X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

10 วิธีจัดการกับปัญหาเมื่อลูกทะเลาะกัน

10 Nov, 2014

เคล็ดลับเหล่านี้เป็นเคล็ดลับในการเลี้ยงดูลูกที่ไม่เพียงช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมและฝึกฝนให้ลูกรู้วิธีในการจัดการตัวเองเมื่อเจอกับปัญหาความขัดแย้ง แต่ยังช่วยให้คุณไม่ต้องทนกับการทะเลาะหรือโต้เถียงกันเองของลูก ๆ ได้

1. ตั้งกฎ “ไม่ทะเลาะกัน”

1. ตั้งกฎ “ไม่ทะเลาะกัน”

ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุด และคุณสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงลูกได้โดยการตั้งกฎพื้นฐานสำหรับการประพฤติตัวของลูก คุณรู้จักกฎ “ปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่คุณอยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อคุณ” หรือไม่ คุณสามารถที่จะตั้งกฎของคุณที่คล้ายกับกฎต่าง ๆ ด้านล่างนี้ได้:

1.1 รักพี่น้องของตัวเองเสมอ
1.2 ทำให้ห้องตัวเองสะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ
1.3 ทำความสะอาดสิ่งของหลังจากใช้งานและเอากลับไปไว้ที่ที่มันควรอยู่
1.4 ไม่ทะเลาะกัน ไม่กัดกัน ไม่ถ่มน้ำลายใส่กัน ไม่สาปแช่งกัน
1.5 เคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น ฯลฯ
คุณสามารถสร้างกฎเหล่านี้กับลูก ๆ ของคุณได้ ให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมและให้เขาได้เป็นเจ้าของกฎของตัวเอง เมื่อพวกเขารู้สึกว่าตนเองได้รับอำนาจและเป็นเจ้าของกฎของตัวเอง นั่นจะทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติตามกฎที่คุณตั้งได้ง่ายขึ้น คุณอาจพูดคุยและอธิบายกฎที่คุณได้สร้างขึ้นให้พวกเขาฟัง ให้ลูกพิมพ์กฎเหล่านี้และเอาไปติดตามที่ต่าง ๆ ที่ทุกคนมองเห็น เช่น ที่ตู้เย็น หากมีลูกคุณบางคนยังอ่านกฎเหล่านี้ไม่ออก ก็ไม่เป็นไร เขาอาจแกล้งทำเป็นอ่านออกเพราะเขาต้องรู้กฎเหล่านี้ด้วยความรู้สึกของเขาเอง
2. มีความสม่ำเสมอ

2. มีความสม่ำเสมอ

อย่าให้อารมณ์ของคุณตัดสินสิทธิในการปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ ไม่ว่าคุณจะเหนื่อยหรือยุ่งมากแค่ไหน หากมีการละเมิดกฎ คุณจะต้องเข้าไปอบรมสั่งสอนลูกที่เกี่ยวเนื่องกับการละเมิดกฎนั้น ๆ หากคุณไม่เข้มงวดในเรื่องการทำผิดกฎเหล่านี้ มันจะทำให้ลูกรู้สึกว่าพวกเขาสามารถทำผิดกฎได้ในบางครั้ง
3. ให้ความสนใจพวกเขา (ไม่ใช่ในขณะที่พวกเขากำลังทะเลาะกัน)

3. ให้ความสนใจพวกเขา (ไม่ใช่ในขณะที่พวกเขากำลังทะเลาะกัน)

คุณจำประประโยคนี้ได้หรือไม่? “ถึงรึยัง?” เมื่อสมาชิกในครอบครัวอยู่ในระหว่างการเดินทางที่กินเวลานาน เด็ก ๆ ก็จะเริ่มกวนใจพ่อแม่ด้วยคำถามนี้ พวกเขาจะเริ่มด้วยอาการหงุดหงิด เถียงกัน และทะเลาะกันในที่สุด พฤติกรรมเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากคุณพูดคุยกับลูกหรือพาลูกเล่นเกมส์ในระหว่างการเดินทาง

เด็กที่รู้สึกถึงความรัก การดูแล และความเอาใจใส่ที่เพียงพอจากพ่อแม่นั้นมักจะทะเลาะกันน้อยกว่า ไม่ว่าจะอยู่ในรถหรืออยู่ที่บ้าน คุณก็ควรให้ความสนใจพวกเขาอยู่เสมอ ก็อย่างที่รู้กันว่าเด็กทะเลาะกันเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณ (ถึงแม้ว่าคุณอาจไม่ให้พวกเขา) หากคุณมีลูกมากกว่าหนึ่งคน คุณควรเป็นหนึ่งใน “แก๊งค์” ของพวกเขา และแบ่งเวลาเพื่อเล่นเป็นเพื่อนลูกโดยไม่ได้ทำตัวเป็นพ่อหรือแม่สักพัก และมันอาจจะดีกว่าด้วยหากคุณสามารถที่จะให้เวลาและความใส่ใจกับลูกแต่ละคน บอกรักเขาเสมอ กอดเขาให้มากเท่าที่คุณมีโอกาส
4. สอนให้ลูกสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

4. สอนให้ลูกสื่อสารได้อย่างเหมาะสม

จงจำไว้ว่าความขัดแย้งเกิดขึ้นจากขาดการสื่อสารที่เหมาะสม หรือขาดการสื่อสารกัน การสื่อสารกันได้อย่างเหมาะสมเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี แม้กระทั่งในหมู่เด็กด้วยกัน เขาจะแสดงความเป็นตัวเขาเอง เด็กสามารถโน้มน้าวและชักจูงพี่หรือน้องให้ออกจากสถานการณ์ความขัดแย้งได้ การที่เขาไม่สามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้จะทำให้เขาเกิดความหงุดหงิดและทะเลาะกับคนอื่นได้
5. สอนให้เด็กรู้จักเห็นใจคนอื่น

5. สอนให้เด็กรู้จักเห็นใจคนอื่น

การสอนนี้เป็นการสอนให้ลูกคุณมี “ความรู้สึก” เมื่อลูกพูดว่า “หนูเกลียดพี่” คุณควรอธิบายให้เขาฟังว่าการเกลียดนั้นแตกต่างจาก “ความโกรธ” คุณอาจบอกลูกว่า “ลูกไม่ได้เกลียดพี่หรอก ลูกรักพี่ แต่ลูกแค่โกรธพี่ที่เขาแย่งของเล่นลูกเท่านั้นเอง” นี่เป็นวิธีการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจในความรู้สึกของลูกน้อย ลูกจะรู้สึกขอบคุณที่คุณเข้าใจว่าเขารู้สึกอย่างไร และนี่จะกลายเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความเห็นอกเห็นใจของลูกที่มีต่อคนอื่น

คุณอาจอธิบายให้ลูกฟังว่าเด็กคนอื่นรู้สึกอย่างไร “แม่คิดว่าเขาคงรู้สึกแย่มากแน่ ๆ เลย เพราะเขาร้องไห้ด้วย มันคงจะดีถ้ามีใครปลอบใจเขา” และหากลูกคุณสามารถที่จะปลอบใจคนอื่นได้ นั่นแสดงว่าเขาสามารถหยุดคิดทบทวนได้เมื่อเขารู้สึกว่าอยากจะทำร้ายคนอื่น
6. สอนความคิดเรื่อง “ทุกฝ่ายได้ประโยชน์” ให้กับลูก

6. สอนความคิดเรื่อง “ทุกฝ่ายได้ประโยชน์” ให้กับลูก

อาจเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายให้ลูกได้เข้าใจว่าโลกไม่ได้หมุนรอบตัวพวกเขา ดังนั้น การสอนให้ลูกรู้จักเจรจาและประนีประนอมนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ หนึ่งในบทเรียนที่คุณสามารถใช้สอนลูกได้นั่นคือ ลูกจะไม่ได้ทุกอย่างที่ลูกอยากได้ บางครั้งลูกต้องใช้ความพยายามหรือทำบางอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ลูกต้องการ

หากลูกทะเลาะกันเพื่อที่จะได้นั่งที่นั่งหน้าของรถ คุณอาจสอนให้ลูกผลัดเปลี่ยนกันหรือให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสนอบางอย่างเพื่อแลกกับการได้นั่งที่นั่งด้านหน้า
7. สอนให้ลูกรู้คุณค่าของความอดทนและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

7. สอนให้ลูกรู้คุณค่าของความอดทนและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

หากทั้งหมดที่กล่าวมาใช้ไม่ได้ผล พวกเขาอาจต้องใช้ความอดทนเพิ่มขึ้นอีกสักเล็กน้อยหรือยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นเพิ่มขึ้น หากคุณตั้งกฎ “รักพี่น้องของตัวเองเสมอ” ความอดทนและการยอมรับในความคิดเห็นของคนอื่นมักเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ คุณสามารถสอนลูกให้รู้จักแบ่งปัน (เช่น แบ่งปันเค้ก) หรือรู้จักให้ นอกจากนี้ เรียนรู้การเจรจา การรู้จักอดทนและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นนั้นก็เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาควบคู่กันไป
8. อย่าเข้าไปยุ่ง

8. อย่าเข้าไปยุ่ง

อย่าเข้าไปยุ่งการทะเลาะกันของพี่น้องเพื่อที่จะหยุดการทะเลาะเบาะแว้ง ให้พวกเขาจัดการต่อสู้กันเอง เพราะหากคุณยื่นมือเข้าไปยุ่งตลอดเวลา พวกเขาจะต่อสู้กันได้ตลอดเวลาเพราะพวกเขาจะคิดว่าคุณจะอยู่ที่นั่นด้วยเพื่อยุติการทะเลาะกัน พวกเขาจะไม่เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง นี่ฟังดูเหมือนยาก แต่ตราบเท่าที่ไม่มีความอันตรายทางด้านร่างกาย คุณอาจให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าการก่อเรื่องนั้นเป็นอย่างไร หลังจากนั้นคุณก็เตือนพวกเขาให้นึกถึงกฎพื้นฐานที่ไม่ให้มีการทะเลาะกันและบอกให้ลูกแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างด้วยตัวของพวกเขาเอง คุณสามารถตัดสินใจในภายหลังว่าควรมีการ “ลงโทษ” สำหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎหรือไม่ แต่ไม่ควรลงโทษก่อนที่พวกเขาจะมีการทะเลาะกัน

โดยปกติแล้ว สิ่งแรกที่คนเป็นพ่อหรือแม่มักทำคือการถามว่าใครเป็นคนเริ่มก่อน อย่าทำเช่นนั้น! เพราะมันไม่สำคัญที่ใครเริ่มต้นทะเลาะก่อน ต่างฝ่ายต่างมีส่วนร่วมในการทะเลาะเบาะแว้งครั้งนี้ ดังนั้น ทุกคนต้องมีส่วนในการรับผิดชอบ แต่ในกรณีที่ลูกคนโตรังแกลูกที่เล็กกว่านั้นคนละเรื่องกัน มันเป็นการรังแก ไม่ใช่การทะเลาะกัน
9. ทำตัวเป็นตัวอย่าง

9. ทำตัวเป็นตัวอย่าง

หากคุณสร้างกฎการ “ไม่ทะเลาะกัน” แต่เด็กเห็นคุณทะเลาะกับสามีหรือภรรยาของคุณ คุณไม่เพียงแต่ไม่ได้ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง แต่คุณเองนั่นแหละที่แหกกฎ
10. สร้างความสุขและสนุกสนานในครอบครัว

10. สร้างความสุขและสนุกสนานในครอบครัว

หากคุณสามารถสร้างความสุขและทำให้ครอบครัวสนุกสนานอยู่เสมอ สิ่งอื่น ๆ จะตามมา ลูก ๆ จะไม่ทะเลาะกัน และทุกคนก็จะรักกันมากขึ้น
ถัดไป
img

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • 10 วิธีจัดการกับปัญหาเมื่อลูกทะเลาะกัน
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว