X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

บทความ 5 นาที
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

ลูกยังไม่ชินกับสภาพแวดล้อมเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรู้จักวิธี การห่อตัว เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ทำไมต้องรู้วิธี การห่อตัว มีประโยชน์หรือวิธีการอย่างไร

 

ทำไมต้องห่อตัวทารก ?

  • เป็นการช่วยให้ทารกปรับกับสภาพแวดล้อมให้เกิดความคุ้นชิน และช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเหมือนตอนอยู่ในครรภ์
  • ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง
  • รักษาความอบอุ่น ทำให้ทารกรู้สึกไม่หนาว รักษาอุณหภูมิในร่างกาย
  • ทำให้ลูกนอนได้ยาวนานขึ้น และลดอาการผวาระหว่างการนอน
  • ช่วยพัฒนาระบบสมอง อารมณ์ดี มีสุขภาพจิตที่ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีห่อตัวทารก แบบที่ถูกต้องทำอย่างไร จำเป็นต้องห่อตัวลูกตอนนอนทุกวันไหม

 

วิธีการเลือกผ้าห่อตัว

การเลือกผ้าห่อตัวที่ถูกวิธีจะช่วยให้ลูก นอนหลับไปนยาวนาน ไม่ผวา ลดการร้องไห้

  • ขนาดผ้าห่อ ควรใช้ 47×47 จะสามารถใช้ได้นาน เพราะเด็กแต่ละคนขนาดตัวไม่เหมือนกัน
  • เส้นใยธรรมชาติ นุ่ม และ ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าใยไผ่ ระบายกาศ และซึมซับน้ำได้ดี ไม่ทำให้ลูกร้อน ไม่เสียดสีหรือบาดผิว
  • ใช้ผ้าต้องดูอากาศ เลือกให้เหมาะกับสภาพวะของอากาศ เช่นวันไหนที่อากาศร้อน ก็อาจจะใช้เนื้อผ้าที่บางลง วันไหนที่อากาศหนาว ควรใช้เนื้อผ้าที่หนาพอที่จะรักษาความอบอุ่นให้ลูกได้

ข้อดีขอเสีย ของผ้าฝ้าย กับ ผ้าขนหนู 

ผ้าฝ้ายห่อตัวทารก

  • ข้อดี คือ จะเก็บความอุณหภูมิได้ดีกว่าและมีการใช้งานได้นานกว่า
  • ข้อเสีย คือ เมื่อผ้าฝ้ายที่ห่อตัวเด็กเปื้อนสกปรกจะทำความสะอาดได้ยากกว่า

 

ผ้าขนหนูห่อตัวทารก

  • ข้อดี คือ สามารถดูดซับน้ำได้ดีกว่าผ้าคอตตอน
  • ข้อเสีย คือ เมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ เนื้อผ้าจะหลุดลุ่ยเสื่อมสภาพเร็วกว่าผ้าคอตตอน

 

การห่อตัว 3 วิธี

Advertisement
  1. ห่อผ้าบริเวณตัว และคลุมศีรษะของทารก เว้นช่วงใบหน้า
  2. ห่อบริเวณตัว และคลุมถึงส่วนคอของทารก
  3. ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก

 

ห่อผ้าบริเวณตัว และคลุมศีรษะของทารก เว้นช่วงใบหน้า 

 

การห่อตัว

 

การห่อแบบคลุมศีรษะเหมาะสำหรับเด็กเล็กเมื่อจะอุ้มกลับบ้านหรืออุ้มออกนอกหอผู้ป่วยเพื่อไปแผนกอื่น เช่น ไปห้องผ่าตัดหรือแผนกเอกซเรย์

  • ปูผ้าห่อเด็กลงบนเตียงแนวทแยง พับมุมหนึ่งของผ้าลงมาให้เป็นห้าเหลี่ยม
  • วางตัวเด็กหงายลงบนผ้าโดยให้ศีรษะของเด็กต่ำกว่ารอยพับของผ้าเล็กน้อย
  • ตลบผ้าลงมาปิดหน้าผากของเด็ก
  • จับแขนข้างหนึ่งให้แนบลำตัว ดึงชายผ้าด้านเดียวกันลงปิดไหล่แล้วคลุมผ่านลำตัว สอดชายผ้าลงระหว่างลำตัวกับแขนอีกข้างหนึ่งพันไปด้านหลังให้กระชับ
  • จับแขนข้างที่เหลือให้แนบลำตัวด้วย แล้วดึงชายผ้าด้านเดียวกันพันรอบตัวเด็กไปด้านหลัง
  • ตลบผ้าปลายเท้าสอดเข้าใต้ตัวเด็ก

 

การห่อตัว

 

ห่อบริเวณตัว และคลุมถึงส่วนคอของทารก

การห่อแบบเปิดศีรษะเพื่อให้เด็กนอนนิ่งไม่เอามือมาดึงอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเพื่อทำหัตถการบางอย่าง เช่น ใส่สายยางทางอาหาร ให้น้ำเกลือบนศีรษะ เป็นต้น มีวิธีทำได้ 2 วิธี คือ

  • วิธีการทำเหมือนกับการห่อแบบคลุมศีรษะแต่วางเด็กลงบนผ้าให้คอเด็กอยู่ตรงรอยพับของมุมผ้าเท่านั้น
  • ปูผ้าลงบนเตียงตามแนวยาว
  • วางตัวเด็กนอนหงายลงตรงประมาณจุด 1 ใน 3 ของความยาวผ้าโดยให้ไหล่อยู่ระดับเดียวกับขอบผ้าด้านบน
  • ดึงชายผ้าด้านที่สั้นกว่าพันแขนข้างนั้นจากด้านนอก แล้วสอดชายผ้าลงระหว่างแขนกับลำตัวดึงชายผ้าอ้อมไปด้านหลัง สอดชายผ้าขึ้นระหว่างลำตัวกับแขนอีกข้างหนึ่ง แล้วพันแขนข้างนั้นอ้อมไปด้านหลัง
  • จับปลายผ้าด้านยาวพันรอบลำตัวของเด็ก ห่อให้กระชับ

 

ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก 

การห่อแบบเปิดช่วงอกประโยชน์เหมือนกับการห่อตัวแบบเปิดศีรษะ และเหมาะสำหรับการห่อตัวเพื่อทำหัตถการบริเวณหน้าอก

  • ปูผ้าลงบนเตียงตามแนวยาว
  • นำเด็กมาวางตรงกึ่งกลางความยาวผ้า โดยให้ไหล่อยู่ระดับเดียวกับขอบผ้าด้านบน
  • สอดชายผ้าด้านหนึ่งขึ้นระหว่างลำตัวเด็กกับแขนข้างหนึ่ง พันผ้าคลุมแขนข้างนั้น อ้อมไปด้านหลังตัวเด็ก ทำเช่นเดียวกันกับแขนอีกข้างหนึ่งหรือดึงชายผ้าด้านหนึ่งมาพันแขนข้างเดียวกันจากด้านนอก แล้วสอดชายผ้าลงระหว่างแขนกับลำตัวเด็ก ดึงชายผ้าอ้อมไปด้านหลังตัวเด็ก และทำเช่นเดียวกันกับแขนอีกข้างหนึ่ง

 

ประโยชน์ของผ้าห่อตัวทารก

  • ผ้าห่อตัวสามารถช่วยกระชับแขนขาของทารกให้แนบแน่นกับลำตัวไม่ให้เคว้งคว้าง ทำให้ทารกรู้สึกเสมือนว่ากำลังนอนอยู่ในท้องแม่
  • ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง
  • ช่วยให้เกิดความอบอุ่น รักษาอุณหภูมิของร่างกายทารก ทำให้ไม่รู้สึกหนาวเย็น
  • ช่วยพยุงตัวทารก เนื่องจากเด็กแรกเกิดตัวยังอ่อน คอยังไม่แข็งทำให้อุ้มยาก
  • การห่อตัวจะช่วยเพิ่มแรงพยุง และอุ้มง่ายขึ้น เวลาจะเปลี่ยนให้อีกคนอุ้มก็จะง่ายขึ้นด้วย
  • ช่วยเรื่องการพัฒนาระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กเล็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากๆ
  • การห่อตัว จะช่วยลดปฏิกิริยาที่ไวมากต่อการกระตุ้นจากการถูกสัมผัสครั้งแรก ช่วยให้เด็กปรับตัวกับการถูกสัมผัสได้ดีขึ้น

 

ห่อตัวผิดอันตรายอย่างไร ? 

คุณหมอชาร์ลส์ ไพรซ์ ผู้อำนวยการศูนย์โรคความผิดปกติเกี่ยวกับข้อสะโพกระดับนานาชาติและกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกอธิบายถึง อาการข้อสะโพกของลูกเจริญเติบโตผิดปกติว่า “ความผิดปกตินี้พบได้บ่อยครั้งในทารก เพราะเบบี๋มีกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกหนาแน่น และจะต้องใช้เวลาค่อยๆ ขยายออกตามธรรมชาติเมื่อขาค่อยๆ ยาว และเหยียดตรงขึ้น หากระหว่างที่ขาลูกน้อยกำลังเหยียดยืดออกเกิดถูกกดทับด้วยผ้าห่อตัวที่แน่นเกินไป ก็อาจส่งผลให้ข้อสะโพกเคลื่อนออกเบ้า จึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ว่านี้ได้

 

ข้อควรระวังในการห่อตัว 

เมื่อห่อตัวลูกแล้วต้องให้ลูกนอนหงายเท่านั้น ห้ามจับตะแคง

เพราะท่านี้เป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดในการนอนสำหรับเด็กทารกที่ถูกห่อตัว ไม่เสี่ยงกับการนอนไหลตาย หรือ ที่เรียกว่าอาการ SIDS ที่ทำให้ทารกหายใจไม่ออกจนเสียชีวิต

  • อาการ SIDS  โรคไหลตายในเด็ก เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดและกะทันหันทั้งที่ดูมีสุขภาพดี ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะที่เด็กนอนหลับอยู่ และเด็กมักไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนใด ๆ ก่อนการเสียชีวิต สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มักเกิดกับเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาโรคนี้ได้
  • ไม่พันตัวลูกแน่นเกินไป
    ทารกควรขยับตัวเคลื่อนย้ายสะโพก และขาได้เล็กน้อย เพราะถ้าห่อแน่นเกินไปขาลูกอาจจะอยู่ในท่างอ หรือเหยียดตรงนานเกินไป ทำให้เป็นอันตราย
  • ควรหยุดห่อตัวลูกหลังอายุ 2 เดือน
    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กกล่าวว่า เด็กทารกควรได้รับการห่อตัวเพียง 2 เดือนเท่านั้น เพราะร่างกายที่โตขึ้น และสามารถนอนหลับได้ดีจนไม่ต้องใช้การช่วยด้วยการห่อตัวอีก ให้คุณสังเกตลูกว่าพร้อมหรือไม่โดยดูว่า ลูกนอนหลับได้ดี และขยับตัวได้ดี เมื่อมีอาการเหล่านี้ก็ควรหยุดห่อตัวลูกได้

 

อ่านประสบการณ์จริงของเหล่าคุณแม่เกี่ยวกับ ผ้าห่อตัวทารก

ผ้าห่อตัวทารก ผ้าอ้อม ผ้าเช็ดตัว แบบไหนดี ควรมีกี่ผืนคะ กลัวซื้อมาไม่พอ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำ 10 ผ้าห่อตัวเด็ก ยี่ห้อไหนดี นุ่มสบาย อ่อนโยนต่อผิวลูกน้อย

ผ้าห่อตัวทารก มีกี่ประเภท การเลือกซื้อผ้าห่อตัวให้ลูกต้องเลือกอย่างไร ?

แนะนำ 10 ถุงนอนเด็ก ดีไซน์น่ารัก ระบายอากาศได้ดี ไม่ระคายเคืองผิวของลูกน้อย

ที่มา : maerakluke, nappibaby

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กแรกเกิด 0-3 เดือน
  • /
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว
แชร์ :
  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
    บทความจากพันธมิตร

    อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

  • ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

    ห่อตัวลูกนอน จำเป็นไหม ลูกติดห่อตัว ไม่ห่อ ไม่ยอมนอน แก้ยังไง?

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว