X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 วิธี สวมบทคุณแม่ใจร้าย ปราบพยศลูกรัก

31 Dec, 2015
คู่มือคุณแม่ใจร้าย

คู่มือคุณแม่ใจร้าย

คุณแม่มักจะรู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิดเวลาที่ลูก ๆ ของเราดื้อหรือแผลงฤทธิ์ในที่สาธารณะใช่ไหมคะ ยิ่งถ้าเราใจดี พวกเขาก็จะยิ่งพยศมากขึ้น บางทีพวกเราควรที่จะต้องลองสวมบทคุณแม่ใจร้ายกันดูบ้างละล่ะค่ะ จะได้เป็นการฝึกพวกเขาให้มีระเบียบวินัยไปในตัว เพราะฉะนั้นวันนี้เรามีคู่มือของการสวมบทเป็นคุณแม่ใจร้ายมาฝากกันค่ะ
1. ให้พวกเขาจ่ายเงินเองเสียบ้าง

1. ให้พวกเขาจ่ายเงินเองเสียบ้าง

ใช่ค่ะ คุณแม่ฟังไม่ผิด เราจะต้องเริ่มสอนให้เขารู้ว่าถ้าอยากได้อะไรควรที่จะรู้จักเก็บเงินซื้อเอง ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ หรอก ที่สำคัญเวลาลูกอยากได้อะไร คุณแม่อย่าใจร้อนรีบซื้อให้ลูก ๆ ก่อนนะคะ ใจเย็น ๆ ค่ะ จริงอยู่การสงสารลูกเป็นสิ่งที่พวกเราควรที่จะเป็นอยู๋แล้ว แต่อย่างน้อยเราควรฝึกให้เขาจักคุณค่าของเงิน และอีกนัยหนึ่งยังสามารถให้เขารู้จักคุณค่าของของที่พวกเขาซื้อมาด้วยเงินของตัวเองอีกด้วย จริงไหมละคะ
2. อย่าช่วยเหลือเขามากจนเกินไป

2. อย่าช่วยเหลือเขามากจนเกินไป

คุณแม่ขา การช่วยเหลือพวกเขามากจนเกินไป ก็อาจจะเป็นการทำร้ายลูกของเราทางอ้อมด้วยจริงไหมคะ บอกให้เขารู้ว่าทุกอย่างอยู่ที่ตัวของเขาเอง ถ้าเขาอยากได้อะไร อยากทำอะไร อยากมีอาชีพอะไร ควรรู้จักช่วยเหลือตัวเองก่อน พยายามทำให้ดีที่สุด ไม่อย่างนั้นถ้าหากเราช่วยเหลือพวกเขามากเกินไป ก็จะทำให้เขารู้สึกว่า เดี๋ยวแม่ก็ช่วยเขาเองแหละ คุณแม่ขา...เคยลองคิดเล่น ๆ ไหมคะว่า การที่เราใจดีช่วยเหลือเขาทุก ๆ อย่างมากเกินไป แล้วถ้าหากวันหนึ่งหากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้วละคะ ลูก ๆ ของเราจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยตัวเองได้อย่างไรกัน เพราะฉะนั้นสอนให้เขารู้ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนดีที่สุดค่ะ
3. ให้พวกเขารู้จักทำงานเสียบ้าง

3. ให้พวกเขารู้จักทำงานเสียบ้าง

คุณแม่สามารถให้ลูก ๆ ทำงานบ้านได้ ไม่ว่าจะเป็นกวาดถู ล้างจาน ช่วยทำงานบ้าน โดยเราอาจจะมีรางวัลให้เป็นเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ย้ำนะคะว่า เล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น เขาจะได้รู้ว่า อ้อ ถ้าอยากได้เงินต้องรู้จักทำงาน ไม่ใช่แบมือขอแล้วได้เลย และนี่ละค่ะ เราสามารถสอนพวกเขาต่อได้ว่า หนูเอาเงินที่มาจากการทำงานนี้ไปหยอดกระปุกสะสมไว้แล้วพอเต็มกระปุกก็นำเอาไปใส่ในบัญชีเงินฝากนะจ๊ะ และพอวันหนึ่งที่หนูอยากได้อะไรก็เอาเงินจากตรงนี้ไปซื้อ แค่นี้ลูกเราก็จะรู้สึกอยากช่วยเราทำงานบ้านมากขึ้นด้วย
4. สอนให้ลูก ๆ รู้จักคำว่าขอโทษ

4. สอนให้ลูก ๆ รู้จักคำว่าขอโทษ

ข้อนี้จัดได้ว่าเป็นข้อที่สำคัญอีกข้อหนึ่งเลยละค่ะ ทุกครั้งที่ลูกทำผิด ไม่ว่าจะกับคุณแม่เอง คนในครอบครัว หรือคนอื่น ๆ ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก ลูกควรต้องรู้จักที่จะเอ่ยคำว่าขอโทษในทันทีที่ทำผิด ไม่ต้องเกี่ยงว่าความผิดในครั้งนั้นจะเล็กน้อยเพียงใด อย่างน้อยคำสำคัญคำนี้ควรที่จะอยู่ติดมากลูกของเรา อ้อ! ที่สำคัญคุณแม่อย่าลืมอธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจด้วยนะคะ ว่าเพราะอะไรและทำไมพวกเขาถึงจะต้องขอโทษ
5. ระวังกิริยาท่าทางไว้ให้ดี

5. ระวังกิริยาท่าทางไว้ให้ดี

ลูก ๆ มักจะมีท่าทีก้าวร้าว ดื้อรั้นกับคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัวจริงไหมคะ คุณแม่อย่าลืมนะคะว่าบางทีพวกเขาอาจจะเผลอนำเอากิริยาดังกล่าวไปใช้กับเพื่อน ๆ คุณครู หรือคนอื่น ๆ ได้ ดังนั้นถ้าหากเราเห็นพฤติกรรมอะไรที่ไม่ดี อย่าลืมที่จะตำหนิลูกนะคะ รักลูกตำหนิลูกบ้างไม่มีใครว่าหรอกค่ะ เพียงแค่เราอยากให้เขาเป็นคนดีเป็นที่รักของคนอื่น ๆ เราก็ควรที่จะต้องสวมบทเป็นคุณแม่ใจร้ายบ้าง แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไม่ฟังหรือเข้าข้างลูกนะคะ ถามเขาก่อนก็ได้ค่ะ ว่าเพราะอะไร ทำไมถึงแสดงท่าทีไม่ดีออกไป แล้วเราก็อธิบายเหตุผลให้เขาฟังทีหลัง จริงอยู่ ที่อาจจะเป็นการทำร้ายจิตใจพวกเขาบ้าง แต่อย่างน้อยก็เพื่ออนาคตของลูกเรานะคะ
6. อย่าไปเอาใจลูกมากเกินไป

6. อย่าไปเอาใจลูกมากเกินไป

ข้อนี้สำคัญอีกแล้วละค่ะ ก็จะไม่สำคัญได้อย่างไรละคะ ก็ส่วนใหญ่พวกเราก็มักจะเผลอเอาใจลูก ๆ ของเรามากเกินไป ซึ่งบางทีก็อาจจะทำไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้ จริงไหมคะ ก็แหม ของเล่นชิ้นใหม่ที่ลูกชอบและอยากได้มานานออกแล้ว เสื้อผ้าคอลเลคชั่นใหม่ก็มาแล้ว จะอดใจไม่ให้ซื้อได้อย่างไรกันละ ใช่ค่ะ! คุณแม่ซื้อได้ไม่มีใครว่า แต่ว่าคุณแม่จะไม่มีทางสอนลูก ๆ ให้รู้จักคุณค่าของเงินได้เลย เพราะฉะนั้น ใจร้ายบ้างเถอะค่ะ ถ้าเขาอยากได้ก็ค่อยๆ อธิบายก็ได้ว่า ของเล่นที่เรามีอยู่เยอะแล้ว ยังเล่นไม่หมดเลยหรือค่อย ๆ หาเหตุผลอธิบายให้เขาเข้าใจว่า เพราะอะไรทำไมเราถึงไม่ซื้อให้ เชื่อเถอะค่ะว่า ต่อให้ต้องใช้เวลาหลายนาทีในการอธิบาย ไหนลูก ๆ จะร้องโวยวายอีก แต่การไม่ตามใจเขาจะส่งผลดีให้กับตัวลูกเองในที่สุด
7. ให้พวกเขารู้จักคำว่าสูญเสีย ๆ บ้าง

7. ให้พวกเขารู้จักคำว่าสูญเสีย ๆ บ้าง

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกกำลังรับประทานไอศกรีมอยู่ แล้วเกิดทำไอศกรีมตกพื้น อย่านะคะ! อย่าซื้ออันใหม่ให้เขาเด็ดขาดค่ะ สอนให้เขารู้จักว่าที่เป็นอย่างนี้เพราะเขาไม่ระวังมากพอ ลูก ๆ จะได้รู้จักคุณค่าและระวังมากขึ้น แล้วถ้าเขาสอบได้คะแนนไม่ดี เกรดตก ปล่อยเขาค่ะ บอกเขาว่าที่เป็นแบบนี้เป็นเพราะว่าลูก ๆ ไม่อ่านหนังสือ เพราะฉะนั้นก็ต้องยอมรับกับผลของการกระทำตัวเอง เราไม่ได้ซ้ำเติมค่ะ แต่เราสอนให้เขารู้ถึงสาเหตุที่มาว่าที่เป็นแบบนี้นั้นเป็นเพราะอะไร
8. ควบคุมเกมและสื่อทั้งหลายเอง

8. ควบคุมเกมและสื่อทั้งหลายเอง

อย่าปล่อยให้ลูกเล่นเกมนานเกินไป หรือเล่นโซเชียลมีเดียหรืออินเทอร์เน็ตเพียงลำพัง คุณแม่อย่าลืมนะคะว่า บางเกม หรือบางเว็บอาจจะมีสื่อ ภาษาหรือภาพที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ๆ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่พวกเขาจับสื่อจงอย่าปล่อยให้ละสายตาเด็ดขาดค่ะ อย่างน้อยก็สามารถแนะนำลูก ๆ ได้ว่าอะไรควรดูไม่ควรดู อะไรเป็นสิ่งที่ดีและไม่ดี
9. ควบคุมการนอนให้เป็นปกติ

9. ควบคุมการนอนให้เป็นปกติ

ไม่ใช่ว่าวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดต่าง ๆ หรือปิดเทอมก็อนุญาตให้เด็ก ๆ นอนดึกได้ ทำทุกอย่างให้เป็นปกติค่ะ ให้เขารู้ว่าถึงเวลานอนก็ต้องนอน ไม่มีข้ออ้างใด ๆ ทั้งสิ้น ทางที่ดีสอนตั้งแต่เขาเป็นเด็กเล็ก ๆ นี่ละค่ะดีเลย เพื่อจะได้สร้างระเบียบวินัยให้เขาไปในตัว
10. ให้ทำงานฟรี ๆ แบบไม่ได้อะไรตอบแทนเสียบ้าง

10. ให้ทำงานฟรี ๆ แบบไม่ได้อะไรตอบแทนเสียบ้าง

ให้พวกเขารู้จักมองดูคนอื่น รู้จักช่วยเหลือผู้คนไม่ว่าจะคนในครอบครัวหรือคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทนบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ช่วยน้องผูกเชือกรองเท้าหรือช่วยพยุงคุณยายลุกหรือเดินเป็นต้น ไม่ใช่หวังแต่เพียงจะให้คนอื่นมาช่วยเหลือหรือถ้าอยากจะให้เขาทำอะไรต้องให้เงินหรือสิ่งตอบแทนเขาก่อน ข้อนี้เราสามารถสอนให้เขารู้จักการมีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ค่ะ ไม่ยากใช่ไหมละคะ กับการต้องสวมบทเป็นคุณแม่ใจร้ายไม่ตามใจลูก ๆ แต่นี่แหละค่ะคือความรักที่แท้จริง ที่ลูก ๆ ของเราจะต้องฝึกและทำให้ติดเป็นนิสัยจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพ
ถัดไป
img

บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • /
  • 10 วิธี สวมบทคุณแม่ใจร้าย ปราบพยศลูกรัก
แชร์ :
  • 5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

    5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

  • รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

    รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

  • ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

    ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

  • 5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

    5 วิธีป้องกันลูกตกเป็นเหยื่อ “ความใคร่เด็ก” ภัยร้ายในคราบผู้ใหญ่ใจดี

  • รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

    รู้ให้ทัน! โทษของบุหรี่ไฟฟ้า ประตูสู่ยาเสพติด ภัยใกล้ตัวลูกกว่าที่คิด

  • ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

    ลูกไม่คุยกับพ่อแม่ แก้ยังไง? เป็นพัฒนาการตามวัย หรือความไม่เข้าใจกัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว