X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 - 3 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย

บทความ 5 นาที
วิธีเล่นกับลูกวัย 0 - 3 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 – 3 เดือน นั้น อาจจะยังไม่ต้องการของเล่นสักเท่าไหร่ เพราะสำหรับเด็กวัยนี้ของเล่นชิ้นที่ดีที่สุด และคุ้มค่ามากที่สุดนั่นก็คือ ตัวคุณพ่อ คุณแม่นั่นเอง สำหรับเด็กทารกวัยต่ำกว่า 1 ปี ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ ท่าน ไม่แนะนำให้เด็กอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือโทรทัศน์ หากจำเป็นต้องให้ลูกดูจริง ๆ พ่อแม่ก็ควรอยู่กับลูกด้วย และควรแบ่งเวลาให้ลูกทำกิจกรรม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูก อย่างน้อยวันละ 30 นาที ดังนั้น บทความวันนี้เราจึงมาบอกต่อทริค! การเล่นกับลูกน้อยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ๆ กันค่ะ ไปดูกันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

 

ลูกวัย 0 – 3 เดือน สามารถทำอะไรได้บ้าง

 

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 - 3 เดือน

 

ลูกน้อยในวัยแรกเกิดจนถึง 3 เดือนเรียนรู้ที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยเริ่มจากศีรษะ ไปสู่แขนทั้งสองข้าง ลำตัว ช่วงขา และเท้า ในช่วงแรก เด็กทารกจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งรอบตัว ตามสัญชาตญาณของพวกเขา อย่างเช่น เมื่อพ่อแม่จับแก้ม ลูกก็สามารถหันศีรษะไปด้านข้าง เพื่อตอบสนองต่อการกระทำนั้นได้ เป็นต้น การเคลื่อนไหวของลูกจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง พวกเขาจะตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวมากยิ่งขึ้น และจะหันหน้าไปซ้าย – ขวา ขยับมือ และแขนได้ เมื่ออายุประมาณ 1 เดือน

เด็กทารกแรกเกิดยังไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมที่แปลกตา สัมผัสที่แปลกใหม่ และอุณหภูมิที่แตกต่างไปจากท้องของแม่ สิ่งที่เด็กทารกในช่วงวัยนี้คุ้นเคยมากที่สุด ก็คือสัมผัสจากร่างกายของแม่ การเล่นกับลูกในวัยแรกเกิดจนถึง 3 เดือนนี้ จึงเน้นไปที่การรับสัมผัสจากพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย หรือเสียง ก็ช่วยให้ลูกปรับตัว และส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกได้เช่นเดียวกัน หรือจะให้ลูกนอนคว่ำ ให้ลูกนั่งรถเข็น หรือนั่งเล่นบนเก้าอี้ประมาณ 1 ชั่วโมงก็ได้ นอกจากกิจกรรมเสริมพัฒนาการอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมปล่อยให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยเด็กที่มีอายุ 0 – 3 เดือน จะนอนประมาณ 14 – 17 ชั่วโมง ต่อวัน ส่วนเด็กอายุ 4 – 11 เดือน จะนอน 12 – 16 ชั่วโมง ต่อวัน

Advertisement

 

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 - 3 เดือน

 

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 – 3 เดือน พ่อแม่เล่นกับลูก ผ่านเสียง และการสื่อสาร

  • พูดคุยแบบเห็นหน้าสบตา

การพูดคุยกับลูกคือวิธีการเล่นที่ดีที่สุด ถ้าคุณไม่รู้ว่าลูกรู้เรื่องหรือไม่ ลองทำตัวเป็นคุณแม่จอมบ่น ใส่แอคติ้งเยอะ ๆ หากคุณแม่ลองอัดวิดีโอแสดงสีหน้า และท่าทางของตัวเองไว้จะเห็นได้ว่าสีหน้าของคุณแม่มีความหลากหลายมาก ท่าทางก็เช่นกัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เสียงของคุณแม่นั่นแหละ ที่ลูกจะจดจำได้ แต่ถ้าไม่ได้เป็นคนขี้บ่นสักเท่าไหร่ ลองทำเสียงอะไรก็ได้ที่คิดว่าชีวิตนี้ คงไม่มีโอกาสทำให้ใครได้ฟัง ลูก ๆ น่ะ ชอบให้แม่ทำเสียงตลก ๆ ที่สุดเลยล่ะ

 

  • คุยกับลูกด้วยน้ำเสียงที่หลากหลาย

การพูดคุยกับลูกด้วยลักษณะพิเศษที่เรียกว่า parentese คือ การพูดด้วยโทนเสียงสูงและช้า เป็นน้ำเสียงที่พูดเกินจริง ซึ่งถ้าผู้ใหญ่ฟังกันเอง มันอาจจะดูน่ารำคาญ หรือน่าหงุดหงิด แต่เสียงแบบนี้เป็นเสียงที่เด็ก ๆ ชื่นชอบเอามาก ๆ และที่สำคัญคือช่วยในทักษะด้านภาษาของลูกได้มากกว่าการที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงปกติอีกด้วย

 

  • ร้องเพลงให้ลูกฟัง

เสียงเพลงเป็นภาษาของโลก และเป็นภาษาที่สามารถสื่อสารกับทารกได้ด้วยค่ะ ความสามารถในการแยกแยะจังหวะของทารกนั้น มีมาตั้งแต่ที่ลูกอยู่ในครรภ์ของมารดา ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 25 ของการตั้งครรภ์ และความสามารถนี้ก็ยังไม่หายไปไหน การร้องเพลงให้ลูกฟังนั้น คุณพ่อคุณแม่ลองเพิ่มโทนเสียงสูง ต่ำ และจังหวะเข้าไปเท่านี้ลูกก็ชอบใจแล้ว และยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะภาษา และจังหวะให้กับลูกอีกด้วย ไม่แน่ว่า ลูกอาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นนักร้อง นักดนตรีก็ได้นะคะ

 

  • อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือหนังสือใด ๆ ก็ตาม เป็นการเพิ่มคลังคำศัพท์ให้กับลูกอย่างมหาศาล เนื่องจากคำศัพท์ในหนังสือนั้นมีเยอะกว่าคำที่คุณพ่อคุณแม่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน รวมถึงรูปแบบประโยค สำนวนภาษาต่าง ๆ และยังเป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านให้ลูก ส่งผลต่อทักษะทางภาษาเมื่อลูกเข้าสู่ช่วงอายุ 12 – 16 เดือน หรือเมื่อลูกเริ่มพูด คุณพ่อคุณแม่จะพบว่า สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้น ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกอย่างมากเลยทีเดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีพัฒนาสมองลูกให้ฉลาด พ่อแม่สร้างได้เพียงแค่ 15 นาที

 

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 - 3 เดือน

 

วิธีเล่นกับลูกวัย 0 – 3 เดือน พ่อแม่เล่นกับลูก ผ่านการสัมผัส

  • การจับมือ จับเท้าของลูก

แม้ว่าจะเป็นการจับ เพราะความมันเขี้ยวมือ และเท้าน้อย ๆ ของลูกล้วน ๆ ก็นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง สัมผัสอบอุ่นระหว่างพ่อ แม่ ลูก จะช่วยให้ลูกได้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากท้องแม่ได้ดีขึ้น เด็กทารกเพิ่งคลอด มักจะประสบปัญหาในการปรับอุณหภูมิร่างกายที่แตกต่างจากในถุงน้ำคร่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนด การรับสัมผัส และความอบอุ่นจากอุณหภูมิร่างกายของแม่ จะช่วยลูกในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

 

  • ให้ลูกได้สัมผัสพื้นผิว และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ

พื้นผิวอย่างใบหน้าของพ่อ แม่ ตุ๊กตานุ่มนิ่ม กระดาษทิชชู หรืออะไรก็ตามที่พอจะหาได้ และไม่ใช่ของเล่นอันตรายสำหรับลูก คุณพ่อ คุณแม่ควรให้ลูกได้ลองสัมผัสพื้นผิวที่หลากหลาย แม้ลูกอาจจะยังจับ หรือคว้าได้ไม่สะดวก แต่พวกเขาก็สามารถใช้มือน้อย ๆ แตะ เพื่อสัมผัสที่แตกต่าง หรือ ใช้เท้าน้อย ๆ ของเขาลองเตะ ๆ ดู เพื่อฟังเสียงที่แปลกใหม่ก็ได้

 

  • รูปภาพที่สะท้อนในกระจกเงา

คุณพ่อคุณแม่จะต้องแปลกใจแน่ ๆ หากลองยื่นกระจกให้ลูกส่อง จะพบว่าลูกมีปฏิกิริยา และพยายามสื่อสารกับภาพสะท้อนพวกเขามองเห็น ทั้งการแสดงสีหน้าท่าทางต่าง ๆ ยิ้ม แลบลิ้น ส่งเสียงอ้อแอ้ ที่ทำให้คนเป็นพ่อแม่ยิ้มไม่หยุดไปกับความน่ารักของลูก ๆ เป็นแน่

 

  • ดึงดูดความสนใจ ด้วยสีสันตรงกันข้าม

ความแตกต่างที่ชัดเจน ระหว่างสีที่ตรงกันข้ามนั้น ช่วยดึงความสนใจของเด็ก ๆ ได้ อย่างรูปภาพที่ไม่ต้องมีรายละเอียดเยอะ แต่มีสีขาวกับสีดำซึ่งเป็นสีที่ตัดกัน เพราะเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้ จะยังมองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจนนัก จึงยังไม่สามารถเก็บรายละเอียดต่าง ๆ ได้มาก สีที่ตัดกันจึงเป็นสิ่งที่เขาจะเห็นได้ง่ายที่สุด

 

  • มองหน้าสบตากับลูก

การมองหน้าสบตา หรือหันหน้าเข้าหากันระหว่างคุณพ่อ คุณแม่ กับลูก ก็เป็นของเล่นที่ลูกชอบใจ และทำให้พวกเขารู้สึกสนุกสนานได้ ไม่เพียงเท่านั้น การมองหน้า และสบตากัน ยังทำให้ลูกได้พัฒนาระบบประสาทสัมผัสต่าง ๆ อีกด้วย ปล่อยให้ลูกน้อยได้สำรวจใบหน้าของคุณพ่อ คุณแม่ ทั้งจมูก หู ตา ปาก แก้ม แล้วก็อย่าลืมที่จะจุ๊บลูกบ่อย ๆ ในขณะที่เขาทำแบบนี้ด้วยนะคะ

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

 

แม้ว่าจะงานยุ่งมากแค่ไหน ก็อย่าลืมแบ่งเวลาสักเล็กน้อยในแต่ละวัน มาพูดคุย และเล่นกับลูกนะคะ แล้วคุณจะพบว่าของเล่นที่ดี และมีค่ามากที่สุดสำหรับลูก ก็คือสัมผัสแห่งความรัก ความอบอุ่น และความใส่ใจจากพ่อแม่นั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำ 10 เพลย์ยิม เพลยิม สำหรับเด็กทารก ของเล่นเสริมพัฒนาการที่คุณแม่ต้องซื้อ!

หนังสือผ้าเสริมพัฒนาการทารก เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ให้ฉลาด เรียนรู้ไว

วิธีเล่นแบบไหนช่วยเสริมพัฒนาการลูก

ที่มา : hellomotherhood

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กแรกเกิด 0-3 เดือน
  • /
  • วิธีเล่นกับลูกวัย 0 - 3 เดือน สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย
แชร์ :
  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

    นิสัยเด็กทารก มีกี่แบบ? วิธีสังเกต ลูกเป็นเด็กแบบไหน ควรเลี้ยงยังไงให้ถูกทาง?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว