สิทธิประโยชน์ กองทุนประกันสังคม ที่แม่ท้องต้องรู้
สิทธิประโยชน์ กองทุนประกันสังคม
กรณีคลอดบุตร (มาตรา 33)
1.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
11..จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
1.2.จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
1.3.กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
พิจารณาสั่งจ่าย
- เงินสด/เช็ค (ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน)
- ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน
- โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
- สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
- สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
10) ธนาคารออมสิน
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
หมายเหตุ หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
สถานที่ยื่นเรื่อง
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39
เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
ติดตามต่อ กรณีสงเคราะห์บุตร หน้าถัดไป >>>
กรณีสงเคราะห์บุตร
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
1.หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
2.สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นและบุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน
เงื่อนไขที่ได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร
1.เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
2.ผู้ประกันตนมี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร
– เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
– บุตรเสียชีวิต
– ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
– ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01)
- สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)(ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร (สปส. 2-01)
- สูติบัตรต้นฉบับของบุตรพร้อมสำเนา 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนสมรส หรือ สำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
9) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
ขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน
- ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
- เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ
- สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
- พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
สถานที่ยื่นเรื่อง
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : https://www.sso.go.th/
สายด่วน 1506 และ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!