X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 9 สร้างวินัยตั้งแต่แรกเกิด

บทความ 5 นาที
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 9 สร้างวินัยตั้งแต่แรกเกิด

คุณพ่อคุณแม่สามารถ สร้างวินัย ให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด เพื่อให้ลูกได้ซึมซับ และ สร้างวินัย ตั้งแต่เด็กเพื่อปลูกฝังให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี

ทำไมต้องฝึกวินัยตั้งแต่เด็ก 

เนื่องจากการฝึกตอนเด็กจะทำให้เด็กซึมซับ มากกว่าการฝึกตอนโตแล้ว การกระทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เด็กก็จะเริ่มเรียนรู้แล้วเข้าใจ ว่าตัวเองควรทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นวินัยในการรับประทานอาหาร วินัยในการนอน วินัยสามารถสร้างได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูกขับถ่ายได้ตอนกี่เดือน รู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมฝึกขับถ่ายแล้ว

ทำไมผู้ใหญ่ชอบพูดว่า เด็กไม่มีระเบียบวินัย 

ส่วนใหญ่สาเหตุมาจาก ครอบครัวที่ขาดการควบคุมดูแล ผู้ใหญ่บางคนก็ลดหย่อนในด้านวินัย จึงไม่สามารถอบรมสั่งสอนได้ เมื่อเด็กโตมาเป็นผู้ใหญ่ก็จะกลายเป็นคนไม่มีวินัยสักเท่าไหร่

ฝึกวินัยลูกตอนไหนดี ? 

สร้างวินัย

สร้างวินัย

เด็กวัย 6-12 เดือน

วินัยของช่วงวัยนี้อาจจะไม่เข้มงวดมาก อาจจะเป็นการปูพื้นฐานสำหรับเด็ก ๆ เป็นการสร้างวินัยเชิงบวก ในวัยนี้เป็นการฝึกให้ลูกรู้จักกับนิสัยหรือพฤติกรรมที่ไม่มีดี ไม่มีระเบียบ ทำให้แต่ละขั้นตอนต้องสังเกตลูกว่าพฤติกรรมของลูกสื่ออะไรกันแน่

วิธีฝึกวินัย

  • ให้คุณพ่อคุณแม่มีช่วงเวลาให้ครอบครัว อยู่ด้วยกันในทุกวัน
  • พยายามหาของเล่นที่เหมาะกับช่วงวัยของลูก
  • ถ้าลูกเริ่มทำอะไรที่ไม่มีวินัย อาจจะเบี่ยงเบนความสนใจลูก หรือพยายามทำให้ลูกไขว้เขวกับสิ่งที่แสดงอยู่ฃ

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีสร้างวินัยให้ลูกน้อย เคล็ดลับการสอนลูก ให้รู้จักการแบ่งเวลาเรียนและเล่นได้ดี

เด็กวัย 1-2 ปี

วัยนี้จะมีเรื่องของการเคลื่อนไหวและการเดินเข้ามา เป็นวัยที่เริ่มสนุกสนานสามารถควบคุมตัวเองได้ และลูกก็อยากจะควบคุมด้วยตัวเอง ในวัยนี้ลูกจะเป็นนักสำรวจ และแสดงออกในด้านของอารมณ์ โมโห โวยวาย

วิธีฝึกวินัย

  • คุณพ่อคุณแม่เพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกมากขึ้น
  • เมื่อลูกทำผิดคุณพ่อคุณแม่เสนอทางเลือกที่ลูกจะถูกทำโทษ
  • ในวัยนี้ยังต้องเบี่ยงเบนความสนใจอยู่เรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้ลูกคุ้นเคยกับสิ่งที่ไม่ดี และ ความไม่มีระเบียบ

เด็กวัย 2-3 ปี

ลูกเริ่มเดินหรือวิ่งได้คล่องแล้ว สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำในช่วงวัยนี้คือในเรื่องของ ด้านอารมณ์ต่าง ๆ ช่วยเพิ่มขอบเขตให้ลูก อธิบายให้ลูกฟังมากขึ้นถึงเหตุผล ช่วยเป็นกำลังใจเมื่อลูกฝึกควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น

วิธีฝึกวินัย

  • คุณพ่อคุณแม่ควรเสนอทางเลือกในการลงโทษ
  • เบี่ยงเบนความสนใจให้คล่องขึ้น
  • เริ่มมีการลงโทษที่เรียกว่า Time out เข้ามาร่วมด้วย เพราะจะทำให้ลูกแยกแยะสิ่งที่ควรหรือไม่ควร

วิธีฝึกให้ลูกกินอิ่มนอนหลับ

คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกได้ตั้งแต่ลูก 6 เดือนหลังขึ้นไป

  • ฝึกลูกกินอิ่มเป็นเวลา

จากการวิจัย เด็ก 6 เดือน ประมาณ 90% ที่จะไม่ตื่นมากินนมหลังเที่ยงคืน มีเพียงแค่ 10% เท่านั้นที่ยังปรับตัวไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตว่าลูกงอแงกินนมบ่อย ๆ เป็นเพราะว่าให้กินนมน้อยไปหรือเปล่า อาจจะเปลี่ยนเป็นการให้นมที่เยอะกว่าเดิม แล้วค่อย ๆ เลื่อนเวลากินนม ปรับแบบนี้จะทำให้ลูกสามารถปรับตัวในการนอนได้ค่ะ

  • ฝึกให้รอ

คุณแม่สามารถฝึกให้ลูกสามารถรอคอยกับเรื่องเล็ก ๆ อย่างเช่น เรื่องการกิน ฝึกให้ลูกรอคอยเมื่อหิว เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่า ถึงเวลาหิวจะต้องอดทนรอเล็กน้อย เป็นการฝึกการควบคมความข้องใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ลูกคนไหนที่บังคับให้รอยาก อาจจะใช้เป็นการ นับ 1-10 แล้วค่อย ๆ เพิ่มเรื่อย ๆ ในครั้งหน้า ลูกก็จะสามารถควบคุมตัวเองผ่านความคับข้องใจ และอดทนรอคอยได้นานขึ้นเรื่อย ๆ ตามวัย

  • นั่งก่อนค่อยกิน
สร้างวินัย

สร้างวินัย

เมื่อลูกเริ่มนั่งได้ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่จับลูกนั่งกินข้าวพร้อมคุณพ่อคุณแม่ และเมื่อลูกนั่งเก้าอี้ลูกก็จะไปไหนไม่ได้ ลูกก็จะเรียนรู้ว่าเมื่อถึงเวลากินข้าว ก็ต้องไปนั่งที่โต๊ะโดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องวิ่งไล่จับ

  • ฝึกให้กินเอง

อาหารที่ลูกวัย 7 เดือนขึ้นไปจะหยิบเองได้ ควรเป็นของทานเล่นสำหรับเด็กที่ทำไว้เป็นชิ้น ๆ ให้เด็กได้หยิบกินด้วยตัวเอง อาหารต้องนิ่ม เคี้ยวง่าย หรือเคี้ยวด้วยเหงือกได้ เช่น แครอทที่ต้มจนนิ่ม ฟักทองที่ต้มจนสุก เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ลองฝึกหยิบ จับ และฝึกควบคุมกล้ามเนื้อมือให้ป้อนอาหารเข้าปากได้อย่างถูกต้อง

ลูกเริ่มโตขึ้นคุณพ่อคุณแม่ควรฝึกแบบไหน ?

  • สอนให้ลูกทำอะไรเอง

ลูกควรฝึกการหยิบสิ่งของต่าง ๆ ส่วนตัวของตัวเอง เป็นวินัยขั้นแรก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันเอง เริ่มจากการอาบน้ำ แปรงฟัน ใส่เสื้อผ้า กินข้าว รวมไปถึงการขับถ่าย ถ้าลูกยังทำไม่ได้ไม่คล่องแคล่ว อย่าเพิ่งไปดุลูก ให้เวลาเขาฝึกฝนไปก่อน

  • สอนให้ลูกรับผิดชอบการกระทำ
สร้างวินัย

สร้างวินัย

เปลี่ยนวิธีเดิม ๆ จากที่เคยเก็บของเล่นให้ลูก เปลี่ยนเป็นฝึกให้ลูกได้เก็บของเองบ้าง และอธิบายว่าลูกหยิบมาเล่น ก็ควรจะต้องเป็นคนเก็บของเข้าที่ ถ้าให้ดีคุณแม่สามารถช่วยจับมือให้ลูกเก็บของเล่นในตะกร้าเอง เมื่อทำซ้ำ ๆ ลูกก็จะเริ่มเก็บของเล่นแต่ละชิ้นลงตะกร้าเอง เมื่อนานเข้าเด็กจะเก็บของเล่นเข้าที่เอง และจะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เขาต้องทำ

  • สอนให้รู้จักขอโทษและขอบคุณ

ควรฝึกให้พูดติดปาก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำเป็นแบบอย่างได้ ลูกจะซึมซับคำพูด วิธีการ และจะทำเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องบอก และเมื่อมีผู้ใหญ่มา คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ขอบคุณเวลาผู้ใหญ่ให้ขนม หรือหลังจากรับของมาแล้ว ควรพูดขอบคุณทุกครั้ง

  • สอนให้รู้จักหน้าที่ตัวเอง

คุณพ่อคุณแม่พยายามมอบหมายหน้าที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ลูกได้ลองทำ เช่นการกินข้าวเสร็จก็ไปเก็บในอ่าง ตื่นมาก็พับผ้าห่ม รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง และยังสามารถสอนให้รู้จักหน้าที่ของตัวเอง เช่น ลูกมีหน้าที่ไปเรียนหนังสือพ่อแม่ควรฝึกให้ลูกเตรียมของไปโรงเรียนด้วยตัวเอง

  • รู้จักตรงต่อเวลา

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนว่า เวลาคืออะไร โดยเริ่มจากกิจวัจรประจำวันในเวลาเดิม ลูกจะรู้ได้เองว่าเวลาไหนควรทำอะไร

บทความที่เกี่ยวข้อง :

เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก วัย 6 เดือน – 3 ปี ฝึกลูกให้เป็นเด็กดี ไม่ก้าวร้าว

ที่มา : (1),(2)

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 9 สร้างวินัยตั้งแต่แรกเกิด
แชร์ :
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 34 น้ำนมสีเหลือง คืออะไร ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 34 น้ำนมสีเหลือง คืออะไร ?

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 34 น้ำนมสีเหลือง คืออะไร ?

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 34 น้ำนมสีเหลือง คืออะไร ?

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ