X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

19 ภาพคลอดลูกสุด ตราตรึงหัวใจ แห่งปี

บทความ 5 นาที
19 ภาพคลอดลูกสุด ตราตรึงหัวใจ แห่งปี

ถึงแม้การมีลูกจะเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และดูเป็นบททดสอบที่ยากสำหรับคุณแม่มือใหม่ แต่เมื่อคุณได้ผ่านพ้นวินาทีแรกที่เห็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในตัวคุณออกมาลืมตาดูโลกแล้ว เชื่อเถอะว่าคุณจะลืมเรื่องความยากนั่นทิ้งไป และวินาทีแห่งความสุข ความตราตรึงใจนั้นจะเข้ามาแทนที่

19 ภาพคลอดลูกสุด ตราตรึงหัวใจ แห่งปีที่คนเป็นพ่อแม่จะจดจำไม่ลืม

วินาทีแรกของการคลอดลูกจะเป็นเหตุการณ์แรก ที่คนเป็นพ่อเป็นแม่จะจดจำ ตราตรึงหัวใจ ไปได้อย่างไม่รู้ลืม นี่คือภาพคลอดลูกที่ตราตรึงหัวใจของการให้กำเนิดชีวิตใหม่ในช่วงปี 2016

 

1. ภาพคุณพ่อที่เก็บความรู้สึกซาบซึ้งเอาไว้ไม่อยู่ เมื่อได้เข้าไปรับลูกชายตัวน้อยด้วยมือ และนำเขาออกมาสู่โลกกว้าง

 

ตราตรึงหัวใจ

รูปคลอดลูก

 

2. คุณแม่ผู้ที่หัวใจกำลังพองโตด้วยความยินดีหลังลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกด้วยความปลอดภัย

ตราตรึงหัวใจ

รูปคลอดลูก

 

3. กำลังใจจากลูกสาวตัวน้อยที่กำลังจะกลายเป็นพี่คนโตในช่วงเวลาที่รอคอยอีกไม่ช้า

ตราตรึงหัวใจ

รูปคลอดลูก

 

4. ภาพของการได้ออกมาเห็นโลกของเจ้าตัวน้อยที่รอคอย เป็นช่วงเวลาที่ไม่อาจลืมเลือน

sub-buzz-18683-1481666766-19

รูปคลอดลูก

 

5. ความพยายามอย่างเต็มที่แม้ว่าจะเจ็บปวดแค่ไหนก็ตาม เพื่อที่จะได้เห็นหน้าลูก

sub-buzz-19562-1481668560-4

 

6. ภาพที่แสดงถึงอารมณ์ความรักที่มีเจ้าตัวน้อยมาเป็นโซ่ทองคล้องใจ และได้มีชีวิตที่กลายเป็นครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

sub-buzz-19570-1481668342-1

รูปคลอดลูก

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
10 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดไม่ควรทำอะไร กิจกรรมแบบไหน อาจสร้างรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ไว้ตลอดกาล
10 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด แม่ผ่าคลอดไม่ควรทำอะไร กิจกรรมแบบไหน อาจสร้างรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ไว้ตลอดกาล
เพราะ “สมองของเด็กผ่าคลอด” สำคัญเท่ากับ “ภูมิต้านทาน” เรื่องต้องรู้ ที่ แม่เตรียมผ่าคลอด อาจไม่เคยรู้!!
เพราะ “สมองของเด็กผ่าคลอด” สำคัญเท่ากับ “ภูมิต้านทาน” เรื่องต้องรู้ ที่ แม่เตรียมผ่าคลอด อาจไม่เคยรู้!!
เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด
เช็กด่วน 7 สัญญาณใกล้คลอด พร้อมเคล็ดลับดูแลร่างกายหลังคลอด แข็งแรงไว เบาใจเรื่องแผลเป็นจากการผ่าคลอด

7. หลังจากการคลอดลูกผ่านไป นี่คือภาพผ่อนคลายของคุณแม่อย่างแท้จริง เป็นช่วงเวลาของความมีชีวิตชีวาอย่างกำลังเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง

sub-buzz-19964-1481669068-3

 

8. ช่วงเวลาอันแสนสำคัญ วินาทีแรกที่เจ้าตัวน้อยได้ออกมาลืมตาดูโลก

sub-buzz-20114-1481668982-4

 

9. ความเจ็บปวดจากการคลอดลูกออกมาแล้ว มันยังไม่จบง่าย ๆ แค่นี้ ยังมีสิ่งตกค้างที่ต้องทำอดทนต่ออีกนิด อุ้มลูกรอไปก่อนนะพ่อ

ตราตรึงหัวใจ

 

10. กำลังใจจากคุณแม่มือเก่าโอบกอดลูกสาวที่กำลังจะกลายเป็นแม่คนเช่นกัน

ตราตรึงหัวใจ

 

11. ภาพคลอดลูกท่ามกลางธรรมชาติที่คนเป็นพ่อเป็นแม่จะจดจำภาพสวยงามนี้ไว้ไม่ลืม

ตราตรึงหัวใจ

 

12. ภาพที่แสดงถึงว่าการคลอดนั้นเป็นเรื่องของครอบครัว ที่ทุกคนพร้อมจะส่งพลังเอาใจช่วย และรอต้อนรับสมาชิกใหม่ออกมา

sub-buzz-29497-1481667134-1

 

13. ภาพน่ารักของคุณแม่ที่กำลังให้นมทั้งลูกคนโตและลูกน้อยที่เพิ่งเกิดพร้อม ๆ กัน

sub-buzz-30204-1481669162-3

 

14. เมื่อพี่ชายตัวน้อยพยายามช่วยชั่งน้ำหนักของน้องพี่เพิ่งเกิด

sub-buzz-30237-1481668766-3

15. ความรู้สึกปลื้มปริ่มของคนเป็นพ่อที่ได้อุ้มลูกสาวเป็นครั้งแรก

sub-buzz-30272-1481668821-3

 

16. ช่วงเวลาที่สวยงามของการต้อนรับสมาชิกใหม่เข้าสู้อ้อมกอดของแม่

sub-buzz-30909-1481665846-1

 

17. บทบาทของคนเป็นแม่มีให้ลูกเท่ากันทุกคน ไม่ว่าจะดูแลลูกที่ออกมาแล้ว หรืออีกคนที่กำลังจะออกมาก็ตาม

ตราตรึงหัวใจ

 

18. อารมณ์ตราตรึงของแม่ที่ได้อุ้มลูกน้อยเพิ่งเกิด หลังจากการคลอดลูกแสนยากลำบากและยาวนาน

ตราตรึงหัวใจ

 

19. ปิดท้ายด้วยภาพสุดฮาคลายเครียดของคุณพ่อที่อยากจะตัดสายสะดือด้วยมือของเค้าเอง เอ่อ..ไม่ใช่สิ ด้วยปาก!

ตราตรึงหัวใจ

 

แม่คลอดลูกแบบธรรมชาติ ตราตรึงหัวใจ อย่างไร

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์พร้อมคลอดทั้งหลายจะต้องเผชิญกับระยะการคลอด 3 ระยะ ได้แก่

 

ระยะที่ 1 ปากมดลูกขยายออกและบางตัวลง

แบ่งออกเป็นระยะย่อย คือ

ระยะปากมดลูกเปิดตัวช้า คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการหดรัดตัวเบา ๆ ของปากมดลูกที่จะเกิดขึ้นครั้งละประมาณ 30-45 วินาที ทุก ๆ 5-30 นาที การหดรัดตัวนี้ส่งผลให้ปากมดลูกเปิดออกและบางตัวลงเพื่อจะให้ทารกเคลื่อนมายังช่องทางการคลอด บางรายปากมดลูกอาจค่อย ๆ ขยายออกประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดท้องคล้ายเป็นประจำเดือน หรือปวดตึง ๆ บริเวณเชิงกราน และอาจสังเกตว่ามีน้ำสีออกชมพูหรือสีปนเลือดถูกขับออกมาด้วย

ในการตั้งครรภ์ครั้งแรก ระยะนี้อาจใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง แต่หากไม่ใช่การตั้งครรภ์ครั้งแรกก็มักจะผ่านไปยังระยะต่อไปได้รวดเร็วกว่า โดยในช่วงนี้ คุณแม่จะยังสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อคลายกังวลและเบี่ยงเบนความสนใจอยู่ที่บ้านได้ เช่น ฟังเพลง ดูทีวี ลุกขึ้นเดินเบา ๆ อาบน้ำ ฝึกหายใจเพื่อผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนท่าทาง ก็จะช่วยให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น

 

ระยะปากมดลูกเปิดตัวเร็ว เป็นระยะที่ปากมดลูกจะค่อย ๆ เริ่มหดรัดตัวถี่และรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บที่บริเวณหลังส่วนล่าง ท้อง ต้นขา เกิดตะคริวที่ขา รวมถึงอาการคลื่นไส้ บางรายอาจมีน้ำคร่ำแตกออกมา แต่บางรายที่น้ำคร่ำไม่แตกออกมาก็จะทำให้รู้สึกถึงแรงกดที่หลังยิ่งขึ้น คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณใกล้คลอดเหล่านี้

ระยะนี้อาจคงอยู่ประมาณ 3-5 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น โดยปากมดลูกจะขยายตัวออกประมาณ 1 เซนติเมตรทุก ๆ 1 ชั่วโมง จากระยะแรก 4 เซนติเมตรเพิ่มเป็นประมาณ 7 เซนติเมตร และบีบรัดตัวครั้งละ 45-60 วินาที ในทุก 3-5 นาที ระหว่างนี้คุณแม่อาจลองใช้วิธีการฝึกหายใจหรือท่าออกกำลังกายแบบผ่อนคลายเพื่อต่อสู้กับความเจ็บที่เพิ่มมากขึ้น และหากขยับตัวได้โดยไม่มีเครื่องตรวจอัลตราซาวด์ครรภ์ติดที่ท้องก็อาจลองเปลี่ยนท่าทางหรือใช้การนวดผ่อนคลาย

 

ระยะเปลี่ยนผ่าน เป็นช่วงสุดท้ายของการคลอดระยะที่ 1 ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 20 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมงหากเป็นการคลอดครั้งแรก แต่ในกรณีที่เคยคลอดลูกมาก่อนแล้วมักเปลี่ยนเข้าสู่ระยะที่ 2 ค่อนข้างเร็ว ในระยะนี้ปากมดลูกจะขยายออก 8-10 เซนติเมตร และมีการหดรัดตัวถี่ขึ้นอีกเป็นครั้งละ 60-90 วินาที ในทุก 0.5-2 นาที จนคุณแม่รู้สึกถึงแรงกดบริเวณหลังส่วนล่างและบริเวณช่องทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้คุณแม่ที่มีความรู้สึกอยากเบ่งคลอดเกิดขึ้นให้รีบบอกแพทย์ทันที เพราะหากปากมดลูกยังไม่ขยายเต็มที่ แพทย์จะให้คุณแม่กลั้นไว้ก่อน เนื่องจากการเบ่งที่รวดเร็วเกินไปจะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าและช่องคลอดบวม ส่งผลให้การคลอดล่าช้าออกไปได้

 

ระยะที่ 2 ระยะเบ่งคลอด

เป็นช่วงเวลาแห่งการคลอดของคุณแม่ที่อาจใช้เวลาตั้งแต่ 2-3 นาที ไปจนถึง 2-3 ชั่วโมงในการเบ่งคลอดให้ทารกลืมตาออกมาดูโลก และอาจนานยิ่งขึ้นหากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือครรภ์ที่คุณแม่ใช้ยาระงับอาการปวดระหว่างคลอด โดยแพทย์จะบอกให้ออกแรงเบ่งเมื่อเกิดการหดรัดตัวของมดลูก หรือคอยให้จังหวะในการเบ่งคลอด นอกจากนี้ บางขณะ แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่เบ่งเบา ๆ หรือไม่ต้องเบ่งเลยก็ได้ เพื่อให้เวลาเนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดได้ยืดตัวออกและป้องกันการฉีกขาด

คุณแม่ควรเพ่งความสนใจทั้งหมดไปที่การเบ่งเมื่อแพทย์ให้จังหวะ ครั้นเมื่อหัวของทารกออกมาแล้ว ลำตัวส่วนที่เหลือก็จะตามออกมาในไม่ช้า เมื่อทารกคลอดออกมาเรียบร้อย อันดับแรกแพทย์อาจทำความสะอาดทางเดินหายใจของเด็กแล้วจึงตามด้วยการตัดสายสะดือ

 

ระยะที่ 3 ระยะคลอดรก 

หลังจากที่คลอดทารกสำเร็จ การทำคลอดรกจะตามมาอย่างรวดเร็ว โดยอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีหรือนานไปถึงครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ยังมีกระบวนการทางการแพทย์หลังจากนั้นที่อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งในระหว่างนี้คุณแม่ส่วนใหญ่กำลังต้องการสัมผัสและชื่นชมลูกน้อยที่เพิ่งออกมาจนอาจไม่ทันสนใจขั้นตอนการคลอดรกที่จะเกิดขึ้นต่อไป

เมื่อทารกน้อยออกมาแล้ว มดลูกของคุณแม่จะยังมีการหดรัดตัวเบา ๆ อย่างต่อเนื่อง จากนั้นมดลูกก็จะกลับมาติดชิดกันและรู้สึกเจ็บน้อยลง แพทย์จะขอให้ออกแรงเบ่งอีกครั้งเพื่อคลอดรกออกมา ซึ่งก่อนและหลังการคลอดรกนี้ แพทย์อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและลดการมีเลือดออก หรือให้คุณแม่ลองให้นมลูกเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของช่องคลอด และนวดเบา ๆ ที่ท้องเพื่อกระตุ้นให้รกลอกตัวออกมา


 

Credit content: www.buzzfeed.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

ตีแผ่ 17 ภาพชีวิตจริงของแม่ท้องใกล้คลอดยามนอนกับสามี

15 ภาพความแข็งแกร่งของคุณแม่ขณะคลอดลูก

น่ารักมาก! เบนซ์ พรชิตา โพสต์ภาพโชว์ท้อง คู่ น้องปราง เตรียมตัวเป็นพี่สาวแล้วนะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • 19 ภาพคลอดลูกสุด ตราตรึงหัวใจ แห่งปี
แชร์ :
  • 8 เรื่องที่แม่ท้องส่วนใหญ่กลัวก่อนคลอดลูก

    8 เรื่องที่แม่ท้องส่วนใหญ่กลัวก่อนคลอดลูก

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • 8 เรื่องที่แม่ท้องส่วนใหญ่กลัวก่อนคลอดลูก

    8 เรื่องที่แม่ท้องส่วนใหญ่กลัวก่อนคลอดลูก

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ