การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ เป็นอันตรายต่อครรภ์และเพิ่มความเสี่ยงสูงเรื่องภาวะแทรกซ้อน
การสูบบุหรี่อาจทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นมี ดังนี้
(อ้างอิงจากเว็บไซต์ Pobpad.com)
- ภาวะแท้ง เป็นการสูญเสียตัวอ่อนภายในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะที่ไข่ได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิแล้วกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผนังมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารกได้
- ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นภาวะที่รกบางส่วนหรือทั้งหมดลอกตัวออกจากมดลูกของสตรีมีครรภ์ก่อนทารกคลอด ส่งผลให้ทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนและสารอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกปิดขวางหรือคลุมปากมดลูกเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด เมื่อถึงเวลาคลอด ปากมดลูกจะเปิดขยายออก ทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างรกและปากมดลูกฉีกขาด
- การคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะปากมดลูกเปิดที่เป็นผลมาจากการหดและขยายตัวของมดลูกในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการตั้งครรภ์แบบครบกำหนดคลอดจะใช้เวลา 37-40 สัปดาห์
- ภาวะตายคลอด เป็นภาวะที่ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยภาวะนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ขึ้นไป
เพื่อลดอัตราความเสี่ยงและความปลอดภัยของแม่ตั้งครรภ์ การเลิกบุหรี่จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
เรามีรายชื่อศูนย์ให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่ที่จะช่วยแนะนำให้คุณแม่ได้
-
-
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
36/2 ซ.ประดิพัทธ์ 10 ถ.ประดิพัทธ์ แขวงพญาไท เขตพญาไท
กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์: 0-2278-1828
ความเป็นมาของมูลนิธิ
ในปี พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกประกาศเป็นปีแห่งการไม่สูบบุหรี่ และนำมาสู่ความตื่นตัวในการแสวงหาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพกันอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ศ.นพ.ประเวศ วะสี รองประธานมูลนิธิหมอชาวบ้านในขณะนั้น ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมกับหน่วยงานนี้ในต่างประเทศโดยตลอด จึงรับรู้ข้อมูล เรื่องพิษภัยจากบุหรี่ที่มีการศึกษาในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งแสดงแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน คือ บุหรี่ได้กลายเป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย และเสียชีวิตมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน ด้วยระยะเวลาอันยาวนานถึง 20- 30 ปี กว่าที่อาการของโรคภัยไข้เจ็บจะปรากฏ ทำให้ความตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพถูกละเลย ไม่ได้รับการใส่ใจจริงจังมาโดยตลอด
ในปี พ.ศ. 2528 ศ.นพ.ประเวศ จึงได้พูดคุยกับกลุ่มคนทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุขว่า อยากให้ช่วยกันรณรงค์ให้คนไทยลดการสูบบุหรี่ลง และสร้างค่านิยมที่ไม่สูบบุหรี่แก่คนรุ่นใหม่ การปรึกษาหารือร่วมกัน และเห็นพ้องกันว่า ต้องมีการรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงมีการมอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุข หรือ คปอส. ศึกษา รวบรวมข้อมูล และประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งเป็นคณะทำงานขึ้น
2. 1600 สายปลอดบุหรี่
- เป็นการบริการ ให้คำปรึกษาฟรี เพื่อการเลิกบุหรี่ แก่ประชาชนทั่วไป
- เปิดบริการระหว่าง 07.30 – 20.00 น. ตั้งแต่ วันจันทร์ – วันศุกร์
- นอกเวลา หรือวันหยุด กรุณาฝากข้อความและเบอร์โทรกลับ
- ช่องทางการบริการ – โทร 1600 ฟรีทุกเครือข่าย ไม่เรียกเก็บค่าบริการ
website : สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ www.thailandquitline.or.th
3. ศูนย์โรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
โทร 02-066-8888 ในเวลาราชการ
มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้บริการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคปอดและโรคระบบทางเดินหายใจทุกชนิด รวมถึงให้บริการฟื้นฟูและให้คำแนะนำ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้คณะแพทย์และทีมบุคลากรทางการแพทย์จะทำงานร่วมกันเพื่อผลในการรักษาที่ดีของผู้ป่วย
ทั้งนี้คุณแม่ควรเริ่มปรับพฤติกรรมและความเคยชิน เพื่อลด ละเลิกให้ได้ผลด้วย
พยายามลดสาเหตุ เช่น ความเครียด ความหิว ที่เป็นสาเหตุที่เคยใช้บุหรี่เป็นคำตอบ และเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเองที่ดี ที่สุดค่ะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!