สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกคนโต

ปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น หากพ่อแม่มีการเตรียมความพร้อมของลูกในการต้อนรับสมาชิกคนใหม่อย่างถูกวิธี

• พ่อแม่ควรให้ลูกได้รู้จักน้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รับรู้เรื่องราว ความเปลี่ยนแปลงของน้องในแต่ละเดือนที่ผ่านไป และมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น ให้ลูกได้สัมผัสเวลาน้องดิ้น ให้เข้าห้องอัลตร้าซาวด์ด้วยทุกครั้ง ลูกจะรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ได้มีบทบาทในเหตุการณ์ครั้งสำคัญของครอบครัว

• เมื่อน้องคลอดออกมาแล้ว ให้ลูกมีส่วนในการดูแลน้อง เช่น ช่วยแม่หยิบผ้าอ้อม ช่วยใส่เสื้อผ้าให้น้อง กอดน้อง ปล่อยให้เล่นกับน้องตามลำพัง โดยมีพ่อแม่คอยดูแลอยู่ห่างๆ

• อธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นกับน้อง เช่น น้องจะร้องไห้งอแงบ่อย ซึ่งแม่ต้องคอยอุ้มคอยปลอบน้อง และให้นมน้องอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติของเด็กเล็กทุกคน ซึ่งตัวเขาก็เคยเป็นและได้รับการดูแลจากพ่อแม่แบบนี้มาก่อนเหมือนกัน

• แม่ควรแบ่งเวลา “พิเศษ” ให้แก่ลูก โดยใช้เวลากับลูกเพียงลำพังบ้าง เพื่อให้เขารู้สึกถึงความอบอุ่นส่วนตัว ซึ่งพ่ออาจรับบทบาทเป็นผู้ดูแลน้องแทนไปก่อน

• ไม่ใช้คำพูดเปรียบเทียบระหว่างลูกกับน้องที่อาจสร้างความกระทบกระเทือนใจให้แก่เขาได้

• เล่านิทานที่มีตัวละครแสดงบทบาทการเป็นพี่ที่ดีให้ลูกฟัง

• ไม่ส่งลูกไปเนอสเซอรี่ในช่วงใกล้คลอด หรือหลังคลอดใหม่ๆ หรือนำน้องมานอนแทนที่ที่เขาเคยนอนมาก่อน
ถัดไป
img

บทความโดย

อัยย์รดา

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 5 พฤติกรรมลูกคนโตที่ต้องสังเกต เมื่อมีน้องคนใหม่
แชร์ :
  • พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • 8 พฤติกรรมของลูก ที่มักขัดใจ คนเป็นแม่

    8 พฤติกรรมของลูก ที่มักขัดใจ คนเป็นแม่

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • 8 พฤติกรรมของลูก ที่มักขัดใจ คนเป็นแม่

    8 พฤติกรรมของลูก ที่มักขัดใจ คนเป็นแม่

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ