X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณหมอเตือน! อุ้มลูกผิดวิธี ระวังลูกข้อหลุด และกระดูกเสื่อม

บทความ 5 นาที
คุณหมอเตือน! อุ้มลูกผิดวิธี ระวังลูกข้อหลุด และกระดูกเสื่อม

พ่อแม่ทุกคนรู้ว่าร่างกายของเด็กทารกนั้นบอบบาง ดังนั้นการอุ้มเด็กอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายและการเจริญเติบโตลูกน้อย อย่างไรก็ตาม ยังมีพ่อแม่หลายคนที่อาจจะยังไม่ทราบผลเสียด้านสุขภาพระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับลูก หากพ่อแม่ อุ้มลูกผิดวิธี บทความนี้จะพามาดูวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง พร้อมคำแนะนำในการอุ้มลูก เพื่อสุขภาพและการเจริญเติบโตที่ดีของทารก

 

การอุ้มลูก มีความสำคัญอย่างไร

การอุ้มลูกเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เพราะพ่อแม่มือใหม่หลายคนยังไม่รู้จักวิธีการอุ้มที่ถูกต้อง จึงจำเป็นที่จะต้องฝึกกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้พร้อมรับมือกับการอุ้มลูกน้อยแรกเกิด ยิ่งหากพ่อแม่อุ้มลูกผิดวิธี อุ้มผิดท่า หรืออุ้มได้ไม่ดี ก็อาจส่งผลต่อร่างกายของลูกน้อยได้ ทำให้ลูกเกิดอาการบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนศีรษะอย่างรุนแรง อีกทั้งยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก เพราะฉะนั้นการรู้จักวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้และทำให้ถูกวิธี

 

อุ้มลูกผิดวิธี ส่งผลเสียจริงไหม

อย่างที่ทราบกันดีว่าทารกเป็นวัยบอบบาง โดยเฉพาะบริเวณศีรษะและลำคอ หากอุ้มลูกผิดวิธีก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อย ดังนั้น เวลาอุ้มลูกพ่อแม่จึงต้องคอยประคับประคองศีรษะและลำคอลูกอยู่เสมอ เพราะไม่เช่นนั้นอาจทำให้ลูกเกิดโรคผิดปกติ ดังต่อไปนี้

 

1. โรคข้อสะโพกเสื่อม

โรคข้อสะโพกเสื่อม หรือข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด เกิดจากข้อต่อสะโพกเจริญเติบโตผิดปกติ หรือเมื่อสะโพกยุบมากเกินไป ทำให้กระดูกสะโพกโผล่ในตำแหน่งที่ผิด คุณหมอเจสัน แฮร์ แพทย์จัดกระดูกจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อว่าการใช้ผ่าห่อตัวลูกน้อยผิดวิธีก็ทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้ คุณหมอแนะนำว่าไม่ควรใช้ผ่าห่อระหว่างขาไปจนถึงสะโพกแล้วอุ้มลูก เพราะจะทำให้ข้อต่อสะโพกของลูกกระดูกคลาดเคลื่อน ทำให้สะโพกเจริญเติบโตผิดธรรมชาติ

ดังนั้น คุณแม่ควรห่อขาลูกหลวม ๆ ซึ่งฟังดูสวนทางกับความเชื่อเดิม คุณหมอย้ำว่า เมื่อพ่อแม่อุ้มลูกควรให้เข่าลูกเคลื่อนได้ และหันไปด้านนอก หรือใน “ท่ากบ” ให้ลูกปล่อยขาตามธรรมชาติ โดยนิ้วเท้าของลูกจะจิ้มกับลำตัวหรือเอวผู้อุ้ม ซึ่งเข่าของลูกจะสามารถขยับได้

 

Advertisement

2. โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

คุณหมอแฮร์กล่าวว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บจากแรงกดที่ทำให้เกิดการแตกร้าว ทำให้มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ทั้งนี้สามารถป้องกันด้วยไม่อุ้มลูกด้วยผ้าอุ้มลูกที่แน่นเกินไป เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังลูกโค้งออกแทนที่จะโค้งเข้าด้านใน โดยกระดูกสันหลังโค้งออกด้านนอกเมื่อเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุ้มลูกให้ถูกท่า ทำอย่างไร / 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 62

 

อุ้มลูกผิดวิธี

 

พ่อแม่ควรอุ้มลูกจนถึงกี่เดือน

โดยปกติแล้ว พ่อแม่ควรอุ้มเด็กตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิดไปจนถึงช่วง 6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่ทารกยังไม่สามารถประคองตัวเองให้สามารถลุกนั่งหรือคลานได้ จำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องอุ้มลูกอยู่ตลอดระยะเวลาเพื่อคอยดูเขาอยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำแนะนำที่ถูกต้องว่าควรอุ้มลูกจนถึงเมื่อไหร่ แต่โดยส่วนมากนั้น จะรอเมื่อลูกเริ่มเดินได้คล่องโดยไม่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยประคับประคอง ดังนั้น หากสังเกตว่าลูกเริ่มเดินได้ดีแล้ว ก็ค่อย ๆ ลดการอุ้มลูกลงได้

 

ท่าอุ้มลูกที่พ่อแม่ควรระวัง

เด็กวัยทารกเป็นวัยที่ร่างกายยังบอบบาง ยังไม่คอแข็ง คุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้จักท่าอุ้มที่อาจเป็นอันตรายต่อเขา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและโรคอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งท่าอุ้มที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง ได้แก่

 

1. อุ้มโยนหรืออุ้มเขย่า

การอุ้มโยนหรืออุ้มเขย่าเป็นท่าที่พ่อแม่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะอาจทำให้เลือดออกในสมองลูก เพราะการเขย่าที่รุนแรงจนเกินไป อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อสมองของเด็ก จนถึงขั้นตาบอด ชักกระตุก เป็นอัมพาต รวมไปถึงการเสียชีวิต

 

2. อุ้มลูกในท่าคอพับหรือหงาย

ท่าอุ้มนี้อาจเป็นท่าที่ทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก คุณพ่อคุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการอุ้มลูกด้วยท่านี้ และควรสังเกตว่าคอลูกพับหรือเปล่า หากลูกคอพับจนทำให้คางชิดติดหน้าอก หรือแหงนหน้ามากจนเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายลูกได้

 

3. อุ้มเข้าเอว

การอุ้มลูกเข้าเอวเป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อทั้งกล้ามเนื้อลูกและกล้ามเนื้อของคุณพ่อคุณแม่ อีกทั้งยังทำให้ลูกมองเห็นแต่มุมซ้ำเดิม ๆ ไม่ได้เห็นมุมมองอื่น ๆ จนอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการลูกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อแม่มือใหม่ อุ้มลูก ไม่ให้เก้ ๆ กัง ๆ อุ้มท่าไหนถึงจะดี

 

อุ้มลูกผิดวิธี

 

4. อุ้มลูกนอน

การอุ้มลูกนอนอาจเป็นท่าอุ้มลูกที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก เพราะคุณพ่อคุณแม่บางคนอาจอุ้มลูกหลับจนทำให้ลืมระมัดระวังศีรษะของเขา ยิ่งหากอุ้มเด็กพาดบ่าก็อาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อของเด็ก และยังอาจส่งผลต่ออุบัติเหตุได้ด้วย

 

5. อุ้มไม่ได้ประคองคอและหลัง

เด็กแรกเกิดไปจนถึง 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรอุ้มลูกแบบไม่ได้ประคองคอและหลัง เพราะทารกในวัยนี้ยังมีร่างกายบอบบาง และพัฒนาการได้ไม่เต็มที่ หากเผลอไปอุ้มลูกท่านี้ก็อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลังลูกจนทำให้อักเสบได้

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้

 

วิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้อง

วิธีการอุ้มลูกที่ต้อง พ่อแม่ควรใช้ผ้าห่อตัวเด็กที่มีเนื้อนุ่ม ปลอดภัย และสบาย ควรอุ้มลูกให้แนบหน้าอกใกล้หัวใจมากที่สุด และอาจจะต้องมีที่รองหลังด้านหลังให้กระดูกโค้งตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีการที่ถูกต้องมีดังนี้

  • ก่อนยกตัวลูกขึ้นมา พูดคุยกับลูกก่อนให้ลูกได้รับรู้ว่าคุณอยู่ตรงนั้น ลูกจะได้ไม่ตกใจ
  • ประคองคอน้อย ๆ และหัวของลูกอย่างระมัดระวังเวลาคุณอุ้มลูกขึ้นมา คุณต้องแน่ใจว่าส่วนหัวของลูกได้รับการโอบอุ้มตลอดเวลาแม้กระทั่งตอนที่คุณจะวางลูกลง
  • หากลูกกำลังนอนคว่ำหน้าอยู่ ค่อย ๆ สอดแขนข้างหนึ่งเข้าไปรองรับที่ใต้คางและคอ แล้วค่อย ๆ สอดแขนอีกข้างรอบ ๆ สะโพกของลูก จากนั้นคุณก็จะสามารถกลับด้านลูกได้ในขณะที่ลูกยังคงได้รับการโอบอุ้มอยู่ตลอด
  • เมื่ออุ้มลูกขึ้นมาแล้ว และคุณก็อุ้มลูกไปไหนมาไหนได้ วิธีการทั่ว ๆ ไปในการอุ้มเด็กทารกเกิดใหม่คือ การเอาตัวลูกไว้ใกล้หัวใจคุณ และให้หัวลูกได้พักอยู่ที่ไหล่ของคุณ อย่าลืมประคองคอของลูกด้วยมือหนึ่งข้าง ส่วนมืออีกข้างก็รองรับไว้ที่ก้นของลูก

อย่างไรก็ตาม มีวิธีในการอุ้มลูกอยู่มากกว่าหนึ่งวิธี และเมื่อลูกอายุมากขึ้น ลูกจะต้องการการประคับประคองส่วนสันหลังจากคุณน้อยลง เมื่อลูกอายุได้หกเดือน คุณสามารถอุ้มลูกด้วยมือข้างเดียวได้ หรืออุ้มลูกไปมาด้วยการใช้ผ้าอุ้มเด็ก เป้อุ้มเด็ก และเบาะนั่งเด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง : 8 ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง ปลอดภัยและสบายสำหรับลูก ท่าอุ้มลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่

 

อุ้มลูกผิดวิธี

 

คำแนะนำในการอุ้มลูก

  • ไม่ควรใช้เก้าอี้กระโดดเสริมพัฒนาการที่ติดอยู่กับกรอบประตู เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังลูกรับน้ำหนักมากเกินไป
  • ลดการอุ้มลูกโดยเอาหน้าออกด้านนอก เพราะการเอาหน้าเข้าลำตัวผู้อุ้มจะช่วยพัฒนาการสะโพก และศีรษะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมสำหรับการนอนที่สุด
  • ควรใช้ผ้าอุ้มที่นุ่มและเหมาะกับสะโพก
  • ระวังหากได้ยินเสียงสะโพกเคลื่อน ความยาวขาไม่เท่ากัน หรือรอยข้อพับไม่เท่ากัน หากลูกมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษากุมารแพทย์ทันที

 

อุ้มลูกผิดวิธี อาจส่งผลเสียต่อเด็กในระยะยาว โดยเฉพาะโรคข้อสะโพกเสื่อมและกระดูกสันหลังเสื่อม ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกผิดท่าจนเผลอทำลูกหลุดจากมือหรือพลัดตก ก็อาจทำให้ลูกบาดเจ็บอย่างรุนแรง จนถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อสมอง เพราะฉะนั้น จึงควรรู้จักวิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 13 อุ้มลูกอย่างไร

ผ้าอุ้มเด็ก ดีอย่างไร ช่วยลดอาการปวดหลังให้คุณแม่ได้จริงไหม?

“อุ้มลูกทีไร ปวดหลังทุกที” ปวดหลังหลังคลอด แบบนี้แก้อย่างไร

ที่มา : sg.theasianparent, enfababy, babyeverything

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • คุณหมอเตือน! อุ้มลูกผิดวิธี ระวังลูกข้อหลุด และกระดูกเสื่อม
แชร์ :
  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

    ลูกเป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม วิธีไหนลดไข้เร็วที่สุด

  • เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

    เลี้ยงลูกปลอดภัย กินอย่างไร ไม่เสี่ยง โรคแอนแทรกซ์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว