10 สุดยอดภาพรก สวย ๆ
พบกับ สุดยอดภาพรก ความงาม 10 ภาพที่คุณแม่ทั้ง 10 ท่านแชร์สู่โลกโซเชียล ซึ่งภาพเหล่านี้ได้ถูกถ่ายโดยช่างภาพมากฝีมืออย่าง Emma Jean และ Monet Nicole เป็นต้น ซึ่งภาพดังกล่าวจะสวยงามขนาดไหน ต้องไปชมกันเองเลยค่ะ
ภาพนี้ถูกบันทึกโดย Emma Jean เธอต้องการสื่อให้ถึงความรักของสายใยที่มีระหว่างแม่กับลูก ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า สายสะดือ ภาพรก ความงาม ถูกร้อยเรียงเป็นคำว่า L-O-V-E ซึ่งแปลว่า รัก
Charlotte River แชร์ภาพนี้ ภายหลังจากที่เธอได้คลอดลูกคนที่สอง ดูรอยยิ้มของเธอสิคะ “ช่างสวยงามเสียจริง ๆ “ดูแล้วภาพนี้ไม่มีความโป๊แต่อย่างใด หากแต่เป็นภาพที่บ่งบอกถึงความรู้สึกได้ดีอย่างไม่ต้องมีคำพูดใด ๆ
ภาพนี้ ถูกบันทึกโดยช่างภาพชาวแคนนาดานามว่า Monet Nicole ซึ่งเป็นการคลอดในน้ำ ที่สวยงามและหาดูยากอีกภาพหนึ่งเลยทีเดียว
ภาพนี้เกิดขึ้นเพราะคุณแม่ไม่ต้องการที่จะทำการตัดสายสะดือทันทีหลังคลอด เธอจึงได้นำรกมาใส่ไว้ในถ้วยรูปหัวใจ และเรียกภาพนี้ว่า”การกำเนิดของดอกบัว”
ภาพนี้ถือเป็นภาพที่ทำให้เราเห็นถึง “รก” ได้เป็นอย่างดี ลองดูกันชัด ๆ สิคะว่า รกไม่ได้มีขนาดเล็กเลย ไม่แปลกว่าทำไม “รก” ถึงสามารถปกป้องลูกของเราได้เป็นอย่างดี
คุณแม่เมแกน แชร์ภาพรกและลูกสาวคนที่ 4 ของเธอด้วยความภาพภูมิใจ ลองดูสิคะ มหัศจรรย์จริง ๆ เลยใช่ไหมคะ
จุดกำเนิดของชีวิต ต้นกำเนิดของลมหายใจ ภาพแรกของการกำเนิดจาก Baby J
ภาพการคลอดลูกในน้ำ ที่คุณแม่ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว เป็นอีกภาพหนึ่งทีดังมากในโลกของโซเชียลเลยละค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะสวยเหลือเกินเลยใช่ไหมละคะ ที่สำคัญไม่ได้สวยอย่างเดียว แต่ยังเต็มไปด้วยความหมายเสียอีกด้วยละค่ะ
รกคืออะไร
รกเป็นอวัยวะพิเศษที่อยู่ภายนอกร่างกายของทารก โดยจะติดอยู่กับผนังด้านในของมดลูกเชื่อมระหว่างมดลูกของมารดาและทารก และมีสายสะดือเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรกกับทารก ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจน จากแม่ไปยังลูก และขับถ่ายของเสียจากลูกออกมาให้แม่กำจัด
รกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
เมื่อมีการตกไข่ ไข่จะเคลื่อนที่ไปในท่อนำไข่ จนมาถึงมดลูก และฝังตัวที่โพรงมดลูกประมาณวันที่ 6-7 หลังจากตกไข่ จากนั้นเซลล์เริ่มแบ่งตัวและพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนทารก และรก ซึ่งประกอบด้วย เนื้อรก สายสะดือ และเยื่อหุ้มรก
รกทำหน้าที่อะไร
รกทำหน้าที่แทนระบบต่างๆ ในระหว่างที่เซลล์กำลังพัฒนาขึ้นเป็นอวัยวะต่างๆ
- แลกเปลี่ยนสารอาหารจากแม่สู่ลูกในท้อง (nutrition)
- หายใจ (respiration) รกเปรียบเสมือนปอด คือ เป็นจุดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างแม่กับลูกน้อยในครรภ์
- ขับถ่ายของเสีย (excretion) ทำหน้าที่คล้ายกับไต คือ เป็นที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทารก
- สร้างฮอร์โมน (hormone production) ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นต่อมไร้ท่อชั่วคราวในมดลูก ซึ่งสามารถผลิตฮอร์โมนมากมายที่จำเป็น ระหว่างตั้งครรภ์ ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรน
- ป้องกันอันตราย (protection) เป็นโครงสร้างที่ขัดขวางไม่ให้สารหรือ microorganism บางอย่างผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อลูกอ่อน
- เป็นแหล่งเมตาโบไลต์สารบางอย่าง เช่น แอนติบอดี (antibody) หรือยาบางอย่างที่ได้รับจากแม่จะถูกรกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นอันตรายพัฒนาการของรกรกจะมีพัฒนาการไปพร้อมๆ กับทารกในครรภ์ โดยจะมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยปกติเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด รกจะมีน้ำหนักประมาณ 500 กรัมเลยทีเดียว
จะเกิดอะไรขึ้นหากรกผิดปกติ
เมื่อมีความผิดปกติของรก อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก และบางครั้งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อคุณแม่ด้วย
โดยปกติตำแหน่งที่รกเกาะติดกับผนังมดลูกมักอยู่ที่บริเวณด้านบนของมดลูก โดยค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายจะมีลักษณะของรกที่เกาะตรงส่วนล่างของมดลูก หรือคลุมที่ปากมดลูก เรียกว่า รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
ในช่วงใกล้คลอด มดลูกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกจะเริ่มบางตัวลง และยืดขยายมากขึ้น ทำให้รกเกิดมีรอยปริแยก และมีเลือดออกบริเวณที่รกเกาะ โดยจะไหลผ่านปากมดลูกลงมาในช่องคลอดออกมา หากเลือดออกมากและไม่หยุดไหล อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคุณแม่และทารกในครรภ์ได้
บทความแนะนำ ภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ คืออะไร อันตรายแค่ไหน
รกที่เกาะแน่นอยู่ที่ผนังมดลูกมีการลอกตัวก่อนการคลอด ทำให้คุณแม่มีเลือดออก มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซีด ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว กระสับกระส่าย หมดสติและช็อกได้
บทความแนะนำ รกลอกตัวก่อนกำหนด อาการที่แม่ท้องต้องระวัง
โดยปกติรกจะฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุด้านในผนังมดลูก เมื่อทารกคลอดออกไปแล้ว รกก็จะลอกตัวและถูกคลอดตามออกมา แต่ในกรณีรกฝังลึก คือ การที่รกฝังลึกเข้าไปถึงกล้ามเนื้อ หรือบางรายทะลุออกนอกมดลูกเข้าอวัยวะอื่นที่อยู่ใกล้ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือลำไส้ ทำให้เกิดปัญหา คือ หลังคลอด รกก็จะไม่คลอดออกมาด้วย ทำให้เกิดการติดเชื้อ และเสียเลือดมากหลังคลอด
รกถูกสร้างขึ้น และพัฒนาไปพร้อมกับทารกในครรภ์ เมื่อคลอดทารกออกมา รกก็จะหมดหน้าที่ลง ดังนั้น เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รกจะค่อยๆ แก่ตัวลง และมีแคลเซียมเกาะ ทำให้ความสามารถในการทำงานของรกลดลง ส่งผลให้เลือดที่ส่งจากแม่ไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ ทารกเจริญเติบโตช้า ลูกดิ้นน้อย หรือไม่ดิ้น จึงมีความเสี่ยงทารกเสียชีวิตในครรภ์สูง
บทความแนะนำ ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร
รกมีความสำคัญขนาดนี้ ถึงแม้ช่วงชีวิตของรกมีแค่เพียง 10 เดือนแต่ก็ถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างและหล่อเลี้ยงชีวิตน้อยๆ ให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ภายในครรภ์ของแม่ตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ
ที่มาจาก : https://th.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
วิจัยเผย คนท้องกินข้าวดึก มีผลต่อน้ำหนัก คนท้องกินข้าวมื้อดึกแล้วอ้วน
แพ้ท้องหนักมาก ใหม่ สุคนธวา แพ้ท้องลูกคนแรกจนอ้วกเป็นเลือด
20 เมนูเครื่องดื่มสำหรับเด็ก เครื่องดื่มดี ๆ ประโยชน์เน้น ๆ กินได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!