ตารางกิจวัตรประจําวัน ฝึกกิจวัตรประจำวันให้ลูก ดีต่อลูกอย่างไร ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ เรามีรูปแบบในการดำเนินชีวิตประจำวันที่เราทำทุกวันโดยอัตโนมัติ เช่น แวะร้านกาแฟเจ้าประจำระหว่างทางไปออฟฟิศ แล้วไปนั่งทานอาหารเช้าบนโต๊ะทำงาน ในขณะที่เช็คอีเมลไปด้วย หรือล็อคประตูหน้าบ้าน ปิดไฟทุกดวง แปรงฟัน แล้วนั่งดูซีรีส์โปรดบนเตียงก่อนนอน การทำอะไรเป็นเวลาทุกวันไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ เท่านั้น แต่สำหรับเด็กๆ ตารางกิจวัตรประจําวัน มันยังดีต่อการเจริญเติบโตของพวกเขาในระยะยาวอีกด้วย
ข้อดีของการ ฝึกกิจวัตรประจำวันให้ลูก ตารางกิจวัตรประจําวัน
ตารางกิจวัตรประจําวัน ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่ที่เคร่งครัดในเรื่องการทำสิ่งต่างๆ ตามตารางเวลา หรือเป็นพ่อแม่แบบสบายๆ ปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามสเต็ปของมันก็ตาม การฝึกลูกทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นกิจวัตรตั้งแต่ยังเล็กนั้นเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญต่อชีวิตของลูก
ฝึกกิจวัตรประจำวัน ให้ลูก ตาราง กิจวัตร ประ จํา วัน ตารางกิจวัตรประจําวัน
ข้อมูลจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา American Academy of Pediatrics (AAP) ระบุว่า เด็กจำเป็นต้องมีกิจวัตรประจำวันที่ทำอย่างสม่ำเสมอ เขาจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อได้ทำสิ่งที่เขาคุ้นเคย โดยพ่อแม่มีหน้าที่กระตุ้นให้ลูกทำตามแบบแผนที่วางไว้ ซึ่งสามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์
ตารางกิจวัตรประจําวัน การทำกิจวัตรตามตารางเวลาคืออะไร
ฝึกลูกทำกิจวัตรตามเวลา ตาราง กิจวัตร ประ จํา วัน ตารางกิจวัตรประจําวัน
1. เกิดความรู้สึกปลอดภัย
ถ้าลูกสามารถคาดเดาได้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป เขาจะรู้สึกมั่นใจว่าสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน เป็นสิ่งที่เขาควบคุมได้ เขาจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกก่อนวัยเรียนได้รู้ว่ากิจกรรมที่เขาจะได้ทำตลอดทั้งวันมีอะไรบ้าง จะช่วยให้เขาปรับตัวได้เร็ว เพราะลูกรู้แล้วว่า เมื่อแม่ไปส่งเขาตอนเช้า เขาก็จะทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ที่โรงเรียน พอตอนเย็น แม่ก็จะไปรับเขากลับบ้าน หลังจากที่เขาตื่นนอนตอนกลางวัน อาบน้ำให้เขา และทานข้าวเย็นด้วยกันทั้งครอบครัว
2. ฝึกความรับผิดชอบ
เมื่อลูกรู้ว่ากิจวัตรประจำวันของเขาคืออะไร เขาจะเริ่มต้นที่จะเข้าใจว่า เขาต้องทำอะไรในแต่ละสถานการณ์ เช่น ต้องเก็บของเล่นเมื่อเลิกเล่น ต้องล้างมือก่อนรับประทานอาหารว่าง เป็นต้น
แทนที่จะให้รางวัล คุณลองจัดกิจวัตรประจำวันที่ให้ผลเชิงบวกแทนดีกว่า ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกเก็บของเล่นและล้างมือเรียบร้อยแล้ว ลูกจะได้กินอาหารว่างแสนอร่อย โดยคุณไม่ได้เจาะจงว่านี่คือรางวัล แต่เป็นผลเชิงบวกที่ลูกจะได้รับจากการทำกิจวัตรประจำวันนั้นๆ ซึ่งเป็นการฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เขาควรทำให้สำเร็จ
ฝึกกิจวัตรประจำวัน ให้ลูก
3. เกิดความมั่นใจในตัวเอง
ถ้าลูกรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในเวลาเดิมๆ ของแต่ละวัน เขาจะรู้สึกมั่นใจว่าทุกอย่างอยู่เป็นสิ่งที่เขาควบคุมได้
ยกตัวอย่าง เวลาเข้านอนของลูก เขารู้ว่า เขาจะต้องแปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ใส่ชุดนอน จากนั้นแม่จะอ่านนิทานให้เขาฟังก่อนที่จะปิดไฟและเข้านอน
อย่างไรก็ดี หากตารางเวลาของลูกไม่แน่นอน อาจทำให้ลูกเกิดความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวได้
4. สามารถควบคุมตัวเองได้
การที่ลูกถูกฝึกให้ทำตามตารางเวลาจะทำให้เขารู้จักการอดทนรอคอย เช่น ในกรณีที่ลูกอยากกินขนมก่อนมื้ออาหาร แทนที่คุณจะให้ลูกกินขนมทันทีตามที่เขาต้องการ เขาจะเรียนรู้ว่า เขาจะกินขนมได้ก็ต่อเมื่อเขาต้องกินข้าวให้เสร็จก่อน
การวิจัยกว่า 40 ปีของสแตนฟอร์ดพบว่า เด็กที่สามารถควบคุมตัวเอง และอดทนรอคอยได้ เมื่อโตขึ้นจะทำคะแนนสอบได้สูงกว่า มีระดับการใช้สารเสพติดน้อยกว่า มีโอกาสเป็นโรคอ้วนน้อยกว่า และมีความสามารถในการจัดการกับความเครียดได้ดีกว่า ทักษะทางสังคมดีกว่า และทักษะการใช้ชีวิตโดยทั่วๆ ไปอยู่ในระดับที่ดีกว่า
5. รู้ว่าต้องทำอะไร โดยไม่ต้องบอก
เมื่อลูกรู้ว่าตารางเวลาของเขาเป็นอย่างไร เขาจะสามารถดำเนินตามกิจวัตรเหล่านั้นได้เองโดยไม่ต้องมีใครบอก
เมื่อลูกกลับมาถึงบ้าน ลูกจะเรียนรู้ที่จะทำสิ่งต่างๆ โดยอัตโนมัติ รู้ว่าจะต้องถอดรองเท้า เก็บรองเท้าในชั้น วางกระเป๋าในห้อง แล้วไปล้างมือ เป็นต้น
6. ลดการเอาชนะของลูก
พ่อแม่ทั้งหลายต่างเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน เมื่อถึงเวลานอน แต่ลูกยังอยากดูทีวี สงครามย่อมๆ จึงเกิดขึ้น
แต่หากคุณฝึกลูกให้ทำตามตารางเวลา ปัญหาเรื่องการพยายามเอาชนะของลูกก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเขารู้ว่า หลังอาหารเย็น เขาจะได้ดูการ์ตูนสองตอน จากนั้น เขาต้องอาบน้ำและเข้านอน
อีกวิธีที่ดีที่จะช่วยหลีกเลี่ยงการเอาชนะของลูก คือให้เขามีส่วนร่วมในการกำหนดตารางเวลาของเขาเอง เช่น ให้ลูกเลือกว่าเขาจะอาบน้ำก่อนหรือหลังทำการบ้าน เป็นต้น
เคล็ดลับฝึกลูกทำกิจวัตรเป็นเวลา
ฝึกลูกทำกิจวัตรตามเวลา ตาราง กิจวัตร ประ จํา วัน
1. กำหนดกิจวัตรในตอนเช้า
เช่น ตื่นนอน เข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว กินอาหารเช้า ใส่รองเท้า รอคุณพ่อคุณแม่ที่หน้าประตูเพื่อไปโรงเรียนพร้อมกัน
วิธีการหนึ่งที่จะทำให้ตอนเช้าของคุณราบรื่น เราแนะนำให้คุณเตรียมทุกอย่างให้พร้อมตั้งแต่ตอนกลางคืน เตรียมชุดที่จะใส่ เตรียมอาหารเช้า และช่วยลูกจัดกระเป๋านักเรียนให้เรียบร้อยตั้งแต่ก่อนนอน เท่านี้ก็ช่วยลดความเครียดจากการรีบเร่งในตอนเช้าได้แล้ว
2. กำหนดกิจวัตรในการนอนกลางวัน
เช่น กินอาหารกลางวัน ล้างมือ เล่นอิสระ เก็บของเล่น อ่านหนังสือ นอนกลางวัน
คุณแม่สามารถช่วยเตือนลูกเมื่อใกล้หมดเวลา โดยบอกลูกว่าเหลือเวลาเท่าไหร่ในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ลูกเตรียมตัวเตรียมใจว่าจะหมดเวลาทำสิ่งนั้นๆ แล้ว ถึงเวลาต้องทำอย่างอื่นแล้ว หากลูกยังไม่รู้เวลา อาจใช้วิธีการชี้ที่เข็มนาฬิกาแทนว่าเมื่อเข็มยาวชี้ที่เลข 12 คือหมดเวลานะคะ
3. กำหนดกิจวัตรในการเข้านอน
เช่น แปรงฟัน อาบน้ำ ใส่ชุดนอน อ่านหนังสือ และเข้านอน
การกำหนดกิจวัตรที่ให้ลูกได้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น การเล่านิทาน การพูดคุย การร้องเพลงจะช่วยให้ลูกสงบและนอนหลับไว ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ลูกตื่นเต้น เพราะลูกจะตื่นตัวและไม่ยอมนนอนง่ายๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!
4. พริ้นท์ตารางกิจวัตรออกมา
คุณแม่อาจทำชาร์ทน่ารักๆ โดยใช้รูปการ์ตูนสีสันสดใสที่ลูกชอบ แล้วพริ้นท์ออกมาแปะไว้ในห้องนอน หรือที่ประตูตู้เย็น เพื่อสร้างการจดจำกิจวัตรประจำวันของลูกว่าเขาต้องทำอะไรในลำดับต่อไป
5. จัดตารางเวลาให้เหมาะกับอายุของลูก
คุณต้องแน่ใจว่า ตารางเวลาที่คุณกำหนดให้ลูกนั้นเป็นสิ่งที่เขาสามารถทำได้ตามอายุของเขา เช่น
ลูกวัยสองขวบสามารถตักข้าวกินเองได้ ลูกวัยสี่ขวบสามารแต่งตัวเองได้หลังจากอาบน้ำ ลูกวัยเจ็ดขวบสามารถเก็บที่นอนได้หลังจากตื่นนอน
อย่างไรก็ดี เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน คุณควรประเมินพัฒนาการของลูกแล้วจึงกำหนดกิจวัตรที่เหมาะสมให้กับลูกของคุณ
แม้ว่า การกำหนดตารางเวลาจะเป็นสิ่งสำคัญตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ก็ไม่ควรเคร่งครัดเกินไป คุณควรมีความยืดหยุ่นด้วยเช่นกัน
ฝึกกิจวัตรประจำวันให้ลูก
ความยืดหยุ่นสำคัญอย่างไร
ควรสอนให้ลูกได้รู้จักความยืดหยุ่นในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ บ้าง เพราะชีวิตบางทีก็มีเรื่องคาดไม่ถึงเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ หากคุณเห็นว่ากิจวัตรบางอย่างอาจมีส่วนที่ไม่เวิร์กในบางเรื่อง ก็ไม่ผิดอะไรที่คุณจะปรับเปลี่ยนและลองสิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะเหมาะกับลูกของคุณมากกว่า เพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเขา
พึงระลึกไว้เสมอว่า การฝึกกิจวัตรประจำวันให้ลูกเป็นเพียงแนวทางในการทำตามตารางเวลาที่จะเกิดขึ้นทุกวัน เพื่อให้ลูกรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายที่ไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ไม่ว่าจะฝึกอะไร ทุกอย่างควรอยู่ในระดับที่พอดี ไม่ตึง และไม่หย่อนเกินไป จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีค่ะ
คุณแม่มีวิธีฝึกกิจวัตรประจำวันให้กับลูกน้อยอย่างไรให้ได้ผล สามารถแชร์ประสบการณ์ให้กับคุณแม่ท่านอื่นๆ ได้ที่ช่องคอมเมนต์ด้านล่างนะคะ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ฝึกลูกให้มีวินัย 5 เรื่องง่ายๆที่ลูกของเราก็ทำได้
อยากให้ลูกหลับตลอดคืน ต้องฝึกลูกให้นอนเป็นเวลา
ที่มา : peakparent, sg.theasianparent
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!