X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 เรื่องของสมอง ทำไมช่วงปฐมวัยถึงสำคัญที่สุด

บทความ 5 นาที
10 เรื่องของสมอง ทำไมช่วงปฐมวัยถึงสำคัญที่สุด10 เรื่องของสมอง ทำไมช่วงปฐมวัยถึงสำคัญที่สุด

ช่วงที่สมองของคนเราพัฒนาได้เยอะที่สุดและไวที่สุด คือตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ขวบ สมองลูกพัฒนาได้ไวและเยอะขนาดไหน ? จริงไหมที่ช่วงนี้สำคัญที่สุดแล้วในชีวิต ?

การวัดความฉลาดของผู้ใหญ่คือการวัดไอคิว แต่สำหรับเด็กๆ แน่นอนว่าเราไม่รู้หรอกค่ะว่าลูกฉลาดแค่ไหน แต่สมองของเด็กๆ ในช่วง 3 ปีแรก พัฒนาเร็วมากๆ และมีศักยภาพมากที่สุดแล้ว เนื่องจากสมองพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้ว

เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์เพียง 4 สัปดาห์ สมองของลูกจะสร้างเซลล์ประสาทใหม่ขึ้นมา 250,000 เซลล์ในทุกๆ นาที ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลาถึง 3 ปี บวกกับอีกเกือบ 9 เดือนที่อยู่ในท้องของคุณแม่ ในเด็กที่อายุ 3 ขวบนั้น สมองจะพัฒนาเป็น 80% และมีจำนวนเซลล์ประสาทที่มากถึง 1000 ล้านล้านเซลล์ที่เชื่อมต่อถึงกันเลยนะคะ และนี่ก็คือเรื่องน่าทึ่งทั้ง 10 เรื่อง เกี่ยวกับสมองของลูก

1.เด็กทุกคนเกิดมาเร็วไป

มีทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายว่า 3 เดือนแรกที่ลูกลืมตาออกมาดูโลก เทียบเท่ากับไตรมาสที่ 4 เพราะเด็กทารกแรกเกิดยังชอบให้พันตัวเหมือนตอนที่ยังอยู่ในถุงน้ำคร่ำ และตอบสนองกับเสียงต่างๆ เหมือนกับตอนที่ยังอยู่ในท้องคุณแม่ แต่ก็มีอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมและมีวัฒนธรรม การที่เด็กๆ จะต้องคลอดออกมาก่อน เพื่อให้เด็กๆ ชินกับการเลี้ยงลูกจากคนในครอบครัวที่มีหลากหลายคน

แม้เด็กๆ จะถือว่าคลอดออกมาเร็วไปก็ตาม แต่ด้วยสรีระแล้ว สมองและกะโหลกของเด็กๆ ก็เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์มาก เนื่องจากขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ แต่สามารถยืดหยุ่นได้ดีเมื่อต้องคลอดผ่านอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ นั่นก็หมายความว่าสมองของเด็กๆ ยังไม่ได้พัฒนาเต็มที่ หรือจะเรียกได้ว่าทารกแรกเกิดนั้นเกิดมาพร้อมกับสมองที่ยังไม่พัฒนาและอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าทั้งหลายนั่นเองค่ะ

ลูกในท้องนอนกี่ชั่วโมง

2.เด็กเกิดมาพร้อมกับเซลล์ประสาทใหม่

เด็กที่ไม่มีอาการผิดปกติทางสมอง จะคลอดออกมาพร้อมกับเซลล์ประสาทจำนวน 100 พันล้านเซลล์ มากกว่าเกือบ 2 เท่าของผู้ใหญ่ ทั้งที่มีขนาดสมองเล็กกว่าครึ่ง เซลล์ประสาทจำนวนมหาศาลนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อการเรียนรู้ในช่วงขวบปีแรกของเด็กๆ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตอนที่เด็กๆ มีอายุ 3 ขวบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ประสาทที่แข็งแรงเท่านั้นที่จะยังคงอยู่ ส่วนเซลล์ประสาทที่อ่อนแอก็จะแทนที่ด้วยสารสื่อนำประสาทแทน

3.สมองจะพัฒนาเร็วที่สุด ในช่วงระหว่างแรกเกิดถึง 3 ขวบ

สมองคืออวัยวะที่เติบโตเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย สมองของเด็กแรกเกิดจะมีขนาดเล็กกว่าสมองของผู้ใหญ่ถึง 1 ใน 3 และใน 90 วัน สมองจะโตขึ้นเป็น 2 เท่า หรือประมาณ 55% ของขนาดที่โตเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองส่วนท้าย (cerebellum) ที่ควบคุมในเรื่องของการเคลื่อนไหว จะเติบโตมากที่สุด ในระยะเวลาเพียง 3 เดือน สมองส่วนนี้จะโตถึง 110% ของขนาดตอนแรกเกิด

4.พลังงานส่วนใหญ่ที่เด็กๆ เอาไปพัฒนาสมอง

60% ของการเผาผลาญพลังงานทั้งหมด (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการบริโภคกลูโคส) ของเด็กๆ จะนำไปพัฒนาสมอง เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่ใช้พลังงานเพียง 25% เท่านั้นค่ะ

5.สมองของเด็กๆ เตรียมพร้อมที่จะพูดก่อนที่จะรู้คำศัพท์ด้วยซ้ำ

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันที่ทำการเก็บข้อมูลจากเด็กอายุ 7 เดือน พบว่ามีการทำงานของสมองในส่วนของการพูด ก่อนที่เด็กๆ จะพูดได้เสียอีกค่ะ ซึ่งหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่าสมองมีการทำงานในขั้นที่เรียกว่า การวิเคราะห์โดยการสังเคราะห์ โดยสมองจะเก็บข้อมูลและคาดการณ์การเคลื่อนไหวในการพูดเสียงต่างๆ คำต่างๆ ในการพูด และเตรียมพร้อมเมื่อถึงคราวที่จะต้องพูดจริงๆ

พัฒนาสมองลูก

6.เด็กสองภาษามีการทำงานของสมองด้านจัดการที่ดีกว่า (EF)

เด็กๆ สามารถเรียนรู้ภาษาต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีศักยภาพ แต่เด็กที่ถูกเลี้ยงตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไปนั้น จะมีทักษะการทำงานของสมองด้านจัดการที่ดีกว่าเมื่อโตขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสมาธิเพื่อแก้ปัญหาที่ขัดแย้ง หรือพูดได้ว่าเด็กสองภาษาจะมีสมาธิดีกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่ากว่าในการเรียนและการทำงาน

7.การสัมผัสช่วยเสริมสร้างสารสื่อนำประสาท

เด็กทารกที่ได้รับการสัมผัสทางกายเป็นประจำ เช่น การอุ้มหรือการกอด จะมีสารสื่อนำประสาทระหว่างเซลล์ประสาทที่แข็งแรงมากขึ้นและดีขึ้น กลับกันเด็กที่ไม่ค่อยได้รับการสัมผัสจะส่งผลเสียแก่ร่างกาย ตั้งแต่ในเรื่องของน้ำหนักที่ไม่ค่อยขึ้น จนกลายเป็นตกเกณฑ์ ไปจนถึงในเรื่องของความบกพร่องทางด้านอารมณ์ เช่น มีความวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้าได้

งานวิจัยจากเด็กจำนวน 92 คน อายุตั้งแต่ 7-9 ปี พบว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะมี ฮิปโพแคมพัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นสมองในที่ทำหน้าที่ในด้านความจำและทิศทาง ที่หนากว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงมาแบบไม่ใกล้ชิดไม่ได้รับการสัมผัส สมองส่วนฮิปโพแคมพัสยิ่งหนา ยิ่งทำให้ความจำดี มีสมาธิ เรียนรู้ได้ดีค่ะ

8.สมองเด็กจดจำกลิ่นคุณแม่ได้

กลิ่นของคุณแม่และการสัมผัสเป็นตัวกำหนดว่า สายสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกเป็นยังไง และจะเกี่ยวกับฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเรื่องของความรู้สึกภูมิใจและความรักค่ะ มีงานวิจัยว่าเด็กทารกแรกเกิดจะถูกดึงดูดจากลิ่นน้ำคร่ำของคุณแม่ ซึ่งมีผลให้เด็กสามารถหาหัวนมคุณแม่เจอได้นั่นเอง เด็กที่โตไวจะชอบกลิ่นของเต้านมคุณแม่ยังไงละคะ

ลูกกัดหัวนม นมแม่

9.เด็กติดพ่อติดแม่ดีเเล้ว

คุณแม่อาจจะเคยกังวลเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกติดคุณแม่ ไม่ยอมห่าง กว่าจะแงะตัวออกไปไหนมาไหนได้เป็นเรื่องอยาก อาจจะดีใจนะคะ เนื่องจากเด็กๆ ที่ติดคุณแม่นั้น หมายความว่าลูกมีพัฒนาการด้านความทรงจำระยะยาวแล้วละค่ะ

เจอโรม เคเกน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแนะนำว่า ประมาณเดือนที่ 9 เด็กๆ จะไม่อยากจากคุณพ่อคุณแม่ไปไหน หรือเรียกง่ายๆ ว่ายึดติดกับคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งการพัฒนาในเรื่องนี้ จะส่งทางด้านอารมณ์ของเด็กๆ ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ต่อไปค่ะ

10.สภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติช่วยปกป้องสมองของเด็กๆ

งานวิจัยเด็กทารกแรกเกิดที่ต้องรักษาตัวจากโรคสมองขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยง (hypoxic-ischemic encephalopathy) จากโรงพยาบาลเด็กลอสแองเจลิส พบว่าเมื่อสมองขาดออกซิเจน ร่างกายจะลดอุณหภูมิลงเพื่อป้องกันเซลล์ประสาทเสียหาย หากไม่ได้รับการรักษา สมองของเด็กๆ อาจจะพิการ หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ค่ะ

ที่มา mentalfloss

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

5 วิธีพัฒนาสมองลูกรัก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

พัฒนาการของสมองลูกน้อยในครรภ์

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 10 เรื่องของสมอง ทำไมช่วงปฐมวัยถึงสำคัญที่สุด
แชร์ :
  • พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

    พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

  • ความรักจากพ่อแม่ ช่วยพัฒนาสมองลูก

    ความรักจากพ่อแม่ ช่วยพัฒนาสมองลูก

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

    พัฒนาทักษะ EF (Executive Functions) มาพัฒนาพื้นฐานชีวิตลูกให้ประสบความสำเร็จกัน!

  • ความรักจากพ่อแม่ ช่วยพัฒนาสมองลูก

    ความรักจากพ่อแม่ ช่วยพัฒนาสมองลูก

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ