theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

บทความ 5 นาที
•••
100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว

ลูกยังไม่ชินกับสภาพแวดล้อมเท่าไหร่ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรู้จักวิธี การห่อตัว เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย ทำไมต้องรู้วิธี การห่อตัว มีประโยชน์หรือวิธีการอย่างไร

ทำไมต้องห่อตัวทารก ?

  • เป็นการช่วยให้ทารกปรับกับสภาพแวดล้อมให้เกิดความคุ้นชิน และช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเหมือนตอนอยู่ในครรภ์
  • ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง
  • รักษาความอบอุ่น ทำให้ทารกรู้สึกไม่หนาว รักษาอุณหภูมิในร่างกาย
  • ทำให้ลูกนอนได้ยาวนานขึ้น และลดอาการผวาระหว่างการนอน
  • ช่วยพัฒนาระบบสมอง อารมณ์ดี มีสุขภาพจิตที่ดี

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีห่อตัวทารก แบบที่ถูกต้องทำอย่างไร จำเป็นต้องห่อตัวลูกตอนนอนทุกวันไหม

วิธีการเลือกผ้าห่อตัว

การเลือกผ้าห่อตัวที่ถูกวิธีจะช่วยให้ลูก นอนหลับไปนยาวนาน ไม่ผวา ลดการร้องไห้

  • ขนาดผ้าห่อ ควรใช้ 47×47 จะสามารถใช้ได้นาน เพราะเด็กแต่ละคนขนาดตัวไม่เหมือนกัน
  • เส้นใยธรรมชาติ นุ่ม และ ระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าใยไผ่ ระบายกาศ และซึมซับน้ำได้ดี ไม่ทำให้ลูกร้อน ไม่เสียดสีหรือบาดผิว
  • ใช้ผ้าต้องดูอากาศ เลือกให้เหมาะกับสภาพวะของอากาศ เช่นวันไหนที่อากาศร้อน ก็อาจจะใช้เนื้อผ้าที่บางลง วันไหนที่อากาศหนาว ควรใช้เนื้อผ้าที่หนาพอที่จะรักษาความอบอุ่นให้ลูกได้

ข้อดีขอเสีย ของผ้าฝ้าย กับ ผ้าขนหนู 

ผ้าฝ้ายห่อตัวทารก

  • ข้อดี คือ จะเก็บความอุณหภูมิได้ดีกว่าและมีการใช้งานได้นานกว่า
  • ข้อเสีย คือ เมื่อผ้าฝ้ายที่ห่อตัวเด็กเปื้อนสกปรกจะทำความสะอาดได้ยากกว่า

ผ้าขนหนูห่อตัวทารก

  • ข้อดี คือ สามารถดูดซับน้ำได้ดีกว่าผ้าคอตตอน
  • ข้อเสีย คือ เมื่อมีการใช้งานไปนาน ๆ เนื้อผ้าจะหลุดลุ่ยเสื่อมสภาพเร็วกว่าผ้าคอตตอน

การห่อตัว 3 วิธี

  1. ห่อผ้าบริเวณตัว และคลุมศีรษะของทารก เว้นช่วงใบหน้า
  2. ห่อบริเวณตัว และคลุมถึงส่วนคอของทารก
  3. ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก

ห่อผ้าบริเวณตัว และคลุมศีรษะของทารก เว้นช่วงใบหน้า 

การห่อตัว

การห่อตัว

การห่อแบบคลุมศีรษะเหมาะสำหรับเด็กเล็กเมื่อจะอุ้มกลับบ้านหรืออุ้มออกนอกหอผู้ป่วยเพื่อไปแผนกอื่น เช่น ไปห้องผ่าตัดหรือแผนกเอกซเรย์

  • ปูผ้าห่อเด็กลงบนเตียงแนวทแยง พับมุมหนึ่งของผ้าลงมาให้เป็นห้าเหลี่ยม
  • วางตัวเด็กหงายลงบนผ้าโดยให้ศีรษะของเด็กต่ำกว่ารอยพับของผ้าเล็กน้อย
  • ตลบผ้าลงมาปิดหน้าผากของเด็ก
  • จับแขนข้างหนึ่งให้แนบลำตัว ดึงชายผ้าด้านเดียวกันลงปิดไหล่แล้วคลุมผ่านลำตัว สอดชายผ้าลงระหว่างลำตัวกับแขนอีกข้างหนึ่งพันไปด้านหลังให้กระชับ
  • จับแขนข้างที่เหลือให้แนบลำตัวด้วย แล้วดึงชายผ้าด้านเดียวกันพันรอบตัวเด็กไปด้านหลัง
  • ตลบผ้าปลายเท้าสอดเข้าใต้ตัวเด็ก

ห่อบริเวณตัว และคลุมถึงส่วนคอของทารก

การห่อตัว

การห่อตัว

การห่อแบบเปิดศีรษะเพื่อให้เด็กนอนนิ่งไม่เอามือมาดึงอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือเพื่อทำหัตถการบางอย่าง เช่น ใส่สายยางทางอาหาร ให้น้ำเกลือบนศีรษะ เป็นต้น มีวิธีทำได้ 2 วิธี คือ

  • วิธีการทำเหมือนกับการห่อแบบคลุมศีรษะแต่วางเด็กลงบนผ้าให้คอเด็กอยู่ตรงรอยพับของมุมผ้าเท่านั้น
  • ปูผ้าลงบนเตียงตามแนวยาว
  • วางตัวเด็กนอนหงายลงตรงประมาณจุด 1 ใน 3 ของความยาวผ้าโดยให้ไหล่อยู่ระดับเดียวกับขอบผ้าด้านบน
  • ดึงชายผ้าด้านที่สั้นกว่าพันแขนข้างนั้นจากด้านนอก แล้วสอดชายผ้าลงระหว่างแขนกับลำตัวดึงชายผ้าอ้อมไปด้านหลัง สอดชายผ้าขึ้นระหว่างลำตัวกับแขนอีกข้างหนึ่ง แล้วพันแขนข้างนั้นอ้อมไปด้านหลัง
  • จับปลายผ้าด้านยาวพันรอบลำตัวของเด็ก ห่อให้กระชับ

ห่อผ้าครึ่งตัวของทารก 

การห่อแบบเปิดช่วงอกประโยชน์เหมือนกับการห่อตัวแบบเปิดศีรษะ และเหมาะสำหรับการห่อตัวเพื่อทำหัตถการบริเวณหน้าอก

  • ปูผ้าลงบนเตียงตามแนวยาว
  • นำเด็กมาวางตรงกึ่งกลางความยาวผ้า โดยให้ไหล่อยู่ระดับเดียวกับขอบผ้าด้านบน
  • สอดชายผ้าด้านหนึ่งขึ้นระหว่างลำตัวเด็กกับแขนข้างหนึ่ง พันผ้าคลุมแขนข้างนั้น อ้อมไปด้านหลังตัวเด็ก ทำเช่นเดียวกันกับแขนอีกข้างหนึ่งหรือดึงชายผ้าด้านหนึ่งมาพันแขนข้างเดียวกันจากด้านนอก แล้วสอดชายผ้าลงระหว่างแขนกับลำตัวเด็ก ดึงชายผ้าอ้อมไปด้านหลังตัวเด็ก และทำเช่นเดียวกันกับแขนอีกข้างหนึ่ง

ประโยชน์ของผ้าห่อตัวทารก

  • ผ้าห่อตัวสามารถช่วยกระชับแขนขาของทารกให้แนบแน่นกับลำตัวไม่ให้เคว้งคว้าง ทำให้ทารกรู้สึกเสมือนว่ากำลังนอนอยู่ในท้องแม่
  • ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง
  • ช่วยให้เกิดความอบอุ่น รักษาอุณหภูมิของร่างกายทารก ทำให้ไม่รู้สึกหนาวเย็น
  • ช่วยพยุงตัวทารก เนื่องจากเด็กแรกเกิดตัวยังอ่อน คอยังไม่แข็งทำให้อุ้มยาก
  • การห่อตัวจะช่วยเพิ่มแรงพยุง และอุ้มง่ายขึ้น เวลาจะเปลี่ยนให้อีกคนอุ้มก็จะง่ายขึ้นด้วย
  • ช่วยเรื่องการพัฒนาระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กเล็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากๆ
  • การห่อตัว จะช่วยลดปฏิกิริยาที่ไวมากต่อการกระตุ้นจากการถูกสัมผัสครั้งแรก ช่วยให้เด็กปรับตัวกับการถูกสัมผัสได้ดีขึ้น

ห่อตัวผิดอันตรายอย่างไร ? 

คุณหมอชาร์ลส์ ไพรซ์ ผู้อำนวยการศูนย์โรคความผิดปกติเกี่ยวกับข้อสะโพกระดับนานาชาติและกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกอธิบายถึง อาการข้อสะโพกของลูกเจริญเติบโตผิดปกติว่า “ความผิดปกตินี้พบได้บ่อยครั้งในทารก เพราะเบบี๋มีกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกหนาแน่น และจะต้องใช้เวลาค่อยๆ ขยายออกตามธรรมชาติเมื่อขาค่อยๆ ยาว และเหยียดตรงขึ้น หากระหว่างที่ขาลูกน้อยกำลังเหยียดยืดออกเกิดถูกกดทับด้วยผ้าห่อตัวที่แน่นเกินไป ก็อาจส่งผลให้ข้อสะโพกเคลื่อนออกเบ้า จึงอาจทำให้เกิดความผิดปกติที่ว่านี้ได้

ข้อควรระวังในการห่อตัว 

เมื่อห่อตัวลูกแล้วต้องให้ลูกนอนหงายเท่านั้น ห้ามจับตะแคง

เพราะท่านี้เป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดในการนอนสำหรับเด็กทารกที่ถูกห่อตัว ไม่เสี่ยงกับการนอนไหลตาย หรือ ที่เรียกว่าอาการ SIDS ที่ทำให้ทารกหายใจไม่ออกจนเสียชีวิต

  • อาการ SIDS  โรคไหลตายในเด็ก เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดและกะทันหันทั้งที่ดูมีสุขภาพดี ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะที่เด็กนอนหลับอยู่ และเด็กมักไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนใด ๆ ก่อนการเสียชีวิต สาเหตุของโรคนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มักเกิดกับเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาโรคนี้ได้
  • ไม่พันตัวลูกแน่นเกินไป
    ทารกควรขยับตัวเคลื่อนย้ายสะโพก และขาได้เล็กน้อย เพราะถ้าห่อแน่นเกินไปขาลูกอาจจะอยู่ในท่างอ หรือเหยียดตรงนานเกินไป ทำให้เป็นอันตราย
  • ควรหยุดห่อตัวลูกหลังอายุ 2 เดือน
    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กกล่าวว่า เด็กทารกควรได้รับการห่อตัวเพียง 2 เดือนเท่านั้น เพราะร่างกายที่โตขึ้น และสามารถนอนหลับได้ดีจนไม่ต้องใช้การช่วยด้วยการห่อตัวอีก ให้คุณสังเกตลูกว่าพร้อมหรือไม่โดยดูว่า ลูกนอนหลับได้ดี และขยับตัวได้ดี เมื่อมีอาการเหล่านี้ก็ควรหยุดห่อตัวลูกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิคห่อตัวลูกให้หลับสบายสไตล์ซุปเปอร์มัม

ที่มา : (1),(2)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 11 การห่อตัว
แชร์ :
•••
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

app info
get app banner
เมื่อลูกป่วย ในวันที่พ่อแม่ ขาดรายได้  อย่าปล่อยให้ ' เรื่องค่าใช้จ่าย มาเป็นข้อจํากัด
  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 12 น้ำนมไม่ไหล ทำอย่างไร

  • 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

    100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 4 การทำความสะอาดร่างกายคุณแม่

  • การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

    การเก็บสเต็มเซลส์จากทารกแรกเกิดมีประโยชน์จริงไหม?

  • ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

    ชื่อลูกต้องห้าม ชื่อไหนห้ามตั้งให้ลูก ชื่อลูกความหมายไม่ดี ตั้งแล้วผิดกฎหมาย

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป