X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 วิธีแก้ ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนั่งกระโถน

บทความ 5 นาที
10 วิธีแก้ ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนั่งกระโถน

พอลูกเริ่มเข้าวัยเตาะแตะ พ่อแม่หลายบ้านเริ่มที่จะหัดเจ้าตัวเล็กให้ฝึกนั่งกระโถนกันบ้างแล้ว เพื่อเตรียมตัวที่จะเลิกการใส่ผ้าอ้อมโดยถาวร ก่อนจะเข้าสู่การหัดถอด และใส่กางเกงในขั้นต่อไป แต่ปัญหาของลูกที่ไม่ยอมนั่งกระโถนนี่สิ ถือว่าเป็นความท้าท้ายของพ่อแม่เลยก็ว่าได้

ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน เป็นเรื่องปกติธรรมดาของเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคยกับกิจกรรมต่าง ๆ ต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ที่จะทำ และพ่อแม่ก็คือครูฝึกคนแรกของลูกนั่นเอง

การฝึกให้ลูกนั่งกระโถน ก็เหมือนกับการฝึกอื่น ๆ ที่จะมีขั้นตอน และวิธีการต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องค่อย ๆ สอน ใช้ความอดทน และใส่ใจ ลูกน้อยจะค่อย ๆ เรียนรู้ และสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองในที่สุด 10 วิธีแก้ไข ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน อาจจะช่วยให้พ่อแม่สามารถฝึกลูกอย่างเป็นขั้นตอนได้มากขึ้น

เมื่อไหร่ที่ควรสอนให้ลูกนั่งกระโถน

เด็กส่วนใหญ่จะสามารถลุกไปอึ หรือฉี่ได้สำเร็จ เมื่ออายุประมาณ 3 – 4 ขวบ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกนั่งกระโถนได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน จนถึง 2 ขวบ มีผลสำรวจว่า เด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน ที่ถูกฝึกให้นั่งกระโถน จะทำสำเร็จได้เมื่ออายุประมาณ 4 ขวบ ในขณะที่หากฝึกลูกตอนอายุราว ๆ 2 ขวบ จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จที่มากกว่า นั่นคือ ลูกสามารถนั่งกระโถนได้ เมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสังเกตว่า ลูกมีความพร้อมแล้วหรือยัง สำหรับการฝึกฝนเรื่องใหม่ ๆ โดยสังเกตจากสิ่งเหล่านี้

ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน

แอบดูเด็กนั่งฉี่ได้ไหม ฝึกลูกนั่งกระโถนได้ตั้งแต่อายุ 18 เดือน จนถึง 2 ขวบ แต่อายุที่เหมาะสมจริง ๆ ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน การเริ่มฝึกเมื่อลูกพร้อมจริง ๆ จึงจะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จที่มากกว่า

ลูกพร้อมหรือยัง ? สำหรับการนั่งกระโถน

การฝึกฝนเรื่องสุขอนามัย ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน แม้ว่าช่วงเวลาที่ลูกน่าจะเหมาะสมที่สุด คือประมาณ 2 ขวบ อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของเด็กแต่ละคน มีความแตกต่างกัน แทนที่จะดูจากช่วงอายุที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตจากพฤติกรรม และความสนใจของลูก เพื่อให้ลูกพร้อมจริง ๆ ที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ เพราะหากกดดันมากเกินไป อาจทำให้ลูกต่อต้านได้ สัญญาณที่บอกว่าลูกพร้อมแล้วที่จะถอดผ้าอ้อม มีดังนี้

  1. ลูกให้ความสนใจ หรือไถ่ถามเกี่ยวกับกระโถนว่า คืออะไร เอาไว้ใช้ทำอะไร หรือมีความสงสัยเวลาสมาชิกในครอบครัวเข้าห้องน้ำ เห็นพ่อแม่ใช้โถสุขภัณฑ์ เป็นต้น
  2. ลูกเข้าใจการฉี่ การอึ หรือพูดเกี่ยวกับการขับถ่าย เช่น บอกได้ว่าปวดฉิ้งฉ่อง หรือ ผ้าอ้อมเปียก ๆ ทั้งนี้ ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจการไปเข้าห้องน้ำ แต่ถ้าหากเขาพอจะบอกได้เมื่อปวดปัสสาวะ ก็แสดงว่าลูกพร้อมแล้ว ที่จะฝึกฝนการนั่งกระโถนต่อไป
  3. ลูกเลียนแบบพฤติกรรมของคนรอบข้าง เช่น การเดินไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
  4. ลูกเข้าใจความแตกต่างระหว่างการปวดปัสสาวะ กับอุจจาระ
  5. ความถี่ในการขับถ่ายลดลง เช่น ไม่ฉี่ใส่ผ้าอ้อม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง
  6. ลูกสามารถนั่งบนกระโถนได้ เป็นระยะเวลานานพอสำหรับการฉี่ หรืออึ
  7. ลูกสามารถดึงผ้าอ้อม กางเกงใน หรือถอดกางเกงได้
ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน

แอบดูเด็กนั่งฉี่ได้ไหม  ช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการฝึกฝนเรื่องการเข้าห้องนั้น แตกต่างกัน พ่อแม่อาจจะสังเกตจากพฤติกรรม และความสนใจของลูก

10 วิธีแก้ เมื่อลูกไม่ยอมนั่งกระโถน

1. ปล่อยให้ลูกลองนั่งถ่ายบนกระโถน แม้จะยังใส่ผ้าอ้อมอยู่

ลูกเคยชินกับการถ่ายใส่ผ้าอ้อม เมื่อไม่มีผ้าอ้อม ก็อาจจะถ่ายไม่ออก เช่นเดียวกับเวลาที่คุณพ่อคุณแม่เข้าห้องน้ำที่ไม่คุ้นชิน ก็ทำให้ไม่สบายใจเช่นกัน ก่อนจะไปถึงการขับถ่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะฝึกให้ลูกชินกับการนั่งกระโถนก่อน และเมื่อลูกยอมนั่งกระโถนได้ดีแล้ว ลองตัดผ้าอ้อมให้เป็นรูใหญ่ ๆ ก่อนที่จะให้ลูกนั่งบนกระโถน เมื่อเขาถ่ายออกมาสิ่งต่างๆ ก็จะลงสู่โถโดยตรง นั่นยังทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยด้วย

2. บอกลูกว่า ถ้าหากอึหรือฉี่ในผ้าอ้อมหรือกางเกงในจะทำให้สกปรก

สอนลูกเรื่องอนามัยและความสะอาด พาไปดูด้วยว่า สิ่งสกปรกจะต้องถูกทิ้งลงถังขยะนะ ปัสสาวะ หรืออุจจาระก็มีที่ทิ้งของมันเหมือนกัน เช่นนั้น เวลาที่ลูกปวดอึ หรือฉี่ ก็ควรจะมานั่งที่กระโถน บ้านของเราจะได้สะอาด ไม่เลอะเทอะ ไม่สกปรกด้วย

3. สร้างห้องน้ำส่วนตัวของลูก ให้กลายเป็นปราสาท

เพื่อฝึกให้ลูกเรียนรู้ และคุ้นชินกับการเข้าห้องน้ำเมื่อต้องการขับถ่าย ลองตกแต่งห้องน้ำส่วนตัวให้ลูก ใช้กล่องกระดาษลังมาตัดทำเป็นประตูเปิด – ปิด และช่วยกันตกแต่งให้เป็นปราสาทหลังน้อย จากนั้นก็นำกระโถนเข้ามาอยู่ในลัง แล้วบอกลูกว่า ปราสาทกระโถนนี้ สำหรับลูก เข้ามาใช้เวลาที่ปวดได้ตลอดเวลา

4. ใช้ตุ๊กตาสร้างสถานการณ์จำลอง

จำลองสถานการณ์ให้ลูกดูว่าการนั่งกระโถนต้องทำอย่างไร อาจจะใช้ตุ๊กตาทำท่าทางให้ลูกดู ตั้งแต่ปวดท้อง จนไปนั่งขับถ่ายบนกระโถน และเมื่อเสร็จกิจแล้ว ก็เช็ดทำความสะอาด รวมถึงล้างมือให้เรียบร้อย  อาจจะมีรางวัลเมื่อสามารถนั่งขับถ่ายบนกระโถนได้สำเร็จด้วย

5. เลือกใช้กระโถนแบบนั่งพื้นแทนการใช้สุขภัณฑ์แบบเดียวกับผู้ใหญ่

เด็ก ๆ หลายคนจะรู้สึกอุ่นใจ เมื่อเท้าของเขาวางอยู่บนพื้นอย่างมั่นคง และสามารถรั้งตัวเองไว้ได้ ในขณะที่ออกแรงเบ่ง ก่อนจะนั่งโถสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ลองใช้กระโถนนั่งพื้นให้เคยชินก่อน แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นการนั่งโถในห้องน้ำ โดยควรจะมีเก้าอี้บันไดเอาไว้ให้ลูกเหยียบขึ้น และวางเท้าของเขาเอาไว้ ขณะนั่งบนโถสุขภัณฑ์ด้วย

ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน

แอบดูเด็กนั่งฉี่ได้ไหม  ตกแต่งห้องน้ำส่วนตัวให้ลูก ใช้กล่องกระดาษลังมาตัดทำเป็นประตูเปิด – ปิด และช่วยกันตกแต่งให้เป็นปราสาทหลังน้อย น่ารักน่าใช้

6. ให้ดาวเจ้าตัวเล็กทุกครั้ง เมื่อนั่งถ่ายบนกระโถน

รางวัลของความพยายามจะทำให้ลูกรู้สึกมีกำลังใจ เมื่อเขาเรียนรู้ที่จะนั่งขับถ่ายบนกระโถน ทั้ง ๆ ที่เคยชินกับการใส่ผ้าอ้อม คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะให้รางวัล อาจจะทำเป็นแต้มสะสม นำปฏิทินเก่ามาใช้ ติดสติกเกอร์ดาวดวงน้อย ๆ ให้ เมื่อครบจำนวนตามที่กำหนด ก็จะได้รางวัลจากคุณพ่อคุณแม่ เป็นต้น จำนวนแต้มสะสมก็ไม่ควรเยอะเกินไป อาจจะ 2 – 4 ครั้ง ก็ได้

7. สอนลูกให้บอก เมื่อปวดฉี่ หรือปวดอึ

เด็กหลาย ๆ คนเลือกที่จะขับถ่ายในเวลานอน หรือช่วงเวลาที่เขารู้สึกผ่อนคลาย การใส่ผ้าอ้อมเอาไว้ ก็ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย และพร้อมจะขับถ่ายเช่นกัน ฉะนั้น การฝึกให้ลูกบอกเมื่อรู้สึกปวดฉี่ หรือปวดอึ ลูกจะได้ไม่ขับถ่ายเฉพาะเวลาที่รู้สึกผ่อนคลาย หรือหลับเท่านั้น ถ้าหากรู้สึกอยากขับถ่ายก็สามารถทำได้ทันที วิธีนี้ควรทำควบคู่ไปกับการเลิกใส่ผ้าอ้อม ในช่วงแรก ๆ ลูกอาจจะบอกไม่ทัน ทำให้ฉี่ราดก่อนเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตามเช็ดหน่อย จนกว่าลูกจะปรับตัวได้

8. ใช้การร้องเพลงสร้างบรรยากาศ

เมื่อพาลูกเข้าไปนั่งโถในห้องน้ำ ในระหว่างรอขับถ่าย ลูกอาจจะเกิดความเครียดส่งผลให้ถ่ายไม่ออกได้ คุณพ่อคุณแม่ลองร้องเพลงสนุก ๆ สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ลูกจะได้ไม่เครียด และสามารถขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น

9. เมื่อลูกโตพอจะช่วยเหลือตัวเองได้นิดหน่อย หากยังถ่ายเลอะเทอะกางเกง อาจให้ลูกหัดซักกางเกงที่เลอะด้วยตัวเอง

เป็นการแสดงความรับผิดชอบอย่างหนึ่ง ถ้าหากลูกไม่ยอมไปเข้าห้องน้ำ และถ่ายรดกางเกงจนเลอะเทอะ ก็ต้องช่วยกันเช็ดทำความสะอาด คุณพ่อคุณแม่อาจจะกำจัดสิ่งสกปรกไปก่อนหน้านี้แล้ว และให้ลูกเช็ดทำความสะอาดเพิ่มเติม รวมถึงหัดซักกางเกงของตัวเองด้วย เพื่อให้ลูกเห็นว่า สิ่งปฏิกูลที่ไม่ควรจะอยู่บนพื้นเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ และทำความสะอาด

10. ลูกไม่ถ่ายเนื่องจากท้องผูก

ความไม่คุ้นเคย ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ลูกไม่ยอมถ่ายเมื่อนั่งกระโถน หรือโถสุขภัณฑ์ แต่บางครั้งลูกก็ถ่ายไม่ออกจริง ๆ เพราะอาการท้องผูก คุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่า ลูกท้องผูกหรือไม่ และดูแลเรื่องโภชนาการอาหาร ทานผัก ผลไม้ เพื่อให้ลูกขับถ่ายได้สะดวกนั่นเอง

ลูกไม่ยอมนั่งกระโถน

ทานผัก ผลไม้เป็นประจำ ช่วยลดอาการท้องผูกได้

สำหรับเด็กเล็กแล้ว เรื่องทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ครั้งแรก การที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มฝึกให้ลูกนั่งกระโถน จำเป็นต้องใช้ความอดทน และเอาใจใส่ ไม่ควรบังคับ ดุด่า หรือทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัว อึดอัด จนทำให้พวกเขาไม่ยอมนั่งกระโถน หรือไม่ยอมขับถ่าย จะส่งผลกระทบในระยะยาว แต่สุดท้ายไม่ว่ายังไงก็ตาม เชื่อว่าลูกน้อยคนเก่งของคุณพ่อคุณแม่ ก็จะสามารถทำได้อย่างดีแน่นอน

ที่มา : www.happyhooligans.ca , www.pampers.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการฝึกลูกนั่งกระโถน

เมื่อลูกน้อยหัดใช้โถส้วมสำหรับเด็ก!

5 วิธีสอนลูกนั่งกระโถน ลูกชอบถ่ายใส่ผ้าอ้อม ไม่ยอมเข้าห้องน้ำทำไงดี?

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน
เซ็นทรัลพัฒนา จุดประกายการศึกษาไทย เปิดตัว "First Class Preschool" โมเดลใหม่สำหรับเด็ก 1-6 ปี
เซ็นทรัลพัฒนา จุดประกายการศึกษาไทย เปิดตัว "First Class Preschool" โมเดลใหม่สำหรับเด็ก 1-6 ปี

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • 10 วิธีแก้ ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนั่งกระโถน
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • 100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

    100 ไอเดีย เมนูมื้อเช้าให้ลูกไปโรงเรียน อร่อยไม่ซ้ำ ทำง่าย ได้ประโยชน์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว