ทารกร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ แต่การที่ ลูกร้องไม่หยุด อาจจะเป็นวิธีการสื่อสารเดียวของลูกน้อย เรามาดูสาเหตุที่ ลูกร้องไม่หยุด กันดีกว่าค่ะ
ทำไมลูกถึงร้องไม่หยุด
ร้องเพราหิว
- นี่คือสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่นึกถึง แต่บางครั้งการที่ลูกร้องไห้อาจไม่ใช่เพราะหิวเสมอไป ควรเช็คเวลาและปริมาณนมที่ลูกดื่ม พยายามสังเกตว่าถ้าลูกหิวจะแสดงอาการอย่างไร
ผ้าอ้อมเปียกแฉะ
- การขับถ่ายของเด็กทารกในช่วงแรกจะขับของเสียออกมาบ่อย ทำให้เปื้อนผ้าอ้อม และอาจเกิดความไม่สบายตัวได้ ควรเช็ดและเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นประจำ
ลูกเกิดการเหนื่อยล้า
- ในแต่ละวันลูกอาจจะเล่น หรือเรียนรู้ในแต่ละวัน ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้
ลูกต้องการพ่อแม่
- ลูกอาจรู้สึกไม่ปลอดภัย อยากให้พ่อแม่มากอยู่ใกล้ ๆ
ท้องอืด
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกท้องผูกทํายังไง ลูกถ่ายยาก ลูกไม่ถ่ายมาหลายวัน มีวิธีแก้อาการท้องอืดไหม
อากาศ
- อากาศหนาวหรือร้อนเกินไป ช่วยที่ลูกสวมใส่อาจจะไม่สบายตัว ควรแต่งตัวสบาย ๆ เนื้อผ้าไม่บางหรือหนาเกินไป และไม่ระคายเคืองต่อผิวลูก
เบื่อหน่าย
- เด็กก็สามารถมีอาการเบื่อหน่ายได้เหมือนกับผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่ควรหายอะไรเบี่ยงเบนความสนใจลูก
กระตุ้นมากเกินไป
- กิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่พยายามเล่นกับลูก อาจจะมีผลต่อลูกน้อยในแต่ละวัน
ภาวะโคลิค
อาการโคลิค ลูกร้องไม่หยุด
โคลิค โคลิดคืออาการของทารกที่เพิ่งเกิดได้ ปรพมาณ 2 – 4 สัปดาห์ จะมีอาการร้องไห้หนัก โดยไม่ทราบสาเหตุ และคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถกล่อมให้หลับได้ โคลิคเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับทารกเกือบทุกคน แม้ทารกจะมีสุขภาพที่แข็งแรง กินนมตามปกติ แต่โคลิคก็สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตุทารกได้จาก การร้องไห้ โดยปกติแล้ว ทารกจะร้องเมื่อรู้สึกว่าตัวเองหิว ตกใจกลัว หรือเหนื่อย แต่อาการโคลิคนั้น เด็กจะร้องไห้ออกมาหนักมากกว่าปกติ และร้องไห้ในเวลาเดิม ๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาเย็นหรือหัวค่ำ เด็กจะร้องไห้นานกว่าปกติ มีเสียงร้องไห้ที่แหลมกว่าเดิม ร้องประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง ติดต่อกัน ร้องมากกว่า 3 วัน ละนานอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หรือทารกบางคนก็อาจร้องไห้นานกว่านั้น อาการโคลิคเหล่านี้จะดีขึ้นได้ เมื่อทารกอายุประมาณ 3 – 4 เดือน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกร้องไห้ไม่หยุดรับมืออย่างไร ? ร้องไห้แบบไหนเข้าข่าย โคลิค
โคลิคเกิดจากอะไร
- การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ในระบบทางเดินอาหาร
- มีลมหรือแก๊สในท้องมาก ซึ่งการร้องไห้ อาจทำให้ทารกกลืนลมจำนวนมากเข้าไปในท้อง
- อาการปวดท้อง ที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างกายปรับเปลี่ยน
- การถูกรบกวนหรือถูกกระตุ้น จากปัจจัยภายนอกมากเกินไป เช่น เสียง แสงไฟ เป็นต้น
- พื้นฐานทางอารมณ์ของทารก หรือเด็กที่พ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์
- การพัฒนาของระบบประสาทที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือการระคายเคืองของระบบประสาท
- ปัญหาจากการป้อนนม ได้แก่ ป้อนมากเกินไป น้อยเกินไป หรือป้อนผิดวิธี
- ปัญหาทางสุขภาพของทารก เช่น กรดไหลย้อน หูอักเสบ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ ไส้เลื่อน แพ้นมวัว ผื่นผ้าอ้อม
บทความที่เกี่ยวข้อง : เผยเทคนิค หยุดน้ำตาเจ้าตัวเล็ก จบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่หยุด พาพ่อแม่แฮปปี้
วิธีทำให้ลูกหยุดร้อง
ลูกร้องไม่หยุด
- ใช้จุกหลอก : หาจุกหลอกมาให้ลูกดูด
- เปิดเสียงเพลงธรรมชาติ : คุณพ่อคุณแม่สามารถเปิดเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงลม เสียงลำธาร เสียงฝนตก เสียงพวกนี้จะช่วยลดความเครียด สร้างสมาธิให้แก่ลูกได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเปิดใน Youtube ได้ค่ะ
- ผ้าเน่า หรือ ตุ๊กตาคู่ใจ : หลายคนโตมากับสิ่งเหล่านี้เลยทำให้เขารู้สึกอุ่นใจ
- ร้องเพลงกล่อม : อุ้มลูกน้อยหรือพานอนในเปล เคลื่อนไหวโยกไปมาช้า ๆ หรือ ไกลช้า ๆ และร้องเพลงกล่อมเด็ก
- รถเข็น : พาลูกน้อยออกไปเดินเล่น เด็กหลายคนชอบนอนหลับในรถเข็น
- หาอะไรให้ลูกดูหรือฟัง : หาอะไรเบี่ยงเบนความสนใจของลูก คุณพ่อคุณแม่อาจจะหาโมบายแขวน หรือเสียงเพลง เพื่อให้ลูกไปสนใจเสียงเพลง หรือโมบาย ที่แขวนอยู่ตรงหน้าแทน
- ลูบหลังเป็นจังหวะ : หันหน้าลูกออกจากตัวหรือวางลูกคว่ำบนตักแล้วค่อย ๆ ลูบหลัง
- นวดผ่อนคลาย : ลูกก็ชอบนวดเพื่อผ่อนคลายเช่นกันค่ะ ถ้าอายุต่ำกว่า 1 เดือน ควรเลี่ยงน้ำมันมะพร้าว หรือ โลชั่นสำหรับเด็ก และคุณพ่อคุณแม่ต้องแน่ใจว่าอุณหภูมิของห้องไม่หนาวจนเกินไป เพราะจะต้องถอดเสื้อผ้าของลูกน้อยออกก่อนทำการนวด
- อาบน้ำอุ่น ๆ ให้ลูกน้อย : แนะนำให้ใช้อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก ผสมกับน้ำอุ่นกับสบู่อาบน้ำ แต่หากลูกคนไหนชอบร้องไห้เวลาอาบน้ำเป็นประจำวิธีนี้อาจจะไม่เหมาะค่ะ
- วางลูกลงที่นอนหลังให้นม : เมื่อลูกทานนมไม่ว่าจะเป็นจากเต้านมแม่หรือขวดนม ลูกน้อยก็จะเคลิ้มหลับไป
- ใช้ผ้าห่อตัว : การห่อตัวจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และอบอุ่น ซึ่งในปัจจุบันจะมีผ้าห่อตัวแบบสำเร็จรูป และถุงนอนทำให้คุณพ่อคุณแม่ประหยัดเวลาขึ้น
ที่มา : (bestreview),(pobpad)
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!