X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน "สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง" งานนี้ต้องรอด!

บทความ 3 นาที
ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน "สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง" งานนี้ต้องรอด!

เมื่อเด็กเข้าโรงเรียนแล้วถูกเพื่อนแกล้ง คุณพ่อคุณแม่คงไม่สบายใจ เป็นห่วงลูกเพราะลูกไม่อยากไปโรงเรียน หวาดกลัว ดีไม่ดีอาจกลายเป็นขาดทักษะการเข้าสังคม ไม่มีเพื่อนไปอีก จะมีวิธีสอนให้ลูกรับมือกับการถูกเพื่อนแกล้งอย่างไรให้ได้ผล ที่นี่มีคำตอบ

ความรุนแรงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา

พ่อแม่บางคนอาจสอนลูกให้ตอบโต้ด้วยความรุนแรง เพื่อนแกล้งมาก็ต้องสู้กลับ แกล้งเพื่อนกลับตอบโต้กันไปมา หรือไม่ก็ไปเอาเรื่องกับคุณครูที่โรงเรียนกลายเป็นปัญหาใหญ่ ลุกลามบานปลายไม่จบสิ้น พาลให้ปวดหัว ลูกเองก็ไม่มีความสุข และไม่ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง  อาจกลายเป็นการสนับสนุนลูกให้ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาต่างๆ ทำให้เด็กมองว่าความรุนแรงเเป็นเรื่องธรรมดา จะใช้เมื่อไรก็ได้

หรือถ้าลูกมาเล่าให้ฟังแล้วพ่อแม่คิดว่าเป็นเรื่องของเด็ก เดี๋ยวก็คงดีกันเองได้ อาจทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่ได้รับความใส่ใจจากพ่อแม่ทำให้ลูกขาดความมั่นใจ และไม่ไว้ใจเพราะพ่อแม่ไม่ได้สนใจรีบเข้าช่วยแก้ปัญหาทำให้เด็กเกิดภาวะถดถอย ขาดความมั่นในตัวเอง ขาดทักษะการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ขาดทักษะการเข้าสังคม

สอนลูกอย่างไรเมื่อถูกเพื่อนแกล้ง

1.ใส่ใจลูกรับฟังปัญหาอย่างตั้งใจ

เมื่อลูกเข้ามาบอกพ่อแม่ว่าถูกเพื่อนแกล้ง สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือรับฟัง ให้ลูกได้ระบายความรู้สึก แล้วสอบถามลูกให้ชัดเจน ว่าเกิดอะไรขึ้นถามถึงอารมณ์และความคิดเห็นของลูกกับเรื่องที่เกิดขึ้น ช่วยลูกหาวิธีแก้ปัญหาโดยไม่แสดงท่าทางตำหนิลูกที่ไม่รู้จักตอบโต้ แสดงอารมณ์หงุดหงิดต่อว่าลูกว่าอ่อนแอ จะทำให้ลูกยิ่งรู้สึกแย่หนักเข้าไปอีก และไม่กล้าเข้ามาบอกเมื่อมีปัญหาอีก

2.พูดคุยกับลูก

พูดคุยกับลูกเพื่อให้ลูกมีทักษะในการแก้ปัญหาและป้องกันตัวเองได้มากขึ้น เช่นลูกของเราอาจมีบุคลิคที่ดูอ่อนแอ หรือมีปฎิกริยาตอบสนองกลับมากอย่าง ร้องโวยวายเสียงดัง ทำให้เพื่อที่แกล้งรู้สึกสนุกขบขันไปกลับการแกล้งลูกเรา คุณแม่จึงต้องสอนให้ลูกพยายามนิ่งเวลาถูกเพื่อนแกล้ง ไม่ตอบโต้ ไม่ร้องโวยให้เพื่อนยิ่งรู้สึกสนุกมากขึ้น พยามให้ลูกเดินหนี หรือบอกกับเพื่อนไปตรงๆด้วยการมองตา พูดด้วยท่าทางเข้มแข็งจริงจังว่าไม่ชอบที่เพื่อนมาแกล้ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นการฝึกให้ลูกมีความเข้มแข็งและมีความกล้าในการบอกปฏิเสธ ทำให้เพื่อนรู้สึกว่า ลูกของเราไม่ได้อ่อนแออย่างที่คิด

ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง งานนี้ต้องรอด!

 

Advertisement

3.เสริมสร้างบุคลิกเชื่อมั่นในตัวเองให้ลูก

เด็กที่มีความมั่นใจในใจตัวเอง จะกล้าพูดกล้าทำ   เข้มแข็ง และพร้อมละความกลัวเพื่อขึ้นมาปกป้องตัวเอง รู้จักการปฏิเสธไม่ยอมให้ตัวเองตกเป็นเป้าโดนรังแกตลอด ควรเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองให้ลูกโดยการมอบหมายงานบ้านให้ลูกช่วยทำ  หรือฝึกให้ช่วยเหลือตัวเอง และชมเชยทุกครั้งที่ลูกทำสำเร็จ

4.สอนลูกอย่าปล่อยให้ตัวเองตกอยู่ในความเสี่ยง

เด็กที่ถูกแกล้งส่วนใหญมักจะถูกแกล้งตอนที่อยู่คนเดียว จึงควรให้ลูกหาบัดดี้ที่โรงเรียน พยายามอย่าอยู่คนเดียว หรือไปไหนมาไหนคนเดียว ทำให้เพื่อนหาช่องว่างเข้ามาแกล้งได้ยากขึ้น

5.ฝึกลูกให้รู้จักแก้ปัญหาด้วยสติและเหตุผล

คุณแม่อาจถามลูกว่า ลูกคิดว่าทำไมเพื่อนถึงชอบแกล้งเรา  ให้ลูกได้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา เพราะเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนเองอาจเป็นเด็กที่มีปัญหาส่วนตัว เมื่อลูกเข้าในเพื่อนเขาจะรู้จักการให้อภัย และตอบโต้การรังแกของเพื่อนด้วยเหตุผล แล้วลองพูดคุยสมมุติเหตุการณ์ดูว่าหากถูกเพื่อนแกล้งอีก เขาจะทำอย่างไร

คุณแม่ควรตั้งคำถามให้ลูกได้รู้จักวิเคราะห์ถึงการกระทำและผลของการกระทำที่อาจเกิดขึ้น เช่น หากลูกทำแบบนี้ แล้วได้ผลแบบนี้ลูกจะทำอย่างไร หรือให้ลูกได้คิดว่าจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ จะทำให้เด็กใจเย็นขึ้นจะใช้เหตุผลในการแก้ปัญหามากกว่าใช้ความรุนแรง ฝึกให้ลูกมีทักษะในการเข้าสังคมและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยไม่ต้องคอยฟ้องพ่อแม่ หรือครูให้คอยแก้ปัญหาให้ตลอดเวลา

การเแก้ปัญหาถูกเพื่อนแกล้งอาจต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจให้ลูก ขอให้คุณแม่อดทนนะคะ ค่อยๆให้เวลาให้ลูกได้ปรับตัว ค่อยๆสอนและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และควรเข้าไปพูดคุยกับครู เพื่อให้ได้รับรู้ปัญหาและหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน คุณครูอาจมีวิธีดีๆที่จะเปลี่ยนเพื่อนแค้นให้กลายเป็นเพื่อนรักก็ได้ค่ะ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ
ทำขนมไม่เป็น ไม่รู้จะลองเรียนที่ไหน ABC Cooking Studio คือคำตอบ

แหล่งข้อมูล

https://taamkru.com/th/ถูกรังแก โดนเพื่อนแกล้ง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

daawchonlada

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • ใครมีลูกวัยเรียนต้องอ่าน "สอนลูกให้รับมือกับการถูกแกล้ง" งานนี้ต้องรอด!
แชร์ :
  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

  • MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

    MBTI กับการเลี้ยงลูก: เมื่อบุคลิกภาพกำหนดสไตล์การเลี้ยงดู

  • ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

    ห่วงเกินไป ใช่ว่าดี! วิจัยเผย ลูกที่ถูกเลี้ยงแบบตีกรอบ เสี่ยงซึมเศร้า และภาวะวิตกกังวล

  • ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

    ลูกถูกแกล้งที่โรงเรียน พ่อแม่จะรับมือ และปกป้องลูกได้อย่างไร

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว