X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 เรื่องที่ไม่มีใครบอกคุณ เกี่ยวกับการคลอดลูก

บทความ 3 นาที
10 เรื่องที่ไม่มีใครบอกคุณ เกี่ยวกับการคลอดลูก

เมื่อใกล้ถึงเวลา คุณแม่ก็คงยุ่งอยู่กับการหาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูกกันใช่ไหมคะ แต่ถ้าหากมีบ่างอย่างที่ไม่ใช่อย่างที่เราเข้าใจละ

เมื่อใกล้ถึงเวลา การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการคลอดลูกเป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนควรทำ ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออ่านหนังสือคู่มือการเตรียมความพร้อมต่าง ๆ  แต่ถ้าหากหนังสือที่เราอ่านนั้น ไม่ได้บอกเราหมดละ ยกตัวอย่างเช่น

การคลอดลูก

1. การแตกของน้ำคร่ำ คุณแม่คะ ส่วนใหญ่แล้วเวลาที่เราดูหนังเราก็จะมักจะเข้าใจว่าการแตกของน้ำคร่ำนั้น คงเปรียบเสมือนกับเราปาลูกโป่งลงพื้น และน้ำกระจายเต็มไปหมดใช่ไหมคะ แต่ในความเป็นจริงแล้วการแตกของน้ำคร่ำนั้น เวลาที่มันแตก มันจะค่อย ๆ แตก และไหลออกมาคล้ายกับเราปัสสาวะราดมากกว่าการหล่นตุ๊บไปที่พื้นอย่างที่เราคิดไว้

2. น้ำคร่ำแตกไม่ได้หมายถึงใกล้คลอดแต่เพียงอย่างเดียว หลาย ๆ ครั้งที่เรามักจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือถุงน้ำคร่ำแห้งกันใช่ไหมคะ ในระหว่างการตั้งครรภ์โอกาสที่น้ำคร่ำจะรั่วหรือแตกก็สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งปัจจัยที่จะก่อให้เกิดภาวะดังกล่าวนั้นคือ ภาวะติดเชื้อ คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนด ภาวะอักเสบเรื้อรังของทางเดินปัสสาวะ หรือคุณแม่สูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์เป็นต้น ถ้าหากคุณแม่เป็นคนหนึ่งที่เคยตกอยู่ในสภาวะดังกล่าว แนะนำว่าควรที่จะปรึกษาแพทย์โดยเร็วจะดีกว่าปล่อยให้น้ำไหลออกหมดจนน้ำคร่ำแห้ง เพราะนั่นอันตรายกับทารกในครรภ์เป็นอย่างมากค่ะ แต่อีกนัยหนึ่ง หากคุณแม่กำลังอยู่ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ การที่น้ำคร่ำแตกก็หมายถึงการส่งสัญญาณเตือนให้คุณแม่ทราบว่า ใกล้ถึงเวลาคลอดแล้วนั่นเอง

3. เมื่อถึงเวลาคลอดแล้วน้ำคร่ำยังไม่แตก หมอนี่แหละ จะเป็นคนเจาะให้คุณเอง ในกรณีที่ปากมดลูกขยายมากเพียงพอแล้ว แต่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก หมอจะเป็นคนเจาะถุงน้ำคร่ำให้ เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์คลอดลูกเกิดขึ้น เพราะเวลาที่ถุงน้ำคร่ำแตก ศีรษะของทารกก็จะเลื่อนตัวต่ำลงมา และไปกดขยายปากมดลูกให้เปิด แตุ่ถ้าหากหลังจากนั้นภายใน 30 นาทีแล้วปากมดลูกยังไม่เปิด คุณหมอก็จะใช้ยาเร่งคลอดควบคู่ไปด้วย

Advertisement

4. คนทำคลอด อาจไม่ใช่หมอเสมอไป เราไม่มีทางรู้เลยว่าวันนั้นจะมาถึงเมื่อไหร่ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เรากำลังเดินทางอยู่แล้วรถติดขึ้นมา จู่ ๆ ก็จะคลอดเสียอย่างนั้น และด้วยรถติดขนาดนี้ เราจะนึกถึงใครเป็นไม่ได้ นอกจากสายด่วนต่าง ๆ ที่จะโทรไปเพื่อขอความช่วยเหลือ และคนที่จะมาช่วยเราจะเป็นใครไม่ได้เลย นอกจากหน่วยกู้ภัย ตำรวจ หรือบางที อาจจะเป็นคนขับรถ หรือสามีเรานี่เอง

5. การเบ่งคลอดอาจไม่ได้เป็นการเจ็บปวดที่สุด เพราะจริง ๆ แล้วที่ทรมานที่สุดก็คือ เวลามดลูกหดตัวช่วงใกล้คลอด ยิ่งช่วงเจ็บถี่ ๆ นะ อยากจะร้องออกมาเสียให้รู้แล้วรู้รอด เรียกได้ว่า เหมือนมีคนเอามือมาบีบมดลูดเลยอย่างไรอย่างนั้น

6. เข็มโต ๆ กับการบล็อคหลัง งอตัวให้มาก งอตัวเยอะ ๆ นะคะ ช่วงเวลาเพียงไม่นานที่คุณกำลังงอตัวอยู่นั่นแหละ คุณหมอก็จะใช้เข็มเล่มโต ๆ ฉีดยาบล็อคหลังเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณ ไม่นานคุณก็จะรู้สึกหนาวสั่น และชาไปครึ่งตัว แต่คุณไม่ต้องกลัวไปนะ การบล็อคหลัง ถึงเวลามันไม่เจ็บเลย ตอนแรกฉันก็กลัว ๆ ตรงเข็มนี่แหละ แต่ไป ๆ มา ๆ กับรู้สึกว่า บล็อคหลังนี่เป็นอะไรที่ไม่มีความน่ากลัวเลยจริง ๆ

7. ถึงเวลาใส่ผ้าอ้อมกันแล้ว เมื่อพยาบาลนำผ้าอ้อมผืนใหญ่มาให้คุณ แล้วคุณก็จะต้องใส่มันไว้ตลอด เพราะหลังจากที่คลอดแล้ว เลือดน้ำคาวปลาก็จะออกมาจากตัวคุณ ชนิดที่เรียกว่าคล้ายประจำเดือน แต่เยอะกว่า เพราะฉะนั้น ใส่ไว้เถอะ เพราะคุณคงไม่อยากให้มันเลอะเทอะพื้นหรอกนะ มันไม่น่าดูเลยจริง ๆ

8. การขยับตัวหลังผ่าคลอดคือสิ่งที่ทรมานที่สุด คุณลองคิดดูสิ หลังจากที่ผ่าคลอด คุณหมอจะให้นอนพักฟื้น แต่อีกวันหลังจากนั้น คุณจะต้องขยับตัวแล้วนะ พลิกไปพลิกมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพังผืดขึ้นในมดลูก การขยับตัวและเดินกายภาพช่วงนี้นี่แหละ คือช่วงที่คุณจะรู้สึกปวดแทบขาดใจเลย แต่พอเห็นหน้าลูกเท่านั้น เชื่อไหมว่า ความรู้สึกปวดในตอนนั้น มันหายเป็นปลิดทิ้งเลย

9. ประจำเดือนหลังคลอดยังไม่มา การที่ประจำเดือนหลังคลอดยังไม่มา ถือเป็นเรื่องปกติ จะมาช้าหรือเร็วนั้น ขึ้นอยู่ที่ปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การให้นมบุตร การใช้ยาที่มีผลกับฮอร์โมน การคุมกำเนิด คุณแม่เครียดและมีภาวะซึมเศร้า รวมถึงร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เป็นต้น ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอนะคะ

10. ความรักที่มีให้ลูก ตอนแรกที่รู้ว่าท้อง ก็รู้สึกว่ารักแล้ว แต่พอได้เห็นหน้า กลับรู้สึกรักยิ่งกว่า ทุกตำราไม่มีเล่มไหนเลย ที่จะระบุความรู้สึกของแม่ที่มีต่อลูกได้ดีเท่ากับตัวเราเอง มันเป็นความรู้สึกที่ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร ถึงจะเข้าใจได้หมด รู้แต่เพียงว่า การได้ดูแล การได้กอดได้หอมนั้น เป็นความรู้สึกที่ไม่มีวันเบื่อ ไม่มีวันลด จะมีก็แต่ความรักที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ วันแค่นั้นเอง

ที่มา: Pregnancy VDO

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ทำไมแม่ท้องแก่ต้องล้างเล็บก่อนคลอดลูก

ทำคลอดลูกเมื่อแม่ท้องคลอดเอง

rsz_parenttown_facebook_featured_image968x502

 

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 10 เรื่องที่ไม่มีใครบอกคุณ เกี่ยวกับการคลอดลูก
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว