ข้อควรระวังก่อนให้ทารกกินแตงโม
อันตรายจากแตงโม โดยเฉพาะทารกพ่อแม่ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะหากให้ทารกกินมากไปอาจเป็นอันตรายได้ เป็นเพราะอะไรนั่นมาหาคำตอบกันค่ะ โดยทั่วไปแล้วแตงโม ประกอบด้วย น้ำร้อยละ 90 น้ำตาลร้อยละ 6 และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย เช่น วิตามินซี วิตามิน แร่ธาตุ สรต้านอนุมูลอิสระ และโพแทสเซียม เป็นต้น ทำให้แตงโมเป็นผลไม้ที่ช่วยดับร้อน ดับกระหาย แถมยังมีโภชนาการทางอาหารสูงอีกด้วย
เมื่อไหร่ควรให้ลูกกินแตงโม
โดยปกติแล้วเด็กจะเริ่มกินอาหารเสริมได้เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป สำหรับแตงโมเองก็เช่นกัน หากลูกน้อยของคุณสามารถกินอาหารเสริมจำพวกช้าวบด ผลไม้บด การที่จะเริ่มกินแตงโมก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพียงแต่คุณควรจะหั่นแตงโมเป็นชิ้นเล็กๆ แคะเอาเมล็ดแตงโมออก เพื่อไม่ให้เมล็ดไปติดคอลูกน้อย และยังเป็นการฝึกให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการกินที่ดีขึ้นอีกด้วย
สำหรับน้ำแตงโมนั้นไม่แนะนำให้คุณแม่ทำให้ทารกกินค่ะ เนื่องจากทารกที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องกินน้ำผลไม้ อีกทั้งแตงโมมีน้ำมาก อาจทำให้ทารกอิ่มเร็ว แล้วทานข้าว ทานนมน้อยลงได้ หากอยากให้ลูกกินแตงโม แนะนำให้กินหลังจากที่ลูกได้กินนมไปแล้วสองชั่วโมงค่ะ หรือระหว่างอาหารสองมื้อ จะเป็นระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเที่ยง หรือจะเป็นระหว่างมื้อเที่ยงกับมื้อเย็นก็ได้ เพราะจะช่วยให้เรื่องของการดูดซึมของสารอาหารได้ดี ที่สำคัญอย่าให้ลูกกินแตงโมก่อนเข้านอน เดี๋ยวจะทำให้ลูกปัสสาวะมากตอนกลางคืนได้
อันตรายจากแตงโม
ทารกกินแตงโมเท่าไหร่ถึงจะดี
เนื่องจากกระเพาะอาหารของทารกมีขนาดเล็ก คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกกินแตงโมชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณถ้วยโยเกิร์ตพอค่ะ เพราะเดี่ยวจะทำให้ลูกกินข้าวและนมไม่ได้ และยังต้องระวังในเรื่องดังต่อไปนี้
- ไม่ควรนำแตงโมที่แช่ตู้เย็นแล้ว มาให้เด็กทารกที่ต่ำกว่าอายุ 1 ขวบกิน เพราะว่าลำไส้และกระเพาะยังรับไม่ไหว จะทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือกิดอาการท้องอืด
- อย่าให้เด็กทารกกินแตงโมที่กินไม่หมดแล้วเก็บไว้กินต่อในวันที่ 2 เพราะว่า แตงโมที่วางทิ้งไว้เป็นเวลานานจะมีแบคทีเรียเกิดขึ้น ซึ่งภูมิต้านทานของลำไส้และกระเพาะของเด็กทารกอายุประมาณ 1 ขวบยังอ่อนแอ กินแล้วจะทำให้ท้องเสียเช่นกัน
- อย่าให้ทารกกินแตงโมตอนท้องว่าง
- ไม่ควรให้ทารกกินแตงโมมากเกินไป เพราะถ้าเด็กทารกกินแตงโมมากภายในช่วงเวลาสั้นๆ ก็จะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง บวกกับระบบย่อยอาหารของเด็กทารกยังไม่พัฒนาเต็มที่ จะส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารของทารกเกิดอาการผิดปกติได้ อาจจะอาเจียน ท้องเสีย หรือว่ามีอาการร้ายแรงกว่านี้ เช่น การขาดน้ำและภาวะเลือดเป็นกรด
ที่มา: https://thai.cri.cn
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ป้อนอาหารทารก ต่ำกว่า 6 เดือน ความเชื่อโบราณที่แม่ไม่ควรเสี่ยง
อุทาหรณ์! ป้อนน้ำผึ้งทารก 6 เดือน ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต ลูกเป็นโรคนี้ ลูกกินน้ำผึ้ง แล้วตาย
วิธีเช็คพัฒนาการลูกวัย 6-9 เดือน ลูกพัฒนาการช้ามีลักษณะอย่างไร เช็คเลย!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!