X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การวัดไข้เด็ก มีวิธีอย่างไร ใช้ที่วัดไข้เด็กแบบไหนดี

บทความ 5 นาที
การวัดไข้เด็ก มีวิธีอย่างไร ใช้ที่วัดไข้เด็กแบบไหนดี

เมื่อรับรู้ว่ามีอาการตัวร้อนเป็นไข้ การวัดไข้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำรับรู้ถึงอุณหภูมิของลูกได้ว่ามีไข้หรือไม่ การใช้อุปกรณ์วัดไข้สามารถประเมินอุณหภูมิร่างกายได้อย่างละเอียดและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้มือสัมผัสลูก

ช่วงนี้ การวัดไข้เด็ก และวัดไข้คนในครอบครัว ล้วนมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเรากำลังเผชิญกับโรคระบาดอย่างโคโรน่าไวรัส 2019 ซึ่งหากพบว่า ลูกมีไข้เล็กน้อยหรือขึ้นสูงจนน่าตกใจ ล้วนเป็นเรื่องที่พ่อแม่ควรกังวล แล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง

 

การวัดไข้เด็ก

การวัดไข้เด็ก มีความสำคัญอย่างไร

สิ่งที่สำคัญของ การวัดไข้เด็ก ไม่ใช่แค่การเอาหลังมืออังหน้าผากเท่านั้น แต่ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างด้วย โดยเฉพาะเด็กทารก เด็กเล็ก ต้องมีเครื่องมือวัดไข้ (Thermometer) สำหรับเด็ก และสามารถวัดอุณหภูมิได้จากหลายแห่งในร่างกาย ปกติแล้วอุณหภูมิที่วัดได้ว่าเป็นไข้คือ 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงอยู่ในช่วงที่คนเรามีไข้และมีการติดเชื้อจนเกิดความเจ็บป่วยเท่านั้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: 5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย

วิธีวัดไข้เด็ก ใช่อุปกรณ์วัดไข้อะไรบ้าง

การวัดไข้เด็กสามารถทำได้ตามจุดต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกทำได้ 5 วิธีดังนี้

  1. วัดไข้เด็กทางปาก ซึ่งเป็นการนำที่วัดไข้เสียบเข้าไปบริเวณใต้ลิ้นในช่องปาก
  2. วัดไข้เด็กโดยการใช้ปรอทหรือที่วัดไข้ให้ลูกหนีบรักแร้เอาไว้ แต่ค่าของอุณหภูมินั้นจะค่อนข้างตำว่าการอมใต้ลิ้น
  3. สามารถวัดอุณหภูมิเด็กได้ทางทวารหนัก ซึ่งแพทย์สามารถสอดเทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้เข้าไปทางทวารหนัก ซึ่งวิธีนี้จะให้ค่าอุณหูมิที่สูงกว่าการวัดในช่องปากหรือใต้ลิ้น
  4. วัดไข้เด็กทางหู โดยการใช้เครื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล จ่อด้านนอกของรูหู
  5. สามารถวัดไข้เด็กทางผิวหนัง วิธีนี้ทำได้โดยทั่วไปคือ การวัดไข้บริเวณหน้าผาก โดยใช้แผ่นแปะและจะมีตัวเลขแสดงอุณหภูมิออกมา

ทำไม การวัดไข้เด็ก จึงทำได้แตกต่างกัน

เนื่องจากสุขภาพของเด็กแต่ละคน และสถานการณ์ที่ต่างกัน ดังนั้น การวัดไข้เด็ก จึงมีวิธีและขั้นตอนแตกต่างกันไป เด็กบางคนวัดไข้ง่าย แต่บางคนไม่สามารถทำได้จึงต้องให้คุณหมอเป็นผู้กระทำ เช่น การวัดไข้เด็ก เล็กมากๆ อย่างเช่น ทารก อาจจะใช้วิธีวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก หรือรักแร้ เนื่องจากทารกยังเป็นวัยที่ไม่อยู่นิ่ง อาจจะไม่ยอมอมปรอทวัดไข้ได้ ส่วนเครื่องมือแบบดิจิทัลอาจจะสะดวกสำหรับผู้ปกครองก็จริง แต่ก็มีข้อเสียคือ มีราคาค่อนข้างสูง

 

การวัดไข้เด็กควรเตรียมตัวให้ลูกอย่างไร

ก่อนอื่นต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ ก่อนวัดไข้ เพื่อไม่ให้อุณหูมิสูงขึ้น เช่น วิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรืออาบน้ำอุ่นให้ลูก ควรรับประทานอาหารเสร็จให้เรียบร้อย อาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อย่างหลังกลับจากโรงเรียนสัก 1 ชั่วโมง หากวัดไข้เอง ซึ่งตอนนี้มักจะทำกันทุกบ้าน เราควรทำความสะอาดเทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้ ให้สะอาด โดยใช้น้ำสบูหรือแอลกอฮอล์เช็ดก่อนเสมอ

 

การวัดไข้เด็ก

ขั้นตอนในการวัดไข้ ใช้อุปกรณ์วัดไข้แบบไหนและทำอย่างไรบ้าง

จากที่กล่าวไปข้างต้นถึงการวัดไข้เด็กมี 5 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และเป็นด่านแรกๆ ที่คุณแม่จะพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ หรือพยาบาล ซึ่งก่อนวัดไข้จะมีการทำความสะอาดอุปกรณ์วัดไข้อย่างสะอาด หากใช้ปรอทจะให้แถบสารปรอทอยู่ในอุณหภูมิที่ 36 องศาเซลเซียส

 

1. เครื่องวัดอุณหภูมิดิจิทัล – วัดไข้เด็กทางช่องปาก

การวัดไข้ด้วยวิธีนี้ นิยมกับเด็กที่รู้เรื่องแล้ว ไม่งอแงส่วนใหญ่จะวัดให้เด็กอายุมากกว่า 5 ขวบขึ้นไป ซึ่งลดความเสี่ยงไม่ให้เด็กรู้สึกรำคาญถึงสิ่งแปลกปลอมจนกัดปรอทแตก โดยขั้นแรกจะมีการตรวจดูบริเวณภายในช่องปาก เพื่อตรวจดูว่า ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่นขนมต่างๆ ที่เด็กอาจจะอมไว้ ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรพาลูกไปวัดไข้หลังรับประทานอาหาร อย่างน้อยควรรอสัก 30- 60 นาทีก่อน เพื่อไม่ให้มีผลต่ออุณหภูมิ จากนั้นคุณหมอหรือพยายาลจะ นำเทอร์โมมิเตอร์หรือเราเรียกว่าปรอทวัดไข้ สอดเข้าไปใต้ลิ้น แล้วให้เด็กปิดปากลงสักครู่  ถ้าเป็นปรอทแบบดิจิทัลจะมีสัญญาณดังขึ้น หรือถ้าเป็นปรอทแบบธรรมดา เราต้องรอจนกว่า แถบสารปรอทหยุดนิ่งเพื่อคงที่การอ่านค่าของอุณหภูมิที่แม่นยำ

 

 

2. ปรอทแก้ว – วัดไข้เด็กโดยการหนีบรักแร้

สำหรับเด็กเล็กการวัดไข้ด้วยวิธีนี้ถือว่าสะดวก แต่อาจบอกผลไม่แม่นยำเท่าไหร่นัก ต่างจากการวัดไข้ทางช่องปากและทวารหนัก ซึ่งจะเหมาะกับเด็กแรกเกิดมากกว่าผู้ใหญ่ ที่สำคัญควรเลี่ยงการวัดไข้หลังการอาบน้ำ เพราะมีผลต่อค่าอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์ที่สอดเข้ารักแร้ โดยปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่กึ่งกลางรักแร้ จากนั้นให้เด็กหนีบเทอร์โมมิเตอร์สักครู่ ถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล ก็รอจนนสัญญาณดัง หรือถ้าเป็นแบบปรอทวัดไข้ธรรมดา ควรรอ 4-5 นาที  ทั้งนี้ค่าอุณหภูมิที่วัดจากการหนีบทางรักแร้จะต่ำกว่าทางช่องปากราว 0.6 องศาเซลเซียส

 

การวัดไข้เด็ก

 

3. ปรอทวัดทางก้น – การวัดไข้ทางทวารหนัก

การวัดไข้เด็กทางก้นหรือทางทวารหนักนั้น ส่วนใหญ่เป็นการวัดไข้สำหรับเด็กแรกเกิด และต้องใช้ความระวัดระวังเป็นอย่างสูง เนื่องจากผิวของทารกยังบอบบาง เสี่ยงติดเชื้อและอาจเกิดการบาดเจ็บได้  ทั้งนี้ แพทย์จะใช้เทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทที่ผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วทาสารหล่อลื่น เพื่อลดการเสียดสี ของอุปกรณ์และรูทวาร จากนั้นจะให้ทารกนอนคว่ำ ประคองบริเวณส่วนล่างของทารกไว้ แล้วค่อยๆ สอดปรอทเข้าไปในก้นประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ต้องระวังการสอดให้ดี ว่าไม่ลึกจนเกินไป ทิ้งไว้สักครู่จนว่าปรอทดิจิทัลจะมีสัญญาณเตือน ถ้าเป้ฯปรอทธรรมดาก็ให้รอจนกว่า สารในปรอทจะหยุดนิ่งแล้วค่อยอ่านค่า

 

4. เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด-วัดไข้เด็กทางช่องรูหูและหน้าผาก

วิธีนี้สามารถทำได้กับเด็กโตแต่ไม่เกิน 12 ปี เป็นการวัดไข้จากเครื่องเทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล ก่อนอื่นแพทย์หรือพยาบาลจะทำสะอาดหูเด็ก โดยการเช็ดให้สะอาด และทำความสะอาดเครื่องวัดไข้ให้สะอาดปลอดภัย จากนั้นแพทย์จะค่อยๆ ดึงติ่งหูของเด็กน้อยเอียงลงไปทางด้านหลังเล็กน้อย แล้วสอดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในรูหู จริงๆ เครื่องนี้เหมาะสำหรับการตรวจวัดไข้เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป

 

5. แถบวัดไข้ – วัดไข้เด็กทางผิวหนัง

วิธีนี้มีความสะดวกและรวดเร็วมาก มักจะใช้กับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ แต่ให้ความแม่นยำของค่าอุณหภูมินั้นน้อยกว่าวิธีอื่นๆ ซึ่งก่อนวัดไข้จะต้องทำความสะอาดหน้าผากให้เรียบร้อย จากนั้นเอาแผ่นวัดไข้มานาบบนหน้าผาก แล้วกดเบาๆ สักครู่แผ่นวัดไข้ก็จะลอกออกมา แล้วสามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้ค่ะ

 

การวัดไข้เด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง: วิธีลดไข้เด็ก เช็ดให้ลูกน้อยไข้ลดอย่างมีประสิทธิภาพต้องทำยังไง

ไปดูว่าผลวัดไข้อ่านอย่างไร

ปกติแล้วอุณหภูมิของคนเราจะอยู่ที่ 36.5-37 องศาเซลเซียส ระหว่างอาจมีขึ้นมีลงเล็กน้อย จากกิจกรรมที่ทำ และช่วงเช้าอุณหภูมิของคนเราจะต่ำกว่าช่วงบ่าย ส่วนเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปจะมีอุณหภูมิแตกต่างกัน 1.2 องศาเซลเซียส เรามาดูกันว่า ค่าอุณหภูมิเท่าไหร่ บอกผลอะไรบ้าง

  • วัดทางปากจะได้อุณหภูมิปกติอยู่ที่ 35-37.5 องศาเซลเซียส
  • วัดอุณหภูมิทางทวารหนักปกติอยู่ที่ 36-38 องศาเซลเซียส
  • วัดอุณหภูมิทางรักแร้ปกติอยู่ที่ 37-37.3 องศาเซลเซียส
  • วัดอุณหภูมิทางหูปกติอยู่ที่ 36-38.0 องศาเซลเซียส

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

ทั้งนี้หากพบว่า อุณหภูมิมีผลออกมาสูงกว่าเกณฑ์ แสดงว่าร่างกายเริ่มมีอาการไข้ไข้หรือเจ็บป่วยแล้ว ซึ่งก็ควรดูองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เพราะคุณหมอก็จะตรวจโดยละเอียดอีกครั้ง

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

4 วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นไข้ หายป่วยได้ไวขึ้น คุณแม่ไม่ต้องกังวล

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ แม่รู้มั้ยบางอย่างอันตรายกว่าที่คิด

เมื่อลูกเป็นไข้ ซื้อยาลดไข้ให้กินได้มั้ยหรือมีอาการแค่ไหนถึงพาลูกไปหาหมอ?

 

ที่มา: 1 , 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • การวัดไข้เด็ก มีวิธีอย่างไร ใช้ที่วัดไข้เด็กแบบไหนดี
แชร์ :
  • 5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย

    5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย

  • เมนูสลัดไข่ต้ม ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มน้ีไม่เกิน 200 แคล

    เมนูสลัดไข่ต้ม ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มน้ีไม่เกิน 200 แคล

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • 5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย

    5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ปรอทวัดไข้เมื่อลูกไม่สบาย

  • เมนูสลัดไข่ต้ม ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มน้ีไม่เกิน 200 แคล

    เมนูสลัดไข่ต้ม ฟิตหุ่นคุณแม่หลังคลอด อิ่มน้ีไม่เกิน 200 แคล

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ