คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมลูกน้อยของคุณตื่นเร็วจัง บางครั้งก็รู้สึกว่า ตื่นเช้า เกินไปหรือไม่ แล้วการตื่นเช้านี้ดีต่อเด็กทารกหรือไม่ แต่คนที่จะต้องคอยดูแลอย่างเรานี่สิ อยากที่จะนอนพักผ่อนต่ออีกนิด แล้วจะต้องทำยังไงดีถึงจะให้ลูกน้อยตื่นเวลาเดียวกันกับเรา แล้วตื่นเร็วแค่ไหน ถึงทำให้รู้สึกว่าเช้าเกินไปกันนะ มาเช็คดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ลูกน้อยตื่นตอนไหนถึงเรียกว่า ตื่นเช้า ?
ก่อนอื่นต้องมาดูก่อนว่า ตื่นเช้า แค่ไหน ที่เรียกว่าเช้าเกินไปสำหรับคุณพ่อคุณแม่อย่างเรา โดยมากทารกมักจะตื่นนอนในช่วงเวลา 06:00 น. – 07:00 น. ซึ่งถือว่าเป็นเวลาตื่นนอนที่ปกติ และดีต่อสุขภาพของทารก อาจจะเลท หรือเร็วบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป
แต่ถ้าลูกของคุณ มักจะตื่นในเวลา 04:00 น. – 06:00 น. คงจะสร้างความปวดหัวให้กับตัวคุณแม่ไม่ใช่น้อย นั่นเพราะหมายถึงว่า เราจะต้องตื่นเร็วตามลูกน้อยของเราด้วยเช่นกัน ทำให้ช่วงเวลาในการพักผ่อนของเราลดลง รวมถึง ช่วงเวลาการนอนพักผ่อนของลูกน้อย ก็ลดลงด้วยเช่นกัน และเมื่อเราพยายามให้ลูกน้อยนอนต่อ เขาก็จะหลับได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้ผู้ปกครองอย่างเราต้องคอยเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา จนไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
ดังนั้นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ถ้าทารกของคุณตื่นก่อนเวลา 04:00 น. เราจะถือว่าทารกคนนั้นตื่นในช่วงดึก แต่ถ้าทารกตื่นก่อนเวลา 06:00 น. ไม่เกิน 04:00 น. เราจึงจะถือว่าทารกคนนั้นตื่นเช้าเกินไป ในขณะที่กรณีทารกตื่นหลัง 08:00 น. เราจะถือว่าเด็กน้อยตื่นสายกว่าปกติที่ควรจะเป็นนั่นเอง
ทำไมลูกน้อยถึงตื่นเช้ามาก แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร?
-
แสงแดดที่ส่องเข้ามาในห้อง
ความสว่าง และแสงแดดที่ส่องเข้ามาในห้อง แม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็ทำให้สัมผัสของทารกสามารถรับรู้ได้โดยง่าย เหมือนเป็นสัญญาณที่จะต้องบอกว่า “ถึงเวลาต้องตื่นแล้วนะ” นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกของคุณตื่นแต่เช้า และเมื่อเขาได้ตื่นแล้ว ก็จะเป็นการยากมากที่จะให้เขาหลับใหลลงไปอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นแสงสว่างที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวกระตุ้นหลักของเด็กในวัยนี้ หากคุณต้องการให้ลูกน้อยหลับลึก และหลับยาว ห้อง ๆ นั้นจะต้องมืดสนิท ไม่มีแสงเล็ดลอด จนส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้ทารกตื่นก่อนเวลาที่เราต้องการ
ถ้าไม่แน่ใจว่า ห้องนั้นมืดพอหรือยัง ให้ลองโบกมือบริเวณหน้าตัวเองตอนช่วงเวลา 05:00 น. – 06:00 น. ว่าเห็นหรือไม่? ถ้าหากคุณสามารถมองเห็น แสดงว่าห้อง ๆ นั้น มีแสงมากเกินไป อาจจะส่งผลให้ทารกน้อย ตื่นก่อนเวลาที่เหมาะสมได้
ดูเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลแต่ผลวิจัยก็ทำให้เราได้รู้ว่า การให้ทารกเข้านอนสายขึ้นจากเดิม หรือนอนดึกขึ้น แทนที่จะทำให้เขานอนตื่นสายกว่าเดิมได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับตรงข้ามกันจนน่าประหลาดใจ
คุณเชื่อหรือไม่ว่า การพาลูกน้อยของคุณเข้านอนให้เร็วขึ้น สัก 20 – 30 นาที เป็นวิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณตื่นนอนได้ตามเวลา ไม่ตื่นเช้าจนเกินไป ซึ่งหลาย ๆ ครอบครัวได้ใช้วิธีของการเข้านอนให้เร็วขึ้นเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาการตื่นเช้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ : หากลูกน้อยของคุณอายุน้อยกว่า 3 เดือน บางครั้งการนอนระหว่าง 21.00 น. – 22.00 น. สามารถช่วยให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับได้นานขึ้นในตอนเช้าตรู่ นี้ใช้ได้เฉพาะในช่วงแรกเกิด หลังจากนั้นจำเป็นจะต้องค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเวลาการนอนให้เป็นไปตามวัยของเด็กในแต่ละเดือน
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : การถดถอยของการนอนหลับ อาการของทารก ที่คุณแม่แทบอยากร้องกรี๊ด
-
การงีบหลับในแต่ละวันทำให้ตื่นเช้าได้
การงีบหลับในแต่ละครั้ง ก็ส่งผลถึงการตื่นนอนที่เช้าจนเกินไปของลูกน้อย ซึ่งตัวคุณพ่อคุณแม่ สามารถประเมินการงีบหลับของเด็กทารกในแต่ละวัย เพื่อประเมินการงีบหลับตั้งแต่ครั้งแรกได้เหมาะสม ทำให้การตื่นเช้าก่อนเวลาที่เหมาะสมนั้นหมดไป
การประเมินกรอบเวลาการงีบหลับทั่วไปตามอายุของทารก :
- 0 – 4 สัปดาห์ : 35 – 60 นาที
- 4 – 12 สัปดาห์ : 60 – 90 นาที
- 3 – 4 เดือน : 75 – 120 นาที
- 5 – 7 เดือน : 2 – 3 ชั่วโมง
- 7 – 10 เดือน : 2.5 – 3.5 ชั่วโมง
- 11 – 14 เดือน : 3 – 4 ชั่วโมง
- 14 – 24 เดือน : 4 – 6 ชั่วโมง
สำหรับทารกหลายคนที่งีบหลับตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป หน้าต่างปลุกแรกของวันจะสั้นที่สุด แต่ก็ยังควรอยู่ในช่วงเวลา และพยายามให้เขาตื่นตามอายุของทารก
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่า การไม่ให้ลูกงีบหลับระหว่างวัน หรือการให้ลูกทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหนื่อย เพื่อที่จะให้ทารกหลับลึกและตื่นช้าขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเมื่อเด็กทารกเหนื่อยมากจนเกินไป จะทำให้เด็กสามารถหลับลึกได้ แต่ก็เป็นสาเหตุให้ทารกตื่นแต่เช้าตรู่ หรืออาจจะเช้ากว่าเดิมด้วยซ้ำ
ดังนั้นคุณจำเป็นจะต้องเรียนรู้การงีบหลับ และการนอนของลูกน้อยของคุณ แล้วจึงค่อย ๆ ปรับการงีบในแต่ละวัน ให้เหมาะสม
ค่าเฉลี่ยในการงีบหลับ ของเด็กทารกในแต่ละวัย :
- 4 – 12 สัปดาห์ : 75 – 90 นาที
- 3 – 4 เดือน : 90 – 120 นาที
- 5 – 7 เดือน : 2.5 – 3 ชั่วโมง
- 7 – 10 เดือน : 3 – 3.5 ชั่วโมง
- 10-14 เดือน: 3.5 – 4 ชั่วโมง
- 14 – 24 เดือน : 4 – 5 ชั่วโมง
อีกหนึ่งสาเหตุหลักของการตื่นเช้า นั่นเป็นเพราะเขาได้นอนพักผ่อนระหว่างวันมากจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถนอนหลับต่อไปอีก ซึ่งเด็กในแต่ละวัยนั้น จะมีช่วงเวลาการนอนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ จำเป็นจะต้องสังเกต และประเมินช่วงเวลาในการงีบหลับของลูกน้อยของคุณให้เหมาะสมตามวัย และไม่ให้งีบหลับมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ทารกตื่นเช้ากว่าเวลาปกติได้นั่นเอง
ในขณะที่ทารกนอนกลางวันมากจนเกินไป ทำให้การนอนในยามค่ำคืนจะมีช่วงเวลาที่สั้นขึ้น ส่งผลให้ทารกตื่นเช้ามากกว่าปกติ การนอนกลางวันน้อยเกินไป หรือทารกนอนหลับไม่เพียงพอในตอนกลางวัน ก็จะทำให้ทารกเหนื่อยมากจนเกินไป การนอนจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นการงีบสั้น ๆ และมักจะตื่นขึ้นบ่อยครั้งตลอดทั้งคืนนั่นเอง
-
คุณคือตัวแปรสำคัญในการตื่นนอนของทารก
ยกตัวอย่างของการตื่นนอน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ตั้งนาฬิกาตอนเช้าเวลา 05:30 น. และทำแบบนี้อยู่เป็นประจำ สุดท้ายร่างกายของคุณจะถูกปลุกขึ้นมาอัตโนมัติด้วยตัวของคุณเอง ถึงแม้ว่านาฬิกาปลุกของคุณจะถูกปิดอยู่
ลูกน้อยของคุณ ก็จะมีระบบจัดการภายในร่างกายที่เหมือนกันกับคุณ หากเขาตื่นเช้าก่อนเวลาบ่อยครั้ง และเป็นเวลานานเข้า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน ก็จะทำได้ยากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่คุณจะต้องจัดการอันดับแรกก็คือตัวของคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
ช่วงเวลาค่ำคืนถ้าลูกของคุณยังคงตื่นอยู่ เขาคงไม่สามารถลุกขึ้นหานมทาน กินขนมขบเคี้ยว ดูหนัง ดูละคร ดูการ์ตูน ได้เอง ดังนั้นช่วงเวลาค่ำคืนแบบนี้ คุณจะต้องทำให้บ้านของคุณมืด และเงียบ งดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการรบกวนการนอนหลับพักผ่อน กิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องทำให้ย้ายมาทำในช่วงเวลาเช้า เพื่อให้ทารกน้อยของคุณได้เห็นว่า “เวลากลางคืน ทุกคนกำลังนอนหลับ เธอเองก็ควรจะหลับด้วยเช่นกัน”
ผู้ปกครองหลายคนเข้าใจว่า การที่ลูกน้อยตื่นเช้าจนเกินไป อาจจะเกิดจากความหิว ซึ่งข้อสันนิษฐานนี้ ไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะความหิวไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งแรกที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้ทารกจะต้องตื่นแต่เช้า
แต่ถ้าคุณคิดว่าสาเหตุของการตื่นเช้ามาจากความหิว คุณอาจจะต้องเพิ่มแคลอรีของอาหารให้สูงขึ้นในช่วงกลางวัน เช่น เดิมคุณเคยให้นมในปริมาณ 1 ออนซ์ ก็อาจจะเพิ่มเป็น 2 ออนซ์ในแต่ละขวดในช่วงเวลากลางวัน แต่ถ้าหากลูกของคุณมีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป คุณอาจจะต้องปรึกษากับทางกุมารแพทย์เกี่ยวกับการเพิ่มอาหารที่เป็นของแข็ง และค่อย ๆ หย่านมในช่วงกลางคืน (ABCs of Slep)
บทความเพิ่มเติมที่น่าสนใจ : อาหารทารกหลัง 6 เดือน การเริ่มอาหารตามวัยและไอเดียเมนูอาหาร สำหรับทารกอายุ 6 เดือน ขึ้นไป
การแก้ไขการตื่นเช้าต้องใช้เวลา และความสม่ำเสมอ เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกน้อยของคุณ ให้กำหนดกลยุทธ์อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อประเมินประสิทธิภาพ หากคุณได้อ่านสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ทั้งหมดแล้ว และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน อาจจะต้องอาศัยการปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ผ้าม่านกันแสง ที่ดีที่สุด อุปกรณ์สำคัญเพื่อการนอนของลูกน้อย หลับเพลินตลอดคืน
แจกตารางการนอน ของทารก ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ
ลูกนอนดึก เสี่ยงเป็น โรคอ้วนในเด็ก ภัยเงียบจากการนอนดึก
ที่มา : takingcarababies
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!