X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สอนลูกเรื่อง Mind Map มีประโยชน์อย่างไร ส่งผลอย่างไรกับ EF

บทความ 5 นาที
สอนลูกเรื่อง Mind Map มีประโยชน์อย่างไร ส่งผลอย่างไรกับ EF

สอนลูกเรื่อง Mind map เป็นอีกหนึ่งกระบวนที่เสริมสร้างทักษะ EF ให้กับลูกน้อย ขอนำบทความเกี่ยวกับ EF และการสอนลูกเรื่อง Mind map มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านคงรู้จัก EF กันมาบ้างแล้ว คุณแม่ทราบหรือไม่ว่าการ สอนลูกเรื่อง Mind map เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่เสริมสร้างทักษะ EF ให้กับลูกน้อย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ยังไม่ทราบว่า EF คืออะไร วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความเกี่ยวกับ EF และการสอนลูกเรื่อง Mind map ส่งผลอะไรกับ EF มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ

 

EF คืออะไร

สอนลูกเรื่อง Mind Map

สอนลูกเรื่องMind Map

EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้าซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ และการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่ามีความสำคัญกว่า IQ ทั้งนี้ EF จึงมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของชีวิตในอนาคตของเด็ก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมอง การเลี้ยงลูกจึงต้องใส่ใจเรื่อง EF ด้วยเช่นกัน

16 วิธีพัฒนา EF

ในการที่จะพัฒนา ทักษะ EF ให้กับลูกนั้น คุณพ่อคุณแม่เองก็มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก เรามาดู 16 วิธีพัฒนา EF ช่วยลูกฉลาด เพิ่มทักษะสมอง เพื่อชีวิตที่สำเร็จให้แก่ลูก  ซึ่งสามารถทำได้ตามแนวทางดังนี้

  1. ทำให้เด็กรู้สึกผูกพัน และไว้วางใจในตัวคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู
  2. สร้างสภาพแวดล้อมให้สงบ สะอาด และปลอดภัย อาจจะมีหนังสือ หรือของเล่น เพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้
  3. สร้างโอกาสเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ
  4. ให้ลูกกินอิ่ม และนอนหลับอย่างเพียงพอ
  5. ให้ลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  6. ฝึกให้เด็กรู้จักการอดทน รอคอย
  7. ส่งเสริมให้เด็กทำงานจนเสร็จ
  8. ฝึกให้เด็ก ๆ ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ
  9. สอนให้ลูกรู้จักคิดก่อนตอบ คิดก่อนทำ
  10. สอนให้เด็กรู้จักควบคุมและจัดการอารมณ์ตัวเอง
  11. สอนให้เด็กพึ่งพาตัวเองตามวัย
  12. สอนให้เด็กรู้จักจัดการความเครียด
  13. หมั่นเล่านิทานให้ลูกฟัง โดยเลือกเรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ได้แยกเป็นตอนสั้น ๆ
  14. พาลูกออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจากเดิม จะกระตุ้นให้เด็กคิดด้วยสมองส่วนหน้ามากขึ้น
  15. เลือกของเล่นหรือเกมที่ต้องใช้สมาธิและความจำ เช่น ตัวต่อเลโก้ ครอสเวิร์ด หรือหมากฮอส เป็นต้น
  16. สนับสนุนกิจกรรมเสริมทักษะ เช่น ดนตรี กีฬา งานศิลปะ ก็นับเป็นกิจกรรมที่ฝึกเชิงบริหารที่ดี ต้องใช้สมาธิ ทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
Advertisement

Executive Functions หรือ EF มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ข้อคือ

  • การยั้งคิด (Inhibitory control) คือ การรู้จักควบคุมตนเองมีความยั้งคิดไตร่ตรองตั้งใจจดจ่อในการทำงานและเป้าหมายให้สำเร็จ
  • ความจำเพื่อนำมาใช้งาน (working memory) คือ ความจำที่พร้อมใช้และใช้ทำงานจริง ๆ ไม่ใช่แค่จำได้แต่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันได้
  • การยืดหยุ่นทางความคิด (cognitive flexibility) คือ การรู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนตัวแปรและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายได้ในที่สุด
    และยังมีองค์ประกอบร่วม ของ EF อันเป็นทักษะที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ การวางแผนจัดระบบดำเนินการ การริเริ่มลงมือทำ การจดจ่อใส่ใจ การมุ่งเป้าหมาย และการติดตามประเมินตนเอง ซึ่งทักษะต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีการฝึกฝนและสั่งสอนกันตั้งแต่วัยเด็กเล็ก เช่น ปฐมวัยเพราะหากเลยวัยนี้ไปแล้วการสอนจะทำได้ยากมากขึ้นค่ะ

 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นค่ะว่า EF หรือกระบวนความคิดนั้นมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ข้อ โดยหนึ่งในองค์ประกอบดังกล่าวมีการนำเอา ความจำเพื่อนำมาใช้งาน ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับเทคนิค Mind map นั่นเองค่ะ

 

Mind Map  คืออะไร

สอนลูกเรื่อง Mind Map

สอนลูกเรื่อง Mind Map

Mind map หรือ แผนผังความคิด คือ เครื่องมือในการช่วยคิดและจดบันทึก ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองมนุษย์ ใช้เพื่อถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลออกมาเป็นแผนภาพ (Visual Tools) แบบเป็นรัศมี โดยมีหัวข้อหลักหรือเรื่องที่สนใจเป็นจุดศูนย์กลาง แล้วแตกประเด็นเป็นหัวข้อย่อยออกไปรอบ ๆ โดยใช้เทคนิคการเชื่อมโยงด้วย ภาพ สี และเส้น เป็นโครงสร้างตามลำดับชั้นออกไปเรื่อยๆอย่างสอดคล้องกัน

แผนผังความคิด หรือ Mind map เป็นเทคนิคการคิดที่สอดคล้องกับการทำงานตามธรรมชาติของสมองมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะการคิดเป็นรัศมี คล้ายกับรูปแบบของเซลสมอง จึงเป็นเหมือนกุญแจทองคำที่จะช่วยนำไปสู่การใช้ศักยภาพของสมองอย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยเพิ่มสมรรถนะในการคิด เชื่อมโยงความคิด

 

Mind Map ช่วยเสริม EF อย่างไร

อย่างที่ได้กล่าวว่าองค์ประกอบหลักของ EF คือการนำเอาความจำมาใช้ประโยนช์ ในส่วนนี้คุณพ่อคุณแม่คงพอจะทราบอยู่แล้วว่าเด็ก ๆ นั้นเรียนรู้และจดจำภาพได้มากกว่าตัวหนังสือ ฉะนั้นแล้วการที่คุณพ่อคุณแม่จะนำเอา Mind map มาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการสอนเรื่องต่าง ๆ ให้กับเด็ก ๆ จึงเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ค่ะ

 

สอนลูกเรื่อง Mind Map

สอน ลูกเรื่อง MindMap

 

แล้วจะทำอย่างไร? จะนำเอา Mind map สอนลูกอย่างไร? จุดนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ได้ค่ะ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะวาด Mind map เรื่องง่าย ๆ เพื่อทดสอบความจำและเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาความจำให้กับเด็ก ๆ ได้ดีค่ะ ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะทำ Mind map เกี่ยวกับสัตว์ โดยทำการแยกประเภทและวาดรูป เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ จากนั้นระบายสีลงไป เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับจินตนาการของพวกเขาเมื่อได้ดูแผนผังที่คุณพ่อคุณแม่ทำ

หลังจากที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้กับ Mind map ที่คุณพ่อคุณแม่ได้ทำแล้ว ครั้งนี้อาจจะเริ่มสอนให้พวกเขาทำ Mind map โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะให้โจทย์เหมือนที่เคยสอนไปก็ได้ ซึ่งกิจกรรมนี้จะช่วยเสริมสร้างความคิดและทักษะความจำของพวกเขาเป็นอย่างมากเลยค่ะ

 

Source : palagrit , thaihealth

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

ฝึกลูกให้ฉลาดคิด กับ 5 เหตุผลของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ทักษะ Executive Functions

วิธีการเล่นให้เป็นประโยชน์ การเล่นเพิ่มพัฒนาการ ทักษะของเด็ก เล่นอย่างไรให้ดี?

เครื่องดนตรีเด็กเล่นได้ ฝึกเพิ่มทักษะ ลูกให้ลูกเป็นอัจฉริยะด้านดนตรี เริ่ด!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khattiya Patsanan

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • สอนลูกเรื่อง Mind Map มีประโยชน์อย่างไร ส่งผลอย่างไรกับ EF
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

    เทคนิคเลี้ยงลูกตามวัย สร้างสายใยไว้ใจ เลี้ยงลูกยังไง ให้กล้าคุยกับพ่อแม่

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว