แม่มือใหม่ รู้เอาไว้ อาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์ มาจับสังเกต 8 อาการผิดปกติของคนท้อง ภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ต้องรอหมอนัด ไปโรงพยาบาลเดี๋ยวนี้เลย
อาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์ มีอะไรบ้าง
ภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ อาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์
ภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ยิ่งเร็วยิ่งดี
เมื่อรู้ตัวว่าท้อง แม่ตั้งครรภ์ต้องรีบฝากครรภ์โดยทันที หรือรีบฝากครรภ์ไม่เกิน 3 เดือน นับจากมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อให้การตั้งครรภ์อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะระหว่างการตั้งครรภ์ แม่ท้องมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวแม่ท้อง และลูกในครรภ์
ภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ อาการที่พบระหว่างตั้งครรภ์
1.อาการแพ้ท้อง
อาการแพ้ท้อง แม่บางคนแทบไม่แพ้ท้องเลย แต่แม่บางคนก็แพ้ท้องอย่างรุนแรง อาการแพ้ท้องจึงพบได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์ไตรมาสแรก วิธีแก้แพ้ท้องอย่างง่ายที่สุด คือ พยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ แต่ห้ามปล่อยให้ท้องว่าง หากแม่ท้องมีอาการแพ้ท้องมาก คุณหมอจะจ่ายยาช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้อง ซึ่งไม่มีอันตรายต่อแม่ และลูกในท้อง
2.อาการแน่นท้องและท้องอืด
ขณะตั้งครรภ์ จะพบอาการแน่นท้อง ท้องอืดบ่อย ๆ เพราะการย่อยอาหารไม่ดี กระเพาะอาหาร และลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง จึงจำเป็นที่ต้องเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ๆ ที่สำคัญ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ของดอง ถั่ว น้ำอัดลม และควรออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินเล่น ที่สำคัญ อย่าให้ท้องผูกตอนท้อง โดยดื่มน้ำมาก ๆ ทานผัก และ ผลไม้ให้มาก ๆ
3.อาการปวดศีรษะและวิงเวียน
หากแม่ท้อง ปวดหัว วิงเวียน ให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนหนาแน่น และเลือกอยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเท และต้องพยายามพักผ่อนให้เพียงพอ หาทางลดความเครียด ลดความวิตกกังวล เพื่อจะได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่
4. อาการปวดหลังและเป็นตะคริว
แม่ท้องไม่ควรยืนนาน ๆ หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือใส่รองเท้าส้นสูง ถ้าเป็นตะคริวควรใช้ขี้ผึ้งร้อน ๆ ทาถูนวดจะบรรเทาอาการปวดตะคริวได้ และพยายามนอนหลับให้เพียงพอ จะช่วยแก้ไขได้
5.ตกขาว
ถ้าตกขาวมีลักษณะใส ๆ หรือเป็นมูก เป็นอาการปกติของคนท้อง แต่ถ้ามีตกขาวปนเลือด มีกลิ่น หรือมีอาการคัน ควรปรึกษาคุณหมอ
6. ริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวารพบได้เสมอในระหว่างตั้งครรภ์ แม่ท้องต้องระวังอย่าให้ท้องผูก และไม่ต้องกังวลไป โดยทั่วไปริดสีดวงทวารจะหายไปเองหลังคลอดประมาณ 4-5 สัปดาห์
7. เส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดช้า แม่ท้องไม่ควรยืน หรือนั่งห้อยเท้านาน ๆ เวลานอนควรยกเท้าให้สูง ถ้าปวดมากไม่หายสักที ต้องรีบพบแแพทย์
8. ท้องลายหรือหน้าอกลาย
คนท้องมักจะมีหน้าท้องลาย หน้าอกลาย เป็นเรื่องปกติ หากแม่ท้องกังวล สามารถใช้ครีมทาท้องได้ แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อแม่ และลูกในท้อง และต้องทดสอบการแพ้ของผิวหนังก่อน เพราะแม่ท้องผิวจะแพ้ได้ง่ายต้องระวัง
9.อาการบวม
ถ้าปวดเล็กน้อยบริเวณข้อเท้า ถือเป็นอาการปกติของคนท้อง โดยเฉพาะในระยะใกล้คลอดจะพบได้เสมอ การนอนพัก และยกเท้าให้สูงจะทำให้อาการบวมลดลงได้
10.นอนไม่หลับโดยเฉพาะเวลาใกล้คลอด
เนื่องจากความอึดอัด เกิดจากมดลูกโตมาก หายใจไม่สะดวก ถ้าแม่ท้องนอนไม่หลับแก้ได้โดยการหนุนศีรษะให้สูง
11.การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
คนท้องอาจจะหงุดหงิดมาก นอนไม่หลับ ร้องไห้ง่าย แม่ท้องต้องพยายามทำใจให้สบาย ทำใจให้สงบ หรือหาวิธีคลายเครียด เพื่อลูกในท้อง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ วิธีลดอาการเท้าบวมในคนท้อง ตั้งท้องแล้วเท้าบวมต้องทำยังไง?
ภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ อาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์
8 อาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
- แพ้ท้องอย่างมาก จนรับประทานอาหารไม่ได้
- แน่นท้อง หรือท้องอืดมาก
- ปวดศีรษะ หรือวิงเวียนบ่อย ๆ
- น้ำหนักเพิ่มเร็ว จนมีอาการบวมที่หน้า และมือ
- เป็นไข้หรือหนาวสั่น
- เด็กไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยลง
- ปัสสาวะแสบ และบ่อยเกินไป
- มีเลือดออก หรือมีตกขาว มีกลิ่นและคัน
อาการอื่น ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นแล้วต้องไปพบคุณหมอ
1. อาการเลือดออก
มีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด การติดเชื้อในปากมดลูก การมีภาวะรกเกาะต่ำ หรือมีภาวะการเจ็บครรภ์คลอด สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะเลือดออกทางช่องคลอดได้สิ่งสำคัญคือ เมื่อพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดไม่ว่าอายุครรภ์จะเท่าไหร่ก็ตาม ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เมื่อรู้สาเหตุก็จะรู้ถึงความสำคัญ หรืออันตรายว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง
2. การที่มีน้ำเดินหรือน้ำคร่ำแตก
น้ำเดินหมายถึง มีน้ำคร่ำไหลออกจากช่องคลอด คือมีการแตกของถุงน้ำคร่ำซึ่งโดยทั่วไป จะชักนำให้เข้าสู่กระบวนการคลอดได้เร็วขึ้น ถ้าอยู่ในช่วงที่อายุครรภ์ครบกำหนดแล้ว พวกนี้จะแสดงว่าเริ่มที่จะเข้าสู่กระบวนการคลอด พร้อมที่จะคลอดได้ เมื่อไรก็ตามที่มีน้ำคร่ำเดินออกมาหรือมีน้ำใส ๆ ไหลออกจากช่องคลอดออกมา ต้องมาตรวจดูที่โรงพยาบาลเหมือนกัน เพราะว่าเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่บ่งชี้ว่าเราเข้าใกล้ที่จะเข้าสู่กระบวนการคลอดแล้ว
3. เจ็บท้องก่อนกำหนดคลอด
คุณแม่ท้องแรกอาจจะสับสน ระหว่างอาการเจ็บท้องหลอก กับเจ็บท้องจริง โดยอาการเจ็บท้องหลอกอาจเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 หรือใกล้คลอดในเดือนสุดท้าย จะมีอาการปวดจะเป็นแบบไม่สม่ำเสมอเรียกว่า เป็น ๆ หาย ๆ ความถี่ หรือความเจ็บปวดจะไม่รุนแรงมากขึ้น รู้สึกปวดแต่ละครั้งน้อยกว่า 50 – 80 วินาที แต่ถ้าคุณแม่มีอาการเจ็บท้องก่อน 37 สัปดาห์ เจ็บเป็นประจำ และมีอาการทุก ๆ 2-3 นาที และเจ็บมากขึ้นเวลายืนหรือเดิน ปวดท้องต่อเนื่อง อาจเป็นการคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ควรไปหาหมอโดยไม่ต้องรอวันนัดหรือถึงกำหนดคลอด
4. มีเลือดออกกะปริบกะปรอยตลอดการตั้งครรภ์
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หากสังเกตว่ามีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ลักษณะเป็นเลือดสด มักไม่มีอาการเจ็บท้องร่วมด้วย ในครั้งแรกจะออกมาไม่มาก และจะหยุดได้เอง อาการแบบนี้เป็นปัจจัยสุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์ หากมีเลือดไหลออกมาอีกครั้ง และเลือดออกมากไม่หยุดไหล อาการแบบนี้ถือว่ารุนแรงส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้ หากพบว่าตัวเองมีเลือดออก ให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลครรภ์ทันที เพื่อประเมินความเสี่ยงและหาแนวทางการป้องกัน
5. ลูกดิ้นน้อยลง
โดยทั่วไปแล้วลูกในท้องจะเริ่มดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 16 – 20 สัปดาห์ ดิ้นประมาณ 200 ครั้งใน 12 ชั่วโมง และทารกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ จะดิ้นประมาณ 575 ครั้งใน 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นลูกจะดิ้นน้อยลงเรื่อย ๆ และเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์ทารกจะดิ้นประมาณ 282 ครั้งใน 12 ชั่วโมง ดังนั้นพอเริ่มลูกเริ่มดิ้นแล้ว คุณแม่ควรเฝ้าสังเกตการเคลื่อนไหว ของลูกน้อยในครรภ์ ทารกบางรายอาจจะชอบดิ้นมากในตอนกลางคืน บางคนก็ชอบดิ้นขยับตัวในช่วงเช้า ซึ่งคุณแม่ควรรู้วิธีการนับลูกดิ้นพร้อมการจดบันทึกการนับดิ้น เพื่อสังเกตความแข็งแรง และประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ถ้าพบว่าลูกดิ้นไม่มาก ผิดปกติ หรือหยุดดิ้นไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอทันที การที่ลูกดิ้นน้อยลงงอาจจะเกิดจากสาเหตุหลาย ๆ อย่าง แต่มีบางกรณีที่ทารกเสียชีวิตก่อนคลอดเพียงไม่กี่สัปดาห์ วิธีที่คุณแม่จะรู้ได้ว่าทารกในครรภ์แข็งแรงดีก็คือ การสังเกตลูกดิ้น
อาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์ ภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์
หากแม่ท้องสังเกตตัวเอง และพบว่า มีอาการผิดปกติของหญิงตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์ ก็ควรรีบไปโรงพยาบาล อย่ารอช้า เพื่อให้คุณหมอได้วินิจฉัย และดูแลสุขภาพแม่ท้อง ให้ดีที่สุด
ที่มา : httsp://www.vibhavadi.com/
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
แม่ท้องตอน 30 ลูกหัวไว ฉลาด ไอคิวสูง แข็งแรง เป็นอายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์
ลูกดิ้นทีเหมือนฉี่จะราด คนท้องปวดฉี่บ่อย บางทีก็ฉี่เล็ด แบบนี้ปกติไหม
ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะแม่ไม่ระวังเรื่องเหล่านี้ตอนท้อง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!