TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

บทความ 5 นาที
4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

รับมือลูกเดือนแรกอย่างไรดี? เด็กแรกเกิดต้องการการเอาใจใส่ โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกที่สำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของลูก และแม่ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม เพื่อจะผ่านเดือนแรกของลูกไปให้ได้

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเผชิญศึกกับเบบี๋เดือนแรก พ่อแม่มือใหม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร มีเรื่องไหนที่ต้องใส่ใจทารกแรกเกิด พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด

 

แม่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม เพื่อจะผ่านเดือนแรกของลูกไปให้ได้

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ

 

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอแต่ท้อไม่ได้

ในช่วงเดือนแรก เป็นช่วงที่แม่ต้องทุ่มเทอย่างหนักเพื่อลูก ต้องเหนื่อยกับการนอนน้อย ต้องพาลูกไปหาหมอ และยังต้องทำทุกๆ วันอย่างเต็มที่ ทั้งให้นม เปลี่ยนผ้าอ้อม และปลอบลูกเมื่อร้องโยเย ยิ่งคุณแม่มือใหม่ด้วยแล้ว 1 เดือนแรกของลูก เปรียบเสมือนการเผชิญศึกหนักที่ไม่ทันตั้งตัว มีหลายเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เราเลยรวบรวม 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ว่าที่คุณแม่มือใหม่ได้ศึกษา รวมไปถึงคุณแม่ที่เตรียมตัวก่อนคลอดน้อง

 

1.ปัญหาที่ต้องเจอเมื่อให้นมลูก

นมแม่ สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ ที่ช่วยให้ลูกเติบโตอย่างแข็งแรง เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และภูมิคุ้มกันสำหรับลูกรัก ด้วยประโยชน์มากมายนี้ แม่ๆ ก็ตั้งใจจะให้นมลูกได้นานๆ แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะพบกับปัญหาระหว่างการให้นม เช่น เจ็บหัวนม หรือบางรายเกิดหัวนมแตก อาจเกิดจากท่าให้นมที่ไม่เหมาะสม หรือแม้แต่การดูดนมผิดวิธี

สำหรับท่าให้นมที่ดีก็เช่น

  • ท่านอน ให้ลูกนอนตะแคง และปากของลูกระดับเดียวกับหัวนม ใช้มืออีกข้างประคองลูก
  • ท่านอนขวางบนตัก ให้ลูกนอนตะแคงในอ้อมแขน วางหมอนบนตัก
  • ท่าอุ้มลูกฟุตบอล เอาหมอนมาหนุนรองที่ใต้ต้นแขน แล้วให้ลูกนอนบนแขน ใช้มือข้างเดียวกันประคองหัวลูก ไว้ใกล้เต้า

ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี

  • นำลูกเข้าเต้า แม่นั่งในท่าให้นม แบบท่าอุ้มขวางตักแบบประยุกต์
  • แม่ต้องจับพยุงเต้า วางนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนของเต้า ห่างจากลานหัวนมเล็กน้อย นิ้วที่เหลือพยุงเต้านมอยู่ด้านล่าง
  • ให้ลูกงับ ด้วยการใช้หัวนมเขี่ยแก้มหรือริมฝีปาก
  • ลูกควรจะงับถึงลานนม ให้อมลานนมส่วนล่างมากกว่าลานนมส่วนบน
  • คางลูกแนบชิดกับเต้านมส่วนล่าง

 

2.ลูกร้องไห้โยเย

แม่บางคนโชคดีที่ลูกเลี้ยงง่าย ร้องไห้ไม่บ่อย แต่แม่บางคนกลับต้องเผชิญศึกหนัก เมื่อลูกร้องไห้แทบจะตลอดเวลา บางครั้งก็ดิ้นไปมาเหมือนกำลังไม่สบายตัว แล้วอะไรบ้างที่ทำให้ลูกร้องไห้?

มาเช็คปัญหายอดฮิตที่ทำให้ลูกร้องกันเถอะ

  • หิว ในช่วง 2-3 วันแรก ลูกจะหิวบ่อยๆ อาจต้องป้อนนม 8-15 ครั้งต่อวัน แต่ความถี่ก็จะค่อยๆ ลดลงไปเอง
  • ผ้าอ้อมเปื้อน เมื่อลูกขับถ่ายจนผ้าอ้อมเปียกจะรู้สึกไม่สบายตัว
  • รู้สึกร้อนหรือหนาวเกินไป พยายามใส่เสื้อผ้าให้ลูกรู้สึกสบายๆ แล้วอยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ
  • เพลีย เมื่อทารกเหน็ดเหนื่อย หรือเพลียมากๆ ก็จะรู้สึกหงุดหงิด เพราะอยากนอนแล้ว
  • แน่นท้อง หลังกินนมต้องจับลูกเรอ เพื่อไล่ลมออกจากกระเพาะ
  • ลูกไม่สบาย ถ้าเช็คทุกอย่างแล้ว โอ๋ลูกแล้ว กอดปลอบลูกแล้ว ลูกก็ยังไม่หาย แม่ต้องเช็คอาการอื่นๆ เช่น ลูกมีไข้หรือเปล่า หรือมีอาการซึม กระวนกระวาย ที่ผิดปกติหรือไม่

 

3.ลูกกินนอนไม่เป็นเวลา

ในช่วงสัปดาห์แรกที่ลูกลืมตาออกมาดูโลก แม่ต้องเหนื่อยหนักหน่อย เพราะลูกต้องกินนมอยู่ตลอด ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง รวมทั้งเวลากลางคืนที่ลูกจะร้องขอดูดนมบ่อย ๆ แทบจะตลอดคืน แต่จะหนักขึ้นอีกเมื่อลูกอยู่ในช่วง Growth spurts ช่วงที่ร่างกายทารกเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องดูดนมบ่อย ๆ

ส่วนการนอนของลูกก็จะแบ่งเป็นช่วงๆ ทำให้ตื่นบ่อยๆ แต่รวมแล้วลูกจะนอนนานถึง 16-17 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อผ่านพ้นช่วงเดือนแรก ทุกอย่างก็ค่อยๆ ดีขึ้น คุณแม่จะเริ่มมีเวลาพักผ่อนนานขึ้น

ในช่วงนี้คุณพ่อควรจะเข้ามาเป็นผู้ช่วย ใกล้ชิดคุณแม่ คอยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก จับลูกเรอ และกล่อมลูกนอน เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนบ้าง

 

4.เสียงแปลก ๆ ของทารก

ทารกมักจะทำเสียงแปลก ๆ ตั้งแต่อ้อแอ้ ไปจนถึงเสียงคล้ายกับการขู่คำราม ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีอะไรต้องกังวล นอกจากเสียงต่าง ๆ ที่ทารกทำขึ้นแล้ว ยังมีอาการอื่นๆ ที่ทารกมักจะเป็น เช่น

  • อาการสะอึก ซึ่งเกิดจากการอิ่มหลังดื่มนม แล้วสักพักลูกจะเลิกสะอึกได้เอง
  • จามบ่อย ๆ อาการจามของเด็กแรกเกิด เป็นวิธีขับน้ำคร่ำและสิ่งที่เจือปนอยู่ในอากาศออกจากร่างกาย

 

4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอแม่ห้ามท้อนะคะ ลูกเดือนแรก มีสิ่งที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้อีกเยอะ อะไรที่อ่านมาในตำรา สิ่งที่คุณหมอแนะนำ หรือประสบการณ์จากคุณแม่คนอื่น ๆ ก็พอจะช่วยได้บ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คุณแม่ต้องเรียนรู้ลูกของตัวเองจากประสบการณ์ของตัวเอง

 

วิธีดูแลลูกแรกเกิดที่ต้องทำเป็นประจำ

หลังจากได้รู้ 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอกันไปแล้ว มาดูวิธีดูแลลูกแรกเกิดที่ต้องทำเป็นประจำกันดีกว่า

อาบน้ำ

  • อาบด้วยน้ำอุ่น ๆ ไม่ร้อน โดยอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผมวันละครั้งเดียว
  • อาบน้ำทารกไม่ควรใช้เวลานาน เพียง 5-7 นาทีก็ควรทำให้เสร็จ และไม่อยู่ในบริเวณที่มีลม
  • หลังจากที่ลูกอิ่มนม อย่าอาบน้ำทันที

ดูแลสะดือ

พ่อแม่ต้องดูแลทั้งโคนสะดือและตรงสะดือให้แห้งอยู่เสมอ โดยเช็ดสะดือทารกด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์ตามที่โรงพยาบาลจัดให้ใช้) ทำความสะอาดวันละ 3 ครั้ง และสะดือจะหลุดได้เอง 1 – 2 สัปดาห์ พอสะดือใกล้หลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้ยา แป้ง มาโรยสะดือเด็ดขาด

ดูแลช่องปากลูกน้อย

ลูกทานนมบ่อย ๆ ต้องหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากลูก ด้วยการเช็ดคราบนมเบา ๆ ตามเหงือกและลิ้น เพื่อป้องกันฝ้าขาว

วิธีการทำความสะอาด ให้ใช้ผ้านุ่มๆ พันบริเวณปลายนิ้ว นำไปชุบน้ำสะอาด เช็ดเหงือกให้ทั่ว เมื่อลูกรักปากสะอาดก็จะไม่เกิดเชื้อรา ทำบ่อยๆ ยังส่งผลดีตอนโต ลูกก็จะชินกับการแปรงฟันได้ง่ายขึ้น

เปลี่ยนผ้าอ้อม ดูแลหลังขับถ่าย

ลูกฉี่แล้ว พ่อแม่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้ทารกตัวเย็น ส่วนการอึนั้น ทารกที่ดื่มนมแม่มักจะอึบ่อย ๆ เป็นเรื่องปกติ วิธีทำความสะอาดก้น ให้เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดไปมา

ถ้าเป็นลูกสาวให้แม่เตรียมผ้าเปียก หรือแผ่นสำลีชุบน้ำสะอาด

  1. เมื่อลูกสาวฉี่ ให้ใช้ผ้าเปียกเช็ดจากท้องน้อย จนถึงอวัยวะเพศ ไม่ต้องเช็ดลึกไปในช่องคลอด เช็ดตรงบริเวณขาหนีบทั้งสองข้าง แล้วเปลี่ยนผ้าเปียกผืนใหม่ เช็ดตรงก้นอีกครั้ง ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้งจนแน่ใจ
  2. ถ้าใช้สำลีชุบน้ำ ให้เช็ดเหมือนกับข้อบน หลังจากเช็ดขาหนีบให้เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ แล้วเช็ดตรงก้น ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง ก่อนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ให้ใช้ผ้าขนหนูนิ่ม ๆ เช็ดเบา ๆ ที่ผิวก้น และตรงอวัยวะเพศ ให้แห้งเสียก่อน
  3. หากลูกสาวอึ ให้ใช้น้ำสะอาดล้างก้นลูกก่อน พอเกลี้ยง ให้ซับอวัยวะเพศและก้นลูกให้แห้ง เช็ดแค่ด้านนอก ไม่ต้องเช็ดลึกถึงช่องคลอด ย้ำอีกครั้ง การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศหญิง ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ ห้ามเช็ดจากก้นขึ้นมา เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด ที่สำคัญ ห้ามทาแป้งลงบนอวัยวะเพศ เพราะอาจทำให้อับชื้นและเกิดการติดเชื้อ

 

นอกจาก 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอแล้ว แม่ยังต้องดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพร่างกายของทารกแรกเกิดด้วย เพราะทารกแรกเกิดเจ็บป่วยได้ง่าย ห้ามประมาทอย่างเด็ดขาดนะคะ

 

ที่มา : แพทย์หญิงฉัตรฉาย เปรมพันธ์พงษ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

paolohospital.com และ thairath.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีเสริมพัฒนาการลูกน้อย แรกเกิด-1 ปี พัฒนาการของวัยทารก ฝึกอย่างไรให้สมวัยในขวบปีแรก

ควรใส่ถุงมือให้ทารกเวลาหลับกลางคืนไหม เรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้

7 สัญญาณที่ทำให้ทารกร้องไห้

อยากรู้ไหม ทำไมเด็กทารกถึงตื่นบ่อย

บทความจากพันธมิตร
นมสูตร 3 ยี่ห้อไหน? คือที่สุด...ตัวเลือกเหนือระดับเพื่อเด็กเจนใหม่ สมองไวได้มากกว่า
นมสูตร 3 ยี่ห้อไหน? คือที่สุด...ตัวเลือกเหนือระดับเพื่อเด็กเจนใหม่ สมองไวได้มากกว่า
Ask The Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ ลูกปลอดภัย ไกลยุงร้าย ง่ายนิดเดียว
Ask The Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ ลูกปลอดภัย ไกลยุงร้าย ง่ายนิดเดียว
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 4 เรื่องจริงของลูกเดือนแรกที่แม่ต้องเจอ แม่มือใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลลูกแรกเกิด
แชร์ :
  • เหนื่อยเหลือเกิน! ลูกงอแงไม่ยอมนอน 8 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้น

    เหนื่อยเหลือเกิน! ลูกงอแงไม่ยอมนอน 8 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้น

  • 10 บอร์ดเกมวางแผน ฝึกสมองลูกให้เฉียบ สำหรับเด็กวัย 4 ขวบ+

    10 บอร์ดเกมวางแผน ฝึกสมองลูกให้เฉียบ สำหรับเด็กวัย 4 ขวบ+

  • สอนลูกให้รู้จักกาลเทศะ 5 พฤติกรรมพื้นฐาน ที่ควรฝึกตั้งแต่เล็ก

    สอนลูกให้รู้จักกาลเทศะ 5 พฤติกรรมพื้นฐาน ที่ควรฝึกตั้งแต่เล็ก

powered by
  • เหนื่อยเหลือเกิน! ลูกงอแงไม่ยอมนอน 8 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้น

    เหนื่อยเหลือเกิน! ลูกงอแงไม่ยอมนอน 8 เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้ลูกหลับง่ายขึ้น

  • 10 บอร์ดเกมวางแผน ฝึกสมองลูกให้เฉียบ สำหรับเด็กวัย 4 ขวบ+

    10 บอร์ดเกมวางแผน ฝึกสมองลูกให้เฉียบ สำหรับเด็กวัย 4 ขวบ+

  • สอนลูกให้รู้จักกาลเทศะ 5 พฤติกรรมพื้นฐาน ที่ควรฝึกตั้งแต่เล็ก

    สอนลูกให้รู้จักกาลเทศะ 5 พฤติกรรมพื้นฐาน ที่ควรฝึกตั้งแต่เล็ก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว