งานวิจัยชิ้นใหม่จาก London School of Economics and Political Science และ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด พบว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่คุณแม่เป็นแม่บ้าน ไม่ได้ทำงาน จะมีทักษะด้านการพูด ทักษะทางสังคม ทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวันที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่คุณแม่ทำงาน
คุณพ่อคุณแม่คือกุญแจสู่ทักษะที่เป็นเลิศ
งานวิจัยของศาสตราจารย์ Paul Anand จากมหาวิทยาลัยเปิด LSE และมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และดอกเตอร์ Laurence RoopeLaurence Roope จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Social Choice and Welfare ได้กล่าวไว้ว่าการศึกษาพฤติกรรมของเด็กๆ นั้นเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่ทำกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง พบว่ากิจกรรมทั้งหลายนั้นช่วยในเรื่องของทักษะที่แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน
ทักษะที่ดี = สิ่งแวดล้อมที่ดี + คนที่เข้าใจเด็กๆ
โดยในงานวิจัยนั้นว่าด้วยเรื่องของ การที่คุณแม่มีอายุที่มาก จะส่งผลเสียในเรื่องทักษะทั้ง 4 ต่อเด็กๆ ในทางกลับกันการที่เด็กๆ มีคุณแม่ที่มีการศึกษาสูงจะส่งผลดีต่อเด็กๆ ค่ะ
เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีคุณภาพ จะมีทักษะทางสังคมและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น ในขณะที่เด็กที่อยู่ในความดูแลของปู่ย่าตายาย จะมีทักษะด้านการพูดและทักษะทางสังคมที่ดีขึ้น ส่วนเด็กๆ ที่มีพ่อน้องหรือญาติอายุรุ่นราวคราวเดียวกันมากๆ จะมีทักษะทั้ง 4 ที่ดีขึ้น เนื่องจากอาจจะเป็นการเรียนรู้จากพี่ที่โตกว่า แม้จะมีปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ไม่มากก็ตาม
กิจกรรมที่ชอบ ทำให้มีทักษะที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่ากิจกรรมที่เด็กๆ ชอบที่สุด คือการไปเลือกซื้อของและการอ่านหนังสือ การเล่านิทาน การร้องเพลงสำหรับเด็ก และการอ่านหนังสือ ส่งผลดีต่อทักษะด้านการพูดมากกว่าการไปเยี่ยมบ้านเพื่อนที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่การไปเยี่ยมบ้านเพื่อนของเด็กๆ ก็ยังส่งผลดีต่อความสามารถในการพูดของเด็กๆ อยู่ดีนั่นแหละค่ะ
การร้องเพลงสำหรับเด็ก การวาดรูประบายสี และการทำงานศิลปะต่างๆ ส่งผลดีต่อทักษะการเคลื่อนไหว โดยในงานวิจัยนั้นพบการเชื่อมโยงระหว่างเพลงกับทักษะการใช้มือ และการทำงานศิลปะต่างๆ ค่ะ
ค่อนข้างน่าแปลกใจที่การออกไปเดินนอกบ้านส่งผลเสียต่อทักษะการเคลื่อนไหว อาจจะเป็นเพราะเด็กๆ ง่วนอยู่กับการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย และทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นการพัฒนาทักษะของตัวเองได้ค่อนข้างน้อย
สิ่งที่เด็กๆ รวมถึงผู้ใหญ่ทุกคนต้องการ คือ …
สวัสดิการและความสุขทางเศรษฐกิจ (The welfare and happiness of economic) คือเรื่องที่สำคัญอันดับต้นๆ ของคุณภาพชีวิตต่อคนในสังคม งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าความมั่งคั่งทางวัตถุเป็นปัจจัยหนึ่ง ในเรื่องพัฒนาการของเด็กๆ กิจกรรมที่โต้ตอบหรือการมีปฏิสัมพันธ์ต่างหาก ที่จะช่วยให้เด็กๆ พัฒนาขีดความสามารถของทักษะทางปัญญาและทักษะทางพฤติกรรม (cognitive and non-cognitive capacities) และความสุขของเด็กๆ
การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู เพื่อให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียวค่ะ
ที่มา sciencedaily
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
อยากให้ลูกมีทักษะ EF ที่ดี ต้องเลี้ยงให้เป็นเด็ก 2 ภาษา
แม่ลูกยิ่งผูกพัน ทักษะลูกยิ่งพุ่งกระฉูด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!