X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 เรื่องสำคัญสำหรับคนเป็นพ่อแม่ ปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับ ลูกเลี้ยง

บทความ 5 นาที
10 เรื่องสำคัญสำหรับคนเป็นพ่อแม่ ปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับ ลูกเลี้ยง

พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงที่ไม่ใจร้ายมีอยู่จริงมั้ย? คุณต้องบอกกับตัวเองว่าคุณไม่เข้าข่ายแม่เลี้ยงหรือพ่อเลี้ยงใจยักษ์ คุณสามารถทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อลูกของคู่ครองคุณได้ และรักเด็กคนนั้นให้เหมือนว่าเค้าเป็นลูกแท้ ๆ ของคุณเอง

คุณพ่อคุณแม่ที่รับเด็กมาเลี้ยง มีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับ ลูกเลี้ยง อย่างไร ก่อนรับเด็กมาเลี้ยงต้องศึกษา หรือมีความรู้ในด้านใดบ้าง เพราะเมื่อมีสมาชิกใหม่เข้ามาในบ้าน ก็อาจจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวมากยิ่งขึ้น

 

สิ่งสำคัญของพ่อแม่ เมื่อรับเด็กมาเป็น ลูกเลี้ยง

 

ลูกเลี้ยง

วิธีการปรับตัวให้เข้ากับ ลูกเลี้ยง

 

  • ถึงพ่อแม่ (เลี้ยง) ที่รัก อย่ากดดันตัวเองจนเกินไป

แน่นอนว่าคุณสามารถพยายามเป็นพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงที่ดีได้ แต่ไม่มีหรอกพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงที่เพอร์เฟคน่ะ เพราะอย่างไรก็ตามคุณจะโดนเปรียบเทียบกับพ่อแม่ที่แท้จริงเสมอ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยอมแพ้และกลายร่างเป็นปีศาจจอมโหดนะ

 

  • ลูกเลี้ยง คุณอาจกระวนกระวายยิ่งกว่า

พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงอาจคิดกังวลถึงความสัมพันธ์กับลูกเลี้ยงที่อาจไม่ดีอย่างที่คาดหวังไว้ แต่รู้มั้ย ลูกเลี้ยงคุณอาจวิตกกังวลถึงความก้าวหน้าในสัมพันธภาพนี้มากกว่าคุณซะอีก เพราะฉะนั้นทำใจให้สบาย ยับยั้งความกลัว ความกังวลต่าง ๆ ของทั้งคุณและลูกเลี้ยงไว้ อย่าพยายามฝืนความสัมพันธ์นี้

 

Advertisement
  • อย่าพยายามจะแทนที่พ่อหรือแม่ที่แท้จริง

ในฐานะพ่อเลี้ยง หรือ แม่เลี้ยง คุณอาจพยายามจะแทนที่พ่อแม่แท้ ๆ ของเด็ก แต่คุณไม่มีทางที่จะเข้ามาเติมเต็มความรู้สึกเหล่านั้นได้ อย่างไรก็ตาม ความผูกพันที่ถูกพัฒนาขึ้นระหว่างคุณกับเด็กยังพิเศษและมีค่าเช่นกัน และจะกลายเป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะพิเศษในแบบของมันเอง

 

  • อย่าคาดหวังความรักแบบทันทีทันใด

หลังจากคุณแต่งงานและมีลูกเลี้ยง ไม่ได้หมายความว่าลูกเลี้ยงคุณจะหันมารักและชื่นชมคุณโดยอัตโนมัติ คิดไว้ว่าลูกเลี้ยงคุณอาจต้องใช้เวลาซักพักกว่าจะเข้ากับคุณได้ เพราะฉะนั้น จงอดทน ปล่อยให้ความเบิกบานในตัวคุณได้ทำงานแล้วคุณจะค่อย ๆ ได้ใจเด็ก ๆ เอง ความรักที่จริงใจไม่สามารถเกิดขึ้นได้แบบเร่งรีบมันจะค่อย ๆ เติบโตอย่างช้า ๆ จากข้างใน เพราะฉะนั้นพ่อแม่ (เลี้ยง) จงมั่นใจว่า ความรักจะค่อย ๆ เติบโตทีละน้อยแต่มั่นคง

 

  • การแบ่งปัน คือ ความใส่ใจ

คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องแชร์คนรักของคุณกับลูกเลี้ยง และในเกือบทุกสถานการณ์ลูกเลี้ยงคุณจะต้องสำคัญกว่าเสมอ คุณไม่ควรให้สิ่งเหล่านี้มาทำให้คุณไม่พอใจ เพราะมันเป็นเรื่องปกติธรรมชาติ ควรทำความเข้าใจว่า ความรักแบบคู่รักกับความรักของพ่อแม่ เป็นความรักคนละรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

  • ทำตัวให้สม่ำเสมอและเชื่อถือได้

ลูกเลี้ยงคุณอาจสร้างภาพเกี่ยวกับตัวคุณ รวมถึงสิ่งที่คุณจะเป็นสำหรับเค้าขึ้นมาเอง มันอาจเป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดเหล่านั้น แต่คุณควรพยายามอย่างต่อเนื่อง ในการที่จะเป็นคนที่ลูกเลี้ยงคุณไว้ใจและเชื่อใจ อย่าทำดีแบบไม่สม่ำเสมอหรือทำบ้างไม่ทำบ้าง เพราะมันจะทำให้ดูเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและไม่น่าไว้วางใจ

 

  • คุณไม่สามารถวางแผนให้กับทุกสิ่งทุกอย่างได้

ไม่มีอะไรที่สามารถคาดเดาได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์บางอย่างก็อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดคิด ไม่มีเหตุผลที่จะวางแผนสำหรับสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ คุณสามารถเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่อาจแย่ที่สุด แต่อย่าตีตนไปก่อนไข้จะดีที่สุดเพราะอย่างน้อยมันก็ช่วยบรรเทาอาการเครียดได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : วางแผนการศึกษาเพื่อลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มจากอะไรบ้าง

 

  • สิ่งที่มาพร้อมกับความเป็นพ่อแม่

เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับช่วงเวลาที่ทั้งยอดเยี่ยมและย่ำแย่ การเป็นพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง อาจเหมือนได้รางวัลชีวิตแต่ก็แฝงไปด้วยความเครียด แต่ลองคิดดูดี ๆ สิ พ่อแม่ทั่วไปก็มีทั้งช่วงเวลาที่ดี และแย่เหมือนกันล่ะน่า

 

  • ลูกเลี้ยง เปิดใจคุยกัน

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนมองโลกในแง่ดีซักแค่ไหน ก็คงไม่ได้มีแต่สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นในชีวิตจริงหรอก ในช่วงเวลาที่มีปัญหาหรือว้าวุ่นใจ คุณควรจะเปิดอกเปิดใจพูดคุยกับคู่ชีวิตและลูกเลี้ยงอย่างตรงไปตรงมา

 

รับมืออย่างไรกับความเจ็บปวด จากคำพูดที่โดนเสียดสี

ลูกเลี้ยง

ลูกเลี้ยง

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

 

เรามีเคล็ดลับแนะนำสำหรับแม่เลี้ยงและพ่อเลี้ยงในการรับมือกับช่วงเวลายากลำบาก ความเกลียดชัง หรือคำพูดที่เสียดแทงนั้นควรรับมือยังไงดีนะ ?

 

  • ขั้นที่ 1

อดทนไว้และปล่อยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ว่าสิ่งที่พวกเค้าพูดนั้นไม่จำเป็นและทำให้เจ็บปวด ทำให้พวกเด็ก ๆ รู้ว่าคุณพยายามอย่างบริสุทธิ์ใจที่จะรักและทำดีกับพวกเค้าอย่างเต็มความสามารถ

 

  • ขั้นที่ 2

ถ้าปฎิบัติการขั้นแรกล้มเหลว คุณอาจลองทำเป็นหูทวนลมให้กับคำหยาบคายที่ได้ยิน ลองพูดประโยคอย่าง “จากที่เราเคยคุยกันแล้วว่า ความคิดเห็นของหนูทำให้คนฟังรู้สีกไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ของเรา เพราะฉะนั้นชั้นจะไม่สนใจคำพูดของหนู”

 

  • ขั้นที่ 3

ถ้าคำพูด หรือการกระทำที่หยาบคายยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ อย่าเพิ่งท้อ ควรขอให้สามีหรือภรรยาของคุณ เข้ามาช่วยพูดคุยกับลูก ๆ แต่การพูดคุยนั้น ไม่ควรเป็นไปในลักษณะตำหนิ หรือตัดสินแต่อย่างใด ทำให้เด็ก ๆ เห็นว่าความรู้สึกหรือความคิดของแกมีคุณค่าแต่อย่าลืมที่จะชี้ให้ลูกเห็นว่า ยังมีทางอื่นที่ดีกว่าการใช้คำหยาบคาย หรือการกระทำที่แข็งกระด้างรับมือกับอารมณ์โกรธ หงุดหงิด หรืออารมณ์ด้านลบทั้งหลาย

เปิดใจพูดคุยกับคู่สามีหรือภรรยาของคุณและช่วยกันหาทางแก้ไข คู่ชีวิตคุณควรบอกลูกไม่ให้ใช้อารมณ์โกรธเกรี้ยวกับคุณ แต่ทั้งคุณและลูกเลี้ยงสามารถลองช่วยกันหาทางออกที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับและมีความสุขร่วมกันได้ และถ้าพ่อหรือแม้ที่แท้จริงของลูกเลี้ยงคุณเต็มใจที่จะช่วยเหลือด้วยล่ะก็ ปัญหานี้ก็จะแก้ไขได้ง่ายขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีเลี้ยงลูกด้วยการคิดบวกช่วยพ่อแม่รู้จัก “อดทน” มากขึ้น

 

  • ที่พึ่งสุดท้าย

หากทุกคำเสนอแนะไม่เป็นผล ในช่วงเวลานี้ คุณอาจต้องหยุดลองวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมา แล้วลองให้คู่สมรสคุณวางแผนสำหรับการที่จะใช้เวลากับเด็ก ๆ อย่างเป็นกิจจะลักษณะในเวลาอยู่ที่คุณไม่อยู่ หรือคุณอาจทำตัวให้ยุ่ง โดยการหากิจกรรมทำในเวลาที่สามีหรือภรรยาคุณใช้เวลาอยู่กับเด็ก ๆ

ถ้าคุณอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ก็ควรมีพื้นที่ ที่ทั้งคุณและลูกเลี้ยงของคุณสามารถใช้พื้นที่นั้น ๆ ได้อย่างอิสระในช่วงเวลาที่กำหนด แต่วิธีนี้ ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาว เพราะฉะนั้น คุณควรหาผู้เชี่ยวชาญหรือคนให้คำปรึกษาทางด้านครอบครัว เพื่อช่วยแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คุณสามารถมีครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขได้ เพียงแค่ให้เวลาและใส่ใจที่จะสร้างครอบครัวในแบบที่คุณต้องการขึ้นมา

 

บทความที่คุณอาจจะสนใจ :

คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว vs คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว กับวิธีเลี้ยงลูกที่ต่างกัน

ความสุขจากการ รับทารกเป็นลูกบุญธรรม ต้องแลกกับอะไร??

ฝึกลูกอย่างไรให้มีความอดทน รู้จักรอคอย ไม่กลายเป็นเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง!

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • 10 เรื่องสำคัญสำหรับคนเป็นพ่อแม่ ปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับ ลูกเลี้ยง
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว